Home > อมร พิมานมาศ

‘ดินสไลด์-บ้านทรุด’ ภัยพิบัติที่ไม่อาจมองข้าม

วันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา เกิดเหตุดินสไลด์ในพื้นที่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนประชาชนกว่า 20 หลังคาเรือน จากการตรวจสอบพบว่า เดิมทีพื้นที่ที่ถล่มนั้นเคยเป็นบ่อเลี้ยงปลามาก่อน แต่ได้มีการถมและปล่อยให้เช่า ประกอบกับการถมดินไม่มีความแข็งแรงที่เพียงพอ อีกทั้งยังอยู่ติดกับบ่อที่เกิดจากการตักดินขายของเอกชน จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดดินสไลด์ในครั้งนี้ ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์ดินสไลด์จนสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน พฤศจิกายน 2564 – เกิดเหตุดินทรุดตัวเป็นหลุมกว้างภายในสวนทุเรียน อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี ระหว่างการขุดเจาะบ่อบาดาล ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ตุลาคม 2564 – เกิดเหตุดินสไลด์ บริเวณถนนกัลปพฤกษ์ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร โดยจุดดังกล่าวมีการขุดหลุมเพื่อซ่อมท่อประปา ทำให้คนงานได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ธันวาคม 2563 – เกิดเหตุดินสไลด์ทับบ้านเรือนประชาชนบริเวณ อ.เบตง จ.ยะลา จากฝนที่ตกต่อเนื่องมานานหลายวัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต นี่เป็นเพียงบางเหตุการณ์ที่หยิบยกขึ้นมาเพื่อให้เห็นภาพความเสียหายที่เราไม่อาจมองข้ามได้เท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าสาเหตุของการเกิดดินสไลด์มีทั้งปัจจัยจากดินฟ้าอากาศและจากการกระทำของมนุษย์ นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้เผยถึงสาเหตุของดินสไลด์ที่ อ.บางพลี ในครั้งนี้ว่า พื้นที่ดังกล่าวมีการขุดบ่อดินขนาด 400 ไร่ เพื่อนำดินไปขาย โดยมีแนวคันดินกว้างประมาณ

Read More

นักวิจัยเตือนเฝ้าระวังอาฟเตอร์ช็อกแผ่นดินไหว แนะชาวน่านสำรวจโครงสร้างบ้าน-โบราณสถาน

นักวิจัยเตือนอาจมีอาฟเตอร์ช็อกอีกหลายครั้งหลังเกิดแผ่นดินไหวที่ลาว แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ถึงจังหวัดน่าน ขอให้ประชาชนสำรวจโครงสร้างบ้านและโบราณสถาน หากพบรอยร้าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่ แนะไทยควรมีระบบแจ้งเหตุแผ่นดินไหว และสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการอนุรักษ์โบราณสถาน ศ. ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย และนักวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 5.8 ที่เกิดขึ้นที่ประเทศลาวเมื่อเช้ามืดของวันที่ 20 ธันวาคม 2564 ได้ส่งผลให้หลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ โดยพบร่องรอยกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถและองค์พระประธานจตุรพักตร์ 4 ด้าน ซึ่งตั้งประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถวัดภูมินทร์ พบรอยร้าวขยายเพิ่มจากความเสียหายแผ่นดินไหวครั้งก่อน 6.4 ริกเตอร์เมื่อปี 2562 และพบรอยร้าวใหม่อีกหลายจุดเป็นแนวยาวจนมองเห็นปูนภายในอย่างเห็นได้ชัด สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้เกิดขึ้นนอกประเทศไทย โดยมีระยะห่างจากจังหวัดน่านประมาณ 20 กิโลเมตร ซึ่งแผ่นดินไหวขนาด 5.8 ถือว่าได้มีความรุนแรงระดับปานกลาง จึงทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทยได้ แต่ด้วยระยะทางที่ห่างออกไปไม่ไกลมากนัก จึงเชื่อว่าอาจจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างอาคารบ้าง แต่ก็คาดว่าจะรุนแรงถึงขั้นที่ทำให้โครงสร้างอาคารในประเทศไทยเกิดการถล่มลงมา อย่างไรก็ตามโครงสร้างอาคารในพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณที่ใกล้แผ่นดินไหวมากกว่านี้อาจเกิดการแตกร้าวเสียหายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารหลายหลังที่ไม่ได้ออกแบบและก่อสร้างมาให้ต้านแผ่นดินไหวหรือเป็นอาคารที่ไม่ได้มาตรฐานทางวิศวกรรม “ประชาชนจึงควรสำรวจโครงสร้างบ้านเรือนของตนเองด้วยว่ามีรอยร้าวเกิดขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่โคนเสาด้านล่างและกำแพง หากสังเกตเห็นรอยร้าวหรือปูนกะเทาะออกมา จะต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้เข้าตรวจสอบโดยละเอียดทันที ทั้งนี้อาจเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกได้ในช่วงระยะเวลา

Read More