Content

วี ฟิตเนส โซไซตี้ พลิกวิกฤต เปิดคลาสไลฟ์สดสอนออกกำลังกายผ่านเฟสบุ๊ค

วี ฟิตเนส โซไซตี้ เปิดคลาสไลฟ์สดสอนออกกำลังกายผ่านเฟสบุ๊ค กับ “WE Workout@Home - WE Truly Care” ออกกำลังกายที่บ้านได้สุขภาพดีเหมือนอยู่ฟิตเนส วี ฟิตเนส โซไซตี้ พลิกวิกฤตจากการปิดให้บริการชั่วคราวตามประกาศมาตรการป้องกันลดโอกาสการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงสูงตามมติคณะรัฐมนตรี โดยสร้างโอกาสทางธุรกิจ ด้วยการเปิดคลาสไลฟ์สดสอนออกกำลังกายผ่านเฟสบุ๊ค เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และความต้องการของคนที่รักการออกกำลังกาย ซึ่งการออกกำลังกายที่บ้านได้สุขภาพดีเหมือนอยู่ฟิตเนส เมษยน เด่นเกรียงไกร ประธานบริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท วี ฟิตเนส จำกัด เปิดเผยว่า ในระหว่างที่ วี ฟิตเนส โซไซตี้ ปิดให้บริการเป็นการชั่วคราวตามมาตรการป้องกันลดโอกาสการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 เพื่อให้สมาชิกผู้รักสุขภาพไม่ห่างเหินการออกกำลังกายและสร้างสุขภาพที่ดีได้อย่างต่อเนื่อง วี ฟิตเนส โซไซตี้ จึงได้เปิดคลาส “WE Workout@Home - WE Truly Care”, “WE Fit@Home” และ

Read More

“ธุรกิจเก่าไป ใหม่ไม่มา” อีกสัญญาณลบสะท้อนเศรษฐกิจซบเซา

EIC ทำการวิเคราะห์ข้อมูลสถานะนิติบุคคลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในช่วง 9 สัปดาห์แรกของปี 2563 (ข้อมูลล่าสุดจนถึงวันที่ 6 มีนาคม 2563) พบว่าข้อมูลดังกล่าวถือเป็นอีกเครื่องชี้หนึ่งที่สะท้อนถึงภาวะความซบเซาของธุรกิจภาคเอกชน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ธุรกิจเก่าไป ใหม่ไม่มา จากข้อมูลพบว่าจำนวนธุรกิจที่แจ้งเลิกกิจการเพิ่มสูงขึ้นจาก 4 พันรายในช่วง 9 สัปดาห์แรกของปี 2562 มาเป็น 4.9 พันรายในช่วงเดียวกันปี 2563 คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 22.3% นอกจากนี้จำนวนบริษัทที่มีปัญหาทางการเงิน ได้แก่ กิจการที่มีสถานะถูกพิทักษ์ทรัพย์และล้มละลายก็เพิ่มขึ้นเช่นกันจาก 138 เป็น 202 ราย คิดเป็นการเพิ่มขึ้นสูงถึง 46.4% ขณะเดียวกันยอดการจดทะเบียนนิติบุคคลใหม่กลับลดลงจาก 1.5 หมื่นเหลือ 1.4 หมื่นราย หรือคิดเป็นการลดลง -5.3% การออกจากธุรกิจที่มากขึ้น (“เก่าไป”) และการจัดตั้งกิจการที่ลดลง (“ใหม่ไม่มา”) เป็นอีกภาพสะท้อนของสภาวะเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยปัจจัยลบในหลายด้านซึ่งส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของหลายกิจการ รวมถึงความเชื่อมั่นในการทำธุรกิจของภาคเอกชน สถานการณ์ยิ่งน่าเป็นห่วงสำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบสะสมมาในช่วงก่อนหน้า ปัจจัยลบทางเศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้าทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สงครามการค้า ความซบเซาของกำลังซื้อในประเทศ

Read More

ตื่น “แพนิกชอปปิ้ง” บิ๊กคอนซูเมอร์โกย

แม้กระทรวงพาณิชย์เรียกถกกลุ่มภาคเอกชนยืนยันสินค้าอุปโภคบริโภคหลักๆ ไม่มีปัญหาขาดแคลน แต่ไม่สามารถหยุดยั้งกระแส “Panic Shopping” ที่ก่อตัวรุนแรงตั้งแต่การสั่งปิดสถานที่เสี่ยงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกรุงเทพฯ และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศฉีดยาแรงใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ระยะเวลา 1 เดือนแรกก่อนประเมินสถานการณ์อีกครั้ง ทั้งการแห่ซื้อกักตุนสินค้า ผู้ค้าโก่งราคาแพงขึ้นหลายเท่า โดยเฉพาะที่เห็นเป็นปัญหาชัดเจน คือ “ไข่ไก่” ล่าสุดขาดตลาด ต้องต่อคิวยาวเหยียดรอซื้อ ทั้งตลาดค้าส่งและค้าปลีก ที่สำคัญ ราคาแพงขึ้นมากกว่า 30 บาทต่อแผง ตกแผงละ 120 บาท และมีแนวโน้มพุ่งขึ้นรายวัน จากปกติเฉลี่ยแผงละ 85-95 บาท นายประโยชน์ เพ็ญสุต รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ระบุว่า ไทยผลิตไข่ไก่ได้ปีละกว่า 15,000 ล้านฟอง หรือวันละ 41 ล้านฟอง ทั้งหมดใช้บริโภคภายในประเทศวันละ 39 ล้านฟอง เหลือส่งออกวันละ 1-2

Read More

BGRIM มอบ 6.5 ล้านบาท สนับสนุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ ทำประกันฯให้กับบุคลากรทุกท่าน สู้ภัยโควิค-19

BGRIM มอบ 6.5 ล้านบาท สนับสนุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ ทำประกันฯให้กับบุคลากรทุกท่าน สู้ภัยโควิค-19 นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด มอบเงินบริจาคจำนวน 6,500,000 บาท เพื่อสนับสนุนการทำประกันชีวิตให้กับบุคลากรทุกท่านของโรงพยาบาลรามาธิบดี ทั้งในส่วนแพทย์ พยาบาล รวมถึงเจ้าหน้าที่อื่นๆ ทุกท่านที่ปฎิบัติหน้าที่ของโรงพยาบาลฯ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการมอบกำลังใจต่อการปฎิบัติหน้าที่ช่วยเหลือ ผู้ป่วยที่ถือเป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่งต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 โดยมี ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และ ศ.คลินิก นพ.พรชัย มูลพฤกษ์ รองคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมรับมอบเงินบริจาคจำนวนดังกล่าว ณ สำนักงานคณบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

Read More

KTC ปรับลดอัตราผ่อนชำระขั้นตํ่าของบัตรเครดิต KTC จาก 10% เป็น 5%

KTC ปรับลดอัตราผ่อนชำระขั้นตํ่าของบัตรเครดิต KTC จาก 10% เป็น 5% หรือไม่ต่ำกว่า 500 บาท ต่อรอบบัญชี ให้สมาชิกบัตรฯ ทุกท่านอัตโนมัติ โดยไม่ต้องแจ้งความประสงค์ ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 เพื่อแบ่งเบาภาระของสมาชิกบัตรเครดิต KTC ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซี ได้ทําการปรับลดอัตราผ่อนชำระขั้นตํ่าของบัตรเครดิต KTC ให้กับสมาชิกบัตรฯ ทุกท่านอัตโนมัติ โดยไม่ต้องแจ้งความประสงค์เป็นรายบุคคลแต่อย่างใด ซึ่งจากเดิม 10% ลดเหลือ: • 5% หรือไม่ต่ำกว่า 500 บาทต่อรอบบัญชี มีผลกับบัญชีบัตรเครดิตที่มีการสรุปรอบบัญชี ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 ถึง 31

Read More

ค้าปลีก-ร้านอาหาร อ่วมแสนล้าน กระหน่ำเดลิเวอรี่หนีตาย

ประเมินกันว่า ธุรกิจค้าปลีกปี 2563 จะสูญเสียเม็ดเงินมากกว่า 200,000 ล้านบาท หลังเจอสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “โควิด-19” โดยเฉพาะการประกาศฉีดยาแรงใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อยกระดับการป้องกันการแพร่ระบาดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา แน่นอนว่า ณ เวลานี้ความปลอดภัย คือ ความจำเป็นอันดับ 1 และทุกคนในประเทศต้องปรับตัวรับผลกระทบที่พลิกผันอย่างรวดเร็ว แม้ส่วนหนึ่งรัฐบาลเร่งออกมาตรการเยียวยาต่อเนื่อง ทั้งกลุ่มแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว และกลุ่มผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจทัวร์ ธุรกิจสปา ธุรกิจรถทัวร์ รถบัส รถตู้ รถแท็กซี่ เรือนำเที่ยว รถเช่า บริษัทนำเที่ยว โรงแรม ห้องพัก และร้านอาหาร กิจการสถานบริการ ซึ่งสูญเสียรายได้ชนิดไม่ทันตั้งตัว ขณะที่กลุ่มยักษ์ค้าปลีก ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และมิกซ์ยูส มีสเกลขนาดใหญ่ แม้ยังมีเซกเมนต์ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ซูเปอร์มาร์เกตและร้านสะดวกซื้อ เปิดให้บริการได้

Read More

เคทีซีมอบเงิน 2 ล้านบาทให้กับโรงพยาบาลรามาธิบดี สนับสนุนการจัดซื้อเครื่องไตเทียม เพื่อผู้ป่วยโควิด-19

เคทีซีมอบเงิน 2 ล้านบาทให้กับโรงพยาบาลรามาธิบดีฯ สนับสนุนการจัดซื้อเครื่องไตเทียมแบบพิเศษ CRRT เพื่อผู้ป่วยโควิด-19 โดยเฉพาะ พร้อมเปิดรับคะแนนสะสมเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินบริจาคสมทบจากสมาชิกเคทีซีทั่วประเทศ นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน มอบเงินจำนวน 2 ล้านบาท เข้ากองทุนพิเศษ “โครงการป้องกันและช่วยเหลือสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19” ซึ่งตั้งขึ้นโดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและมูลนิธิรามาธิบดีฯ (คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีฯ) เพื่อสนับสนุนการจัดซื้อเครื่องเครื่องไตเทียมแบบพิเศษ CRRT เพื่อผู้ป่วยโควิด – 19 (Covid-19) โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่สำคัญและจำเป็นต้องใช้ เพื่อเตรียมรับกับสถานการณ์ที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีความรุนแรงยิ่งขึ้น นอกเหนือจากเครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจปอดและเครื่องช่วยหายใจ โดยมี ศ. นพ. ปิยะมิตร ศรีธรา (ขวา) คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิรามาธิบดีฯ และนายแพทย์ไพโรจน์ บุญคงชื่น (ซ้าย) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ ให้เกียรติรับมอบวันนี้ (26 มีนาคม

Read More

ดิอาจิโอ บริจาคแอลกอฮอล์จำนวน 1.5 ล้านลิตร เพื่อทำผลิตภัณฑ์สำหรับล้างมือ สู้โควิด-19

ดิอาจิโอประกาศสนับสนุนแอลกอฮอล์สำหรับผลิตภัณฑ์ล้างมือกว่า 7 ล้านขวด แด่บุคลากรทางการแพทย์ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19 บริษัท ดิอาจิโอ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชั้นนำระดับโลก อาทิ แบรนด์จอห์นนี่ วอล์กเกอร์และสเมอร์นอฟ ประกาศบริจาคแอลกอฮอล์จำนวน 1.5 ล้านลิตรให้กับพันธมิตรเพื่อนำไปจัดทำผลิตภัณฑ์สำหรับล้างมือเป็นจำนวนมากกว่า 7 ล้านขวด เพื่อช่วยปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นด่านหน้าในการสู้รบกับโรคโควิด-19 ที่ระบาดไปทั่วโลก ดิอาจิโอ เตรียมมอบเกรนนิวทรัลสปิริต (Grain Neutral Spirit – GNS) ซึ่งเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ 96% ที่ใช้ในการผลิตวอดก้าและจินเป็นหลักให้กับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการทำงานของแพทย์ การบริจาคแอลกอฮอล์ในครั้งนี้จะช่วยให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือขนาด 250 มิลลิลิตรได้มากกว่า 7 ล้านขวด ดิอาจิโอร่วมกับรัฐบาลทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นในประเทศที่เป็นที่ตั้งของโรงกลั่นหลักของบริษัทฯ โดยแอลกอฮอล์ดังกล่าวจะอยู่ในซัพพลายเชน และขึ้นอยู่กับสถานการณ์การระบาดในแต่ละพื้นที่ โดยบริษัทจะทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือ เพื่อให้แน่ใจว่าการบริจาคในครั้งนี้จะเกิดประโยชน์สูงสุดในการปกป้องบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย และเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือนี้สามารถเข้าถึงบุคลากรในแนวหน้าได้เร็วที่สุด แผนการดำเนินงาน มีดังนี้: - สหราชอาณาจักรและสาธารณรัฐไอร์แลนด์: แอลกอฮอล์เกรนนิวทรัลสปิริต จำนวน 500,000 ลิตรจะถูกส่งมอบให้กับระบบการดูแลสุขภาพแห่งชาติและผู้ปฏิบัติงานทั่วสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ - สหรัฐอเมริกา: ส่งมอบแอลกอฮอล์เกรนนิวทรัลสปิริต จำนวน 250,000 ลิตรเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน -

Read More

ทัศนคติในด้านลบต่อผู้หญิง

Column: Women in Wonderland ปีนี้เป็นปีครบรอบ 25 ปีการประกาศใช้ Beijing Declaration and Platform for Action (Beijing+25) ซึ่งได้พูดถึงแนวทางการยุติช่องว่างระหว่างเพศ และส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในสังคม แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันเห็นได้ว่า ทุกประเทศไม่สามารถทำให้ความเท่าเทียมกันทางเพศเกิดขึ้นได้ และแน่นอนว่าทุกประเทศไม่สามารถทำตามเป้าหมายที่วางไว้ว่า ปี ค.ศ. 2030 จะมีความเท่าเทียมกันทางเพศในทุกประเทศ และจากการวิเคราะห์ขององค์การสหประชาชาติพบว่า จากรายงานเรื่องความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในด้านของสุขภาพ การศึกษา และสถานะทางการเงินในสังคมนั้น จากข้อมูลปัจจุบันสามารถคาดเดาได้ว่า เราต้องรออีก 257 ปี ความเท่าเทียมกันทางเพศในสังคมถึงจะเกิดขึ้นในทุกประเทศ โดยเฉพาะเรื่องช่องว่างของรายได้ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nation Development Programme หรือเรียกสั้นๆ ว่า UNDP) ได้จัดทำรายงานเรื่องการแก้ปัญหาเรื่องความเชื่อของคนในสังคม (Tackling Social Norms) โดยรายงานฉบับนี้ทำการสำรวจความเชื่อและทัศนคติของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องของเพศ (Gender Social Norms Index) ว่าประชาชนส่วนใหญ่ทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีความเชื่อและทัศนคติด้านลบต่อเรื่องเพศอย่างไร รายงานฉบับนี้ตีพิมพ์และเผยแพร่เมื่อวันที่

Read More

ธุรกิจออนไลน์สบโอกาส โตสวนทางวิกฤตโรคร้าย

ท่ามกลางวิกฤตของการแพร่ระบาดโรค COVID-19 ซึ่งส่งผลให้ภาคธุรกิจ-อุตสาหกรรมหลากหลายได้รับผลกระทบในเชิงลบจนทำให้การดำเนินธุรกิจตกอยู่ในภาวะชะงักงัน ขณะที่บางบริษัทต้องปลดพนักงานหรือชะลอแผนการลงทุนจากผลของการแพร่ระบาดของโรคที่ดำเนินอยู่นี้ ธุรกิจการบินดูจะเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และมีแนวโน้มที่ไม่สดใสเท่าที่ควร เพราะภายหลังจากการแพร่ระบาดของโรค ทุกประเทศต่างใช้มาตรการคัดกรองนักเดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยงกันอย่างเข้มงวด โดยสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association: IATA) คาดการณ์ว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ว่าจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินทั่วโลกคิดเป็นมูลค่ากว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ IATA ระบุว่า โรคโควิด-19 จะทำให้รายได้ของสายการบินประเภทเครื่องบินโดยสารลดลง 6.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐถึง 1.13 แสนล้านเหรียญสหรัฐขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดว่าจะขยายวงกว้างมากเพียงใด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ IATA ระบุว่า โรคโควิด-19 จะทำให้รายได้ของสายการบินลดลง 2.93 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมคาดการณ์ว่า ผลกระทบดังกล่าวจะจำกัดอยู่ในตลาดที่เกี่ยวข้องกับจีนเท่านั้น แต่ไม่ได้ทำการประเมินผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่จะมีต่อสายการบินประเภทขนส่งสินค้า ความเสียหายที่ IATA ประเมินล่าสุดนี้ เป็นระดับความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกระหว่างช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงิน เมื่อปี 2551 แต่ IATA ยังประเมินสถานการณ์ภายใต้ความเชื่อที่ว่าหากทั่วโลกสามารถควบคุมการระบาดได้รวดเร็ว และจัดการผลกระทบให้อยู่ในวงจำกัด ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นก็จะอยู่ในระดับมูลค่าประมาณ 6.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น แต่นั่นก็เป็นความสูญเสียที่มากพอจะสั่นคลอนความเชื่อมั่นและความมั่นคงของผู้ประกอบการสายการบินแต่ละรายไม่น้อยเช่นกัน แต่ภายใต้วิกฤตดูเหมือนว่าจะยังมีโอกาสใหม่ๆ

Read More