Home > 2015 > กันยายน (Page 3)

พลังมหัศจรรย์จากมะเขือเทศ

 Column: Well – Being  เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า มะเขือเทศอุดมด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมหาศาล ที่สำคัญ มีผลการวิจัยออกมารองรับอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการพิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่า มะเขือเทศดีต่อเราเพียงใด โดยเฉพาะผลการศึกษาที่บ่งชี้ว่า มะเขือเทศช่วยปกป้องคุณจากโรคหัวใจ โรคซึมเศร้า และริ้วรอยเหี่ยวย่น วิธีการบริโภคและการเก็บรักษามะเขือเทศ เพื่อให้ได้สารอาหารระดับสูงสุดแก่ร่างกาย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ไม่อาจมองข้าม ทำไมต้องบริโภคมะเขือเทศมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะซึมเศร้า บริโภคมะเขือเทศหรือผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ เช่น ซอส ซอสมะเขือเทศเข้มข้น (tomato paste) และน้ำมะเขือเทศ ทุกวัน สามารถลดความเสี่ยงจากโรคซึมเศร้าราวร้อยละ 52 นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า เพราะไลโคปีนช่วยลดภาวะเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) หรือการทำลายเซลล์สมองที่แข็งแรงได้ เพื่อป้องกันมะเร็ง ผู้หญิงที่บริโภคอาหารที่อุดมด้วยไลโคปีน สามารถลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งไตได้ร้อยละ 39 รวมทั้งลดความเสี่ยงจากมะเร็งเต้านมช่วงหลังหมดประจำเดือน เพราะไลโคปีนเข้าไปมีอิทธิพลต่อการทำงานของฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้ เพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจ การบริโภคไลโคปีนทุกวัน วันละ 8 มิลลิกรัม ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจได้ราวร้อยละ 25มะเขือเทศยังเป็นแหล่งของกรดที่ช่วยลดปริมาณไขมัน เช่น โคเลสเตอรอล และไขมันในเลือด ที่ช่วยลดการเกิดหรือลดความเสี่ยงจากอาการภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (arteriosclerosis)   ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้บริโภคน้ำมะเขือเทศ 500 มิลลิลิตรทุกวัน

Read More

โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงในกรุงเทพมหานคร เริ่มรับมอบตู้รถไฟฟ้าจากญี่ปุ่น

  มารุเบนิ คอร์ปอเรชั่น (มารุเบนิ) และโตชิบา คอร์ปอเรชั่น (โตชิบา) ยินดีประกาศถึงความคืบหน้า ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงในกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างมารุเบนิและโตชิบา ได้รับคัดเลือกให้จัดหาระบบรถไฟฟ้าและระบบซ่อมบำรุงให้แก่โครงการเป็นระยะเวลา 10 ปีเริ่มจากการ บริหารจัดการระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วงในเชิงพาณิชย์โดยการจัดส่งตู้รถไฟฟ้า ครั้งแรกจำนวน 2 ขบวน 6 ตู้ จากท่าเรือไดโกกุซึ่งตั้งอยู่ในเขตซูรูมิ เมืองโยโกฮาม่า จังหวัดคะนะงาวะ จะมีขึ้นในวันที่ 7 กันยายน 2558 และรถไฟอีก 21 ขบวน 63 ตู้จะมาถึงประเทศไทย ภายใน เดือนมกราคม 2559 รถไฟฟ้าสายสีม่วงเป็นรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายใหม่ระยะทาง23 กิโลเมตรมีเส้นทางเดินรถจากสถานีบางใหญ่ถึงบางซื่อ กรุงเทพฯ​ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และคาดว่าจะสามารถเปิด ให้บริการได้ในปี 2559 โครงการได้รับการพัฒนาโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยใช้รูปแบบการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน (PPP) โดยใช้งบประมาณจาก เงินกู้ตาม โครงการช่วยเหลือ เพื่อการพัฒนา (ODA: Official Development Assistance) จากประเทศญี่ปุ่นบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ

Read More

ฟื้นเศรษฐกิจแบบไทยไทย? ตามรอย Discover Thainess

  พลันที่เสียงระเบิดดังกึกก้องไปทั่วบริเวณสี่แยกราชประสงค์ ควันไฟและเศษฝุ่นปูนที่ลอยคละคลุ้งอยู่ในอากาศเพิ่งจางหายไปไม่นาน นับเป็นเหตุการณ์ระทึกขวัญที่สร้างความตระหนกให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวไม่น้อย ส่งผลให้มีการยกเลิกการจองโรงแรมสำหรับเข้าพักในบางพื้นที่ ความวิตกปรากฏอยู่เพียงไม่นานเมื่อทุกชีวิตยังต้องดำเนินต่อไปท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้นทันตา แน่นอนว่าหลายฝ่ายเป็นกังวลต่อเหตุดังกล่าว ว่าจะส่งผลให้สถานการณ์การท่องเที่ยวของไทยที่กำลังขยายตัวอยู่อย่างต่อเนื่องชะลอตัวลง ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของไทยกำลังน่าเป็นห่วง ซึ่งรายได้จากการท่องเที่ยวอาจจะช่วยพยุงและหนุนนำการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยได้บ้าง ซึ่งหากดูจากสถิติตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2558 มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 30.93 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีรายได้จากการท่องเที่ยว 826,867.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.95  โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามียุทธศาสตร์การปฏิรูปท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560 ซึ่งมุ่งเน้นในด้านมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นสุดท้าย ทั้งนี้หลังจากเปิดระดมความคิดเห็นจากหลายฝ่ายจึงได้ข้อสรุป 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านการตลาด 2. ยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านการพัฒนาสินค้าและบริหารท่องเที่ยว และ 3. ยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านการบริหารจัดการ ปีแห่งการท่องเที่ยววิถีไทย อีกหนึ่งแคมเปญที่ภาครัฐตั้งธงขึ้นมาเพื่อหวังให้เป็นหมากสำคัญที่จะทำคะแนนได้ ซึ่งแม้จะได้ผลอยู่บ้างจากการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างหนักหน่วง หากแต่เกิดคำถามขึ้นในเวลาที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่า การท่องเที่ยวไทยมาถูกทางหรือไม่ จะดีกว่าไหมหากจะมองข้ามความงามอันฉาบฉวย แล้วหันกลับมามองให้ลึกถึงทรัพยากรที่มีอยู่และพัฒนาเพื่อผลประโยชน์อันจีรัง นอกจากยุทธศาสตร์การปฏิรูปท่องเที่ยวไทยแล้ว กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวฯ ยังผลักดันกลยุทธ์พัฒนาเชิงพื้นที่ 5 คลัสเตอร์ รีแบรนดิ้งพลิกโฉมท่องเที่ยวไทย ยกระดับจากแหล่งท่องเที่ยวราคาถูกสู่แหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ โดยมีสาระสำคัญของแผนพัฒนาการท่องเที่ยวทั้ง

Read More

ถอดรหัสท่องเที่ยวอินเดีย “Incredible” อย่างเป็นระบบ

  พลันที่เสียงระเบิดดังกึกก้องกัมปนาทและส่งผลให้เกิดความสูญเสียแก่ทั้งชีวิตผู้คนและทรัพย์สิน โดยรอบย่านราชประสงค์เมื่อ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา ดูเหมือนว่ากิจกรรมด้านการท่องเที่ยวซึ่งผูกพันกับประเด็นว่าด้วยสวัสดิภาพความปลอดภัยจะได้รับการหยิบยกและคาดการณ์ถึงผลกระทบที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง แต่ระยะเวลาเพียงสามสัปดาห์หลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่ว่านี้ การประเมินความเสียหายหรือทิศทางแนวโน้มในอนาคตอาจไม่ปรากฏชัดเจนมากนัก แม้ว่าในเบื้องต้นจะมีตอบสนองในเชิงลบว่าด้วยการยกเลิกการเดินทางหรือการจองบ้างก็ตาม ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุปกติท่ามกลางกลุ่มควันที่เพิ่งปกคลุมและยังไม่ทันได้จาง ความพยายามที่จะกระตุ้นและอาศัยการท่องเที่ยวให้เป็นส่วนหนึ่งในการแสวงหารายได้เข้าสู่ประเทศมิได้เกิดขึ้นเฉพาะในกรณีของประเทศไทยเท่านั้น หากในความเป็นจริงดูเหมือนว่าเกือบทุกประเทศทั่วโลกจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ในระดับดีกรีความเข้มข้นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพียงแต่ในรายละเอียดของการส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้นจะดำเนินไปท่ามกลางมิติและจุดขายที่มุ่งเน้นเพื่อหนุนส่งสถานภาพของแต่ละประเทศในสังคมโลกอย่างไรเท่านั้น หากประเมินในมิติที่ว่านี้ กรณีของ Incredible India ซึ่งเป็นการรณรงค์ส่งเสริมการท่องเที่ยวของอินเดียที่ดำเนินมาตั้งแต่เมื่อปี 2002 ดูจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างและขยายตลาดการท่องเที่ยว ที่ประสบผลสำเร็จจนกลายเป็นแบรนด์ที่มีบทบาทอิทธิพลในตลาดการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติไม่น้อยเลย การส่งเสริมการท่องเที่ยวของอินเดียในช่วงก่อนหน้าปี 2002 ก็คงไม่แตกต่างจากความพยายามที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศอื่นๆ ที่พยายามออกโบรชัวร์หรือแผ่นพับแนะนำประเทศและจุดท่องเที่ยวสำคัญหลากหลาย ควบคู่กับการจัดกิจกรรมพิเศษในแต่ละคราวแต่ละวาระ ตามแต่ที่โอกาสและความสามารถในการบริหารจัดการจะเอื้ออำนวย ซึ่งย่อมไม่สามารถลงหลักปักหมุดให้เกิดความรู้สึกตระหนักรู้ในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังไม่นับรวมการบริหารจัดการด้านงบประมาณจำนวนมากที่เมื่อเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับเป็นผลตอบแทนในรูปของจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้เข้าสู่ประเทศ ที่อาจไม่เกิดความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ เพราะขาดยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงและต่อเนื่องอีกด้วย แต่พลันที่รัฐบาลอินเดียริเริ่มแผนการรณรงค์ภายใต้ Incredible India ปรากฏว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าสู่อินเดียมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและเติบโตด้วยอัตราเร่งที่น่าสนใจ โดยข้อมูลจาก Visa Asia Pacific เมื่อปี 2006 หรือหลังจากที่ Incredible India ได้รับการนำเสนอสู่สาธารณะเพียง 4 ปีระบุว่า อินเดียกลายเป็นจุดหมายปลายทางและตลาดการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างรวดเร็วของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวนานาชาติ ซึ่งตัวเลขในรายงานระบุว่าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2005 (ตุลาคม-ธันวาคม) มีนักท่องเที่ยวใช้จ่ายเงินตราในการท่องเที่ยวอินเดียมากถึง 372 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 25

Read More

Sri Lankan Airlines: นกยูงแห่งเอเชียใต้

Column: AYUBOWAN ได้ยินได้ฟังเรื่องราวความเป็นไปของการบินไทย สายการบินแห่งชาติ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาครบรอบ 55 ปี ในปี 2015 เมื่อช่วงเดือนเศษที่ผ่านมาแล้ว ก็ให้รู้สึกเห็นใจผู้คนที่อยู่แวดล้อมองค์กรแห่งนี้ ทั้งในส่วนพนักงานที่ยังไม่สามารถกำหนดอนาคตได้แน่ชัด หรือผู้โดยสารที่รอให้กำลังใจด้วยการใช้บริการ และที่สำคัญคือประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของเงินภาษีที่รัฐอาจต้องนำเงินไปอุดหนุนวิสาหกิจแห่งนี้อีกครั้ง แต่กรณีของการบินไทยก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อย่างใดนะคะ เพราะอย่างที่เราท่านคงทราบดีว่า “When State Owns, Nobody Owns. When Nobody Owns, Nobody Cares.” ซึ่งดูเหมือนความเป็นไปของสายการบินแห่งชาติหลายแห่งก็จะดำเนินไปในพิกัดระนาบเช่นที่ว่านี้ จนต้องล้มหมอนนอนเสื่อป่วยไข้ไปด้วยพิษการบริหารที่ล้มเหลวจนถึงกับต้องล้มละลายจากหายไปในที่สุด เรื่องราวของ Sri Lankan Airlines เมื่อครั้งอดีตที่ผ่านมา ก็คงไม่ได้อยู่ในบริบทที่จะได้รับการยกเว้นจากกรณีที่ว่านี้เช่นกันนะคะ เพราะกว่าที่จะมาเป็น Sri Lankan Airlines สายการบินแห่งชาติของศรีลังกาในวันนี้ ต้องเผชิญกับมรสุมและกระแสลมแปรปรวนอยู่หนักหน่วงเช่นกัน จุดเริ่มต้นของสายการบินแห่งชาติศรีลังกา เริ่มขึ้นจากการจัดตั้ง Air Ceylon ในปี 1947 หรือก่อนที่ศรีลังกาจะได้รับเอกราชจากอังกฤษเจ้าอาณานิคม ในปี 1948 เสียอีก โดย Air Ceylon มีสถานะเป็นวิสาหกิจของรัฐ

Read More

มอง “เศรษฐกิจดิจิตอล” ผ่านมายาของ ทีวีโฮมช้อปปิ้ง

  ทีวีโฮมช้อปปิ้งเติบโตอย่างต่อเนื่องสวนกระแสภาวะเศรษฐกิจขาลง ในปัจจุบันนี้ ซึ่งดูได้จากการขยายตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปีนี้จะมียอดขายรวม 8,000 ล้านบาท หรือเติบโตร้อยละ 20–25 จากปีก่อนที่มียอดขายรวม 6,000 ล้านบาท และคาดการณ์ว่า 3- 5 ปีข้างหน้ายอดขายทีวีโฮมชอปปิ้งจะสูงถึง 20,000–30,000 ล้านบาท ทีวีโฮมช้อปปิ้งเป็นการหามูลค่าเพิ่มจากกิจการโทรทัศน์ แต่ก็เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่จะเป็นจิ๊กซอว์ในการขับเคลื่อนไปสู่ creative economy และ digital economy แม้ว่าจะเป็นธุรกิจที่ยังเล็ก แต่เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตทุกขณะ สวนกระแสสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ในขณะที่บางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ซึ่งถือเป็นเบอร์หนึ่งของอุตสาหกรรมโฮมช้อปปิ้งในโลก และเป็นต้นแบบของอุตสาหกรรมนี้ มีการเติบโต และสร้างรายได้มากถึง 400,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งนับว่าช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังภาวะวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในเอเชียหรือวิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 ซึ่งเกาหลีใต้ได้พัฒนาแนวคิดและเริ่มดำเนินการทีวีโฮมช้อปปิ้งในปี 2542 และสามารถสร้างรายได้พร้อมกับเป็นกลไกส่วนหนึ่งที่ทำให้เกาหลีใต้ฟื้นตัวกลับมาอย่างรวดเร็ว  ในส่วนของประเทศไทย กสทช. พยายามศึกษาแนวทางและนำหลักการของธุรกิจนี้ของเกาหลีใต้ มาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย ภายใต้ปัจจัยหนุนหลายประการ เช่น การเกิดขึ้นของทีวีดิจิตอล การเพิ่มช่องฟรีทีวี พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปโดยหันมานิยมซื้อสินค้าทางทีวีมากขึ้น รวมถึงการออกใบอนุญาตของ

Read More

120 ปีภาพยนตร์ฝรั่งเศส

 Column: From Paris Lumière! Le cinéma inventé เป็นชื่อนิทรรศการที่จัดขึ้นที่กรองด์ ปาเลส์ (Grand Palais) ในฤดูใบไม้ผลิ 2015 ที่จัดขึ้นในโอกาสที่การภาพยนตร์ฝรั่งเศสเวียนมาครบ 120 ปี มิใช่นิทรรศการเกี่ยวกับ “แสง” อันเป็นคำแปลของ lumière แต่เป็นเรื่องราวของพี่น้องตระกูลลูมีแอร์ (Lumière) ผู้ให้กำเนิดการภาพยนตร์ของฝรั่งเศส เคยคิดว่าพี่น้องลูมีแอร์เป็นผู้คิดค้นการถ่ายทำภาพยนตร์เป็นคนแรกของโลก แต่เป็นความเข้าใจผิดทั้งเพ เพราะผู้ให้กำเนิดจริงๆ คือ โธมัส เอดิสัน (Thomas Edison) ชาวอเมริกันในฝรั่งเศส พี่น้องตระกูลลูมีแอร์ ซึ่งเรียกว่า Frères Lumière อันมีโอกุสต์ (Auguste) และหลุยส์ ลูมีแอร์ (Louis Lumière) เป็นผู้ริเริ่ม ภาพยนตร์เรื่องแรกของฝรั่งเศสถ่ายทำเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 1895 และนำมาฉายที่ปารีสอีกสามวันต่อมา ต่อเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 1895 จึงนำไปฉายในห้อง Salon indien

Read More