Home > health

ผู้หญิงสูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยมากกว่าผู้ชายสูงอายุถึงเกือบ 2 เท่า

ผู้หญิงสูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยมากกว่าผู้ชายสูงอายุถึงเกือบ 2 เท่า โภชนาการที่ดีมีส่วนช่วยส่งเสริมการสูงวัยอย่างมีคุณภาพได้ ในแต่ละวัน เราต่างก็แก่ตัวลงเรื่อย ๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่ช้าก็เร็วเราทุกคนต้องเผชิญ แต่เราสามารถดูแลตัวเองและคนที่เรารักเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีได้ตั้งแต่วันนี้ ซึ่งหัวใจสำคัญที่มีส่วนช่วยชะลอสภาวะร่างกายที่เสื่อมถอยให้ช้าลงได้คือ “โภชนาการอาหาร” ที่ได้รับแต่ละวัน ผู้หญิงที่เข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน ต้องเผชิญกับความเหนื่อยล้าทั้งจากการใช้ชีวิตและการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งการได้รับโภชนาการที่ดีและปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตมีส่วนช่วยให้มีสุขภาพกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูกที่แข็งแรงได้ การสร้างความเข้าใจว่าโภชนาการส่งผลต่อการสูงวัยอย่างไร สามารถช่วยให้ผู้หญิงออกแบบการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น อายุที่มากขึ้นส่งผลต่อสุขภาพของผู้หญิงอย่างไร? เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนในช่วงอายุ 45 – 55 ปี สุขภาพและร่างกายของผู้หญิงจะเริ่มแสดงอาการเสื่อมถอยอย่างรวดเร็ว – ซึ่งจะเร็วกว่าประมาณ 10 ปีหรือมากกว่าเมื่อเทียบกับผู้ชาย โดยจะเริ่มแสดงอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อาทิ การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อมากถึง 33% ภาวะกระดูกอ่อนเสื่อมถึง 23% หรือแม้แต่การสูญเสียโปรตีนซึ่งเป็นโครงสร้างของผิวหนังมากถึง 30% เป็นต้น ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) หรือ การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและการทำงานของกล้ามเนื้อที่ถดถอยไปตามอายุ มีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการขยับร่างกายน้อย การขาดโภชนาการ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย โดยหลายงานวิจัยแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้หญิงสูงอายุ ซึ่งประกอบไปด้วย • งานวิจัยในกลุ่มผู้สูงอายุอายุระหว่าง 60 – 89 ปีจำนวน

Read More

วิตามิน อาหารเสริม ทางเลือกเพื่อสุขภาพของแต่ละช่วงวัย

ในแต่ละช่วงวัยร่างกายต้องการสารอาหารในแต่ละวันที่แตกต่างกัน แม้ว่าหลายคนจะเพิ่มความใส่ใจในโภชนาการ รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ แต่เมื่อถึงวัยที่ร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลง วิตามิน อาหารเสริม อาจมีความจำเป็นมากขึ้น ปัจจุบัน การรับประทานอาหารเสริมหรือวิตามินได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในวัยทำงานที่มักใช้เวลากับงานมากกว่าจะใส่ใจสุขภาพตัวเอง หรือในวัยสูงอายุที่อาจเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อวัยวะบางอย่างเริ่มเสื่อมถอย และทำงานไม่ได้อย่างเต็มที่ วิตามิน อาหารเสริม จึงกลายเป็นตัวช่วยสำคัญที่เข้ามาทดแทน อย่างไรก็ตาม หลายคนคงสงสัยว่า ความต้องการของร่างกายในแต่ละช่วงวัย วิตามินที่ควรได้รับเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง - ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี ในวัยที่กำลังเจริญเติบโตเป็นวัยที่ควรได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ทั้งจากอาหารหลักทั้ง 5 หมู่ นอกจากนี้ สารอาหารที่ร่างกายควรได้รับเพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูก คือ แคลเซียม ที่หาได้จากนม ปลาเล็กปลาน้อย โอเมก้า-3 อาหารเสริมที่ช่วยในเรื่องของสมาธิและความจำ หาได้จากปลา อาหารทะเล ถั่ว เมล็ดพืช น้ำมันถั่วเหลือง ทั้งนี้ ปริมาณของโอเมก้า-3 ที่เหมาะสมของแต่ละเพศและช่วงวัยก็แตกต่างกัน ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหากจำเป็นต้องกินอาหารเสริมโอเมก้า-3 - ผู้ที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี ในวัยทำงาน อาจจำเป็นที่ร่างกายของบางคนต้องการวิตามิน อาหารเสริมมากขึ้น เพราะในวัยนี้

Read More

ความทุกข์ของคนผอม ทำอย่างไรให้มีกล้าม หุ่นสมส่วน

ปัจจุบันการออกกำลังกาย ไม่ใช่เพียงแค่เทรนด์ของสังคมในช่วงเวลาหนึ่งอีกต่อไป เมื่อสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ปรารถนา และแน่นอนว่า นอกจากเรื่องโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว การออกกำลังกายที่เหมาะสม ส่งผลให้บุคคลนั้นมีสุขภาพที่ดีขึ้น ส่วนเหตุผลของการออกกำลังกายนั้น มีอยู่ด้วยกันไม่กี่อย่าง เช่น ออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก ลดไขมัน ออกกำลังกายเนื่องจากมีโรคประจำตัว และทำตามคำแนะนำของแพทย์ หรือแม้แต่คนที่ผอมมากๆ จนดูเหมือนขี้โรค ก็ยังต้องออกกำลังกายเช่นกัน “ผู้จัดการ 360 องศา” เคยแนะนำรูปแบบวิธีการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก ลดไขมันไปบ้างแล้ว ซึ่งนั่นดูจะเป็นความทุกข์อย่างหนึ่งของคนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน ที่เสี่ยงต่อโรคที่จะตามมา แต่หารู้ไม่ คนผอมก็มีความทุกข์ไม่ต่างกัน คนผอมที่กินเท่าไรก็ไม่อ้วน รูปร่างบาง เป็นที่น่าอิจฉาของคนรอบข้าง ทั้งในเรื่องการแต่งกาย ที่คนผอมมักจะหาเสื้อผ้าสวมใส่ได้ง่าย มีไซส์มีดีไซน์ให้เลือกเยอะ และกินอาหารได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำหนัก หรือไขมันส่วนเกิน แต่หารู้ไม่ ว่าคนผอมก็เป็นทุกข์ได้เช่นกัน เพราะบางคนเมื่อมีรูปร่างผอม แต่กลับไม่มีกล้ามเนื้อ รูปร่างไม่สมส่วน ดูขี้โรค แม้บางคนจะพยายามกินอาหารในปริมาณที่มากแล้วก็ตาม “ผู้จัดการ 360 องศา” มีวิธีดีๆ มาแนะนำสำหรับคนผอมที่ต้องการเพิ่มน้ำหนัก และเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อเพื่อให้ร่างกายดูสมส่วนมากขึ้น เริ่มจาก 1. ค้นหาค่าดัชนีมวลกาย ค่าดัชนีมวลกายหรือ Body Mass Index (BMI) ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่ารูปร่างของเราในเวลานี้อยู่ในระดับใด ผอมเกินไป

Read More

น้ำหนักตัน ระบบเผาผลาญพัง ถึงคราวที่ต้องกู้…

หลายคนมักเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการลดน้ำหนัก แม้ว่าจะยังคงควบคุมปริมาณอาหาร จำกัดแคลอรี ออกกำลังกายอย่างดี แต่ผลที่ได้กลับคงเดิม น้ำหนักนิ่ง สัดส่วนไม่ลดลง แม้ว่าการกินที่เริ่มปรับลดลง แต่ให้ความรู้สึกว่าอ้วนหรือน้ำหนักดีดกลับขึ้นมา เหตุการณ์เหล่านี้อาจทำให้หลายคนเกิดอาการเครียด และพยายามหาหนทางที่ยังผิดวิธี เช่น อาจจะกินน้อยลงไปอีก หรือออกกำลังกายหนักขึ้น ทว่า การกระทำเหล่านั้นล้วนส่งผลเสียโดยรวม หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับใคร ขอให้เข้าใจว่า ระบบเผาผลาญในร่างกายคุณกำลังเริ่มมีปัญหา ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดิม เพราะการกระทำแบบเดิมๆ ซ้ำๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารปริมาณเท่าเดิม การออกกำลังกายในท่าทางเก่าๆ หรือรูปแบบที่เคยเล่นเป็นประจำ วันนี้ “ผู้จัดการ 360 องศา” จะมาอธิบายเหตุผลและบอกเคล็ดลับที่น่าจะสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวบุคคลได้ไม่ยากนัก 1. ปรับปริมาณแคลอรีลดลงตามน้ำหนักของร่างกายที่ลดลง เราอาจเผลอหรือเข้าใจผิดไป ทั้งการไม่ได้ชั่งน้ำหนักบ่อยๆ จึงทำให้ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อนหน้า และอาจทำให้เรายังไม่ปรับปริมาณสารอาหารลงให้เหมาะสมกับน้ำหนักและร่างกายในช่วงเวลานั้นๆ เมื่อน้ำหนักตัวเราเริ่มลดลง จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องปรับปริมาณแคลอรีลดลงให้พอเหมาะกับน้ำหนักตัวในปัจจุบัน น้ำหนักตัวที่ลดลงหมายความว่า ร่างกายต้องการปริมาณแคลอรีที่ลดลงตามไปด้วย ดังนั้นไม่จำเป็นที่เราต้องบริโภคอาหารในปริมาณที่เท่าเดิมอีกต่อไป 2. คงปริมาณโปรตีนในสารอาหารไว้ แม้ว่าน้ำหนักตัวเราจะลดลงไปแล้ว แต่เรายังจำเป็นที่ต้องรับประทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสมต่อไป เพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อให้ยังคงอยู่ แน่นอนว่าไม่ใช่แต่มวลกล้ามเนื้อเท่านั้นที่ต้องการสารอาหารจากโปรตีน กระดูกและอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายจำเป็นที่ต้องได้รับสารอาหารจากโปรตีนเช่นกัน นอกจากนี้ โปรตีนยังช่วยให้เราอิ่มท้องนานขึ้น และลดความอยากรับประทานของหวานลง ในแต่ละวันที่เรารับประทานอาหารที่มีโปรตีน ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 3-4

Read More

ลดน้ำหนัก ลดไขมันอย่างไรให้ได้ผล

การออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หลายคนมักกำหนดเป็นเป้าหมายไว้ตั้งแต่เริ่มต้นศักราชใหม่ว่าจะต้องทำให้ได้ แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่บรรลุตามเป้าประสงค์เสียที จนเกิดความท้อแท้ หมดความพยายามไปเรื่อยๆ หลายคนมักหาคำแก้ตัว ข้อแก้ต่างให้กับตัวเองอยู่เสมอ เช่น พรุ่งนี้ค่อย... กินไปก่อนค่อยเอาออกทีหลัง จนในที่สุดรอบเอวเริ่มหนาขึ้น กางเกงตัวเก่งเริ่มใส่แล้วไม่สบายตัวเหมือนก่อน การเปลี่ยนแปลงภายนอกที่เราสังเกตเห็นได้ หรือคนรอบข้างเริ่มทักถึงหุ่นที่เปลี่ยนไป คงยังไม่น่าหนักใจเท่าปัญหาสุขภาพที่อาจจะตามมาในไม่ช้า ทั้งปัญหาไขมันในเลือดสูงขึ้น โคเลสเตอรอลพุ่งเกินค่ามาตรฐาน ไตรกลีเซอไรด์เพิ่ม ไขมันพอกตับ โรคอ้วน เริ่มศักราชใหม่แล้ว “ผู้จัดการ 360 องศา” อยากชวนให้ผู้อ่านกลับมามีกำลังใจในการลดน้ำหนัก ลดไขมันกันอีกครั้ง เริ่มด้วยวิธีง่ายๆ ที่ไม่ยากเกินไป ไม่ต้องหักห้ามใจหรือใช้แรงใจขึ้นสูง อันดับแรก ตั้งเป้าหมายระยะสั้น ที่ทำได้ง่ายๆ ด้วยการลดเครื่องดื่มที่มีความหวานลง เช่น กาแฟเย็นหวานมัน ชานมไข่มุก น้ำอัดลม น้ำหวานสารพัดสี จากเดิมที่เคยดื่มทุกวันหลังอาหาร หรืออย่างน้อยวันละ 2-3 แก้วต่อวัน ให้เหลือวันละ 1 แก้ว และปรับลดความหวานลงอีกนิด เวลาสั่งให้เน้นย้ำกับพนักงานร้านเครื่องดื่มว่า “หวานน้อย” เรายังได้ความสดชื่นเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือสุขภาพจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ หลายคนที่ปรับลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง จะเห็นการเปลี่ยนแปลงเรื่องรูปร่างและน้ำหนักลงอย่างชัดเจนขึ้น

Read More

8 สาเหตุทำคุณถ่ายปัสสาวะขัด

Column: Well – Being การถ่ายปัสสาวะปวดแสบปวดร้อนหรือที่เรียกว่าถ่ายปัสสาวะขัด จัดได้ว่าเป็นอาการที่สร้างความรำคาญใจและน่าอายได้มากที่สุดอาการหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ไม่ว่าอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ หรือคันและระคายเคืองผิวหนัง หรือต้องวิ่งเข้าห้องน้ำบ่อยครั้ง ... เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ทำไมจึงถ่ายปัสสาวะขัด? ข่าวดีคือ ตัวร้ายที่เป็นสาเหตุของการถ่ายปัสสาวะขัดมักเป็นตัวเดียวกันไม่มีอะไรซับซ้อน และแม้ว่าคุณกำลังเผชิญกับสาเหตุการถ่ายปัสสาวะขัดที่ไม่ได้มาจากสาเหตุร่วมโดยทั่วไป ให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยหาสาเหตุและหาวิธีรักษาที่ถูกต้องต่อไป ด้วยการเก็บตัวอย่างปัสสาวะส่งแพทย์ตรวจเท่านั้น ถ้าคุณสงสัยว่า ทำไมจู่ๆ จึงถ่ายปัสสาวะขัด นิตยสาร Prevention นำเสนอเหตุผล 8 ประการที่เป็นไปได้ พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญดังนี้ (1) คุณอาจติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI) ถ้าคุณต้องถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ (แต่คุณไม่ต้องการ เพราะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนและปัสสาวะขัด หรือในทุกครั้งที่มีปัสสาวะไหลออกมา) คุณอาจติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection หรือ UTI) ดร. ไมเคิล อิงเบอร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินปัสสาวะ อธิบายว่า “สิ่งแรกที่คุณควรคำนึงถึงคือ ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการที่เกิดมากที่สุดของโรคติดเชื้อทั้งหมด และผู้หญิงร้อยละ50-60 ล้วนเคยเป็นโรคนี้อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต” นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ชายจะไม่เป็น UTI แต่ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายราวร้อยละ 30 ... ทำไม? ดร. เดวิด

Read More

เป็น โควิด-19 เสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน?

Column: Well – Being ท่ามกลางการแพร่ระบาดอย่างไม่หยุดยั้งของโรค โควิด-19 ที่เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจอย่างน่ากลัวนั้น ปรากฏว่าแพทย์หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า มีผู้ป่วยอาการหนักต้องต่อสู้กับอาการลิ่มเลือดอุดตัน เป็นการเพิ่มความซับซ้อนอย่างหนักหน่วงให้กับความเจ็บป่วยที่ทุกข์ทรมานอยู่แล้ว ผลการวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น เพราะเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน ที่น่าสนใจคือ การศึกษาจากการชันสูตรศพผู้เสียชีวิตด้วยโรค โควิด-19 โดยนักวิจัยพบลิ่มเลือดอยู่ในปอดและบริเวณใต้ผิวหนัง นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบลิ่มเลือดบริเวณใต้ผิวหนังของผู้ป่วยที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วย นิตยสาร Prevention นำเสนอบทความน่าสนใจชิ้นนี้ว่า การศึกษาผู้ป่วย โควิด-19 ในห้องไอซียู 184 คนที่เนเธอร์แลนด์ พบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 27 มีอาการลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ (venous thromboembolism หรือ VTE) ซึ่งมักเป็นอาการลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำส่วนลึกที่ขา ต้นขา หรือกระดูกเชิงกราน ผู้ป่วยร้อยละ 25 มีอาการลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (pulmonary embolism หรือ PE) ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และเกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดบางส่วนแตกตัวแล้วไหลเข้าสู่ปอด นักวิจัยสรุปว่า โดยรวมแล้วผู้ป่วยในห้องไอซียูร้อยละ 31 มีอาการแทรกซ้อนจากภาวะลิ่มเลือดนี้ค่อนข้างสูง ตัวอย่างกรณีนี้คือ ดาราชื่อดังแห่งบรอดเวย์ นิค คอร์เดโร

Read More

อาหารแก้ท้องผูก

Column: Well – Being อาการท้องผูกหรือภาวะช่องท้องขาดการเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ก้อนอุจจาระไม่สามารถเคลื่อนตัวหรือขับถ่ายออกมา เป็นภาวะที่เลวร้ายยิ่ง และอาจมีสาเหตุหลากหลายแตกต่างกัน ซึ่งรวมถึงอาหารที่คุณกินเข้าไปด้วย แน่นอนว่ามีแทคติกที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้คุณสามารถทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของก้อนอุจจาระและขับถ่าย รวมทั้งการกินยารักษา แต่ถ้าคุณคิดว่าอาการท้องผูกของคุณไม่ได้มาจากปัญหาสุขภาพที่ซ่อนเร้น และต้องการแก้ปัญหาด้วยตัวคุณเอง ทั้งแพทย์และนักกำหนดอาหารต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันในนิตยสาร Prevention ว่า การกินอาหารอย่างถูกต้องจะช่วยกระตุ้นระบบทางเดินอาหารของคุณได้ “วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาคือ ทำจากภายในออกมา” ดร.แอชคัน ฟาร์ฮาดี แพทย์โรคทางเดินอาหาร และผู้อำนวยการโครงการโรคทางเดินอาหารของเมโมเรียล แคร์ เมดิคอล กรุ๊ป ที่เฟาน์เทน วัลเลย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย กล่าว ปกติแล้วคุณต้องหาอาหารเส้นใยสูงเพื่อช่วยเพิ่มขนาดของก้อนอุจจาระ “จะง่ายกว่ากับการทำให้บางสิ่งบางอย่างที่มีลักษณะเป็นก้อนใหญ่ขึ้น เคลื่อนตัวผ่านลำไส้ใหญ่ออกมา” ดร. ฟาร์ฮาดีอธิบาย (อาหารบางชนิดมีสารเฉพาะตัวที่ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวในช่องท้องด้วยซ้ำ) ดังนั้น ถ้าธรรมชาติไม่ทำงานตามปกติ และคุณต้องการลองแก้ปัญหาด้วยวิธีธรรมชาติก่อน ให้หันมากินอาหารที่แนะนำต่อไปนี้เพื่อช่วยแก้ปัญหาท้องผูก พรุน พรุนอบแห้งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในแง่ช่วยแก้ปัญหาท้องผูกด้วยเหตุผลว่า “พรุนเป็นแหล่งเส้นใยที่ดี” เจสสิกา คอร์ดิง ผู้เขียนหนังสือ The Little Book of Game – Changers กล่าว พรุนยังมีสาร

Read More

อูย… ริดสีดวงทวารเล่นงาน?

Column: Well – Being คนส่วนใหญ่คงเคยได้ยินเกี่ยวกับริดสีดวงทวารกันมาบ้างแล้ว สถาบันแห่งชาติว่าด้วยโรคเบาหวาน โรคทางเดินอาหาร และโรคไต (NIDDK) แห่งสหรัฐฯ ให้ข้อมูลว่า ชาวอเมริกันทุก 1 ใน 20 คนได้รับผลกระทบจากริดสีดวงทวาร และประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้เป็นผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไป แต่ถ้าคุณไม่เคยเป็นริดสีดวงทวาร คงเป็นเรื่องยากที่จะบรรยายให้รู้ซึ้งว่ามันทุกข์ทรมานอย่างไรบ้าง นิตยสาร Prevention แนะนำให้ลองมาทำความรู้จักริดสีดวงทวารกันดีกว่า หอสมุดแห่งชาติสหรัฐอเมริกาให้คำจำกัดความโรคริดสีดวงทวารว่า เป็นอาการหลอดเลือดรอบทวารหนักหรือลำไส้ตรงส่วนล่างบวมและอักเสบ “ริดสีดวงทวารเป็นกายวิภาคปกติ เหมือนการที่เรามีมือทั้งสองข้าง” ดร. เจฟเฟอรี เนลสัน ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และผู้อำนวยการแผนกศัลยกรรมแห่งศูนย์โรคลำไส้ใหญ่และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังประจำศูนย์การแพทย์เมอร์ซีแห่งบัลติมอร์ กล่าว “ในร่างกายของทุกคนต่างก็มีเนื้อเยื่อริดสีดวงทวาร” NIDDK เปิดเผยว่า ริดสีดวงทวารมี 2 ประเภท ได้แก่ ริดสีดวงทวารภายใน ที่เกิดขึ้นเหนือเส้นสมมุติ (dentate line) ของทวารหนักและลำไส้ตรงส่วนล่าง และริดสีดวงทวารภายนอก ที่เกิดขึ้นใต้เส้นสมมุติ (dentate line) ลงมาและอยู่ลึกเข้าไปใต้ผิวหนังรอบทวารหนัก สาเหตุ ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ทำไมบางคนจึงต้องทุกข์ทรมานกับภาวะริดสีดวงทวาร ขณะที่คนอื่นกลับไม่เป็น ดร. เนลสัน

Read More

ความโดดเดี่ยว-อันตรายยิ่งกว่าสูบบุหรี่วันละ 15 มวน!

Column: Well – Being ความโดดเดี่ยว เป็นอารมณ์ที่กวี นักเขียนนวนิยาย และนักประพันธ์เพลงล้วนประสบกันมาหลายศตวรรษแล้ว และพยายามถ่ายทอดออกมาในภาษาต่างๆ แต่นักวิจัยบางคนยืนยันว่าความโดดเดี่ยวเป็นอะไรที่มากกว่าความรู้สึก คือเป็นทั้งความหายนะ ความเจ็บป่วย หรือสภาวะที่ต้องได้รับการเยียวยาเหมือนโรคชนิดหนึ่ง และเป็นเหมือนโรคติดต่อที่รุนแรงขั้นถึงแก่ชีวิตได้ ในมุมมองด้านความจริง ผู้ที่ขาดการเชื่อมโยงกับสังคมจัดว่าอยู่ในภาวะอันตรายยิ่งกว่าการสูบบุหรี่ถึงวันละ 15 มวน และเป็นอันตรายต่อชีวิตมากกว่าโรคอ้วน ความรู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยวสามารถตีความเป็นความเจ็บป่วยทางกายได้ โดยเหตุที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ซึ่งไม่ได้หมายความเพียงว่า เรามีความสุขกับการอยู่ในสังคมเท่านั้น แต่หมายถึงเราจำเป็นต้องอยู่ในสังคมด้วย การแยกตัวจากสังคมทำร้ายมนุษย์ทั้งทางอารมณ์และจิตวิทยา ความเครียดที่เกิดจากความโดดเดี่ยว ทำให้เกิดการสูญเสียทางกายภาพ การเผชิญกับความโดดเดี่ยวเรื้อรัง (นานเกิน 2 สัปดาห์) จะเชื่อมโยงกับโรคความดันโลหิตสูง โรคซึมเศร้า โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองสาเหตุเพราะเกิดภาวะอักเสบสูงขึ้น หากอาการนี้มีมากเกินไป ย่อมมาพร้อมๆ กับโรคเรื้อรัง “ผู้คนพากันคิดว่า ความโดดเดี่ยวสัมพันธ์กับสุขภาวะทางอารมณ์ พวกเขาไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบอย่างลึกซึ้งที่ความโดดเดี่ยวมีผลต่อสุขภาพทางกาย” ศาสตราจารย์จูเลียนน์ ฮอลท์-ลุนสตัด แห่งสถาบันจิตวิทยาบริกแฮมกล่าว ทั้งยังเปิดเผยผลการวิจัยของเธอด้วยว่า คนเหงามีแนวโน้มเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 แต่ถ้าเป็นผู้ไม่มีสังคมหรือมีน้อยมาก ความเสี่ยงจะเพิ่มเป็นร้อยละ 29 และเพิ่มเป็นร้อยละ 32 ในหมู่คนที่อาศัยตามลำพัง “เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ทางสังคมให้มากเหมือนกับที่เราใส่ใจในอาหาร

Read More