Home > Cover Story (Page 150)

Dien Bien Phu รอยประทับแห่งสงคราม

 สมรภูมิรบเดียนเบียนฟู การเผชิญหน้าครั้งสำคัญในสงครามอินโดจีน ระหว่างกองทัพทหารฝรั่งเศสในฐานะเจ้าอาณานิคมกับกองทัพเวียดมินห์ของขบวนการกู้ชาติเวียดนาม ในฐานะผู้ดิ้นรนเพื่อให้หลุดพ้นจากการเป็นประเทศอาณานิคม สงครามที่ชาวเวียดนามภาคภูมิใจว่านำมาซึ่งเอกราชของชาติอย่างแท้จริง แต่เป็นสงครามที่ฝรั่งเศสเองไม่อยากจะจดจำ กาลเวลาผ่านมาแล้วหลายทศวรรษ วันนี้เราจะไปสัมผัสร่องรอยที่ยังหลงเหลืออยู่ของการสู้รบในครั้งนั้น เดียนเบียนฟู (Dien Bien Phu) คือเมืองหนึ่งในจังหวัดเดี่ยนเบียนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม ห่างจากกรุงฮานอยประมาณ 200 กิโลเมตร ทิศตะวันตกอยู่ใกล้กับชายแดนแขวงพงสาลีของประเทศลาว  เดียนเบียนฟูมีชื่อเสียงและเป็นที่จดจำเนื่องจากเป็นสมรภูมิรบอันโด่งดังระหว่างฝรั่งเศสกับกองกำลังเวียดมินห์ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม–พฤษภาคม ค.ศ.1954 ลงเอยด้วยความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสจนต้องถอนกำลังออกจากเวียดนามเหนือ และถือเป็นการสิ้นสุดลงของสงครามอินโดจีนครั้งแรก เราเดินทางมายังเมืองเดียนเบียนฟูผ่านทางประเทศลาว ลัดเลาะมาเรื่อยๆ จากเวียงจันทน์ เข้าโพนสะหวัน เชียงขวาง ต่อไปยังซำเหนือ เวียงไซย เมืองงอย ล่องเรือต่อไปยังเมืองขวา ก่อนที่จะนั่งรถข้ามชายแดนต่อมายังเมืองเดียนเบียนฟู เป็นเส้นทางที่ได้สัมผัสวิถีชีวิตและธรรมชาติที่ยังงดงามของลาว  บางช่วงบางตอนยังเป็นเส้นทางที่เกี่ยวโยงกับสงครามอินโดจีน อย่างแขวงเชียงขวางที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของลาวซึ่งถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศ มีชายแดนติดกับเวียดนาม เป็นเส้นทางในการลำเลียงกองกำลังและอาวุธยุทโธปกรณ์จากเวียดนามเหนือมาสู่ขบวนการปะเทดลาว รวมถึง “ถ้ำท่านผู้นำ” ที่เมืองเวียงไซย อดีตศูนย์บัญชาการใหญ่ของกองทัพปลดปล่อยประเทศลาว ที่ในสมัยสงครามอินโดจีน ผู้นำขบวนการปลดปล่อยประเทศลาว ได้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นฐานที่มั่นและศูนย์บัญชาการใหญ่เพื่อต่อต้านการรุกรานจากต่างชาติ ที่ซึ่งสงครามยังคงทิ้งร่องรอยของมันไว้ให้เราเห็น และครั้งนี้เราจะไปที่เดียนเบียนฟู อีกหนึ่งจิ๊กซอว์สำคัญของภาพสงครามอินโดจีน จากเมืองขวาของลาวมีรถบัสนำเราไปสู่เดียนเบียนฟูของเวียดนามผ่านทางด่าน Tay Trung ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5-6 ชั่วโมง เพราะเป็นทางขึ้นเขาถนนแคบ และอาจต้องเจอสภาพรถที่ผู้โดยสารและสิ่งของแน่นเอี๊ยดเต็มทุกพื้นที่ของรถ เพราะเป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่ทั้งคนลาว คนเวียดนาม รวมถึงนักท่องเที่ยวนิยมใช้ในการเดินทางไปมาระหว่างลาวและเวียดนาม รถบัสขนาดเล็กที่อัดแน่นไปด้วยคนและข้าวของพาเราลัดเลาะไปตามความสูงของเทือกเขาเป็นเวลาหลายชั่วโมง

Read More

ห้างทอง เลี่ยงเซ่งเฮง รีแบรนดิ้งสู่แนวรบใหม่!!

 “รูปพรรณ บริสุทธิ์ เลอค่า แท้เที่ยง ต้องจําชื่อเลี่ยง ชื่อนี้ที่ไม่อาจเลี่ยง เคียงข้างยืนหยัดด้วยฝีไม้ลายมืออันเจนจัด แบบและดีไซน์สุดตีน แม่งแหร่มสาดดดด ถ้าเรื่องทองคําอย่าชักช้าประเดี๋ยวหมดเกลี้ยง ต้องจําชื่อเลี่ยงเท่านั้น ชื่อนี้เขาดีเยี่ยม เป็นทองต่างประเทศที่เจิดจรัสบนแหลมทอง งดงามกว่าทองที่ใดทั้งสร้อย กําไล ทั้งแหวนทอง แรปไปจะสองไพเบี้ยถ้าเสี่ยอยากซื้อตําลึงทอง ต้องเลี่ยง เซ่ง เฮง ชื่อนี้ถ้าเรื่องทอง(Chorus) มีเงินเขานับเป็นน้อง จะไปซื้อทองต้องเลี่ยง เซ่ง เฮง ยืนยงมา 60 ปี บริการดี๊ดีต้องเลี่ยง เซง เฮง ซื้อทองต้องเลี่ยง เซ่ง เฮง ซื้อทองต้องเลี่ยง เซ่ง เฮง” !!! เนื้อร้องในเอ็มวี ที่ร้องและแต่งโดย กอล์ฟ ฟัคกลิ้งฮีโร่ ในทำนองแรฟ ซึ่งมีเป้าหมายเพิ่มความเป็นวัยรุ่นเข้าไปในแบรนด์แล้วยังต้องการให้คนจำ และเป็นการพลิกโฉมวงการทองคํา เพื่อนําร้านทอง บุกตลาดคนรุ่นใหม่ ภายใต้การบริหารงานของ ชิษณุ พสุธิกูล ทายาทรุ่นที่สาม

Read More

คุณค่าแห่ง “ทอง”

 ทั้งประดับ-เก็บออมและลงทุน  พลันที่คิดจะซื้อทองมาเป็นเครื่องประดับสถานะหรือแม้จะลงทุนในฐานะที่เป็นการเก็บออม เชื่อแน่ว่า เยาวราชเป็นสถานที่แรกๆ ที่ผุดขึ้นมาในความคิด เพราะที่นี่เป็นประหนึ่งศูนย์กลางและย่านการค้าทองคำแหล่งใหญ่ของเมืองไทย ความผันแปรของราคาทองคำในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้ประพฤติกรรมของผู้บริโภคทองคำปรับเปลี่ยนไปมาก จากเดิมที่ซื้อทองในฐานะเครื่องประดับกลายมาเป็นการซื้อทองคำเพื่อเก็บออมและมีไม่น้อยที่ซื้อทองคำในลักษณะเป็นการลงทุนหวังผลเก็งกำไรกันเลยทีเดียว “ในอดีตลูกค้าจะซื้อทองคำรูปพรรณ 95% ซื้อทองแท่ง 5% แต่ตอนนี้สลับกัน ซื้อทองคำแท่ง 95% และซื้อทองรูปพรรณ 5%”  จิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำแห่งประเทศไทย ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการค้าทองคำบนถนนเยาวราชมานานกว่า 50 ปี ขยายความการเปลี่ยนแปลง ย้อนกลับไปในอดีต ทองคำนิยมใช้เป็นเครื่องประดับและเก็บออมบางส่วน ในลักษณะเก็บสะสมทีละเล็กทีละน้อย ผู้บริโภคที่ซื้อทองคำมักมีฐานะปานกลาง ในขณะที่ผู้บริโภคที่มีฐานะไม่นิยมซื้อทองคำเพื่อสวมใส่ แต่ซื้อทองคำเพื่อเป็นหลักประกันทางเศรษฐกิจมากกว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาซื้อทองคำแท่งเพิ่มมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะข่าวสารที่เข้าถึงได้ง่ายแม้อยู่กันคนละซีกโลก รวมถึงการเปิดตลาดซื้อขายทองคำล่วงหน้าและการปรับขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาทองคำที่ทำให้เกิดภาวะตื่นทอง สำหรับตลาดทองในไทย มีความผันผวนตามราคาทองคำโลกอย่างไม่อาจเลี่ยงกลไกการขับเคลื่อนธุรกิจทองคำผ่านสมาคมค้าทองคำ (Gold Traders Association) ซึ่งแม้จะมีเป้าประสงค์ในการก่อตั้งสมาคมเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และความคิดเห็นในระหว่างสมาชิกในอันที่จะอำนวยประโยชน์แก่การประกอบธุรกิจ รวมทั้งให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการเงินและเศรษฐกิจโดยรวมด้วย ตลอดจนสมาคมฯ ยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ประกอบการค้าทองคำในการเจรจาทำความตกลงกับบุคคลหรือองค์กรต่างๆ ภายนอกเพื่อประโยชน์ร่วมกันในการประกอบธุรกิจของสมาชิก แต่บทบาทสำคัญที่สุดของสมาคมผู้ค้าทองคำก็คือ การกำหนดราคาทองคำแท่งและทองรูปพรรณเพียงรายเดียวในประเทศ โดยคณะกรรมการควบคุมราคาทองของสมาคมฯ หรือที่เรียกว่า “5 เสือเยาวราช” มาจากตัวแทนร้านทองย่านเยาวราช 5  แห่ง อันประกอบด้วยห้างทอง จินฮั้วเฮง ฮั่วเซ่งเฮง

Read More

เรื่องเล่าจากหนามเตย มูลค่าเพิ่มที่ไม่สิ้นสุดของสื่อภาพ

 หากใครเคยมีโอกาสได้ดูภาพยนตร์เรื่อง “The Secret Life of Walter Mitty” ที่เข้าฉายในบ้านเราเมื่อปี 2556 หนังนอกกระแสที่ต้องยอมรับว่าหากใครได้ดูก็ต้องอมยิ้มไปตามๆ กัน อีกทั้งยังได้รับเสียงวิจารณ์ในทางบวกจากบรรดาช่างภาพมืออาชีพและช่างภาพสมัครเล่นที่ให้คะแนนภาพสวยเต็มสิบ The Secret Life of Walter Mitty หนังที่เล่าเรื่องราวของ วอลเตอร์ มิตตี้ ชายหนุ่มช่างฝันที่ทำงานเป็นผู้ลำดับภาพนิ่งให้กับนิตยสารแห่งหนึ่ง ภายใต้สถานการณ์ที่โลกของสื่อสิ่งพิมพ์กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นสื่อดิจิตอล ซึ่งแผนกฟิล์มของเขากำลังจะถูกยุบ วอลเตอร์ใช้ชีวิตด้วยความจำเจและผ่อนคลายตัวเองด้วยการสร้างจินตนาการสุดบรรเจิด จุดเปลี่ยนชีวิตของเขาอยู่ที่การที่เขาต้องเดินทางผจญภัยเพื่อตามหาช่างภาพประจำนิตยสารเพื่อนำฟิล์มหมายเลข 25 กลับมาตีพิมพ์ในนิตยสารฉบับสุดท้าย ที่กล่าวถึงหนังเรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับฟิล์มจะตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับวอลเตอร์ มิตตี้ เสมอไป บางสถานการณ์อาจตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง เพียงแค่ปัดฝุ่นสกัดเอาราที่อาจจะเกาะติดผิวฟิล์มออกไป และผูกเรียงร้อยเรื่องราวใหม่ให้กับแผ่นฟิล์มเหล่านี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการทำทองให้เป็นทอง ทำสิ่งที่มีค่าให้มีมูลค่าและมากไปด้วยคุณค่าให้เป็นประโยชน์ในการสืบค้น การแข่งขันในเรื่องความเร็วของการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร กลายเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ผลักดันให้เทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพถูกนำมาพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่สิบปีให้หลัง หมดยุคที่ต้องมานั่งถอดฟิล์ม ตัดฟิล์ม จับเวลาเขย่าแท็งก์ล้างฟิล์ม กระทั่งกระบวนการอัดภาพลงกระดาษในห้องมืดแล้ว แม้จะยังมีความคลาสสิก แต่ด้วยขั้นตอนที่ยุ่งยาก ใช้เวลานาน และต้นทุนสูง ฟิล์มที่ใช้บันทึกภาพจึงถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่าดิจิตอล กล้องฟิล์มถูกพัฒนาจนกลายเป็นกล้องดิจิตอล และยังพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่สิ้นสุด การพัฒนาด้านนี้เองที่ทำให้ Color Lab หลายแห่งต้องปิดตัวลง เมื่อความต้องการที่จะใช้บริการล้างอัดภาพเฉกเช่นสมัยก่อนนั้นลดลงอย่างน่าใจหาย จากที่เราสามารถทบทวนเรื่องราวเก่าๆ

Read More

สายการบินราคาประหยัด แอร์เอเชีย ยังทิ้งห่างคู่แข่ง?

 ฤดูการท่องเที่ยวปลายปี กำลังกลายเป็นแนวรบสำหรับสายการบินราคาประหยัดให้ต้องห้ำหั่นและอัดแคมเปญจูงใจนักเดินทางอย่างหนัก ด้วยหวังจะเร่งสร้างยอดรายได้ให้พลิกฟื้นกลับมาหลังจากอยู่ในสภาพซบเซามานานจากทั้งเหตุเศรษฐกิจและการเมืองในช่วงที่ผ่านมา แผนการตลาดช่วงปลายปีที่ว่านี้ ไทยแอร์เอเชีย ดูจะมีระบบและวิธีคิดที่ต่อเนื่องล้ำหน้าคู่แข่งขันทั้งนกแอร์ และไทยสมายล์ อยู่พอสมควร เพราะนอกจากจะมีโปรโมชั่นบัตรโดยสารราคาถูกพิเศษเริ่มต้นที่ 0 บาทออกมาเอาใจนักเดินทางแบบข้ามปีแล้ว ยังมีบริการส่งเสริมการขาย พร้อมกับการเปิดเส้นทางการบินภายในประเทศเพิ่มขึ้นอีก 4 เส้นทางการบิน การเปิดเส้นทางการบินเพิ่มของไทยแอร์เอเชีย ทำให้จำนวนจุดหมายปลายทางของไทยแอร์เอเชีย ครอบคลุมหัวเมืองสำคัญในภูมิภาคมากขึ้นไปอีก และทำให้ไทยแอร์เอเชียสามารถใช้ศักยภาพของฝูงบิน A320-200 ที่ประจำการอยู่ 40 ลำ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และยิ่งทำให้ไทยแอร์เอเชียสามารถบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิผล ประเด็นนี้อาจเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ฉุดรั้งความสามารถของคู่แข่งขันอย่างนกแอร์และไทยสมายล์ไปโดยปริยาย และก่อให้เกิดปัญหาในการให้บริการอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจติดตามอย่างมากในช่วงที่การแข่งขันกำลังเข้มข้นนี้ก็คือ ข่าวที่เครื่องบินของนกแอร์ประสบปัญหาไม่สามารถให้บริการได้ในเที่ยวบินตามตารางการบิน เชียงใหม่-กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยระบุเพียงว่าเกิดจากการขัดข้องทางเทคนิค จำนวนเครื่องบินประจำฝูงบินอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะชี้วัดความสามารถในการแข่งขัน เพราะหลังจากที่ สายการบินราคาประหยัดเกือบทุกรายย้ายฐานการปฏิบัติการมาอยู่ที่ดอนเมือง ทำให้ข้อแตกต่างของการให้บริการภาคพื้นดินระหว่างสายการบินแต่ละแห่งหดหายไปโดยปริยาย จุดชี้ขาดในการเลือกใช้บริการของผู้โดยสารจึงชี้วัดกันที่ระดับราคาค่าโดยสาร การให้บริการบนเครื่อง และแน่นอนว่าความสะดวกสบายและปลอดภัยของอากาศยานย่อมเป็นปัจจัยที่ผู้โดยสารให้ความสนใจ ไทยแอร์เอเชียใช้ประเด็นดังกล่าวสื่อสารการตลาดให้ผู้โดยสารรับฟังมาโดยตลอด โดยเฉพาะการเน้นนโยบายใช้เครื่องบินที่ใหม่อยู่ตลอดเวลาของไทยแอร์เอเชีย เป็นวิธีการหนึ่งในการดึงดูดใจลูกค้าและสร้างความแตกต่างจากสายการบินต้นทุนต่ำแห่งอื่นๆ และทำให้ไทยแอร์เอเชียสามารถลดต้นทุนในการบำรุงรักษาได้อีกทางหนึ่งด้วย แต่ประเด็นที่สำคัญยิ่งขึ้นไปอีกในสถานการณ์การแข่งขันที่บีบคั้นของอุตสาหกรรมการบินในขณะนี้ก็คือ ความได้เปรียบเรื่องเส้นทางการบินที่หลากหลาย และจำนวนความถี่ในเส้นทางหลัก ที่ดูเหมือนว่าไทยแอร์เอเชียจะบริหารจัดการได้ดี เมื่อเทียบกับคู่แข่งขันรายอื่นๆ ทิศทางการเติบโตของไทยแอร์เอเชียสอดรับและดำเนินไปท่ามกลางโครงสร้างใหญ่ของแอร์เอเชีย ที่กำลังจะครบรอบ 20 ปี ของการให้บริการในปี 2016 และเป็นแบรนด์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาอย่างน่าสนใจติดตามไม่น้อย

Read More

ศึกชิงจ้าวเวหา AirAsia ต้นแบบการเติบโต?

 การแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกของอังกฤษ เมื่อช่วงสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายน ระหว่างควีนส์ปาร์คเรนเจอร์กับแมนเชสเตอร์ ซิตี้ แม้ผลออกมาจะเสมอกันไปอย่างสนุกด้วยสกอร์ 2:2 แต่การแข่งขันในแวดวงธุรกิจสายการบิน ที่ทั้ง AirAsia และ Etihad ที่ต่างเป็นสปอนเซอร์รายใหญ่ของทีมฟุตบอลชั้นนำทั้งสองแห่งนี้ ดูเหมือนจะเพิ่งเริ่มต้นขึ้น ความเป็นจริงด้านหนึ่งของการแข่งขันในเกมพรีเมียร์ลีกและธุรกิจการบินก็คือ ทั้งแมนเชสเตอร์ ซิตี้ และ Etihad ไม่ใช่คู่ต่อกรในระดับเดียวกับควีนส์ปาร์คเรนเจอร์ และ AirAsia แต่อย่างใด หากแต่ในสังเวียนของการแข่งขันที่ไม่มีใครยอมใครนี้ เป้าหมายคือการได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่น่าพึงใจต่างหาก AirAsia เปิดตัวและเริ่มทำการบินในฐานะสายการบินราคาประหยัด เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 1996 หรือเมื่อ 18 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งต้องยอมรับว่า แม้จะเคลื่อนผ่านมรสุมหลายครั้งแต่ AirAsia ก็สามารถทะยานผ่านอุปสรรคและเติบโตจนกลายเป็นหนึ่งในแบรนด์ชั้นนำของทั้ง ASEAN และ Asia ไปแล้ว ความสำเร็จของ AirAsia ในด้านหนึ่งอยู่ที่การวางยุทธศาสตร์และตำแหน่งทางธุรกิจที่ชัดเจน โดยเฉพาะการยึดมั่นใน “low cost” ซึ่งทำให้การบริหารและพัฒนาองค์กรดำเนินไปอย่างรัดกุม ทั้งในมิติของการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย และการใช้เครื่องบินรุ่นเดียวประจำการในฝูงบิน เพื่อลดต้นทุนการซ่อมบำรุงและเกิดความสะดวกในการให้บริการ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ แม้ว่าทุกประเทศในภูมิภาค

Read More

โรดแมพ ไทยเบฟ ไล่จี้ “คิริน-อาซาฮี”

 ปี 2558 ถือเป็นจุดสตาร์ทครั้งสำคัญตามยุทธศาสตร์ของเจริญ สิริวัฒนภักดี การขยายอาณาจักร “ไทยเบฟเวอเรจ” ขึ้นสังเวียนชิงตำแหน่งผู้นำตลาดธุรกิจเครื่องดื่มของเอเชีย หลังจากใช้เวลาเกือบ 2 ปี ปรับโครงสร้างองค์กร โครงสร้างผู้บริหาร และ Business Model ดึง “เอฟแอนด์เอ็น” เข้ามาเป็น “สปริงบอร์ด” ชิ้นสำคัญ  แน่นอนว่า ฐาปน สิริวัฒนภักดี รับนโยบายโดยตรง เปิดโรดแมพวางแผนการดำเนินธุรกิจในอีก 6 ปีข้างหน้า หรือ “Vision 2020” โดยประกาศเป้าหมายเฟสแรกอย่างชัดเจน คือ การเป็นบริษัทเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดและมีผลกำไรสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในปี 2563 ทั้งนี้ หากดูยักษ์ใหญ่ในตลาดเครื่องดื่มเอเชีย อันดับแรกที่ยึดตำแหน่งทำรายได้สูงสุดมานาน คือ “คิรินกรุ๊ป” อันดับ 2 อาซาฮีกรุ๊ป และอันดับ 3 ไทยเบฟเวอเรจที่แซงหน้า “ซานมิเกล” หลังจากฮุบกิจการเฟรเซอร์แอนด์นีซ หรือ “เอฟแอนด์เอ็น” แบบเบ็ดเสร็จได้เมื่อปี

Read More

ช้าง-สิงห์ สงครามทวง “แชมป์”

 แม้ “ไทยเบฟเวอเรจ” แย่งชิงและยึดตลาดเบียร์ระดับล่างได้อย่างเหนียวแน่น แต่เป้าหมายการขยายเข้าสู่ตลาดพรีเมียมยังเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่พยายามต่อสู้กับคู่แข่งหลายรอบจนกลายเป็นภารกิจสำคัญตามแผน “Vision 2020” ดีเดย์ตั้งแต่ปี 2558 โดยเฉพาะเป้าหมายสูงสุด การทวงบัลลังก์แชมป์ตลาดเบียร์ในประเทศไทย หลังจากเสียตำแหน่งให้ค่าย “สิงห์” มานานหลายปี “เราต้องการทวงความเป็นผู้นำในตลาดเบียร์ที่มีมูลค่ากว่า 125,000 ล้านบาท กลับคืนมาให้ได้ภายในปี 2563 ด้วยส่วนแบ่งประมาณ 45% จากปัจจุบันที่มีส่วนแบ่งประมาณ 30%” ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ประกาศชัดเจนในการแถลงกลยุทธ์ประจำปี 2557 หากเปรียบเทียบภาพรวมตลาดเบียร์เมื่อ 2 ปีก่อน ตลาดเบียร์ในประเทศไทยที่มีมูลค่าประมาณ 100,000 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนเป็นเบียร์ระดับพรีเมียม 5% มี “ไฮเนเก้น” เป็นผู้นำตลาด เบียร์สแตนดาร์ด 10% มี “สิงห์” เป็นผู้นำตลาด และเบียร์อีโคโนมี 85% มี “ลีโอ” เป็นผู้นำตลาด  เวลานั้นเบียร์ของไทยเบฟฯ

Read More

F&N เปิดเกมรุกตลาด “100 PLUS” ลุยสมรภูมิ

 ยุทธศาสตร์ใหม่ของ “ไทยเบฟเวอเรจ” หลังจากใช้เวลาจัดกระบวนทัพ Synergy ทั้งบุคลากร ระบบการทำงาน และเครือข่ายทางธุรกิจร่วมกับ “เอฟแอนด์เอ็น” เปิดฉากขึ้นและเป็นเกมรุกตลาดครั้งใหญ่ เพื่อขยายอาณาจักรเครื่องดื่มครบวงจร โดยเฉพาะการสร้างตลาดใหม่จากกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (นอน-แอลกอฮอล์) ซึ่งฐาปน สิริวัฒนภักดี ถือเป็น “Room of Growth” มูลค่ามหาศาล  คิดเฉพาะตลาดรวมเครื่องดื่มทุกประเภทในประเทศไทย มูลค่าประมาณ 500,000 ล้านบาท และมีอัตราเติบโตทุกปี กลุ่มไทยเบฟเวอเรจสามารถสร้างรายได้ยอดขายเฉลี่ยปีละ 155,000-160,000 ล้านบาท จากผลิตภัณฑ์หลัก 3 กลุ่ม คือ สุรา เบียร์ และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ โดยคิดสัดส่วนรายได้มาจากกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 75% และนอน-แอลกอฮอล์ 25%  ทั้งนี้ การประกาศนโยบายตามโรดแมพ “Vision 2020” อย่างเป็นทางการของฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ต้องการเพิ่มสัดส่วนยอดขายจากกลุ่มนอน-แอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่องจนอยู่ที่ระดับ

Read More

เยือนเสียมเรียบ (2) สำรวจเมืองน่าเที่ยวแห่งเอเชีย

 AEC Leisure จากด่านพรมแดนปอยเปต จุดเชื่อมแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชาไปอีกราวๆ 160 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง เราจะพบกับ “เสียมเรียบ” เมืองที่เป็นที่ตั้งของมรดกโลกอย่างนครวัด เมืองที่รั้งตำแหน่งที่สองของเมืองน่าเที่ยวแห่งเอเชีย ประจำปี 2557 เป็นเมืองที่สร้างรายได้หลักด้านการท่องเที่ยวให้กับกัมพูชา และเป็นจุดหมายปลายทางของ AEC Leisure ในครั้งนี้ สภาพของถนนจากด่านพรมแดนปอยเปต มุ่งตรงยังเมืองเสียมเรียบ ณ ปัจจุบัน เป็นถนนลาดยางอย่างดี ต่างจากสมัยก่อนที่ถนนขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ ฝุ่นตลบอบอวล นั่งรถกันที 5-6 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ ปัจจุบันระยะทางเท่าเดิมแต่ระยะเวลาการเดินทางสั้นลง เหลือเพียงแค่ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น เพราะสภาพถนนที่ดีขึ้น เดินทางกันสบายๆ แถมไม่ต้องผจญกับฝุ่นตลบแบบเมื่อก่อน ตลอดสองข้างทางเป็นนาข้าวสลับกับบ้านเรือนที่มีอยู่เป็นระยะ แทบจะไม่มีภูเขาสูงให้เห็น ภาพนาข้าวผืนใหญ่ที่เห็นตลอดเส้นทาง ทำให้ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไม “ข้าว” จึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของกัมพูชา โดยสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของกัมพูชาเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจหลากหลายชนิด มีดินและน้ำที่อุดมสมบูรณ์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำการเกษตร พืชเศรษฐกิจที่สำคัญอื่นๆ นอกจากข้าวแล้วยังมี ข้าวโพด ถั่ว งา

Read More