Home > สายการบินไทยแอร์เอเชีย

ไทยแอร์เอเชีย ได้รับจัดอันดับเป็นสายการบินเดียวในไทยที่มีสถิติตรงเวลาสูงสุด!

ไทยแอร์เอเชีย ได้รับการจัดอันดับจาก “โอเอจี เอวิเอชั่น เวิลด์ไวด์” โดยเป็นสายการบินเดียวในไทยที่ติด 20 อันดับเเรกสายการบินที่ตรงเวลาสูงสุดในโลก (Top20 Airlines by On-Time Performance) โดยได้อันดับที่ 10 ประจำปี 2562 ด้วยสถิติความตรงต่อเวลาที่ ร้อยละ 84.49 ขึ้นจากร้อยละ 81.24 ในปี 2561 ทั้งนี้เมื่อจัดอันดับความตรงต่อเวลา เฉพาะสายการบินราคาประหยัด ไทยแอร์เอเชียก้าวติดอันดับที่ 3 ของโลก ขึ้นจากอันดับที่ 8 เมื่อปี 2561 นายสันติสุข คล่องใช้ยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย กล่าวว่า เราไม่เคยหยุดพัฒนาประสิทธิภาพเเละการบริหารจัดการ เพื่อการให้บริการที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน โดย “ความตรงต่อเวลา” ถือเป็นหัวใจสำคัญไม่ต่างกับมาตรฐานความปลอดภัย เราจึงได้ตั้งทีมที่รับผิดชอบดูแลพิเศษ ที่มีทั้งฝ่ายบริหารลานจอดเเละอุปกรณ์ภาคพื้น ฝ่ายปฏิบัติการภาคพื้น ฝ่ายปฏิบัติการบิน ฝ่ายวิศวกรรม ฯลฯ เพื่อประเมินสถานการณ์เเละทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่

Read More

สายการบินราคาประหยัด แอร์เอเชีย ยังทิ้งห่างคู่แข่ง?

 ฤดูการท่องเที่ยวปลายปี กำลังกลายเป็นแนวรบสำหรับสายการบินราคาประหยัดให้ต้องห้ำหั่นและอัดแคมเปญจูงใจนักเดินทางอย่างหนัก ด้วยหวังจะเร่งสร้างยอดรายได้ให้พลิกฟื้นกลับมาหลังจากอยู่ในสภาพซบเซามานานจากทั้งเหตุเศรษฐกิจและการเมืองในช่วงที่ผ่านมา แผนการตลาดช่วงปลายปีที่ว่านี้ ไทยแอร์เอเชีย ดูจะมีระบบและวิธีคิดที่ต่อเนื่องล้ำหน้าคู่แข่งขันทั้งนกแอร์ และไทยสมายล์ อยู่พอสมควร เพราะนอกจากจะมีโปรโมชั่นบัตรโดยสารราคาถูกพิเศษเริ่มต้นที่ 0 บาทออกมาเอาใจนักเดินทางแบบข้ามปีแล้ว ยังมีบริการส่งเสริมการขาย พร้อมกับการเปิดเส้นทางการบินภายในประเทศเพิ่มขึ้นอีก 4 เส้นทางการบิน การเปิดเส้นทางการบินเพิ่มของไทยแอร์เอเชีย ทำให้จำนวนจุดหมายปลายทางของไทยแอร์เอเชีย ครอบคลุมหัวเมืองสำคัญในภูมิภาคมากขึ้นไปอีก และทำให้ไทยแอร์เอเชียสามารถใช้ศักยภาพของฝูงบิน A320-200 ที่ประจำการอยู่ 40 ลำ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และยิ่งทำให้ไทยแอร์เอเชียสามารถบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิผล ประเด็นนี้อาจเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ฉุดรั้งความสามารถของคู่แข่งขันอย่างนกแอร์และไทยสมายล์ไปโดยปริยาย และก่อให้เกิดปัญหาในการให้บริการอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจติดตามอย่างมากในช่วงที่การแข่งขันกำลังเข้มข้นนี้ก็คือ ข่าวที่เครื่องบินของนกแอร์ประสบปัญหาไม่สามารถให้บริการได้ในเที่ยวบินตามตารางการบิน เชียงใหม่-กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยระบุเพียงว่าเกิดจากการขัดข้องทางเทคนิค จำนวนเครื่องบินประจำฝูงบินอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะชี้วัดความสามารถในการแข่งขัน เพราะหลังจากที่ สายการบินราคาประหยัดเกือบทุกรายย้ายฐานการปฏิบัติการมาอยู่ที่ดอนเมือง ทำให้ข้อแตกต่างของการให้บริการภาคพื้นดินระหว่างสายการบินแต่ละแห่งหดหายไปโดยปริยาย จุดชี้ขาดในการเลือกใช้บริการของผู้โดยสารจึงชี้วัดกันที่ระดับราคาค่าโดยสาร การให้บริการบนเครื่อง และแน่นอนว่าความสะดวกสบายและปลอดภัยของอากาศยานย่อมเป็นปัจจัยที่ผู้โดยสารให้ความสนใจ ไทยแอร์เอเชียใช้ประเด็นดังกล่าวสื่อสารการตลาดให้ผู้โดยสารรับฟังมาโดยตลอด โดยเฉพาะการเน้นนโยบายใช้เครื่องบินที่ใหม่อยู่ตลอดเวลาของไทยแอร์เอเชีย เป็นวิธีการหนึ่งในการดึงดูดใจลูกค้าและสร้างความแตกต่างจากสายการบินต้นทุนต่ำแห่งอื่นๆ และทำให้ไทยแอร์เอเชียสามารถลดต้นทุนในการบำรุงรักษาได้อีกทางหนึ่งด้วย แต่ประเด็นที่สำคัญยิ่งขึ้นไปอีกในสถานการณ์การแข่งขันที่บีบคั้นของอุตสาหกรรมการบินในขณะนี้ก็คือ ความได้เปรียบเรื่องเส้นทางการบินที่หลากหลาย และจำนวนความถี่ในเส้นทางหลัก ที่ดูเหมือนว่าไทยแอร์เอเชียจะบริหารจัดการได้ดี เมื่อเทียบกับคู่แข่งขันรายอื่นๆ ทิศทางการเติบโตของไทยแอร์เอเชียสอดรับและดำเนินไปท่ามกลางโครงสร้างใหญ่ของแอร์เอเชีย ที่กำลังจะครบรอบ 20 ปี ของการให้บริการในปี 2016 และเป็นแบรนด์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาอย่างน่าสนใจติดตามไม่น้อย

Read More

Thai AirAsia เขย่ง-ก้าว-กระโดด

 หากย้อนไปเมื่อกว่า 10 ปีที่ผ่านมา การเดินทางโดยเครื่องบินดูจะเป็นความสะดวกที่มีไว้ให้เฉพาะคนร่ำรวย และเป็นความใฝ่ฝันของคนรายได้ต่ำทั้งหลาย ที่จะมีประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตได้เดินทางท่องเที่ยวบน “นกเหล็กขนาดมหึมา” สักครั้ง แต่เมื่อธุรกิจการบินได้ผุดสายการบินต้นทุนต่ำ การนั่งเครื่องบินได้กลายเป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าถึงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดขึ้นของแอร์เอเชีย และ “ไทยแอร์เอเชีย” ซึ่งถือว่ามีบทบาทในการพลิกน่านฟ้าของไทยและอาเซียนอย่างไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป ไทยแอร์เอเชีย เปิดตัวเมื่อต้นปี 2546 ด้วยสโลแกน “ใคร ใคร ก็บินได้” โดยเที่ยวบินราคาต่ำรอบแรกเปิดตัวเมื่อกุมภาพันธ์ 2547 อันเป็นช่วงเดียวกับที่ “นกแอร์” เปิดตัวในฐานะสายการบินโลว์คอสต์รายที่ 2 ของเมืองไทย โดยมีการบินไทยเป็นแบ็กอัพ มาถึงวันนี้ ธุรกิจการบินในประเทศไทยเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะช่วง 1-2 ปีนี้ที่เศรษฐกิจของอาเซียนขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ธุรกิจการบินขยายตัวตามไปด้วย แต่เชื่อกันว่า ทันทีที่เปิดเสรีน่านฟ้าอาเซียนในปี 2558 โอกาสการเติบโตของธุรกิจการบินจะมากกว่านี้อีกมหาศาล เพื่อรองรับตลาดอาเซียนที่ใหญ่กว่าไทย 10 เท่า ช่วงที่ผ่านมาหลายสายการบินในไทยจึงมีความเคลื่อนไหวที่ร้อนแรง โดยเฉพาะ “เบอร์หนึ่ง” ในตลาดโลว์คอสต์ โดยปีที่ผ่านมา ไทยแอร์เอเชียได้เข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อระดมทุนมาขยายฝูงบิน เพิ่มเที่ยวบิน และเปิดเส้นทางบินใหม่ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเส้นทางสู่อาเซียนและจีนตอนใต้ ปัจจุบัน ไทยแอร์เอเชียมีเส้นทางสู่ประเทศจีนตอนใต้ถึง

Read More

ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ เกมลุยน่านฟ้าโลก

 10 ปีที่แล้ว “ไทยแอร์เอเชีย” ได้สร้างภูมิทัศน์ (landscape) ใหม่ในการเดินทางทางอากาศให้กับน่านฟ้าประเทศไทย ด้วยการเปิดให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) ที่มาพร้อมกับปรากฏการณ์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคในหลายมิติ จนก้าวขึ้นมาเป็น “ผู้นำ” ในธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำของเมืองไทย ด้วยจำนวนผู้ใช้บริการสายการบินนี้รวมตลอด 10 ปี มากกว่า 50 ล้านคน  ปัจจุบัน ไทยแอร์เอเชียมีเที่ยวบินต่อสัปดาห์มากกว่า 800 เที่ยว ไปยังจุดหมายปลายทาง 36 แห่ง ครอบคลุมภายในประเทศ และหลายจุดหมายในต่างประเทศที่มีพิสัยการบินไม่เกิน 4 ชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อเป็นการต่อยอดความสำเร็จดังกล่าว เมื่อวันที่ 22 เมษายน ที่ผ่านมา “ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์” จึงถือกำเนิดขึ้น  แม้ว่าการเปิดตัวสายการบินใหม่ครั้งนี้ ไม่ได้ให้ความรู้สึกเหมือน “ระเบิด” ลูกใหม่ของอุตสาหกรรมการบินไทย เหมือนเมื่อครั้งเปิดไทยแอร์เอเชียเมื่อ 10 ปีก่อน แต่ด้วยแคมเปญเปิดตัวเส้นทางบินแรก กรุงเทพ-โซล ในราคาเริ่มต้นที่ 1,999 บาทต่อเที่ยว (รวมภาษีและค่าธรรมเนียมแล้ว)

Read More