Home > Cover Story (Page 148)

ลุ้นวิกฤต “เทสโก้โลตัส” แผนซีพียึดตลาดค้าปลีก

 แม้ล่าสุด เดฟ ลูอีส ซีอีโอคนใหม่ของเทสโก้ออกมาประกาศแผนฟื้นฟูระยะแรก เพื่อกอบกู้วิกฤตครั้งใหญ่ แต่นั่นเป็นเพียงก้าวแรกและจนถึงล่าสุด บริษัทแม่ยังไม่ยืนยันชัดเจนว่า นโยบายของเทสโก้ในสหราชอาณาจักรจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของเทสโก้โลตัสในประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร “ขาย” หรือ “ไม่ขาย” ตามแผนกอบกู้สถานการณ์ทางการเงิน ผลพวงจากปัญหาภายในเกี่ยวกับการรายงานผลประกอบการผิดพลาด ความเชื่อมั่นดิ่งเหวจนฉุดรายได้ยอดขายตกต่ำ ประกอบด้วยการปิดสำนักงานใหญ่และสาขาในประเทศอังกฤษที่ไม่ทำกำไร 43 สาขา พับแผนเปิดสาขาขนาดใหญ่อีก 49 สาขา ยกเลิกการจ่ายปันผล ยกเลิกเงินบำนาญพนักงาน ขายธุรกิจบรอดแบนด์และธุรกิจสื่อบันเทิงออนไลน์ Blinkbox รวมถึงขายธุรกิจวิเคราะห์ข้อมูล “Dunnhumby” เดฟ ลูอีส ระบุด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อบรรดาผู้เกี่ยวข้องกับบริษัท แต่ต้องเผชิญกับความเป็นจริงของสถานการณ์ ซึ่งนี่เป็นเพียงก้าวแรกและยังมีอีกหลายเรื่องต้องทำ ก่อนหน้านี้ เกิดกระแสข่าวเกี่ยวกับหนทางหนีตายของเทสโก้ 3 แนวทาง ทางเลือกแรก คือ การขายสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงสุด ได้แก่ ธุรกิจเทสโก้โลตัสในภูมิภาคเอเชีย 3 ประเทศ คือ ไทย เกาหลี และมาเลเซีย เนื่องจากบริษัทสามารถระดมทุนได้จำนวนมาก ทางเลือกที่ 2 ขายหุ้นทั้งหมด หรือบางส่วนของธนาคารเทสโก้ แบงก์

Read More

ศรีลังกา: ชัยชนะของประชาชน?

 ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีศรีลังกาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมากำลังส่งสัญญาณให้ผู้มีอำนาจในหลายประเทศได้ตระหนักว่าการสืบทอดอำนาจทางการเมืองในห้วงเวลานับจากนี้ ไม่สามารถกระทำได้โดยผลของการเจรจาต่อรองอย่างลับๆ ในหมู่ชนชั้นนำ โดยปราศจากความเห็นชอบของประชาชนได้อีกต่อไปแล้ว เพราะในความเป็นจริงพลังของประชาชนต่างหากที่จะเป็นผู้กำหนดและเลือกหนทางเดินเพื่อความเป็นไปของประเทศชาติและพวกเขาเอง ก่อนหน้าที่ศรีลังกาจะเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งครั้งนี้ อดีตประธานาธิบดี Mahinda Rajapaksa ซึ่งครองอำนาจมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ปี 2004 ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2005 และถือเป็นผู้นำทางการเมืองที่ครองตำแหน่งและบทบาทอำนาจยาวนานที่สุดคนหนึ่งในเอเชียใต้ในปัจจุบัน จะมีความมั่นใจเต็มเปี่ยมว่าจะสามารถครองชัยชนะ และสามารถกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งเป็นวาระที่ 3 ได้ในการเลือกตั้งครั้งใหม่ได้อย่างง่ายดาย ความมั่นใจของ Mahinda Rajapaksa ที่ประกอบส่วนด้วยผลงานการยุติสงครามกลางเมืองกับกลุ่มทมิฬ จากผลของการปราบปรามรุนแรง และการดำรงอำนาจที่ต่อเนื่องยาวนาน สอดคล้องกับการประเมินของสื่อและนักวิเคราะห์การเมืองจากหลายสำนักที่ว่า หากไม่ใช่ Mahinda Rajapaksa แล้ว ศรีลังกามีทางเลือกอื่นๆ อีกหรือไม่ ซึ่งกลายเป็นคำถามที่ท้าทายมากในสังคมศรีลังกาตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่า แม้ความนิยมในตัว Mahinda Rajapaksa อาจจะลดลงแต่ในฐานะผู้คุมกลไกอำนาจ Mahinda Rajapaksa คงไม่ยอมพ่ายแพ้การเลือกตั้งก่อนกำหนดที่เขาคาดหวังจะใช้เป็นโอกาสในการต่ออายุและหลีกหนีจากข้อจำกัดของการครองอำนาจตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ระบุให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้เพียง 2 วาระเท่านั้น และการเลือกตั้งครั้งนี้คงเป็นเพียงพิธีกรรมที่ทำรองรับความชอบธรรมให้ Mahinda Rajapaksa อยู่ในตำแหน่งต่อไปได้อย่างไม่ยากเย็น แต่การณ์กลับกลายเป็นการเลือกตั้งที่มีการแข่งขันแหลมคมและใกล้เคียงอย่างที่สุด เพราะพลันที่ Mahinda Rajapaksa ประกาศในเดือนพฤศจิกายน 2014 ให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 8 มกราคม

Read More

ปฏิรูปการศึกษาไทย จะสัมฤทธิ์หรือล้มเหลวซ้ำซาก

“การศึกษาต้องเริ่มต้นด้วยความสำคัญของนักเรียน และจบด้วยความสำคัญของนักเรียน” คำกล่าวของดร.ป๋วย อึ๊งภาภรณ์ ที่เคยกล่าวไว้ บ่งบอกถึงความสำคัญของผู้เรียนเป็นหลัก การศึกษานับว่ามีความสำคัญมากต่อการพัฒนาบุคลากรตลอดจนไปถึงเป็นพื้นฐานของการพัฒนา ส่วนอื่นๆ เพราะไม่ว่าจะทำการพัฒนาส่วนใดต้องเริ่มมาจากการพัฒนาคนเสียก่อนการพัฒนาคนสามารถทำได้หลายๆ รูปแบบ อย่างที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาคนคือการให้การศึกษา ดังนั้นการพัฒนาประเทศต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาคนโดยต้องคำนึงถึงการศึกษาเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของไอทีครองเมืองนี้ การศึกษาถือว่าเป็นหัวใจและเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาคน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ คำที่กล่าวไว้ว่า “กว่าจะถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว” อาจจะช้าไปด้วยซ้ำ เพราะคนเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ก่อนที่จะถึงวัยเด็ก เรียนระดับประถม  มัธยม และอุดมศึกษา ทั้งที่ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการศึกษามาโดยตลอด จากยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 1 จนถึงฉบับที่ 11 ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2555–2558) และยุทธศาสตร์หนึ่งที่สำคัญของแผนพัฒนาฉบับในปัจจุบัน ก็คือการพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ที่มีเป้าหมายให้จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 12 ปี เวลาเกือบ 15 ปีแล้ว ตั้งแต่ประเทศไทยได้เริ่มมีการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ โดยมี พ.ร.บ.ปฏิรูปการศึกษา พ.ศ.2542 เป็นหลักสำคัญ แต่เมื่อเวลาผ่านมากว่า 1 ทศวรรษ ปัจจุบันอยู่ในช่วงทศวรรษที่ 2 ของการปฏิรูป (2552-2561) ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม ทั้งจากคะแนนสอบวัดผลมาตรฐานกลาง

Read More

“เด็กไทย” เมื่อมูลค่ามาก่อนคุณค่า กวดวิชา ตลาดชอปปิ้งทางการเรียน

  จากการจัดอันดับ “ระดับการศึกษา” ของไทยที่เป็นอันดับสุดท้ายในอาเซียน เป็นตัวบ่งบอกว่าระบบการศึกษาของไทยมีจุดอ่อนและเป็นปัญหาสะสมมานาน แม้ว่าภาครัฐจะให้ความสำคัญในการศึกษา โดยการทุ่มเม็ดเงินจำนวนมหาศาล เรียกว่าแทบชนเพดาน ให้กับงานด้านการศึกษา แต่เหมือนว่าไม่ได้เป็นการตอบโจทย์ที่จะพัฒนาเรื่องการเรียนของเด็กไทยได้ ในขณะที่การเติมความฝันที่จะเข้าเรียนไม่ว่าจะเริ่มจากระดับประถม มัธยม หรืออุดมศึกษา ยังมีการวางระบบการศึกษาเป็นแบบการแข่งขัน ทุกคนมุ่งเข้าสู่การแข่งขันเพื่อให้เข้าเรียนในสถาบันที่ตนเองต้องการ โรงเรียนกวดวิชาจึงตอบโจทย์ทั้ง “เด็ก” และ “พ่อแม่ผู้ปกครอง” ที่ถูกกำหนดเส้นทางไว้เบ็ดเสร็จจากการออกระบบการศึกษาที่มีจุดอ่อน ขาลงการศึกษา แต่กลับเป็นขาขึ้นโรงเรียนกวดวิชา ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ในปี 2556 พบว่า ประเทศไทยมีโรงเรียนกวดวิชารวม 1,983 แห่ง แบ่งเป็นเขตกรุงเทพมหานคร 487 แห่ง และต่างจังหวัดอีก 1,496 แห่ง ซึ่งการศึกษาในโรงเรียนกวดวิชานั้นส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเขตเมือง และนักเรียนทุกคนต้องจ่ายเงินค่าเรียน จนทำให้โรงเรียนกวดวิชากลายเป็นธุรกิจที่สร้างกำไรมหาศาล สถาบันกวดวิชาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาส่วนใหญ่จะแยกสอนสถาบันละวิชาเดียวเท่านั้น เช่น เอ็นคอนเซ็ปต์ สอนเฉพาะภาษาอังกฤษ, เคมีอุ๊ สอนเฉพาะวิชาเคมี, แอพพลายฟิสิกส์ สอนเฉพาะฟิสิกส์ และมีเพียงบางสถาบันเท่านั้นที่สอนหลายวิชา เช่น เดอะติวเตอร์ เดอะเบรน เรื่องจริงที่น่าเศร้าและสะเทือนใจ ก็คือในช่วงเปิดเทอม เด็กต้องเรียนเนื้อหาคู่ขนานกับการเรียนในโรงเรียน เพื่อตอบโจทย์ที่ว่า

Read More

ย้อนดู “วันเด็ก” ผ่านคำขวัญสะท้อนยุคสมัย

 วันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม หลังจากเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ ก็ถึงวาระแห่งวันเด็กแห่งชาติ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการที่สหประชาชาตินำปัญหาเรื่องเด็กและเยาวชนมาร่างเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขึ้นมาในปี 2498 ซึ่งประเทศไทยได้จัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 และได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติเรื่อยมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่เพื่อความเหมาะสม ด้วยเหตุผลว่า ในเดือนตุลาคมประเทศไทยยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็กไม่สะดวกในการมาร่วมงาน และที่สำคัญวันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ตลอดจนการจราจรก็ติดขัดด้วย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสนอ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 ประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมตั้งแต่บัดนั้น ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ.ศ. 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้เลยวันที่ควรจัดวันเด็กมาแล้ว สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับวันเด็กนอกจากกิจกรรมหลากหลายแล้วก็คือ “คำขวัญวันเด็ก” จากนายกรัฐมนตรีไทยในแต่ละสมัย ซึ่งถือเป็นภาพสะท้อนแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาของผู้นำไทยที่มีต่อเยาวชนได้ชัดเจนมากประการหนึ่ง มาร่วมพิจารณาคุณค่าความหมายของเด็กผ่านคำขวัญของแต่ละยุคสมัย และอาจไม่แปลกใจที่เด็กและสังคมไทยดูจะมีอนาคตที่ตีบแคบลงทุกขณะ   

Read More

AEC 2015 หลักไมล์แห่งมิตรไมตรี

 การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในอาเซียน สอดรับกับความพยายามที่จะผนึกอาเซียนให้ก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ที่มีหมุดหมายในการรวมเขตเศรษฐกิจในอาเซียนให้เป็นฐานการผลิตและตลาดเดียวกันในปี 2015 ภายใต้ข้อเท็จจริงว่าด้วยจำนวนประชากรที่มีมากกว่า 600 ล้านคนและมีผลประโยชน์ทางการค้า-เศรษฐกิจมูลค่ารวมมหาศาลอย่างยากที่จะประเมินออกมาเป็นเพียงตัวเลขสถิติ พลวัตที่งอกเงยมาจากสายสัมพันธ์ในมิตินามธรรมในอดีตนี้ กำลังก่อรูปและรังสรรค์ให้เกิดความเชื่อมโยงและพัฒนาการที่สามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต เป็นอนาคตที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของอาเซียนให้เต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งหวังถึงความจำเริญมั่งคั่งที่ยั่งยืนสถาพร แผนพัฒนาและคณะกรรมาธิการหลากหลายคณะ ได้รับการจัดตั้งและมอบหมายภารกิจเพื่อประกอบส่วนในการศึกษาและแสวงหาหนทางที่จะนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อผนึกให้วิสัยทัศน์ในการเชื่อมโยงและสร้างให้เกิดอาเซียนหนึ่งเดียว ซึ่งนั่นย่อมมิได้หมายถึงความพยายามที่จะจัดวางและก่อสร้างเส้นทางคมนาคมเพื่อเชื่อมประสานการเดินทางสัญจรทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศเท่านั้น หากความเชื่อมประสานโยงใยของอาเซียนยังหมายรวมถึงมิติด้านกิจการพลังงาน มิติทางการศึกษา ประเด็นว่าด้วยกฎระเบียบทางการค้า ระบบภาษี-ศุลกากร การสร้างฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และความเชื่อมโยงระดับประชาชนต่อประชาชนอีกด้วย ความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันนี้ ได้ทำให้เส้นแบ่งของความเป็นขอบนอก ถูกกระชับให้เข้าใกล้กับศูนย์กลางมากขึ้นทุกขณะ และช่วยลดช่องห่างของระดับขั้นการพัฒนาและความแปลกแยกแตกต่างที่ดำรงอยู่ในอาเซียนให้หดแคบลง ก่อนที่สำนึกแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายของการรวมกลุ่มอาเซียนจะได้รับการสถาปนาให้เกิดขึ้นมาแทนที่ ถนนหลากหลายเส้นทางที่กำลังได้รับการยกระดับมาตรฐานให้สามารถรองรับการสัญจรสำหรับทั้งผู้คนและสินค้า ที่กำลังไหล่บ่าและท่วมทะลัก เป็นประจักษ์พยานถึงพลวัตการพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงผู้คนในอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน ระบบโครงข่ายการคมนาคมทางบกไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะถนนสายหลักและสายรองที่กำลังถักทอประหนึ่ง ใยแมงมุม ที่แพร่กว้างไปทั่วภูมิภาคเท่านั้น หากยังมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและทางรถไฟคู่ขนานที่กำลังจะได้รับการพัฒนาให้อยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั้งระบบเพื่อให้การเชื่อมโยงผู้คนในภูมิภาคที่ไพบูลย์นี้ ดำเนินไปอย่างไร้รอยต่อและข้ามพ้นข้อจำกัดในระยะยาว เส้นทางถนนภายใต้กรอบของโครงข่ายทางหลวงอาเซียน (ASEAN Highway Network) ที่มีความยาวรวมเกือบ 4 หมื่นกิโลเมตร กระจายครอบคลุมพื้นที่เชื่อมต่ออาณาบริเวณของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าไว้ด้วยกัน เป็นส่วนหนึ่งในรูปธรรมการพัฒนาเพื่อเชื่อมประสานโครงข่ายการสัญจรทางบก แม้จะมีเส้นทางบางส่วนยังไม่ได้รับการพัฒนาและมีสภาพเป็นจุดเชื่อมโยงที่ขาดวิ่น ด้วยเหตุผลของข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์และสถานภาพด้านงบประมาณของประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศอยู่บ้างก็ตาม โอกาสทางการค้า การหลั่งไหลของสินค้าและทรัพยากรทางการผลิตที่เคลื่อนผ่านเส้นทางหมายเลข 9 กำลังจุดประกายให้แผ่นดินที่เงียบสงบและหลบซ่อนอยู่ในชายขอบของประวัติศาสตร์อาเซียนถูกปลุกให้ตื่นขึ้น รับแสงอรุณแห่งความหวัง และอนาคตใหม่ที่กำลังจะเดินทางมาถึง ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกบนเส้นทางหมายเลข 9

Read More

จาก “ม้าพยศ” สู่ “แพะรับบาป” สัญญาณวิกฤตเศรษฐกิจไทย?

 หากปี 2557 ที่ผ่านมา จะเป็นปีนักษัตรแห่งม้า ที่ทำให้หลายฝ่ายคาดหมายว่าจะเป็นปีแห่งการพุ่งทะยานทางเศรษฐกิจ หากแต่ดูเหมือนว่าในความเป็นจริงที่ปรากฏตลอด หนึ่งขวบปี กลับกลายเป็นว่าปีแห่งจอมอาชาได้มีสภาพเป็นปีแห่งม้าพยศ ซึ่งไม่เพียงแต่จะสามารถผลักดันให้เดินหน้าไปตามเป้าประสงค์ ในหลายกรณียังไม่อาจควบคุมทิศทาง และอาจถึงกลับทำให้ผู้กุมบังเหียนตกจากหลังม้าได้รับบาดเจ็บอีกด้วย สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในยุค คสช. “คืนความสุขให้ประชาชน” ถูกโหมกระหน่ำด้วยภาวะราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำทั้งราคายางถอยหลังลงไปเป็นประวัติการณ์ ราคาข้าวทรุดต่ำหลังสิ้นยุคแห่งการประกันราคาและจำนำข้าว ที่ทำให้ถึงกับมีแนวความคิดจ้างชาวนาเลิกปลูกข้าวกันเลยทีเดียว แม้ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมาหน่วยงานและสถาบันคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของรัฐจะพยายามเร่งระดมความเชื่อมั่นด้วยการระบุว่าภาวะเศรษฐกิจไทยกำลังดำเนินไปด้วยดี หรืออย่างน้อยก็กำลังกลับมาสู่ร่องรอยที่พึงประสงค์ จากผลของทิศทางและความชัดเจนทางการเมือง แต่ดูเหมือนว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าจะไม่ได้สื่อแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการไปในทางที่ดีอย่างที่กลไกรัฐพยายามประชาสัมพันธ์แต่อย่างใด และในทางกลับกันยิ่งสะท้อนภาพ “ม้าพยศ” ที่โพ้นไปจากความสามารถทางปัญญาที่จะควบคุมเสียอีกด้วย ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึงกับระบุว่าจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและต่ำกว่าที่คาดการณ์ รวมถึงส่งออกที่ชะลอตัว การท่องเที่ยวที่อาจจะต่ำกว่าประมาณการ การดำเนินนโยบายการเงิน ยังจำเป็นต้องผ่อนคลายเพื่อประคับประคองเศรษฐกิจไม่ให้มีความเสี่ยงต่อเสถียรภาพในระยะยาว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากก็คือกลไกรัฐอย่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ก็ตระหนักและออกจะเป็นกังวลในเรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และอาจมีการผ่อนคลายเพิ่มเติม หากเศรษฐกิจไม่เป็นตามที่คาดการณ์ไว้ ทั้งที่ในปัจจุบันก็ดำเนินนโยบายการเงินผ่อนปรนอยู่แล้ว โดยดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันอยู่ที่ 2% เท่านั้น ความหมายของการผ่อนคลายนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเป็นการส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยซึ่งสะท้อนข้อเท็จจริงและเป็นการยอมรับโดยนัยว่าภาวะเศรษฐกิจไทยที่เป็นจริงไม่ใช่มายาภาพนั้น อยู่ในภาวะที่เรียกว่าไม่ดีจริงๆ ขณะที่งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ก็ตั้งไว้ไม่สูงเช่นกัน เพราะคงไม่สามารถหาเงินมาอุดหนุนงบประมาณได้ ความถดถอยทางเศรษฐกิจไทยในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ภาคการส่งออกไม่สามารถเติบโตได้อย่างเข้มแข็งในระดับ 2 digit มาอย่างต่อเนื่องเหมือนในอดีต และไม่มีความสามารถที่จะสร้างให้เกิดการเติบโตในระดับแม้เพียงเลขหลักเดียวด้วยซ้ำ โดยในปี 2557 คาดว่าภาคการส่งออกจะมีผลสรุปอยู่ที่การเติบโตติดลบ ซึ่งคงไม่ใช่ประเด็นที่ควรมองข้ามแน่นอน ประเด็นที่ควรพิจารณาต่อไปจึงอยู่ที่ว่า

Read More

รู้รักษ์ภาษาไทย ท่ามกลางภาษาอาเซียน

 “สวัสดี” ก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ด้วยคำทักทายอย่างเป็นทางการ อีกทั้งยังเป็นการเปิดประตูบ้านต้อนรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มตัว ไม่ว่าจะพร้อมหรือไม่ก็ตาม การรวมตัวของ 10 ประเทศในอาเซียน แน่นอนว่า ย่อมต้องมีข้อตกลงที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งยังผลให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นการเพิ่มจุดแข็งของประเทศในภูมิภาคอาเซียนบนเวทีโลก กฎบัตรสำคัญที่ประเทศในอาเซียนได้ทำข้อตกลงกันไว้คือ ภาษาอาเซียน (ASEAN Language) ที่เหล่าประเทศสมาชิกมีมติร่วมกันว่าให้ภาษาอังกฤษทำหน้าที่เป็น “ภาษาราชการของอาเซียน” หมายถึงการดำเนินธุรกิจภายในภูมิภาคอาเซียนจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งข้อตกลงนี้นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อประเทศในอาเซียนนั้นล้วนแล้วแต่มีภาษาแม่เป็นของตัวเอง และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนมีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ แม้แต่ประเทศบรูไน ที่มีภาษาบรูไนเป็นภาษาแม่ กระนั้นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนี้ก็สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี เฉกเช่นเดียวกับประเทศไทยที่มีภาษาแม่ของตัวเอง แต่กลับใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารเฉพาะในแวดวงธุรกิจเท่านั้น ซึ่งนับเป็นเพียงคนกลุ่มน้อยเมื่อเทียบความสามารถด้านภาษาอังกฤษกับประเทศเพื่อนบ้าน สมเกียรติ อ่อนวิมล นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ได้ให้ความเห็นเรื่องภาษาอาเซียนสำหรับประเทศไทยไว้ว่า “ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ต้องปรับตัวตั้งรับการแข่งขันในระดับประเทศ ต้องหาความรู้ ปรับปรุงเรื่องการสื่อสารของตนเอง คือต้องรู้ภาษาอังกฤษ และถ้าเป็นไปได้ควรรู้ภาษาที่ 3 ภาษาในอาเซียนอีกหนึ่งภาษา” ซึ่งนั่นอาจหมายความถึงเรื่องการปฏิรูปการศึกษาของไทยที่อาจจะเพิ่มความหวังใหม่ให้กับอนาคตของประเทศ แต่ดูจากห้วงเวลาปัจจุบันแล้วก็ยังห่างไกลจากความเป็นไปได้ การที่ประเทศไทยจะก้าวขึ้นมายืนแถวหน้าของภูมิภาคนี้อย่างเต็มภาคภูมินั้น ไทยยังต้องพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษซึ่งเรียกได้ว่าควรจะเป็นภาษาที่สอง ก่อนที่จะมองข้ามสเต็ปไปยังภาษาที่สาม แม้ในบางเรื่องประเทศไทยจะได้เปรียบหากเทียบกับสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ทั้งในเรื่องระบบโลจิสติกส์ ความชำนาญการในวิชาชีพเฉพาะด้าน หากแต่การอ่อนด้อยด้านภาษาที่แม้แต่กับภาษาไทยเองยังไม่แตกฉานนัก  ภาษาเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยการฝึกฝนเพื่อสร้างความชำนาญ ซึ่งดูแล้วหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังรณรงค์การใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำให้ถูกต้องดูจะไม่ใช่เรื่องลำบากนัก แต่หากต้องรณรงค์เพิ่มพูนทักษะภาษาอังกฤษสำหรับคนไทย อาจต้องรณรงค์กันอย่างหนักพอสมควร

Read More

ห้างยักษ์ญี่ปุ่นคืนชีพ “โตคิว-ทาคาชิมาย่า” เปิดศึก

  การประกาศบุกสมรภูมิค้าปลีกของ “ทาคาชิมาย่า” ห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ระดับพรีเมียมจากประเทศญี่ปุ่น โดยจับมือกับบริษัท ไอคอนสยาม จำกัด เนรมิตห้างสรรพสินค้า “ทาคาชิมาย่า” สาขาแรกในประเทศไทยบนพื้นที่โครงการ “ไอคอนสยาม” อภิมหาโปรเจ็กต์แลนด์มาร์คริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา มูลค่า 50,000 ล้านบาท ถือเป็นเกมเปิดศึกครั้งใหม่ของธุรกิจห้างสรรพสินค้าแดนอาทิตย์อุทัย หลังจากยักษ์ใหญ่หลายค่ายเคยบาดเจ็บและเลิกกิจการไป ช่วงจังหวะเวลาเดียวกัน บริษัท โตคิว ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) บรรลุข้อตกลงการร่วมทุนกับบริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ในการขยายธุรกิจเปิดห้างสรรพสินค้าโตคิวร่วมกันภายในศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค โดยมีสัดส่วนการลงทุนระหว่างบริษัท พาราไดซ์ รีเทล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ เอ็ม บี เค กรุ๊ป และบริษัท กรุงเทพ -โตคิว สรรพสินค้า จำกัด ในสัดส่วน 50 : 50 งบลงทุนมูลค่าเบื้องต้น 400 ล้านบาท แน่นอนว่า

Read More

“เซ็นทรัล” ชิง “ดิสทริค” คิกออฟกลยุทธ์บิ๊กโฟร์

 การผนึกกำลังของ 4 แมกเน็ตในเครือเซ็นทรัล กรุ๊ป คือ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ห้างสรรพสินค้าเซน ห้างเซ็นทรัลชิดลม และศูนย์การค้าเซ็นทรัลเอ็มบาสซี ระเบิดแคมเปญ “Central Celebration in Bangkok”  ไม่ใช่แค่การตอกย้ำความเป็นศูนย์กลางแห่งการเฉลิมฉลองระดับโลกบนชอปปิ้งสตรีทที่ยาวที่สุดใจกลางกรุงเทพฯ แต่ยังเป็นการคิกออฟกลยุทธ์ “Big Four” ที่จะเปิดฉากการแย่งชิง “Shopping District” ชนคู่แข่ง “เดอะมอลล์กรุ๊ป” ที่กำลังปลุกปั้น “ดิ เอ็ม ดิสทริค (The EM District)” อย่างเข้มข้น เฉพาะแคมเปญแรกทุ่มเม็ดเงิน 1,000 ล้านบาท โหมโรงตลอดเดือนธันวาคมยาวถึงกลางเดือนมกราคม เริ่มตั้งแต่การตกแต่งศูนย์และลานหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ในฐานะ “แลนด์มาร์คแห่งเทศกาลคริสต์มาสและงานเคาท์ดาวน์ปีใหม่ของประเทศ” ซึ่งเป็นซิกเนเจอร์อีเวนท์ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘UNIVERSE OF HAPPINESS’ ประดับบอลลูนสนูปปี้ยักษ์สูงกว่าตึก 3 ชั้นและกองทัพสนูปปี้ แคมเปญลดราคาสินค้าต้นตำรับ “มิดไนท์เซลส์” ฉาบไฟตึกห้างเซ็นทรัลชิดลมทั้งตึก และยาวต่อเนื่องมาจนถึงศูนย์การค้าเซ็นทรัลเอ็มบาสซี รวมถึงกิจกรรมอีเวนท์ที่ตั้งเป้าดึงลูกค้าต่างชาติให้ได้มากที่สุด ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา

Read More