Home > ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

AEC 2025 ก้าวย่างที่ท้าทายของอาเซียน

การประชุมหารือของคณะรัฐมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 15 ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 31 ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งถือเป็นการหารือครั้งแรกในรอบ 2 ปี หลังจากการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เมื่อปี 2015 กำลังเป็นภาพสะท้อนความคืบหน้าและจังหวะก้าวของ ASEAN ที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะการหารือดังกล่าวในด้านหนึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่การติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025 (AEC Blueprint 2025) ซึ่งที่ประชุม AEC Council ได้รับรองแผนงานรายสาขา (Sectoral Work Plans) จนครบถ้วนทั้ง 23 แผนงาน โดย 3 แผนงานสุดท้ายที่ได้รับรองอยู่ที่แผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยมีเป้าหมายที่จะลดต้นทุนธุรกรรมทางการค้าลงร้อยละ 10 ภายในปี 2020 และเพิ่มมูลค่าการค้าภายในภูมิภาคเป็น 2 เท่า ภายในปี

Read More

AEC 2015 หลักไมล์แห่งมิตรไมตรี

 การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในอาเซียน สอดรับกับความพยายามที่จะผนึกอาเซียนให้ก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ที่มีหมุดหมายในการรวมเขตเศรษฐกิจในอาเซียนให้เป็นฐานการผลิตและตลาดเดียวกันในปี 2015 ภายใต้ข้อเท็จจริงว่าด้วยจำนวนประชากรที่มีมากกว่า 600 ล้านคนและมีผลประโยชน์ทางการค้า-เศรษฐกิจมูลค่ารวมมหาศาลอย่างยากที่จะประเมินออกมาเป็นเพียงตัวเลขสถิติ พลวัตที่งอกเงยมาจากสายสัมพันธ์ในมิตินามธรรมในอดีตนี้ กำลังก่อรูปและรังสรรค์ให้เกิดความเชื่อมโยงและพัฒนาการที่สามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต เป็นอนาคตที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของอาเซียนให้เต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งหวังถึงความจำเริญมั่งคั่งที่ยั่งยืนสถาพร แผนพัฒนาและคณะกรรมาธิการหลากหลายคณะ ได้รับการจัดตั้งและมอบหมายภารกิจเพื่อประกอบส่วนในการศึกษาและแสวงหาหนทางที่จะนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อผนึกให้วิสัยทัศน์ในการเชื่อมโยงและสร้างให้เกิดอาเซียนหนึ่งเดียว ซึ่งนั่นย่อมมิได้หมายถึงความพยายามที่จะจัดวางและก่อสร้างเส้นทางคมนาคมเพื่อเชื่อมประสานการเดินทางสัญจรทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศเท่านั้น หากความเชื่อมประสานโยงใยของอาเซียนยังหมายรวมถึงมิติด้านกิจการพลังงาน มิติทางการศึกษา ประเด็นว่าด้วยกฎระเบียบทางการค้า ระบบภาษี-ศุลกากร การสร้างฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และความเชื่อมโยงระดับประชาชนต่อประชาชนอีกด้วย ความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันนี้ ได้ทำให้เส้นแบ่งของความเป็นขอบนอก ถูกกระชับให้เข้าใกล้กับศูนย์กลางมากขึ้นทุกขณะ และช่วยลดช่องห่างของระดับขั้นการพัฒนาและความแปลกแยกแตกต่างที่ดำรงอยู่ในอาเซียนให้หดแคบลง ก่อนที่สำนึกแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายของการรวมกลุ่มอาเซียนจะได้รับการสถาปนาให้เกิดขึ้นมาแทนที่ ถนนหลากหลายเส้นทางที่กำลังได้รับการยกระดับมาตรฐานให้สามารถรองรับการสัญจรสำหรับทั้งผู้คนและสินค้า ที่กำลังไหล่บ่าและท่วมทะลัก เป็นประจักษ์พยานถึงพลวัตการพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงผู้คนในอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน ระบบโครงข่ายการคมนาคมทางบกไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะถนนสายหลักและสายรองที่กำลังถักทอประหนึ่ง ใยแมงมุม ที่แพร่กว้างไปทั่วภูมิภาคเท่านั้น หากยังมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและทางรถไฟคู่ขนานที่กำลังจะได้รับการพัฒนาให้อยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั้งระบบเพื่อให้การเชื่อมโยงผู้คนในภูมิภาคที่ไพบูลย์นี้ ดำเนินไปอย่างไร้รอยต่อและข้ามพ้นข้อจำกัดในระยะยาว เส้นทางถนนภายใต้กรอบของโครงข่ายทางหลวงอาเซียน (ASEAN Highway Network) ที่มีความยาวรวมเกือบ 4 หมื่นกิโลเมตร กระจายครอบคลุมพื้นที่เชื่อมต่ออาณาบริเวณของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าไว้ด้วยกัน เป็นส่วนหนึ่งในรูปธรรมการพัฒนาเพื่อเชื่อมประสานโครงข่ายการสัญจรทางบก แม้จะมีเส้นทางบางส่วนยังไม่ได้รับการพัฒนาและมีสภาพเป็นจุดเชื่อมโยงที่ขาดวิ่น ด้วยเหตุผลของข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์และสถานภาพด้านงบประมาณของประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศอยู่บ้างก็ตาม โอกาสทางการค้า การหลั่งไหลของสินค้าและทรัพยากรทางการผลิตที่เคลื่อนผ่านเส้นทางหมายเลข 9 กำลังจุดประกายให้แผ่นดินที่เงียบสงบและหลบซ่อนอยู่ในชายขอบของประวัติศาสตร์อาเซียนถูกปลุกให้ตื่นขึ้น รับแสงอรุณแห่งความหวัง และอนาคตใหม่ที่กำลังจะเดินทางมาถึง ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกบนเส้นทางหมายเลข 9

Read More

รู้รักษ์ภาษาไทย ท่ามกลางภาษาอาเซียน

 “สวัสดี” ก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ด้วยคำทักทายอย่างเป็นทางการ อีกทั้งยังเป็นการเปิดประตูบ้านต้อนรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มตัว ไม่ว่าจะพร้อมหรือไม่ก็ตาม การรวมตัวของ 10 ประเทศในอาเซียน แน่นอนว่า ย่อมต้องมีข้อตกลงที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งยังผลให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นการเพิ่มจุดแข็งของประเทศในภูมิภาคอาเซียนบนเวทีโลก กฎบัตรสำคัญที่ประเทศในอาเซียนได้ทำข้อตกลงกันไว้คือ ภาษาอาเซียน (ASEAN Language) ที่เหล่าประเทศสมาชิกมีมติร่วมกันว่าให้ภาษาอังกฤษทำหน้าที่เป็น “ภาษาราชการของอาเซียน” หมายถึงการดำเนินธุรกิจภายในภูมิภาคอาเซียนจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งข้อตกลงนี้นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อประเทศในอาเซียนนั้นล้วนแล้วแต่มีภาษาแม่เป็นของตัวเอง และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนมีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ แม้แต่ประเทศบรูไน ที่มีภาษาบรูไนเป็นภาษาแม่ กระนั้นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนี้ก็สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี เฉกเช่นเดียวกับประเทศไทยที่มีภาษาแม่ของตัวเอง แต่กลับใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารเฉพาะในแวดวงธุรกิจเท่านั้น ซึ่งนับเป็นเพียงคนกลุ่มน้อยเมื่อเทียบความสามารถด้านภาษาอังกฤษกับประเทศเพื่อนบ้าน สมเกียรติ อ่อนวิมล นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ได้ให้ความเห็นเรื่องภาษาอาเซียนสำหรับประเทศไทยไว้ว่า “ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ต้องปรับตัวตั้งรับการแข่งขันในระดับประเทศ ต้องหาความรู้ ปรับปรุงเรื่องการสื่อสารของตนเอง คือต้องรู้ภาษาอังกฤษ และถ้าเป็นไปได้ควรรู้ภาษาที่ 3 ภาษาในอาเซียนอีกหนึ่งภาษา” ซึ่งนั่นอาจหมายความถึงเรื่องการปฏิรูปการศึกษาของไทยที่อาจจะเพิ่มความหวังใหม่ให้กับอนาคตของประเทศ แต่ดูจากห้วงเวลาปัจจุบันแล้วก็ยังห่างไกลจากความเป็นไปได้ การที่ประเทศไทยจะก้าวขึ้นมายืนแถวหน้าของภูมิภาคนี้อย่างเต็มภาคภูมินั้น ไทยยังต้องพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษซึ่งเรียกได้ว่าควรจะเป็นภาษาที่สอง ก่อนที่จะมองข้ามสเต็ปไปยังภาษาที่สาม แม้ในบางเรื่องประเทศไทยจะได้เปรียบหากเทียบกับสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ทั้งในเรื่องระบบโลจิสติกส์ ความชำนาญการในวิชาชีพเฉพาะด้าน หากแต่การอ่อนด้อยด้านภาษาที่แม้แต่กับภาษาไทยเองยังไม่แตกฉานนัก  ภาษาเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยการฝึกฝนเพื่อสร้างความชำนาญ ซึ่งดูแล้วหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังรณรงค์การใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำให้ถูกต้องดูจะไม่ใช่เรื่องลำบากนัก แต่หากต้องรณรงค์เพิ่มพูนทักษะภาษาอังกฤษสำหรับคนไทย อาจต้องรณรงค์กันอย่างหนักพอสมควร

Read More

NEDA: เพื่อนบ้านมั่นคง เมืองไทยมั่งคั่ง

 พุทธศักราช 2558 ปีที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือ AEC มุ่งให้เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจและการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ประเทศในภูมิภาคนี้มีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดี กินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน ซึ่งประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เหลืออีก 9 ประเทศได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา  สำหรับประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงต้องเตรียมความพร้อมเพื่อการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน โดยมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่นๆ มีความเข้มแข็ง เพราะการศึกษานับเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาในด้านอื่นๆ  สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization-NEDA) ขึ้นตรงต่อกระทรวงการคลัง มีภารกิจในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันระหว่างไทยและเพื่อนบ้าน  บทบาทของ NEDA ดูเหมือนจะสอดคล้องต่อความมุ่งหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยล่าสุดไทยให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน

Read More