Home > Cover Story (Page 147)

วิถีแห่งลุ่มน้ำโขง แสงแดด สายหมอก และยาเส้น

 ก่อนจะถึง AEC ระยะทางเกือบหนึ่งพันกิโลเมตรที่แม่น้ำโขงไหลผ่านพรมแดนไทย-ลาว จากสามเหลี่ยมทองคำ จ.เชียงราย สู่สามเหลี่ยมมรกต จ.อุบลราชธานี นอกจากจะทำหน้าที่ขีดกั้นเส้นแบ่งพรมแดนแล้ว ยังหล่อเลี้ยงและหล่อหลอมผสานความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมของผู้คนทั้งสองฝั่งมาช้านาน ในช่วงฤดูหนาว อากาศที่เย็นยะเยือกอาจจะทำให้ใครหลายคนไม่ยอมลุกขึ้นจากเตียงนอนอันอบอุ่น แต่เกษตรกรชาวไร่ยาสูบบ้านปากมาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ที่อาศัยตลิ่งริมน้ำโขงเป็นที่เพาะปลูกมานานนับร้อยปี อาจจะใช้ชีวิตแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง “ช่วงนี้จะได้นอนก็แค่วันละ2-3 ชั่วโมง บางวันก็ไม่ได้นอน เพราะยา (ใบยาสูบ) จะสุกเกินไป เดี๋ยวซอยไม่ทัน” ตุ้ม สาวชาวนาที่มาเป็นสะใภ้ชาวไร่ยาสูบได้ 16 ปี เล่าให้ฟังถึงวิถีประจำวันชาวไร่ยา ฤดูการเก็บเกี่ยวใบยาสูบจะเริ่มช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่แดดลงจัด ชาวไร่ยาจะเริ่มเก็บใบยาที่แก่และโดนแดดเต็มที่ ตอนประมาณบ่ายสามโมงถึงสี่โมงเย็น ขึ้นอยู่กับจำนวนใบยา จากนั้นจะนำมาบ่มด้วยผ้ายางไว้สักสองสามวันขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ วิถีชีวิตของชาวไร่ยาสูบขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศเป็นอย่างมาก หากแดดไม่ดี แม้ใบยาจะแก่ก็ยังไม่สามารถเก็บได้ ก่อนหน้านี้สอง-สามอาทิตย์ เกิดฝนหลงฤดู ทำให้กระบวนการเก็บใบยาของชาวไร่ที่นี่ต้องชะงักไป ไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ เพราะจะทำให้ใบยาเสียหาย กระบวนการเก็บเกี่ยวใบยาเริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อบ่มใบยาจนได้ที่แล้ว พวกเขาจะเริ่มงานเวลาประมาณ 02.00 น ต้องฝ่าความหนาวและไอหมอก มานั่งซอยใบยาที่บ่มได้ที่ ให้เป็นเส้นๆ ก่อนที่จะนำไปตากบน “แตะยา” ซึ่งเป็นไม้ไผ่สานขัดแตะ กว้างประมาณ 80

Read More

SCG: บนยุทธศาสตร์คู่ขนาน รุกสู่ภูมิภาคและพัฒนา HVA

 “ปีนี้จะเป็นปีทองของอาเซียน ขณะที่นโยบายภาครัฐและการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตถึง 4%” กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (SCG) กล่าวอย่างมั่นใจในงานแถลงผลประกอบการประจำปีของบริษัทฯ ความมั่นใจของกานต์ ตระกูลฮุน หัวเรือใหญ่ของ SCG ตั้งอยู่บนฐานของข้อเท็จจริงที่ว่า ในปีที่ผ่านมา SCG สามารถสร้างรายได้จากการรุกคืบเข้าสู่ ASEAN ตามแผน Go Regional ได้อย่างเป็นกอบเป็นกำในระดับที่ทะลุ 1 แสนล้านบาทได้เป็นปีแรก และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อไปในอนาคต โดยในปีที่ผ่านมา SCG มีรายได้จากแผนธุรกิจในอาเซียน 100,912 ล้านบาทโดยมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจฐานการผลิตในภูมิภาค 44,397 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 จากปี 2556 ในขณะที่รายได้ในการส่งออกไปอาเซียน 56,615 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อย 21 จากปี 2556  กรณีดังกล่าวในด้านหนึ่งสะท้อนให้เห็นความสำเร็จในกลยุทธ์การตลาด และความสามารถในการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้บริโภคอาเซียน ด้วยเหตุที่ SCG เป็นองค์กรขนาดใหญ่ ย่างก้าวของ SCG จึงไม่ได้เกิดขึ้นอย่างไร้ทิศทาง

Read More

KLICK2JOY แผนบุก PTT Online

 ปตท. กำลังเร่งเปิดแนวรบธุรกิจค้าปลีกทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการบุกเข้าสู่สมรภูมิใหม่ในยุคเทคโนโลยีขยายตัวอย่างรวดเร็วและตลาดอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตก้าวกระโดด ผลพวงจากนโยบาย “Digital Economy” ที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2558   การนำร่องเว็บไซต์ชอปปิ้งออนไลน์ CLICK2JOY ของยักษ์น้ำมันอย่าง ปตท. จึงตั้งเป้าหมายรุกเข้าสู่ธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ เจาะกลุ่มผู้บริโภคตามแผนโรดแมป 5 ปีแรก เริ่มตั้งแต่ปี 2558-2562 สอดประสานกับเครือข่ายค้าปลีกที่เดินหน้าสยายปีกครอบคลุมกลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ มินิซูเปอร์มาร์เก็ตจิฟฟี่ ร้านจอยคาเฟ่คอนวีเนียน ร้านอาหารในเครือจิฟฟี่ ร้านชานมไข่มุก “เพิร์ลลี่ ที” ร้านกาแฟ “คาเฟ่ อเมซอน” รวมทั้งยังมีฐานลูกค้าสมาชิก “บลูการ์ด” อีกส่วนหนึ่งจากธุรกิจน้ำมัน แม้ช่วงเวลากว่า 6 เดือน เว็บไซต์ CLICK2JOY ยังทำรายได้ยอดขายเฉลี่ยเพียงหลักแสนบาทต่อเดือน เนื่องจากหลังเผยโฉมอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนสิงหาคม 2557 ยังไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์สู่สื่อสาธารณะ แต่อาศัยการบอกต่อลูกค้าผ่านร้านจิฟฟี่และเครือข่ายสังคมออนไลน์เท่านั้น ทำให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการสั่งซื้อสินค้าจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มผู้เล่นอินเทอร์เน็ตและลูกค้าประจำของร้านจิฟฟี่  สรีนา แซ่ด่าน ผู้จัดการส่วนบริหารแบรนด์และกิจกรรมการตลาดลูกค้า บริษัท

Read More

“คาเฟ่คอนวีเนียน” ยุทธศาสตร์ใหม่ของ ปตท.

 ยักษ์น้ำมัน ปตท. ใช้เวลาจัดกระบวนทัพธุรกิจค้าปลีกอยู่นานหลายปี แตกไลน์พัฒนาโมเดลอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด  เปิดตัว “Joy Cafe Convenience” บุกสมรภูมิใหม่ชนเจ้าตลาดคอนวีเนียนสโตร์อย่าง “เซเว่น-อีเลฟเว่น” และคู่แข่งที่กำลังรุกหนัก ทั้ง “แฟมิลี่มาร์ท” และ “ลอว์สัน 108” เปลี่ยนจากแนวรบ G-Store สู่การเจาะทุกเซกเมนต์ในสงครามค้าปลีก เพื่อสร้างรายได้มูลค่ามหาศาลในกลุ่มธุรกิจ Non-oil ซึ่งมีส่วนต่างกำไรมากกว่าธุรกิจน้ำมันหลายเท่าตัว  ปัจจุบันเครือข่ายค้าปลีกในอาณาจักร ปตท. ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด หรือ PTTRM ซึ่งบริษัทแม่จัดตั้งขึ้นมาภายหลังทุ่มทุนซื้อกิจการสถานีบริการน้ำมัน “เจ็ท” และร้านค้าสะดวกซื้อ “จิฟฟี่” จากบริษัท ConocoPhillips สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2555 ต่อยอดจากแบรนด์ “จิฟฟี่” เพิ่มโมเดลมินิซูเปอร์มาร์เก็ตภายใต้ชื่อ “จิฟฟี่ ซูเปอร์เฟรชมาร์เก็ต” ก่อนพัฒนาเป็น “จิฟฟี่ พลัส ซูเปอร์มาร์เก็ต”  ขณะเดียวกันสร้างร้านค้าปลีกในกลุ่มร้านอาหารทั้งจิฟฟี่ คิทเช่น และจิฟฟี่ บิสโทร

Read More

สงคราม “นอนออยล์” ปตท. รุกตลาดฮุบเรียบ

 สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อ่อนวูบต่อเนื่องชนิดร่วงต่ำสุดในรอบหลายปี รวมถึงส่วนต่างกำไรที่น้อยมากส่งผลให้ค่ายน้ำมันเร่งปรับกลยุทธ์ขยายธุรกิจกลุ่มที่ไม่ใช่น้ำมัน หรือ Non-oil  โดยเฉพาะ ปตท. วางยุทธศาสตร์บุกอย่างจริงจัง แตกไลน์ธุรกิจอย่างกว้างขวาง และล่าสุดประกาศโรดแมประยะ 5 ปี ตั้งเป้าหมายรุกธุรกิจนอนออยล์ ไม่ใช่แค่ทุกโอกาส แต่ทำแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ต้นน้ำยันปลายน้ำ ระยะเวลากว่า 8 ปี หลังบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซื้อกิจการสถานีบริการน้ำมัน “เจ็ท” และร้านค้าสะดวกซื้อ “จิฟฟี่” จากบริษัท ConocoPhillips สหรัฐอเมริกา โดยจัดตั้งบริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด หรือ PTTRM เป็นผู้บริหารแยกออกจากปั๊ม ปตท. ของบริษัทแม่ รวมถึงบุกขยายธุรกิจกลุ่มนอนออยล์ต่อยอดจากแบรนด์ “จิฟฟี่”  ปัจจุบัน PTTRM บริหารธุรกิจสถานีบริการน้ำมันภายใต้แบรนด์ “ปตท. Jiffy” 150 แห่ง และธุรกิจนอนออยล์อีก  4 กลุ่มหลัก แยกเป็นกลุ่มแรก “ธุรกิจค้าปลีก”

Read More

Jill Mika เสริมทัพ นำ “สารสกัดจากรกหมู” ปักธงในไทย

 “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” ยังคงเป็นวลีที่ครองใจและสะท้อนภาพความเป็นไปของสังคมในยุคที่ “รู้หน้า แต่อาจไม่รู้ใจ” ได้เป็นอย่างดี และนี่อาจเป็นเหตุให้ไม่ว่าเศรษฐกิจจะขึ้นหรือลง ธุรกิจความงามก็ยังคงทะยานเติบโตอย่างต่อเนื่อง  เพราะผู้หญิงกับความงามกลายเป็นของคู่กันอย่างยากจะแยกออก ขณะที่ตลาดรวมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรือเวชสำอางของไทยนั้นมีมูลค่าสูงกว่าสองแสนล้านบาท โดยเติบโตกว่าปีก่อนถึง 18% ท่ามกลางการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ทั้งไทยและเทศ  ล่าสุด จิลมิกา เฉลิมสุข ผู้บริหารสาวมากความสามารถ เจ้าของธุรกิจนำเข้าเครื่องสำอางชื่อดังจากญี่ปุ่น ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Jill Mika มัลติแบรนด์ความงาม ซึ่งรวบรวมสุดยอดเครื่องสำอางจากญี่ปุ่นไว้มากที่สุดถึง 11 แบรนด์ เสริมทัพด้วยการนำ “ฟราโคร่า” เข้ามาประเดิมปักธงในไทยเป็นประเทศแรกนอกญี่ปุ่น “ไทยถือเป็นประเทศที่ตลาดเครื่องสำอางมีศักยภาพและมีอัตราการเติบโตสูง ดังนั้นเพื่อเป็นการรองรับตลาดที่ขยายตัวต่อเนื่อง บริษัท ทูเดอะนายน์ จำกัด จึงได้ร่วมมือกับ บริษัท เคียววะ (ประเทศญี่ปุ่น) จำกัด ทุ่มงบ 100 ล้านบาท จัดตั้งบริษัท ฟราโคร่า (ประเทศไทย) จำกัด นำเข้ากลุ่มเครื่องสำอางประเภทสกินแคร์และอาหารเสริมทำตลาดในประเทศไทย” จิลมิกา เฉลิมสุข ในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัทฟราโคร่า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุ ข้อมูลที่น่าสนใจประการหนึ่งจากการรุกคืบของเครื่องสำอางจากต่างประเทศก็คือ สินค้านำเข้าทั้งจากกลุ่มประเทศตะวันตก

Read More

จรัมพร โชติกเสถียร กับอนาคตของการบินไทย

 หากประเมินและสังเคราะห์วิพากษ์ถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่เป็นประหนึ่งสัญลักษณ์และเชิดหน้าชูตาของสังคมไทย เชื่อว่า การบินไทย ในฐานะที่เป็นองค์กรธุรกิจและ Flag Carrier ที่โดดเด่นอยู่กลางห้วงเวหาคงเป็นภาพสะท้อนของไทยในเวทีระดับนานาชาติได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับการประกาศแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารขององค์กรแห่งนี้ ย่อมสะท้อนวิสัยทัศน์และกระบวนความคิดที่ดำเนินอยู่ ซึ่งย่อมมีผลต่อความเป็นไปของการบินไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตนับจากนี้ การเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) การบินไทยของจรัมพร โชติกเสถียร เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา กำลังเริ่มส่งแรงกระเพื่อมให้เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ภายในองค์กรที่มีผู้เกี่ยวข้องในฐานะพนักงานไม่ต่ำกว่า 30,000 อัตรา และมีสินทรัพย์ให้ต้องบริหารจัดการมูลค่านับแสนล้านบาท พร้อมกับผลประกอบการขาดทุนที่ทำให้การบินไทยต้องเสนอแผนฟื้นฟูให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจพิจารณาเพื่อขยายวงเงินภายใต้แผนการบริหารหนี้ เพิ่มขึ้นจาก 14,186.34 ล้านบาท เป็น 155,507.31 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการก่อหนี้ใหม่ของ บมจ.การบินไทย ด้วยการเพิ่มวงเงินกู้ต่างประเทศ สำหรับซื้อเครื่องบิน A320-200 และ B777-300ER และเพิ่มวงเงินกู้ในประเทศ เพื่อดำเนินการทั่วไป 10,000 ล้านบาท เป็น 25,000 ล้านบาท รวมถึงการบริหารหนี้ ของ บมจ.การบินไทย ด้วยการเพิ่มวงเงินในการทำ Swap Arrangement จาก 4,120 ล้านบาท เป็น 86,370.50 ล้านบาทด้วย ปัญหาของการบินไทยในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า

Read More

ตลาดเครื่องสำอาง “โตเงียบ” แต่มูลค่ามหาศาล

 ธุรกิจเครื่องสำอางและความงามเป็นธุรกิจที่มีอัตราการเจริญเติบโตและขยายอย่างต่อเนื่องทุกปี การบริโภคเครื่องสำอางในปัจจุบันคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะคนในยุคปัจจุบันทั้งเพศชาย เพศหญิง และทุกๆ ช่วงวัย ต่างให้ความสนใจใส่ใจเกี่ยวกับสุขภาพ ความงาม และผิวพรรณ รวมทั้งการดูแลตัวเองมากขึ้น มีความต้องการอยากให้ตัวเองดูดีขึ้น  และเป็นเหตุให้ธุรกิจด้านความงาม คลินิกดูแลรักษาผิวพรรณ เครื่องสำอางแบรนด์ชั้นนำต่างๆ จึงเกิดขึ้นมากมายเพื่อรองรับกับความต้องการที่สูงขึ้นทุกปี ภายใต้คุณลักษณะของการเป็นธุรกิจที่ “โตเงียบ” ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร ธุรกิจความงามจึงเปรียบเสมือนแหล่งขุมทรัพย์ ที่รอแจ้งเกิดผู้ประกอบการที่มองเห็นโอกาสในการเข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดก่อนใคร  ปัจจุบันจะพบว่าตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมีความหลากหลายทั้งในเรื่องของราคาและคุณภาพที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน นำไปสู่ภาวะการแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดที่มีมูลค่ามหาศาลเพิ่มสูงขึ้นทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดนอกประเทศ และทวีความรุนแรงมากขึ้น ข้อมูลของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ได้ทำการจัดอันดับ 10 ธุรกิจที่โดดเด่น โดยประเมินจาก ปี 2554-2557 พบว่า ธุรกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพและความงาม อาทิ อาหารเสริม เครื่องสำอาง ขึ้นแท่นเป็นธุรกิจมาแรงครองอันดับ 1 ติดต่อกัน เนื่องจากกระแสการให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพและการดูแลความงามเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ธุรกิจเด่นในปีนี้ ธุรกิจที่เกี่ยวกับความสวยความงาม ก็ยังครองเบอร์หนึ่งอีกเช่นกัน สำหรับตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพและความงามเกิดขึ้นในเมืองไทยเมื่อ 17 ปีก่อน โดยปัจจุบันวัตสันถือเป็นแบรนด์ที่มีสาขามากที่สุด รองลงมาได้แก่ บู๊ทส์, เอ็กซ์ตร้า (ในเครือซีพี ออลล์)  นอกจากนี้ยังมีแบรนด์ใหม่ที่เกิดขึ้นในตลาด เช่น ซูรูฮะ ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างสหพัฒน์ฯ กับซูรูฮะประเทศญี่ปุ่น,

Read More

2 ยักษ์เร่งสกัด “ลอว์สัน” แฟรนไชส์ “สะดวกซื้อ” เดือด

 แนวรบการขยายสาขาแฟรนไชส์ในกลุ่มคอนวีเนียนสโตร์กำลังเปิดศึกช่วงชิงทำเลอย่างดุเดือด โดยเฉพาะ 2 ยักษ์อย่าง “เซเว่น-อีเลฟเว่น” และ “แฟมิลี่มาร์ท” เป้าหมายเพื่อครอบคลุมและแย่งส่วนแบ่งตลาดให้ได้มากที่สุด ลึกๆ ยิ่งกว่านั้น ทั้ง 2 ค่ายต้องเร่งปักหมุดสกัดค่ายน้องใหม่ “ลอว์สัน” ที่ประกาศจะเปิดขายแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ “ลอว์สัน108” ภายในปีนี้ตามแผนปูพรม 1,000 สาขาทั่วประเทศ  ล่าสุด เซเว่น-อีเลฟเว่นผุดร้านทั่วประเทศมากกว่า 8,000 สาขาและตั้งเป้า 5 ปี หรือภายในปี 2562 มีจำนวนสาขารวม 10,000 สาขา ส่วนแฟมิลี่มาร์ทเมื่อสิ้นปี 2557 มีจำนวนร้านมากกว่า 1,200สาขา ตั้งเป้า 4 ปี หรือภายในปี 2561 จะมีทั้งสิ้น 3,000 สาขา  ขณะที่ค่ายลอว์สัน แม้ปัจจุบันยังกระจายร้านได้เพียง 31 สาขาและตั้งเป้าภายในปี 2562 จะเปิดสาขารวม 1,000 สาขา แต่การจับมือของกลุ่มทุนใหญ่ระหว่างเครือสหพัฒน์กับกลุ่มลอว์สัน อิงค์

Read More

ลุ้นวิกฤต “เทสโก้โลตัส” แผนซีพียึดตลาดค้าปลีก

 แม้ล่าสุด เดฟ ลูอีส ซีอีโอคนใหม่ของเทสโก้ออกมาประกาศแผนฟื้นฟูระยะแรก เพื่อกอบกู้วิกฤตครั้งใหญ่ แต่นั่นเป็นเพียงก้าวแรกและจนถึงล่าสุด บริษัทแม่ยังไม่ยืนยันชัดเจนว่า นโยบายของเทสโก้ในสหราชอาณาจักรจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของเทสโก้โลตัสในประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร “ขาย” หรือ “ไม่ขาย” ตามแผนกอบกู้สถานการณ์ทางการเงิน ผลพวงจากปัญหาภายในเกี่ยวกับการรายงานผลประกอบการผิดพลาด ความเชื่อมั่นดิ่งเหวจนฉุดรายได้ยอดขายตกต่ำ ประกอบด้วยการปิดสำนักงานใหญ่และสาขาในประเทศอังกฤษที่ไม่ทำกำไร 43 สาขา พับแผนเปิดสาขาขนาดใหญ่อีก 49 สาขา ยกเลิกการจ่ายปันผล ยกเลิกเงินบำนาญพนักงาน ขายธุรกิจบรอดแบนด์และธุรกิจสื่อบันเทิงออนไลน์ Blinkbox รวมถึงขายธุรกิจวิเคราะห์ข้อมูล “Dunnhumby” เดฟ ลูอีส ระบุด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อบรรดาผู้เกี่ยวข้องกับบริษัท แต่ต้องเผชิญกับความเป็นจริงของสถานการณ์ ซึ่งนี่เป็นเพียงก้าวแรกและยังมีอีกหลายเรื่องต้องทำ ก่อนหน้านี้ เกิดกระแสข่าวเกี่ยวกับหนทางหนีตายของเทสโก้ 3 แนวทาง ทางเลือกแรก คือ การขายสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงสุด ได้แก่ ธุรกิจเทสโก้โลตัสในภูมิภาคเอเชีย 3 ประเทศ คือ ไทย เกาหลี และมาเลเซีย เนื่องจากบริษัทสามารถระดมทุนได้จำนวนมาก ทางเลือกที่ 2 ขายหุ้นทั้งหมด หรือบางส่วนของธนาคารเทสโก้ แบงก์

Read More