Home > Women

เหยื่อคนที่ 100 สร้างความตื่นตัวให้กับรัฐบาลฝรั่งเศส ในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

Column: Women in wonderland ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เป็นปัญหาที่ไม่มีรัฐบาลไหนประสบความสำเร็จในการแก้ไข ทุกวันนี้มีผู้หญิงจำนวนมากที่ถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจจากสามี อดีตสามี หรือสมาชิกในครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัวไม่เหมือนปัญหาอื่นๆ เพราะสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสังคม ทุกชนชั้น และทุกศาสนา ดังนั้น แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วผู้หญิงก็ยังคงประสบกับความรุนแรงในครอบครัวเหมือนกัน องค์กร Organization for Security and Co-operation in Europe (OSCE) ได้เปิดเผยข้อมูลสถิติความรุนแรงในครอบครัว ในปี 2016 ว่า ผู้หญิงประมาณ 43,600 คนต่อปีจากทั่วโลกถูกฆาตกรรมโดยคนในครอบครัว 1 ใน 3 ของผู้หญิงทั่วโลกเคยถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจจากคนในครอบครัวอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต และมีเพียง 11% เท่านั้นที่มีการดำเนินคดีและแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ คำว่า “การฆาตกรรมผู้หญิง” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Femicide ในที่นี้หมายถึงการฆาตกรรมที่ผู้ชายฆ่าผู้หญิงหรือเด็กหญิง เพราะพวกเธอเป็นผู้หญิง การฆาตกรรมนี้มักจะเกิดที่บ้าน ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากความรุนแรงในครอบครัว OSCE ยังได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการฆาตกรรมหญิงว่า เกิดขึ้นในทุกประเทศ ที่เกิดมากคือ ประเทศรัสเซีย เอลซัลวาดอร์

Read More

การปฏิรูปสิทธิผู้หญิงด้วยการยกเลิก Male Guardianship System ในประเทศซาอุดีอาระเบีย

Column: Women in Wonderland อย่างที่ทราบกันดีว่า ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศหนึ่งที่มีชื่อเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงอย่างรุนแรงไปจนถึงเรื่องไร้สาระ อย่างเช่นกฎหมายที่ผู้หญิงถูกควบคุมทุกอย่างจากผู้ชายในครอบครัว ไม่มีกฎหมายปกป้องผู้หญิงจากการถูกสามีทำร้ายร่างกาย การเป็นพลเมืองของประเทศไม่สามารถสืบทอดจากแม่ได้ และคำให้การของผู้หญิงในชั้นศาลให้ถือว่ามีค่าเท่ากับคำให้การในชั้นศาลของผู้ชายครึ่งหนึ่ง เป็นต้น เรื่องไร้สาระที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้หญิงซาอุฯ คือ ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขับรถได้ พวกเธอจะต้องมีผู้ชายขับรถให้ ซึ่งกฎหมายนี้เพิ่งถูกยกเลิกไปเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2018 หลังจากที่ซาอุฯ ประกาศกฎหมายนี้ออกมามีผู้หญิงจำนวนมากออกมาขับรถบนท้องถนนเพื่อเฉลิมฉลองสิทธิเสรีภาพที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าผู้หญิงซาอุฯ จะได้รับอนุญาตให้ขับรถเองได้ แต่กฎหมายอื่นๆ ก็ยังคงละเมิดสิทธิของผู้หญิงซาอุฯ อยู่ดี โดยเฉพาะระบบที่ให้ผู้ชายซึ่งเป็นญาติเป็นผู้ปกครองของผู้หญิง (Male Guardianship System) ภายใต้ระบบนี้แม้ผู้หญิงจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ยังต้องได้รับอนุญาตจากสามี พ่อ พี่ชายหรือน้องชาย และลูกชาย ก่อนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ จะทำหนังสือเดินทาง แต่งงาน หรือแม้กระทั่งจะออกจากคุก นอกจากนี้ หากผู้หญิงจะทำงานหรือใช้ประกันสุขภาพ บริษัทอาจเรียกร้องขอจดหมายยืนยันว่าได้รับอนุญาตจากสามีหรือพ่อแล้ว ดังนั้น จึงถือได้ว่าเป็นระบบที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงซาอุฯ มากที่สุด เมื่อปีที่แล้วผู้หญิงซาอุดีฯ พยายามเรียกร้องให้มีการแก้ไขและปรับเปลี่ยนกฎหมายข้อบังคับเหล่านี้ พวกเธอเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกระบบ Male Guardianship System นอกจากนี้ UN Committee on Discrimination

Read More

ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่าผู้ชาย

Column: Women in Wonderland โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวช สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย อาการอาจคล้ายคนที่มีอาการเศร้าหรือเสียใจทั่วไป เพียงแต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นรุนแรงและเกิดขึ้นยาวนานกว่า โดยที่เจ้าตัวหรือคนรอบข้างอาจไม่ทันสังเกตเห็น ปัญหาหลักคือ ไม่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคซึมเศร้า กว่าจะรู้ก็ขั้นรุนแรงส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันไปแล้ว โรคซึมเศร้าไม่มีสาเหตุแน่ชัด คาดการณ์ว่าน่าจะมีสาเหตุจากจิตใจ สภาพสังคม ปัญหาชีวิต ปัญหาครอบครัว การงาน การเงิน หรือเผชิญกับความล้มเหลว ความสูญเสียในชีวิตอย่างรุนแรง และความผิดปกติด้านชีววิทยาคือ ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ที่สารเคมีบางตัวลดน้อยลงไปทำให้เสียสมดุลและเกิดความบกพร่องในการทำงานร่วมกัน ปัญหาเหล่านี้น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า แม้ว่าโรคซึมเศร้าจะเป็นโรคทางจิตเวช แต่ผู้ที่ป่วยโรคซึมเศร้าไม่ได้เป็นคนบ้า เพียงมีอาการป่วยทางอารมณ์ ซึ่งต้องได้รับการรักษา หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง หรือสุดท้ายฆ่าตัวตายได้ โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยที่สุด ดังนั้น จัดว่าเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญ โดยเฉพาะทุกวันนี้มีข่าวฆ่าตัวตายบ่อยครั้งเพราะเป็นโรคซึมเศร้า และโรคนี้ก็เกิดกับคนในทุกช่วงอายุ และทุกอาชีพ ปัจจุบันมีคนป่วยโรคซึมเศร้าจำนวนมาก องค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่า มี 300 ล้านคน ที่เป็นโรคซึมเศร้าจากทั่วโลก และในกรณีที่แย่ที่สุดคือ ฆ่าตัวตาย ในแต่ละปีมีคนฆ่าตัวตายประมาณ 800,000 คนต่อปี และสาเหตุหลักๆ การตายของคนช่วงอายุ 15 – 29 ปี

Read More

อีกหนึ่งก้าวสำคัญของผู้หญิงซาอุดีอาระเบียในการเลือกตั้งท้องถิ่น

 Column: Women in Wonderland อย่างที่ทราบกันดีว่าผู้หญิงในประเทศซาอุดีอาระเบียนั้นถูกจำกัดสิทธิต่างๆ ในสังคมเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าซาอุดีอาระเบียจะมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติเหมือนกับประเทศอื่นๆ แต่กฎหมายในประเทศซาอุดีอาระเบียนั้น เป็นกฎหมายที่เข้มงวดมากๆ สำหรับสิทธิต่างๆ ของผู้หญิงในสังคม โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกฎหมายในประเทศอื่นๆ ที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ หรือจะกล่าวได้ว่าในสังคมของประเทศซาอุดีอาระเบียนั้นเป็นสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่และเป็นผู้มีอำนาจมากที่สุดในสังคม ในช่วงหลายปีมานี้เราจะได้ยินข่าวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการถูกจำกัดสิทธิต่างๆ ของผู้หญิงในสังคม อย่างเช่นเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ที่มีข่าวว่า ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศเดียวในโลกที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขับรถเองได้ สาเหตุที่ข่าวนี้ได้รับความสนใจจากทั่วทุกมุมโลกก็เพราะมีผู้หญิงซาอุดีอาระเบียกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเรียกร้องสิทธิในการขับรถ และมีการรณรงค์ผ่านเฟซบุ๊ก ยูทูป และทวิตเตอร์ ให้ผู้หญิงออกมาขับรถพร้อมกันในโครงการ Women 2 Drive และจะมีการจัดกิจกรรมนี้ขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าผู้หญิงจะได้รับอนุญาตให้ขับรถได้ ซึ่งโครงการนี้ก็ได้รับความสนใจและมีผู้หญิงเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก  สำหรับเรื่องนี้ประเทศซาอุดีอาระเบียให้เหตุผลว่า สาเหตุที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขับรถเองได้เป็นเพราะกลัวผู้หญิงจะได้รับอันตรายจากการเดินทางไปไหนคนเดียว ก่อนอื่นคุณผู้อ่านต้องเข้าใจก่อนว่าที่ซาอุดีอาระเบียนั้นมีกฎหมายห้ามอย่างชัดเจนว่า ห้ามผู้หญิงใช้ระบบขนส่งสาธารณะ และห้ามเดินทางคนเดียวโดยที่ไม่มีผู้ชายที่เป็นญาติเดินทางไปด้วย กฎเหล่านี้ทำให้ผู้หญิงในซาอุดีอาระเบียค่อนข้างลำบากเวลาที่ต้องการเดินทางไปโรงเรียน ไปทำงาน หรือไปซื้อของ เพราะพวกเธอต้องพึ่งพาญาติที่เป็นผู้ชายให้เดินทางไปด้วย หรือไม่ก็ต้องจ้างคนขับรถ และไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่จะสามารถจ้างคนขับรถได้ เพราะสำหรับบางครอบครัวที่มีรายได้น้อยนั้น การจ้างคนขับรถถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากๆ ในแต่ละปีประเทศซาอุดีอาระเบียต้องเสียเงินถึงปีละ 3,200 ร้อยล้านดอลลาร์ (ประมาณ 96,000 ล้านบาท) ในการจ้างคนต่างประเทศเข้ามาทำงานเป็นคนขับรถ ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2557

Read More

แอร์โฮสเตสอาชีพในฝันของสาวๆ ที่ไม่สวยงาม และเลิศหรูอย่างที่คิด

 Women in Wonderland อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Flight Attendance หรือ Cabin Crew) ผู้ชายที่ทำหน้าที่ต้อนรับบนเครื่องบินเรียกว่า สจ๊วต ส่วนผู้หญิงที่ทำงานนี้เรียกว่า แอร์โฮสเตส เป็นหนึ่งอาชีพในฝันของผู้หญิงหลายคน เพราะเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้อย่างมากมาย (ประมาณ 40,000 บาทต่อเดือน สำหรับผู้ที่เริ่มทำงานแรกๆ และอาจจะมีรายได้มากกว่านี้สำหรับบางสายการบิน) แถมยังได้แต่งตัวสวยๆ มีโอกาสท่องเที่ยวเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในที่ต่างๆ อยู่เสมอ หน้าที่หลักๆ ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน คืออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินในระหว่างการเดินทาง เช่น ดูแลอุปกรณ์ความปลอดภัยบนเครื่องบิน และสาธิตการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น  ในขณะเดียวกันแอร์โฮสเตสก็จะทำงานบริการต่างๆ บนเครื่องบินให้กับผู้โดยสารทุกท่าน เช่น เสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม เตรียมอาหาร ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นกับผู้โดยสารที่เกิดเจ็บป่วยระหว่างการเดินทาง จัดหาที่นั่งให้กับผู้โดยสาร แจ้งข้อมูลที่จำเป็นต่างๆ ในการเดินทาง รวมทั้งคอยให้บริการด้านอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกทั้งในยามปกติและยามเกิดเหตุฉุกเฉิน ฟังแล้วอาชีพแอร์โฮสเตสดูเหมือนไม่ยาก เพียงแค่คอยบริการและอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ผู้โดยสารตั้งแต่เริ่มเดินทางจนถึงที่หมายปลายทางให้อยู่ในความเรียบร้อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาชีพแอร์โฮสเตสนั้นเป็นงานที่หนัก เพราะต้องทำงานทั้งกลางวันและกลางคืน ขึ้นอยู่กับว่าสายการบินจะกำหนดให้ทำงานในเที่ยวบินที่จะออกเดินทางตอนกี่โมง จึงไม่สามารถเลือกเวลาทำงานได้เหมือนอาชีพอื่นๆ  นอกจากนี้แอร์โฮสเตสยังต้องทำงานภายใต้ความกดดันสูง เพราะพวกเธอไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะพบเจอลูกค้าแบบไหน และสายการบินยังมีการประเมินและทำการทดสอบต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

Read More

ล่วงละเมิดทางเพศหรือมนุษยสัมพันธ์ดี

  การล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ ถึงแม้ว่าเกือบทุกประเทศจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และออกกฎหมายมาเพื่อคุ้มครองลูกจ้างทุกคน แต่ก็ยังมีลูกจ้างจำนวนไม่น้อยที่ยังถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อมีทั้งออกมาร้องเรียนต่อหัวหน้า และผู้ที่ไม่กล้าร้องเรียนเพื่อเอาผิดผู้ที่พยายามล่วงละเมิดทางเพศพวกเขา  ส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกจ้างหลายๆ คนไม่กล้ารายงานเกี่ยวกับการถูกล่วงละเมิดในที่ทำงานให้หัวหน้าระดับสูงได้รับรู้ก็เพราะ  1) พวกเขาไม่มั่นใจว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นถือเป็นการล่วงละเมิดทางเพศหรือไม่ เพราะถ้าพวกเขารายงานไปแล้ว ผู้ที่ทำการล่วงละเมิดทางเพศออกมาแก้ว่า เป็นการเข้าใจผิด เขาไม่ได้ทำการล่วงละเมิดทางเพศใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่เป็นการหยอกเล่นเท่านั้น ก็อาจจะทำให้ผู้ที่ร้องเรียนเกิดความอับอาย และเพื่อนร่วมงานอาจจะคิดว่าตัวผู้ร้องเรียนอาจจะคิดมากไปเอง และทำให้ในที่สุดไม่มีใครกล้าเข้ามาเล่นด้วย ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงแล้วผู้ร้องเรียนอาจจะเข้าใจถูกต้องแล้วว่าตัวเองถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานจริงๆ และ 2) ผู้ที่ทำการล่วงละเมิดทางเพศนั้นเป็นหัวหน้างาน ทำให้ลูกจ้างหลายๆ คนกลัวที่จะร้องเรียนต่อบริษัทว่าพวกเธอถูกหัวหน้างานล่วงละเมิดทางเพศ เพราะการร้องเรียนอาจจะส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงานที่พวกเธอทำอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพวกเธอร้องเรียนไปแล้ว เกิดบริษัทตัดสินว่า ไม่เป็นการล่วงละเมิดทางเพศผู้ที่เป็นหัวหน้าก็อาจจะหาทางกดดันจนพวกเธอต้องลาออกจากงานในที่สุด สองเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ลูกจ้างส่วนใหญ่ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานตัดสินใจที่จะเก็บเรื่องนี้ไว้กับตัวและไม่แจ้งให้หัวหน้ารับทราบ เรื่องการล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานเป็นเรื่องที่นายจ้างและเจ้าของบริษัทไม่ควรละเลยหรือวางเฉย เพราะถ้าหากมีการล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นในที่ทำงานแล้ว และไม่มีการจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง ก็อาจจะทำให้ลูกจ้างหลายๆ คนตัดสินใจลาออกจากงานที่ทำอยู่ และทำให้บริษัทอาจจะเสียบุคลากรที่สำคัญไป อย่างที่กล่าวไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า เรื่องการถูกล่วงละเมิดในที่ทำงานนั้นเกิดขึ้นในทุกประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และฝรั่งเศส เป็นต้น ซึ่งในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานที่ประเทศนิวซีแลนด์ เพราะเพิ่งเกิดเป็นข่าวใหญ่เมื่อช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา  ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า ที่ประเทศนิวซีแลนด์นี้ให้ความสำคัญกับเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะในสถานศึกษา เช่นโรงเรียนและมหาวิทยาลัย เป็นต้น หรือในที่ทำงาน ถ้าหากคุณเดินเข้าไปในองค์กรต่างๆ ของภาครัฐ คุณจะไม่แปลกใจเลยว่าคุณจะต้องเห็นโปสเตอร์อย่างน้อยหนึ่งแผ่นที่กล่าวถึงเรื่องของการล่วงละเมิดทางเพศ ที่ให้คำแนะนำวิธีการร้องเรียนไปยังบุคคล

Read More

ชีวิตที่ไม่มีทางเลือกของผู้หญิงมุสลิมในประเทศฝรั่งเศส

 ประเทศฝรั่งเศสถือว่าเป็นประเทศที่สองของประเทศในแถบยุโรปตะวันตก ต่อจากประเทศเบลเยียม ที่ได้ออกกฎหมายห้ามสวมหน้ากากหรือเครื่องอำพรางใบหน้าในที่สาธารณะ ซึ่งรวมไปถึงผ้าคลุมหน้าของชาวมุสลิมด้วย ซึ่งทั้งสองประเทศให้เหตุผลสำหรับการห้ามสวมผ้าคลุมหน้านี้ไว้ว่า เพื่อดูแลความปลอดภัยของประชาชนในประเทศนั้นๆ เพราะการสวมผ้าคลุมหน้านั้นทำให้ระบุตัวตนและมองใบหน้าของผู้ที่สวมผ้าคลุมหน้าได้ยาก ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2554 เป็นต้นมา ประเทศฝรั่งเศสได้ประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการห้ามปกปิดใบหน้าในที่สาธารณะ อย่างเช่นตามท้องถนน ร้านค้า พิพิธภัณฑ์ การขนส่งมวลชน สวนสาธารณะ และสถานที่ราชการ เป็นต้น แต่ถ้าหากว่าผู้หญิงคนนั้นกำลังเดินทางอยู่ในรถยนต์ส่วนบุคคล และเธอไม่ได้เป็นคนขับ หรือกำลังอยู่ในบริเวณของมัสยิด กฎหมายนี้อนุญาตให้สวมผ้าคลุมหน้าได้ ซึ่งถ้าหากฝ่าฝืนกฎหมายนี้จะต้องได้รับโทษทั้งจำและปรับ รัฐบาลประเทศฝรั่งเศสภายใต้การนำของประธานาธิบดี Nicola Sarkozy ได้เสนอร่างกฎหมายนี้ และก็ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรของประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2553 และต่อมาวุฒิสภาของประเทศฝรั่งเศสก็มีความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายนี้เหมือนกัน จึงได้เห็นชอบให้ผ่านกฎหมายนี้ในวันที่ 14 กันยายน 2553 หลายๆ คนอาจจะยังเข้าใจว่ากฎหมายนี้ของประเทศฝรั่งเศสได้ห้ามไม่ให้ผู้หญิงมุสลิมสวมผ้าคลุมหน้าในที่สาธารณะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว กฎหมายนี้ไม่ได้ห้ามเฉพาะผู้หญิงมุสลิมเท่านั้น แต่ยังห้ามทุกๆ คนไม่ให้สวมผ้าคลุมหน้าในที่สาธารณะ นอกจากนี้ยังต้องเข้าใจอีกด้วยว่า คำว่าผ้าคลุมหน้าในที่นี้ของกฎหมายฝรั่งเศสนั้น หมายถึงการห้ามสวมผ้าคลุมทุกประเภทที่จะปิดบังใบหน้าทั้งหมด อย่างเช่นการสวมผ้าคลุมหน้าแบบบูร์กา (Burqas) ที่จะปิดบังใบหน้าทั้งหมด และนิกอบ (Niqab)

Read More

มารดาที่อยู่ในระหว่างการตั้งท้องและการคลอดลูก มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุดในอเมริกา

 เรื่องนี้กลายเป็นที่ค่อนข้างน่าตกใจเมื่อองค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า ประเทศอเมริกาเป็นประเทศที่มีอัตราการตายของมารดาในระหว่างการตั้งครรถภ์และการคลอดลูกสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาแล้ว องค์การอนามัยโลกยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา คือตั้งแต่ปี 2543 ถึงปี 2553 ประเทศอื่นๆ มีอัตราการตายของมารดาในระหว่างการตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่ประเทศอเมริกากลับมีอัตราการตายของมารดาที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าคือ ในจำนวนเด็กที่เกิดมาหนึ่งแสนคน จะมีมารดาที่เสียชีวิตระหว่างการตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรถึง 21 คน  ถึงแม้ว่าประเทศอเมริกาจะมีอัตราการตายของมารดาในระหว่างที่ตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรสูงแล้ว ยังมีเรื่องที่น่าตกใจกว่าคือ ผู้หญิงผิวดำในอเมริกาหรือผู้หญิงที่มีสัญชาติแอฟริกันอเมริกันนั้นจะมีอัตราการตายของมารดามากกว่าผู้หญิงผิวขาวหรือผู้หญิงสัญชาติอเมริกันสามถึงสี่เท่า ซึ่งอัตราการตายที่มากขนาดนี้ไม่ได้มีการลดลงเลยตั้งแต่ปี 2483 ซึ่งอัตราการตายเหล่านี้ถือเป็นการตายที่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากมารดาที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือคลอดบุตรได้รับการรักษาที่ถูกวิธี สถานการณ์การตายของมารดาผิวดำนี้ยิ่งแย่ลงไปอีกตามรัฐและเมืองใหญ่ๆ ในประเทศอเมริกา เพราะตามรัฐและเมืองใหญ่ๆ นั้น อัตราการเสียชีวิตของมารดาที่เป็นคนผิวดำนั้นจะยิ่งสูงมากขึ้นไปอีก  ยกตัวอย่างเช่น อย่างที่รัฐเทกซัส อัตราการเสียชีวิตของมารดาระหว่างที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตรเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าในช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมา เมื่อปี 2539 ในจำนวนเด็ก 100,000 คน จะมีมารดาเสียชีวิต 6 คน ในขณะที่ในปี 2553 ในจำนวนเด็กที่เท่ากันมีมารดาที่เสียชีวิตถึง

Read More

เมื่ออเมริกาอนุญาตให้ขายยาคุมฉุกเฉินกับเด็กได้

ประเทศอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งในหลายๆ ประเทศที่สามารถทำแท้งได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเมื่อเดือนที่แล้วศาลชั้นต้นในสังกัดศาลของรัฐบาลกลางในเขตนครนิวยอร์กตัดสินให้ทุกคนสามารถซื้อยาคุมฉุกเฉินได้ตามร้านขายยาโดยไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ เรื่องนี้ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ตรงกันข้ามกับรัฐบาล Obamaยาคุมฉุกเฉินหรือที่คนอเมริกันเรียกว่า Plan B มีที่มาจากชื่อของแบรนด์ที่ผลิตของยาคุมฉุกเฉิน ซึ่งยาชนิดนี้เป็นยาคุมที่ใช้ในกรณีฉุกเฉินซึ่งต้องรับประทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากที่มีเพศสัมพันธ์ เมื่อก่อนยาคุมประเภทนี้นิยมใช้สำหรับกรณีที่ผู้หญิงถูกข่มขืน และรับประทานยานี้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ แต่ในปัจจุบันนี้ผู้คนกลับใช้ยาคุมฉุกเฉินเสมือนเป็นยาคุมปกติที่นำมาใช้เมื่อลืมป้องกันการตั้งครรภ์ในเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ยาคุมฉุกเฉินนี้ต้องใช้ในกรณีที่ฉุกเฉินและจำเป็นเท่านั้น ไม่ควรใช้ยาชนิดนี้พร่ำเพรื่อ หรือใช้แทนยาคุมทั่วไปสำหรับการป้องกันการตั้งครรภ์ เพราะยาคุมฉุกเฉินนี้มีผลกระทบต่อร่างกายที่รุนแรงกว่ายาคุมกำเนิดโดยทั่วไป เช่น อาจทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกกะปริดกะปรอย ปวดท้อง และประจำเดือนอาจมาช้าหรือเร็วกว่าปกติ แต่ถ้าหากมีการรับประทานยาคุมฉุกเฉินติดต่อกันเป็นเวลานาน ประสิทธิภาพของยาคุมฉุกเฉินจะลดน้อยลงเมื่อเทียบกับยาคุมกำเนิดชนิดปกติ และยาคุมฉุกเฉินยังอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงกว่าคือ อาจมีความผิดปกติที่รังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูก และรวมไปถึงอาจมีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์นอกมดลูกเพิ่มขึ้น ดังนั้นยาคุมฉุกเฉินนี้จึงควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้นเมื่อยาคุมฉุกเฉินมีผลกระทบข้างเคียงสูงเมื่อรับประทานเป็นเวลานาน และมีระยะเวลาในการรับประทานที่ต่างจากการคุมกำเนิดโดยปกติ จึงเกิดคำถามที่ว่า เหมาะแล้วหรือที่จะให้เด็กสามารถซื้อยาคุมฉุกเฉินมารับประทานได้เองก่อนหน้านี้ที่ศาลจะมีการอนุญาตให้เด็กซื้อยาคุมฉุกเฉินได้นั้น ในปี 2542 อเมริกาได้ออกกฎหมายให้ใช้ยาคุมฉุกเฉินได้ก็ต่อเมื่อมีใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น โดยที่ไม่สนใจว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ ต่อมาในปี 2549 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration หรือที่เรียกสั้นๆว่า FDA) ได้รับรองให้ยาคุมฉุกเฉินสามารถขายได้ที่ร้านขายยาทั่วไป แต่ให้ขายได้สำหรับคนที่มีอายุตั้งแต่ 18

Read More