Home > กฎหมาย

กฎหมายใหม่ของไอซ์แลนด์เพื่อยุติปัญหาช่องว่างระหว่างรายได้ของผู้ชายและผู้หญิง

Column: Women in wonderland ปัญหาช่องว่างระหว่างรายได้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ รวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้ว คำว่า ช่องว่างระหว่างรายได้ของผู้หญิงผู้ชาย หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Gender Pay Gap” นั้นหมายถึง การที่ผู้หญิงผู้ชายเข้าทำงานในเวลาพร้อมกัน มีคุณสมบัติเหมือนกัน รับผิดชอบหน้าที่เหมือนกัน แต่กลับได้รับรายได้ไม่เท่ากันเพียงเพราะ “เพศ” แตกต่างกัน ปัญหาที่ดูเหมือนจะได้รับการแก้ไขและได้รับความสนใจจากรัฐบาลประเทศต่างๆ มีการผ่านกฎหมาย Equal Pay Act ในหลายๆ ประเทศ เช่น อเมริกา อังกฤษ และสหภาพยุโรป เป็นต้น และยังมีการกำหนดวัน Equal Pay Day ซึ่งจะมีประชาชนและนักเรียกร้องสิทธิออกมาเดินบนถนนเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลให้ความสนใจ ซึ่งวัน Equal Pay Day นี้ในแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกัน อย่างที่เยอรมนี เป็นวันที่ 18 มีนาคม ขณะที่อังกฤษคือวันที่ 10 พฤศจิกายน อย่างในปีนี้ เมื่อวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา

Read More

พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว 2560 ความล้มเหลวในการบริหารนโยบาย?

การประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 (พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว) เมื่อช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นอกจากจะกลายเป็นประเด็นร้อน ที่ส่งผลสะเทือนต่อแวดวงธุรกิจ อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องหลากหลายแล้ว กรณีดังกล่าวยังเป็นประหนึ่งภาพสะท้อนและตอกย้ำความล้มเหลวในการบริหารจัดการนโยบายสาธารณะที่รัฐบาลภายใต้การดูแลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผลิตซ้ำและละเลยที่จะเรียนรู้อีกด้วย สถานการณ์ของแรงงานต่างด้าวภายหลังการประกาศบังคับใช้ พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว พ.ศ.2560 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560 ติดตามมาด้วยความตื่นตระหนกและหวาดวิตกทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและแรงงานต่างด้าว เนื่องเพราะในกฎหมายฉบับดังกล่าวระบุบทลงโทษในกรณีที่นายจ้างรับคนต่างด้าวทํางานที่ห้ามคนต่างด้าวทํา หรือรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทํางาน มีโทษปรับตั้งแต่ 400,000-800,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน นายจ้างให้คนต่างด้าวทำงานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตมีโทษปรับไม่เกิน 400,000 บาทต่อคนต่างด้าว 1 คน ภาพของคลื่นแรงงานต่างด้าวที่ไหลบ่าเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดตามแนวและจุดผ่านแดนไทยกับเพื่อนบ้านปรากฏให้เห็นทันทีเมื่อข่าวการบังคับใช้กฎหมายนี้เผยแพร่ออกไป และทำให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต้องขาดแคลนแรงงานฉับพลัน สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นในการประกอบกิจการไปโดยปริยาย ความสูญเสียทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากการบังคับใช้ พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าวได้รับการประเมินว่าในกรณีที่กระทบน้อยที่สุดจะมีมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 1.24 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.08 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และอาจขยายความเสียหายไปสู่ระดับปานกลางที่ร้อยละ 0.2 ของ GDP คิดเป็นมูลค่า 2.84 หมื่นล้านบาท หรือในกรณีกระทบรุนแรงจะส่งผลเสียหายเป็นมูลค่า 4.65 หมื่นล้านบาท หรือในระดับร้อยละ

Read More

อีกหนึ่งก้าวสำคัญของผู้หญิงซาอุดีอาระเบียในการเลือกตั้งท้องถิ่น

 Column: Women in Wonderland อย่างที่ทราบกันดีว่าผู้หญิงในประเทศซาอุดีอาระเบียนั้นถูกจำกัดสิทธิต่างๆ ในสังคมเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าซาอุดีอาระเบียจะมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติเหมือนกับประเทศอื่นๆ แต่กฎหมายในประเทศซาอุดีอาระเบียนั้น เป็นกฎหมายที่เข้มงวดมากๆ สำหรับสิทธิต่างๆ ของผู้หญิงในสังคม โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกฎหมายในประเทศอื่นๆ ที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ หรือจะกล่าวได้ว่าในสังคมของประเทศซาอุดีอาระเบียนั้นเป็นสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่และเป็นผู้มีอำนาจมากที่สุดในสังคม ในช่วงหลายปีมานี้เราจะได้ยินข่าวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการถูกจำกัดสิทธิต่างๆ ของผู้หญิงในสังคม อย่างเช่นเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ที่มีข่าวว่า ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศเดียวในโลกที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขับรถเองได้ สาเหตุที่ข่าวนี้ได้รับความสนใจจากทั่วทุกมุมโลกก็เพราะมีผู้หญิงซาอุดีอาระเบียกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเรียกร้องสิทธิในการขับรถ และมีการรณรงค์ผ่านเฟซบุ๊ก ยูทูป และทวิตเตอร์ ให้ผู้หญิงออกมาขับรถพร้อมกันในโครงการ Women 2 Drive และจะมีการจัดกิจกรรมนี้ขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าผู้หญิงจะได้รับอนุญาตให้ขับรถได้ ซึ่งโครงการนี้ก็ได้รับความสนใจและมีผู้หญิงเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก  สำหรับเรื่องนี้ประเทศซาอุดีอาระเบียให้เหตุผลว่า สาเหตุที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขับรถเองได้เป็นเพราะกลัวผู้หญิงจะได้รับอันตรายจากการเดินทางไปไหนคนเดียว ก่อนอื่นคุณผู้อ่านต้องเข้าใจก่อนว่าที่ซาอุดีอาระเบียนั้นมีกฎหมายห้ามอย่างชัดเจนว่า ห้ามผู้หญิงใช้ระบบขนส่งสาธารณะ และห้ามเดินทางคนเดียวโดยที่ไม่มีผู้ชายที่เป็นญาติเดินทางไปด้วย กฎเหล่านี้ทำให้ผู้หญิงในซาอุดีอาระเบียค่อนข้างลำบากเวลาที่ต้องการเดินทางไปโรงเรียน ไปทำงาน หรือไปซื้อของ เพราะพวกเธอต้องพึ่งพาญาติที่เป็นผู้ชายให้เดินทางไปด้วย หรือไม่ก็ต้องจ้างคนขับรถ และไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่จะสามารถจ้างคนขับรถได้ เพราะสำหรับบางครอบครัวที่มีรายได้น้อยนั้น การจ้างคนขับรถถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากๆ ในแต่ละปีประเทศซาอุดีอาระเบียต้องเสียเงินถึงปีละ 3,200 ร้อยล้านดอลลาร์ (ประมาณ 96,000 ล้านบาท) ในการจ้างคนต่างประเทศเข้ามาทำงานเป็นคนขับรถ ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2557

Read More