Home > Japan (Page 4)

กีฬาสี…ญี่ปุ่น

 ท่านผู้อ่านรู้สึก เหมือนผู้เขียนบ้างไหมคะว่า การจะหยิบจับเสื้อผ้าอาภรณ์มาใส่ในแต่ละวัน ในช่วงที่ผ่านมาดูจะลำบากและอึดอัดคับข้องกันเหลือเกิน เนื่องเพราะไม่ต้องการให้ถูกจับไปอยู่ฝั่งฟากของความขัดแย้งในมหกรรมกีฬาสีระดับชาติที่ต่อเนื่องยาวนานกว่า 3-4 ปี เรื่องราวของการแบ่งสีในสังคมไทย ไม่ได้จำกัดขอบเขตการรับรู้อยู่เฉพาะในบ้านเมืองเราเท่านั้น หากยังแพร่กว้างออกไปสู่การรับรู้ของต่างชาติ บางแห่งถึงกับออกประกาศเตือนนักท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการให้หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อบางสี หากจะเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย Travel Advisory ดังกล่าว คงบ่งบอกนัยบางอย่างให้สังคมไทยบ้างไม่มากก็น้อย ในทางกลับกัน เรื่อง “สี” สำหรับสังคมญี่ปุ่นนั้น หากจะคิดถึงในเชิง “สัญญะ” ก็คงจะไม่พ้นสีขาวและสีแดง ซึ่งเป็นสีธงชาติของญี่ปุ่นนั่นเอง “สี” เช่นที่ว่า ก็เป็นอุดมคติของสังคมไทย ที่ต้องการเห็นคนไทยสำนึกในสีของธงชาติไทยร่วมกัน แต่สิ่งเหล่านี้กลับเป็นสิ่งที่สังคมไทยต้องเรียกร้องกันอย่างหนาหูเพิ่มขึ้น เหมือนกับว่าความสำนึกดังกล่าวไม่ได้เป็นสิ่งที่มีอยู่  หากจะมองประเทศญี่ปุ่นเป็นกรณีศึกษา ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอยู่ที่ ความสำนึกในเรื่องดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นท่ามกลางการกล่าวอ้าง หรือเกิดขึ้นจากการรณรงค์ร้องขอกันเป็นห้วงๆ เพราะการปลูกฝังในเรื่องของความเป็นหมู่คณะ หรือการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของสังคมญี่ปุ่น เป็นดอกผลของรูปการณ์จิตสำนึก จากการฟันฝ่าความทุกข์ยากของชาติ และเรียนรู้พัฒนาจากสิ่งเหล่านั้นร่วมกันอยู่เสมอ แม้ว่าโศกนาฏกรรม และความเห็นแก่ตัวในสังคมญี่ปุ่น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เหมือนกับทุกๆ สังคมในโลก แต่กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม (socialization) ของญี่ปุ่น ซึ่งปลูกฝัง “สิทธิ” และ “หน้าที่” อย่างชัดเจน แทบทุกระดับในสังคมญี่ปุ่น โดยเฉพาะการเน้นการมีส่วนร่วม และการทำงานเป็นหมู่คณะ ขณะที่ ยังคงเคารพ “สิทธิ” ความเป็นปัจเจก

Read More

MONO Shop การพัฒนา SMEs แบบญี่ปุ่น

 หากกล่าวถึงต้นแบบการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือที่เรียกขานอย่างติดปากว่า SMEs ที่ประสบความสำเร็จ เชื่อว่าคงไม่มีประเทศใดจะเป็นตัวอย่างได้ดีไปกว่าญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจและได้ถ่ายทอดเทคนิควิธีและองค์ความรู้ในการบริหารจัดการให้กับอีกหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยให้จำเริญรอยตามด้วย สาเหตุหนึ่งที่ทำให้พัฒนาการของ SMEs ในแบบญี่ปุ่นได้รับความสนใจเป็นเพราะ SMEs ญี่ปุ่นกลายเป็นกลไกสำคัญที่รองรับและเติมเต็มจักรกลทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นให้เคลื่อนที่ไปอย่างมีพลวัต และรังสรรค์ประโยชน์ในทุกระนาบของกระบวนการผลิต และขยายผลต่อเนื่องกับกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่น ที่ถูกนำมาปรับใช้เป็น OTOP หรือหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยด้วย ล่าสุด สภาหอการค้าญี่ปุ่น (Shokokai: โชโคไก) ได้พัฒนาความคิดต่อยอดพัฒนาการดังกล่าวด้วยการหนุนนำผู้ประกอบการ SMEs ให้รุกออกสู่ตลาดต่างประเทศ ด้วยการเปิดตัว MONO Shop เพื่อพัฒนาช่องทางการค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่น จัดจำหน่ายของดีจาก 47 จังหวัดของประเทศญี่ปุ่น ทั้งอาหาร เครื่องใช้ เครื่องเขียน อุปกรณ์ตกแต่ง และอีกมากมายกว่า 800 ชนิด บนพื้นที่ชั้น 5 โซนเอเทรียม ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โมโน ช็อป (MONO SHOP) เป็นโครงการที่ริเริ่มโดยสภาหอการค้าญี่ปุ่น โดยได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างจากร้านต้นแบบจากประเภทร้านค้าที่เรียกว่า Antenna Shop ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งร้าน Antenna

Read More

ซากุระ ร่วง

 บรรยากาศของญี่ปุ่นช่วงเดือนมีนาคมต่อเนื่องถึงเดือนเมษายน คงไม่มีสิ่งใดโดดเด่นไปกว่า ดอกซากุระที่เริ่มทยอยผลิบาน พร้อมๆ กับการเปลี่ยนผ่านจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ หลายท่านคงคิดถึงการเดินทางไป Hanami ชมความงามของดอกซากุระที่กำลังผลิบานถึงถิ่น ซึ่งสถานที่สำหรับชมดอกซากุระ แม้จะมีอยู่หลายแห่งหลายที่ แต่หนึ่งในจำนวนนั้น คงไม่พ้น Ueno park ซึ่งเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ในกรุงโตเกียวที่คนไทยคุ้นเคย ขณะที่ Aoyama Cemetery ก็ขึ้นชื่อโดดเด่นและมีความสวยงามไม่แพ้กัน แม้ชื่อและบรรยากาศโดยรอบจะให้ความรู้สึกที่แปลกแตกต่าง และละม้ายการไปเช็งเม้งในต่างแดนมากไปสักหน่อยก็ตาม  แต่การเปลี่ยนผ่านใช่ว่าจะเกิดขึ้นเฉพาะกับฤดูกาล เพราะชีวิตของชาวญี่ปุ่นในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ก็ดำเนินไปท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้วย เพราะในวันที่ 1 เมษายนของทุกปีจะถือเป็นวันเริ่มต้นบริบทใหม่ๆ ของชาวญี่ปุ่นแทบทุกระดับชั้น  นอกจากจะเป็นจุดเริ่มต้นของปีงบประมาณใหม่ พนักงานเริ่มเข้าทำงานวันแรก โรงเรียนแต่ละแห่งจะเริ่มเปิดเทอมใหม่ในช่วงเวลานี้ด้วย ผู้เขียนเคยต้องพาลูกชายเข้าเรียนชั้นประถมหนึ่งในกรุงโตเกียว ซึ่งในวันแรกของภาคเรียน โรงเรียนจัดให้มีการปฐมนิเทศและพิธีฉลองการเปิดภาคเรียนโดยเชิญผู้ปกครองเข้าร่วมพิธี ซึ่งทั้งเด็กและผู้ปกครองต่างแต่งกายสวยงาม โดยคุณแม่จำนวนไม่น้อยจะแต่งชุดกิโมโนมาร่วมในโอกาสซึ่งถือเป็นวันสำคัญของชีวิตการเป็นนักเรียนเลยทีเดียว โดยมีฉากหลังของดอกซากุระเบ่งบานควบคู่กันไป นับเป็นการปฐมนิเทศ ที่มีสีสันที่สุดเท่าที่ผู้เขียนเคยผ่านพบมาเลยก็ว่าได้ ขณะเดียวกันนักศึกษาจบใหม่ ซึ่งเพิ่งผ่านฉลองการรับปริญญาในช่วงเดือนมีนาคมและได้รับการคัดเลือกให้เป็นพนักงานในแต่ละบริษัท จะเตรียมตัวเริ่มชีวิตการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ภาพของขบวนแถวของผู้ปกครองและเด็กประถมหนึ่งที่เข้าเรียนในวันแรก ที่เคลื่อนผ่านแถวของพนักงานใหม่ จึงเป็นความเคลื่อนไหวที่เห็นได้ทั่วไปในเมืองใหญ่ของญี่ปุ่นในห้วงเวลานี้เช่นกัน ถามว่าเรารู้ได้อย่างไรว่าหนุ่มสาวที่กำลังเดินผ่านเราเป็นพนักงานใหม่ของบริษัท ขอเรียนว่ามีวิธีสังเกตได้ไม่ยากเลย เพราะพนักงานใหม่ของแทบทุกบริษัทซึ่งต้องผ่านการอบรมจากบริษัทที่รับเข้าทำงาน จะต้องสวมเชิ้ตขาว กระโปรง หรือกางเกงสีดำ สวมเสื้อสูท โดยผู้ชายต้องผูกเนกไทสีดำ และพวกเขาจะต้องอยู่ในชุดที่ว่านี้ไปนานกว่า 1 เดือน จนกว่าการอบรมจะสิ้นสุด ฟังดูเหมือนกลับไปเป็นนักเรียนใหม่ ใส่ยูนิฟอร์มอีกครั้ง ขณะเดียวกัน ผู้เขียนเข้าใจว่าหลายท่านอาจรำลึกถึงเมื่อครั้งเป็นนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยไทยหลายแห่ง ซึ่งต้องมีพิธีรับน้องใหม่ นัยว่าเพื่อเป็นการละลายพฤติกรรม ในญี่ปุ่น เรื่องราวประมาณนี้ก็มีนะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพนักงานใหม่นั้น

Read More

SUGAMO: ฮาราจูกุของ สว.

 เพื่อนๆ ของผู้เขียนทั้งที่อยู่ในแวดวงเครื่องแต่งกายหรือมีความสนใจใฝ่รู้เรื่องแฟชั่นล้ำสมัย มักชวนผู้เขียนไปเดินเตร็ดเตร่ สังเกตการณ์และสำรวจกระแสความนิยมล่าสุดของสังคมญี่ปุ่นอยู่เป็นระยะ ผู้เขียนเคยสังเกตและสนุกนึกตามประสาคนช่างคิดนึก พบจุดที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือภายใต้เส้นทางรถไฟสาย ยามาโนเตะ (Yamanote Line) ซึ่งถือเป็นรถไฟสายหลักที่วิ่งรอบกรุงโตเกียวนี้ มีแหล่งรวมแฟชั่นของคนญี่ปุ่นในแต่ละช่วงวัยไว้อย่างน่าสนใจ               เพราะรถไฟที่วิ่งวนเป็นวงกลมรอบกรุงโตเกียวสายนี้ ทำหน้าที่ประหนึ่งหน้าปัดนาฬิกาแฟชั่นขนาดใหญ่ไปด้วยในคราวเดียวกัน ท่านผู้อ่านลองตามผู้เขียนมานะคะ บ่อยครั้งที่จุดเริ่มต้นของพวกเรามักเป็น ฮาราจูกุ (Harajuku) เพราะทำให้เห็นภาพกว้างของแฟชั่นญี่ปุ่นในแต่ละช่วงได้อย่างหลากหลาย  ความเป็นไปของแฟชั่นที่ฮาราจูกุ ส่วนใหญ่จะดึงดูดกลุ่มเป้าหมายในวัยกำลังจะโต ตั้งแต่อายุ 13 ปีขึ้นไปหรือที่เรียกกันว่าโลว์ทีน (low teen) หรือกลุ่มนักเรียนมัธยมเป็นหลัก เทียบคร่าวๆ ก็คงคล้ายกับสยามบ้านเราในช่วงหนึ่ง แต่ฮาราจุกุ มีสีสันมากกว่ามาก แถมยังพรั่งพรูห้อมล้อมด้วยรายละเอียดที่บางครั้งก็เกินเลยไปกว่าที่จะนึกถึงว่ามีผู้คนสวมใส่เสื้อผ้าแบบนี้สัญจรไปบนท้องถนนได้จริงๆ  แต่หากเป็นกลุ่มวัยรุ่นนักศึกษาตั้งแต่ระดับวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย ย่านแฟชั่นหลักของพวกเขาก็จะเป็นแถวชิบูยา (Shibuya) ซึ่งมีร้านรวงเกี่ยวกับเสื้อผ้าและเครื่องประดับ เรียงรายอยู่มากมาย ภายใต้สนนราคาที่ไม่แพงนัก โดยเฉพาะหากเจาะลึกลงไปในรายละเอียด อาคาร 109 ของชิบูยา ซึ่งอยู่ตรงหัวถนนก็คงใกล้เคียงกับการไปเดินอยู่ในห้างแพลททินั่ม ที่ประตูน้ำเลยทีเดียว ส่วนแฟชั่นของผู้คนในวัยทำงานจะอยู่ขยับสูงถัดขึ้นไปอีกหน่อยเป็น ชินจูกุ (Shinjuku) ซึ่งก็คงให้ภาพที่ไม่แตกต่างจากสาวออฟฟิศเมืองไทยเดินชอปปิ้งแถวราชประสงค์เท่าใดนัก ในโปรแกรมท่องเที่ยวของบริษัททัวร์จากเมืองไทยส่วนใหญ่ หรือแม้ในหนังสือแนะนำสถานที่น่าสนใจในกรุงโตเกียว

Read More

สนามกอล์ฟ…ชุมชน

 ขออนุญาตย้อนหลังกลับมาพูดเรื่อง “กอล์ฟ” อีกสักครั้ง เพราะเวลาที่พูดถึงกีฬา “กอล์ฟ” ในสังคมไทย อาจทำให้หลายคนนึกถึงหรือติดภาพลักษณ์ว่ากีฬาชนิดนี้เป็นกีฬาของผู้มีอันจะกิน มีปัจจัยของความมีราคาแพง และการพยายามยกสถานะทางสังคมประกอบอยู่ในการเล่นกีฬาชนิดนี้อยู่ไม่น้อย นอกจากนี้ การสร้างสนามกอล์ฟส่วนใหญ่ในเมืองไทย ยังมีประเด็นเกี่ยวเนื่องถึงเรื่องความเป็นธรรม ในการกระจายทรัพยากร และข้อถกเถียงเกี่ยวกับทำลายสิ่งแวดล้อมอยู่ด้วยเช่นกัน  แม้ว่าในปัจจุบัน จำนวนคนไทยที่หันมาเล่นกีฬากอล์ฟจะขยายตัว และกระจายไปยังคนกลุ่มต่างๆ เพิ่มขึ้นบ้าง แต่ภาพลักษณ์ของ “กอล์ฟ” กับการเป็นกีฬาที่จับต้องได้ หรือการเป็นวิถีของประชาชนทั่วไปในสังคมไทย นับว่ายังอยู่ค่อนข้างห่างไกลจากจุดดังกล่าว แต่สำหรับในญี่ปุ่นแล้ว กีฬากอล์ฟ ไม่ได้ให้ภาพที่พิเศษหรือสถานะทางสังคมที่แตกต่างจากกีฬาชนิดอื่นๆ ในญี่ปุ่นเลยนะคะ              ขณะที่การสร้างสนามกอล์ฟในหลายกรณี กลับยิ่งต้องเน้นความสำคัญของการออกแบบให้มีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุดอีกด้วย วิธีการจัดการแบบญี่ปุ่นนี่เอง ที่ถือเป็นกุญแจสำคัญ และน่าจะเป็นกรณีศึกษาที่นำมากล่าวถึงไว้ในที่แห่งนี้ พื้นที่รอบอ่าวโตเกียว เป็นตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจในกรณีที่ว่านี้ เพราะนอกจากพื้นที่โดยรอบซึ่งเป็นเกาะที่สร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์จากการถมขยะเพื่อขยายพื้นที่ให้กับเขตอุตสาหกรรมแล้ว พื้นที่ส่วนหนึ่งยังถูกกันไว้เป็นสวนสาธารณะ และสนามกอล์ฟอีกด้วย โดยเฉพาะพื้นที่ที่ต้องรับลมและคลื่นจากทะเล จากพื้นที่เสี่ยงภัยจึงแปลงสภาพมาเป็นแหล่งสันทนาการไปโดยปริยาย ซึ่งรวมถึงสนามกอล์ฟ ที่มีสถานะเป็นสนามกอล์ฟชุมชนไปด้วย ที่ผู้เขียนใช้คำว่าสนามกอล์ฟชุมชน ก็เพราะว่าสนามกอล์ฟในพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ บริหารจัดการโดยองค์กรบริหารระดับท้องถิ่น ซึ่งอาจบริหารเองในรูปแบบสวัสดิการชุมชน หรือให้สัมปทานผู้ประกอบการในท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ แต่เน้นว่าผลประโยชน์จะต้องกลับมาสู่ชุมชนเป็นหลัก สนามกอล์ฟชุมชนที่ว่านี้ ส่วนใหญ่อยู่ตามแนวเส้นทางของคลองหรือทางน้ำสายย่อยๆ ซึ่งมีทำนบกั้นอย่างดี แต่ในบางช่วงของปีอาจมีน้ำหลากท่วมท้นพื้นที่ขึ้นมา

Read More

RAMEN

 เรื่องแปลกแต่จริงเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นแทบทุกครั้ง เวลาที่มีโอกาสได้ให้การต้อนรับอาคันตุกะจากเมืองไทยที่ไปเยี่ยมเยือนครอบครัวเรา ก็คือนอกจาก Sushi จะเป็นอาหารที่ทุกคนนึกถึงและขอโอกาสไปลิ้มลองลำดับต้นๆ ในฐานะเป็นสินค้าพื้นเมืองของญี่ปุ่นแล้ว อาหารยอดนิยมอีกชนิดหนึ่งก็เห็นจะเป็น Ramen ที่ทุกคณะต้องขอให้พาไปลิ้มชิมรส ที่บอกว่าแปลกก็เพราะโดยส่วนตัวมีความสงสัยอยู่เสมอว่าทำไมพี่น้องผองเพื่อนจึงโปรดปราน Ramen ในญี่ปุ่นกันนัก และคิดนึกเอาเองว่าพวกเขาน่าจะเบื่อระอากับบะหมี่และก๋วยเตี๋ยวที่มีอยู่อย่างดาษดื่นตามทุกหัวถนนในเมืองไทยกันแล้ว อีกทั้ง Ramen ก็ไม่น่าจะเป็นตัวแทนของอาหารในเชิงวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่ชัดเจน ซึ่งพวกเขากำลังเสาะแสวงหามากนักและออกจะเป็นภาพสะท้อนอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนกันเสียมากกว่า การเคลื่อนตัวของ Ramen จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่นยังเป็นที่ถกเถียงไม่น้อยว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ขณะที่ชื่อเรียก Ramen ก็ดำเนินไปท่ามกลางสมมุติฐานมากมายว่าแผลงหรือเพี้ยนเสียงมาจากคำเรียกขานชนิดใดแบบไหนกันแน่ ซึ่งสมมุติฐานทั้งหมดก็พยายามอธิบายว่าทำไม Ramen จึงถูกเรียกว่า Ramen ทั้งในฐานะที่เป็นคำบอกคุณลักษณะของเส้น วิธีการปรุง หรือแม้กระทั่งอากัปกิริยาในการปรุงเลยทีเดียว แต่ชื่อเรียกที่ดูจะจริงจังกว่าของ Ramen เกิดขึ้นในช่วงต้นของ Meiji นี่เอง โดยชื่อเรียก Ramen ในสมัยนั้นบ่งบอกที่มาของ Ramen ไว้อย่างชัดเจนว่า Shina soba หรือ Chuka soba ซึ่งหมายถึงก๋วยเตี๋ยวจีน อย่างตรงไปตรงมา ความนิยมของ Ramen ในช่วงเวลาดังกล่าวดำเนินไปอย่างจำกัด ก็เพราะ Ramen เป็นอาหารที่พบได้เฉพาะในภัตตาคารและร้านอาหารจีนเท่านั้น เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในอาหารขึ้นเหลากันเลยก็ว่าได้ แต่เมื่อมาถึงสมัย Showa สถานะของการเป็นอาหารขึ้นห้างของ

Read More

China Town ในญี่ปุ่น

 แม้ว่าจะเพิ่งฉลองปีใหม่ไปเมื่อไม่นาน แต่เราก็กำลังจะผ่านตรุษจีนไปอีกแล้ว ขณะที่ปีใหม่ไทยที่เรียกว่าสงกรานต์ก็ขยับใกล้เข้ามาเพียงอีกไม่กี่อึดใจ ซึ่งดูเหมือนว่าการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ปีม้า-มะเมีย จะโจนทะยานไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วมากขึ้นหลังจากนี้ เมื่อพูดถึงตรุษจีน จะละเลยไม่พูดถึง Chinatown หรือย่านคนจีนเสียเลยก็ดูจะกระไรอยู่ ในประเทศไทย แม้ว่าเราจะมีเยาวราชและสำเพ็งเป็นประหนึ่งศูนย์กลางของวัฒนธรรมจีน ที่เรียกได้ว่าเป็น Chinatown อยู่กลางกรุงเทพฯ แต่ดูเหมือนว่าปัจจุบัน ย่านคนจีนของไทยกระจายอยู่ทั่วทุกหนแห่ง เพราะชาวจีนได้หลอมรวมเป็นคนไทยเชื้อสายจีนมานานกว่า 2-3 ศตวรรษแล้ว และคงเหมือนกับอีกหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอีกหลายภูมิภาคของโลกที่คนจีนได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานและมีบทบาททั้งในเชิงสังคม และเศรษฐกิจ การเมืองไม่น้อยเช่นกัน ไม่เว้นแม้แต่ญี่ปุ่น ซึ่งมีรากฐานและขนบทางวัฒนธรรมที่แน่นหนา ก็ยังได้รับอิทธิพลและการถ่ายเททางวัฒนธรรมจากจีนในระดับที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โดยมีเมืองท่าที่สำคัญ 3 แห่งเป็นกลไกสำคัญในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนี้ นางาซากิ (Nagasaki) ถือเป็นเมืองหน้าด่านแห่งแรกๆ ของญี่ปุ่นที่ได้เก็บรับวัฒนธรรมจีนเข้ามาในญี่ปุ่น โดยผ่านทางนักเดินเรือชาวโปรตุเกสที่เดินทางค้าขายสินค้าจากยุโรป ผ่านช่องแคบมะละกา มาเก๊า และแผ่นดินใหญ่ของจีน ก่อนที่จะมาขึ้นฝั่งที่ปลายทางในเมืองนางาซากิ ตั้งแต่เมื่อกว่า 420-450 ปีที่แล้ว แต่หลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชาวจีนในเมือง นางาซากิ เริ่มหนาแน่นจริงจังก็เมื่อ 150-200 ปีที่ผ่านมานี้เอง โดยประมาณกันว่าในช่วงปี 1800-1850 ประชากรในเมืองนางาซากิ กว่า 1 ใน 3 เป็นชาวจีนที่อพยพเข้ามาประกอบกิจการค้าขาย และรับจ้างแรงงานอยู่ในเมืองท่าแห่งนี้ กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นในห้วงเวลาที่คาบเกี่ยวต่อเนื่องกับการเปิดเมืองท่าเรือเพื่อการค้าขายกับต่างประเทศทั้งที่ โยโกฮามา

Read More

เรื่องเล่าจากสนามกอล์ฟ

 ช่วงที่ผ่านมา คุณพ่อบ้านคนดี มีโอกาสได้ออกรอบตีกอล์ฟ กับเพื่อนพ้องน้องพี่ที่คุ้นเคยกันหลายรอบ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะช่วงเวลาวันหยุดในห้วงรอยต่อข้ามปี ทำให้พอจะมีเวลาวางมือจากภารกิจประจำได้บ้าง และถือเป็นโอกาส refresh ความสัมพันธ์กับผู้คนแวดล้อมไปในตัว เรื่องเล่าเกี่ยวกับบทสนทนาในก๊วนกอล์ฟ ย่อมเป็นไปอย่างออกรส เพราะนอกจากจะถามไถ่กันถึงสารทุกข์สุกดิบ ไล่เรียงตั้งแต่เรื่องอนาคตของบุตรหลาน ซึ่งกำลังเดินทางเข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ มาสู่การวิเคราะห์เรื่องภาวะเศรษฐกิจที่รุมเร้า หรือแม้กระทั่งวิพากษ์วิจารณ์เหตุบ้านการเมืองในช่วงที่ผ่านมา แต่ที่วาบแวบเข้ามาในความคิดของผู้เขียน กลับเป็นความรู้สึกถึงบรรยากาศครั้งเก่า เมื่อคราวที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่นกว่า 4 ปีและเป็นช่วงที่คุณพ่อบ้านคนดีต้องแสวงหาโอกาสออกรอบตีกอล์ฟในญี่ปุ่น แบบหัวเดียวกระเทียมลีบ แม้จะไม่คุ้นชินกับสำนวนหนังสือกำลังภายในมากนัก แต่ทุกครั้งที่เห็นคุณพ่อบ้านแบกถุงกอล์ฟไปออกรอบโดยลำพัง ก็ให้นึกถึงคำเปรียบเปรยที่ว่า กอล์ฟเป็นเหมือนเพลงกระบี่ ที่ต่อให้ฝึกซ้อมร่ายรำเท่าใด แต่หากไม่ได้ประลองกับผู้คนย่อมไม่อาจรู้ว่าฝีมือของเราพัฒนาก้าวหน้า มีจุดด้อยให้แก้ไขอย่างไร ให้ได้แอบยิ้มในใจ โชคดีที่ในญี่ปุ่นมีกิจกรรมกอล์ฟประเภทหนึ่งที่เรียกว่า โอเพ่น คอมเปะ ที่เป็นการออกเสียงแบบญี่ปุ่นซึ่งมาจากคำว่า open competition ที่เปิดโอกาสให้นักกอล์ฟต่างระดับฝีมือและต่างภูมิหลังได้มาร่วมออกรอบตีกอล์ฟกัน ข้อมูลเกี่ยวกับโอเพ่น คอมเปะ มีอยู่หลากหลายในหนังสือแจกฟรี ที่วางไว้ตาม Driving Range และร้านขายอุปกรณ์กอล์ฟซึ่งมีอยู่ทั่วไปแทบทุกหัวมุมถนน หากมองอย่างผิวเผินหนังสือเหล่านี้ก็เป็นเพียงสื่อโฆษณาที่เสนอขายอุปกรณ์กอล์ฟและแนะนำสนามกอล์ฟธรรมดา แต่ท้ายเล่มของหนังสือเหล่านี้จะมีตารางโอเพ่น คอมเปะ ของแต่ละสนามแจ้งไว้ให้เลือกกันล่วงหน้า 2-3 เดือนเลยทีเดียว แม้ว่าชื่อกิจกรรมจะมีนัยชี้ชัดว่าเป็นเรื่องของการแข่งขัน โดยมีของรางวัลมากมายรอคอยอยู่ แต่นักกอล์ฟส่วนใหญ่ไม่ได้จริงจังกับเรื่องดังกล่าวมากนัก หากได้รางวัลก็ถือเป็นกำไรเสียมากกว่า เพราะนอกจากนักกอล์ฟจะไม่รู้มือหรือระดับความสามารถผู้แข่งขันรายอื่นแล้ว ด้วยระบบการคิดคะแนนแบบพีเรีย และดับเบิ้ลพีเรีย ซึ่งไม่ต่างจากการคิดคะแนนแบบ 36

Read More

ONSEN

 อากาศในเมืองไทยช่วงปลายปีที่ผ่านมา แม้จะได้ชื่อว่าเป็นฤดูหนาว แต่อุณหภูมิรอบข้างกลับไม่ได้ทำให้รู้สึกเย็นอกเย็นใจเท่าใดนัก แถมบางช่วงยังร้อนระอุขึ้นมาเสียอีก ความเหนื่อยล้าที่สะสมมาตลอดทั้งปี หากได้รับการบำบัดปลดปล่อยออกไปบ้างก็คงทำให้ภารกิจในช่วงของการเริ่มต้นปีใหม่เป็นไปด้วยความสดใสไม่น้อย ถ้าเป็นในเมืองไทย ท่านผู้อ่านจำนวนไม่น้อยคงนึกถึงสปาและการนวดแผนไทย ซึ่งดูเหมือนจะเป็นกระแสที่แผ่ซ่านออกไปเกือบทั่วทุกหัวถนน และดำเนินไปตามแต่มาตรฐานของสถานประกอบการแต่ละแห่งให้เลือกใช้บริการ แต่สำหรับชาวญี่ปุ่น พวกเขามีวิธีผ่อนคลายความอ่อนล้าและเสริมสร้างพลังชีวิตให้กลับคืน ด้วยการอาบและแช่น้ำพุร้อน หรือที่เรียกกันติดปากว่า ออนเซน (Onsen) ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติอีกอย่างหนึ่งก็ว่าได้ แม้ว่าออนเซนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับเซนโต (Sento) หรือสถานที่อาบน้ำรวมแบบ public bath แต่ข้อแตกต่างอย่างสำคัญอยู่ที่ออนเซนเป็นน้ำพุร้อนตามธรรมชาติ อีกทั้งยังต้องมีคุณสมบัติว่าด้วยแร่ธาตุที่ละลายเจือปนอยู่ตามข้อกำหนดกว่า 19 ชนิด ภายใต้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของญี่ปุ่น ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะ (Archipelago) และตั้งอยู่ในแนวของภูเขาไฟและรอยแยกเลื่อนใต้แผ่นดิน ทำให้ทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่นมีแหล่งน้ำพุร้อนกระจายอยู่มากมาย และกลายเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรมการท่องเที่ยวไปโดยปริยาย หนึ่งในแหล่งน้ำพุร้อนที่มีชื่อเสียงและคุ้นตามากที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น คงหนีไม่พ้นแหล่งน้ำพุร้อนที่เมือง Hakone ด้วยเหตุที่อยู่ใกล้ภูเขาไฟฟูจิ ผู้คนที่เดินทางไปเยี่ยมชมความงามของฟูจิ จึงถือโอกาสแวะเวียนและสัมผัสประสบการณ์การอาบและแช่น้ำพุร้อนที่อุดมด้วยกำมะถัน ซึ่งเชื่อกันว่ามีคุณสมบัติในการบำบัดความเครียดหรือแม้กระทั่งอาการของโรคผิวหนังด้วย และด้วยเหตุที่น้ำพุร้อนในแต่ละแห่ง มีคุณสมบัติของแร่ธาตุที่ละลายเจือปนแตกต่างกันออกไป บรรดาโรงแรมและรีสอร์ต รวมถึงบ้านพักตากอากาศในแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า เรียวกัง (ryokan) ในเมือง Hakone จึงมีออนเซนเป็นจุดขายควบคู่กับการบรรยายสรรพคุณของน้ำพุร้อนว่ามีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อให้นักท่องเที่ยวเลือกสรรได้ตามความประสงค์ จุดเด่นของออนเซนในแถบเมือง Hakone อีกส่วนหนึ่งอยู่ที่การเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ไปได้เกือบตลอดทั้งปี เพราะฉากหลังที่เป็นทิวทัศน์ของภูเขาไฟฟูจินั้น มีความงดงามเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลด้วยเช่นกัน แต่ก็ด้วยความที่ Hakoneเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแบบall season มากเกินไปเช่นที่ว่านี้ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวออนเซนในภูมิภาคอื่นสามารถเบียดแทรกโดยอาศัยลักษณะเด่นของแต่ละพื้นถิ่นมาเป็นจุดดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมายที่ไม่นิยมความจำเจ

Read More

ปีใหม่แบบญี่ปุ่น (2)

 ในช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่ สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับชาวญี่ปุ่นก็คือเรื่องของการส่งความสุขให้กับผู้คนที่เคารพรัก และผูกพันถึงกันและกัน การส่งความสุขแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า Nengajo นี้ มีวิวัฒนาการต่อเนื่องมาเป็นลำดับนับตั้งแต่สมัย Heian ก่อนจะคลี่คลายมาสู่รูปแบบการส่งความสุขด้วยไปรษณียบัตร ซึ่งเเกิดขึ้นในยุคสมัย Meiji (1868-1912) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการจัดตั้งกิจการไปรษณีย์สมัยใหม่ในปี 1871 ควบคู่กับการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม ตามแบบตะวันตกในปี 1873 บทบาทของ Nengajo ในรูปแบบของไปรษณียบัตรในห้วงเวลาดังกล่าว จึงเป็นประหนึ่งการหยิบยื่นความเป็นสมัยใหม่ให้กระจายสู่ประชาชนทุกระดับอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ควบคู่กับการสร้างค่านิยมใหม่ให้เกิดขึ้นไปพร้อมกัน นอกเหนือจากถ้อยความและคำอวยพรปีใหม่ ซึ่งเป็นประเด็นหลักของไปรษณียบัตรเหล่านี้แล้ว ความเป็นไปของ Nengajo ในเวลาต่อมายังเป็นภาพสะท้อนเรื่องราวในสังคมญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี เพราะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สิ้นสุดลงพร้อมกับความบอบช้ำของญี่ปุ่น กิจการไปรษณีย์ได้ก้าวไปสู่การทำให้ Nengajo เป็นมากกว่าบัตรอวยพรความสุข หากผนวกเอาการหยิบยื่นโอกาส ด้วยการพิมพ์หมายเลขประจำไปรษณียบัตรแต่ละใบสำหรับการจับรางวัลแบบ lottery เข้าไปด้วย ท่านผู้อ่านอาจกำลังนึกถึงเงินรางวัล แบบที่ทำให้ผู้รับผันชีวิตให้กลายเป็นผู้มั่งคั่งในชั่วข้ามคืน ดุจเดียวกับที่ได้พบเห็นผู้โชคดีจากกิจกรรมส่งไปรษณียบัตรทายผลกีฬาหรือแม้กระทั่งฝาขวดเครื่องดื่มนานาชนิดในบ้านเรา หากแต่ในความเป็นจริงของรางวัลจาก Nengajo ในแต่ละช่วงบ่งบอกลำดับขั้นของการพัฒนาทั้งในมิติของเศรษฐกิจอุสาหกรรมและสังคมวัฒนธรรมของญี่ปุ่นอย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นจักรเย็บผ้าในช่วงทศวรรษ 1950 มาสู่โทรทัศน์และวิทยุทรานซิสเตอร์ ในช่วงทศวรรษ 1960 มาสู่เตาไมโครเวฟ ในช่วง 1980 รางวัลท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วง 1990 ไปสู่ทีวีจอแบน notebook รวมถึงชุด home

Read More