Home > Golf

เรนวูด ปาร์ค เดินหน้าพัฒนากีฬากอล์ฟไทย เปิดตัว กอล์ฟ อะคาเดมี แห่งแรกในไทย

เรนวูด ปาร์ค เดินหน้าพัฒนากีฬากอล์ฟไทย ล่าสุดจับมือ ‘คล็อด ฮาร์มอน’ ผู้ฝึกสอนนักกอล์ฟชั้นแนวหน้าระดับโลก ใช้ฐาน โรบินส์วูด กอล์ฟ คลับ สนามกอล์ฟ 18 หลุมภายในโครงการฯ เปิดตัวสถาบันสอนกอล์ฟ คล็อด ฮาร์มอน เพอร์ฟอร์มานซ์ กอล์ฟ อะคาเดมี แห่งแรกในไทย เรนวูด ปาร์ค (Reignwood Park) ประกาศความร่วมมือกับ คล็อด ฮาร์มอน (Claude Harmon) เจ้าของรางวัล 1 ใน 5 ผู้ฝึกสอนที่ดีที่สุดในอเมริกาประจำปี 2023-2024 โดยนิตยสารกอล์ฟไดเจส และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของนักกอล์ฟชั้นนำของโลก ร่วมเปิดตัว สถาบันสอนกอล์ฟ คล็อด ฮาร์มอน เพอร์ฟอร์มานซ์ กอล์ฟ อะคาเดมี (Claude Harmon III Performance Golf Academy)

Read More

สนามกอล์ฟ…ชุมชน

 ขออนุญาตย้อนหลังกลับมาพูดเรื่อง “กอล์ฟ” อีกสักครั้ง เพราะเวลาที่พูดถึงกีฬา “กอล์ฟ” ในสังคมไทย อาจทำให้หลายคนนึกถึงหรือติดภาพลักษณ์ว่ากีฬาชนิดนี้เป็นกีฬาของผู้มีอันจะกิน มีปัจจัยของความมีราคาแพง และการพยายามยกสถานะทางสังคมประกอบอยู่ในการเล่นกีฬาชนิดนี้อยู่ไม่น้อย นอกจากนี้ การสร้างสนามกอล์ฟส่วนใหญ่ในเมืองไทย ยังมีประเด็นเกี่ยวเนื่องถึงเรื่องความเป็นธรรม ในการกระจายทรัพยากร และข้อถกเถียงเกี่ยวกับทำลายสิ่งแวดล้อมอยู่ด้วยเช่นกัน  แม้ว่าในปัจจุบัน จำนวนคนไทยที่หันมาเล่นกีฬากอล์ฟจะขยายตัว และกระจายไปยังคนกลุ่มต่างๆ เพิ่มขึ้นบ้าง แต่ภาพลักษณ์ของ “กอล์ฟ” กับการเป็นกีฬาที่จับต้องได้ หรือการเป็นวิถีของประชาชนทั่วไปในสังคมไทย นับว่ายังอยู่ค่อนข้างห่างไกลจากจุดดังกล่าว แต่สำหรับในญี่ปุ่นแล้ว กีฬากอล์ฟ ไม่ได้ให้ภาพที่พิเศษหรือสถานะทางสังคมที่แตกต่างจากกีฬาชนิดอื่นๆ ในญี่ปุ่นเลยนะคะ              ขณะที่การสร้างสนามกอล์ฟในหลายกรณี กลับยิ่งต้องเน้นความสำคัญของการออกแบบให้มีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุดอีกด้วย วิธีการจัดการแบบญี่ปุ่นนี่เอง ที่ถือเป็นกุญแจสำคัญ และน่าจะเป็นกรณีศึกษาที่นำมากล่าวถึงไว้ในที่แห่งนี้ พื้นที่รอบอ่าวโตเกียว เป็นตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจในกรณีที่ว่านี้ เพราะนอกจากพื้นที่โดยรอบซึ่งเป็นเกาะที่สร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์จากการถมขยะเพื่อขยายพื้นที่ให้กับเขตอุตสาหกรรมแล้ว พื้นที่ส่วนหนึ่งยังถูกกันไว้เป็นสวนสาธารณะ และสนามกอล์ฟอีกด้วย โดยเฉพาะพื้นที่ที่ต้องรับลมและคลื่นจากทะเล จากพื้นที่เสี่ยงภัยจึงแปลงสภาพมาเป็นแหล่งสันทนาการไปโดยปริยาย ซึ่งรวมถึงสนามกอล์ฟ ที่มีสถานะเป็นสนามกอล์ฟชุมชนไปด้วย ที่ผู้เขียนใช้คำว่าสนามกอล์ฟชุมชน ก็เพราะว่าสนามกอล์ฟในพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ บริหารจัดการโดยองค์กรบริหารระดับท้องถิ่น ซึ่งอาจบริหารเองในรูปแบบสวัสดิการชุมชน หรือให้สัมปทานผู้ประกอบการในท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ แต่เน้นว่าผลประโยชน์จะต้องกลับมาสู่ชุมชนเป็นหลัก สนามกอล์ฟชุมชนที่ว่านี้ ส่วนใหญ่อยู่ตามแนวเส้นทางของคลองหรือทางน้ำสายย่อยๆ ซึ่งมีทำนบกั้นอย่างดี แต่ในบางช่วงของปีอาจมีน้ำหลากท่วมท้นพื้นที่ขึ้นมา

Read More

เรื่องเล่าจากสนามกอล์ฟ

 ช่วงที่ผ่านมา คุณพ่อบ้านคนดี มีโอกาสได้ออกรอบตีกอล์ฟ กับเพื่อนพ้องน้องพี่ที่คุ้นเคยกันหลายรอบ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะช่วงเวลาวันหยุดในห้วงรอยต่อข้ามปี ทำให้พอจะมีเวลาวางมือจากภารกิจประจำได้บ้าง และถือเป็นโอกาส refresh ความสัมพันธ์กับผู้คนแวดล้อมไปในตัว เรื่องเล่าเกี่ยวกับบทสนทนาในก๊วนกอล์ฟ ย่อมเป็นไปอย่างออกรส เพราะนอกจากจะถามไถ่กันถึงสารทุกข์สุกดิบ ไล่เรียงตั้งแต่เรื่องอนาคตของบุตรหลาน ซึ่งกำลังเดินทางเข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ มาสู่การวิเคราะห์เรื่องภาวะเศรษฐกิจที่รุมเร้า หรือแม้กระทั่งวิพากษ์วิจารณ์เหตุบ้านการเมืองในช่วงที่ผ่านมา แต่ที่วาบแวบเข้ามาในความคิดของผู้เขียน กลับเป็นความรู้สึกถึงบรรยากาศครั้งเก่า เมื่อคราวที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่นกว่า 4 ปีและเป็นช่วงที่คุณพ่อบ้านคนดีต้องแสวงหาโอกาสออกรอบตีกอล์ฟในญี่ปุ่น แบบหัวเดียวกระเทียมลีบ แม้จะไม่คุ้นชินกับสำนวนหนังสือกำลังภายในมากนัก แต่ทุกครั้งที่เห็นคุณพ่อบ้านแบกถุงกอล์ฟไปออกรอบโดยลำพัง ก็ให้นึกถึงคำเปรียบเปรยที่ว่า กอล์ฟเป็นเหมือนเพลงกระบี่ ที่ต่อให้ฝึกซ้อมร่ายรำเท่าใด แต่หากไม่ได้ประลองกับผู้คนย่อมไม่อาจรู้ว่าฝีมือของเราพัฒนาก้าวหน้า มีจุดด้อยให้แก้ไขอย่างไร ให้ได้แอบยิ้มในใจ โชคดีที่ในญี่ปุ่นมีกิจกรรมกอล์ฟประเภทหนึ่งที่เรียกว่า โอเพ่น คอมเปะ ที่เป็นการออกเสียงแบบญี่ปุ่นซึ่งมาจากคำว่า open competition ที่เปิดโอกาสให้นักกอล์ฟต่างระดับฝีมือและต่างภูมิหลังได้มาร่วมออกรอบตีกอล์ฟกัน ข้อมูลเกี่ยวกับโอเพ่น คอมเปะ มีอยู่หลากหลายในหนังสือแจกฟรี ที่วางไว้ตาม Driving Range และร้านขายอุปกรณ์กอล์ฟซึ่งมีอยู่ทั่วไปแทบทุกหัวมุมถนน หากมองอย่างผิวเผินหนังสือเหล่านี้ก็เป็นเพียงสื่อโฆษณาที่เสนอขายอุปกรณ์กอล์ฟและแนะนำสนามกอล์ฟธรรมดา แต่ท้ายเล่มของหนังสือเหล่านี้จะมีตารางโอเพ่น คอมเปะ ของแต่ละสนามแจ้งไว้ให้เลือกกันล่วงหน้า 2-3 เดือนเลยทีเดียว แม้ว่าชื่อกิจกรรมจะมีนัยชี้ชัดว่าเป็นเรื่องของการแข่งขัน โดยมีของรางวัลมากมายรอคอยอยู่ แต่นักกอล์ฟส่วนใหญ่ไม่ได้จริงจังกับเรื่องดังกล่าวมากนัก หากได้รางวัลก็ถือเป็นกำไรเสียมากกว่า เพราะนอกจากนักกอล์ฟจะไม่รู้มือหรือระดับความสามารถผู้แข่งขันรายอื่นแล้ว ด้วยระบบการคิดคะแนนแบบพีเรีย และดับเบิ้ลพีเรีย ซึ่งไม่ต่างจากการคิดคะแนนแบบ 36

Read More