Home > Ramen

ศึกสตรีทราเมน “เอบิสึ” ลุยเป้าหมาย 200 สาขา

3 ปีก่อน ชินวุฒิ จุลไกวัลสุจริต ตัดสินใจปรับทิศทางกิจการร้านอาหารชาบู TOTOSAMA  หลังเจอสถานการณ์โควิดแพร่ระบาด โดยปลุกปั้นแบรนด์ Ebisu Ramen ฉีกคอนเซ็ปต์ในสไตล์ Street Ramen ลุยสตรีทฟูดต้นตำรับญี่ปุ่นแบบ Yatai มีเอกลักษณ์ คือ ร้านกลางแจ้ง ขนาด 15-20 ที่นั่ง ราคาไม่แพง เจาะทำเลย่านธุรกิจ ที่พักอาศัยและหมู่บ้านขนาดใหญ่ ล่าสุด เอบิสึราเมน ผุดสาขาไปทั่วประเทศกว่า 70 แห่ง และตั้งเป้าหมายจะปูพรมบุกทุกจังหวัด 200 สาขาภายใน 3 ปี โดยพยายามชูจุดขายความเป็นพรีเมียมจนกลายเป็นการประกาศสงครามการแข่งขันอย่างดุเดือด ทั้งในตลาดร้านราเมนหลักสิบและไล่ชิงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ จากบิ๊กแบรนด์ของไทยอย่าง “ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว” ด้วย จุลพงษ์ ถวัลย์เถลิงฤทธิ์ Business Development แฟรนไชส์ เอบิสึ ราเมน กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ว่า เอบิสึอยากทำธุรกิจอาหารที่กินง่าย

Read More

“มาม่า” พลิกกลยุทธ์ บุก “ราเมน” สู้วิกฤต

 การเปิดตัวธุรกิจร้านอาหารราเมนญี่ปุ่น “KAIRI KIYA (ไคริคิยะ)” ของ “ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์” เป้าหมายหนึ่งเป็นการเปิดกลยุทธ์แก้พิษเศรษฐกิจและปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูง ที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มรากหญ้าอย่างจังจนภาพรวมตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่ากว่า 16,000 ล้านบาท เติบโตติดลบ และยอดขาย “มาม่า” เติบโตต่ำสุดในรอบ 42 ปี “มาม่า ซองละ 6 บาท ราเมน ชามละ 150 บาท เพิ่มมูลค่าตัวนี้ดีกว่า!!” เวทิต โชควัฒนา ในฐานะกรรมการรองผู้อำนวยการบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) และกรรมการบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “มาม่า” กล่าวกับ “ผู้จัดการ360  ํ”  แน่นอนว่า หากเปรียบเทียบสถานการณ์การเติบโตทางธุรกิจ เวทิตยอมรับว่าตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรือ “บะหมี่ซอง” ราคาซองละ 6 บาท มีลูกค้าระดับรากหญ้าเป็นกลุ่มหลักและเป็นสินค้าทั่วไปที่แมสมากๆ  แม้มาม่าพยายามใช้กลยุทธ์เพิ่มมูลค่าสินค้าหลากหลายรูปแบบ เช่น ออกสินค้ากลุ่มพรีเมียมอย่างมาม่าราเมง บะหมี่อบแห้ง “เมนดาเกะ”

Read More

RAMEN

 เรื่องแปลกแต่จริงเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นแทบทุกครั้ง เวลาที่มีโอกาสได้ให้การต้อนรับอาคันตุกะจากเมืองไทยที่ไปเยี่ยมเยือนครอบครัวเรา ก็คือนอกจาก Sushi จะเป็นอาหารที่ทุกคนนึกถึงและขอโอกาสไปลิ้มลองลำดับต้นๆ ในฐานะเป็นสินค้าพื้นเมืองของญี่ปุ่นแล้ว อาหารยอดนิยมอีกชนิดหนึ่งก็เห็นจะเป็น Ramen ที่ทุกคณะต้องขอให้พาไปลิ้มชิมรส ที่บอกว่าแปลกก็เพราะโดยส่วนตัวมีความสงสัยอยู่เสมอว่าทำไมพี่น้องผองเพื่อนจึงโปรดปราน Ramen ในญี่ปุ่นกันนัก และคิดนึกเอาเองว่าพวกเขาน่าจะเบื่อระอากับบะหมี่และก๋วยเตี๋ยวที่มีอยู่อย่างดาษดื่นตามทุกหัวถนนในเมืองไทยกันแล้ว อีกทั้ง Ramen ก็ไม่น่าจะเป็นตัวแทนของอาหารในเชิงวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่ชัดเจน ซึ่งพวกเขากำลังเสาะแสวงหามากนักและออกจะเป็นภาพสะท้อนอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนกันเสียมากกว่า การเคลื่อนตัวของ Ramen จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่นยังเป็นที่ถกเถียงไม่น้อยว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ขณะที่ชื่อเรียก Ramen ก็ดำเนินไปท่ามกลางสมมุติฐานมากมายว่าแผลงหรือเพี้ยนเสียงมาจากคำเรียกขานชนิดใดแบบไหนกันแน่ ซึ่งสมมุติฐานทั้งหมดก็พยายามอธิบายว่าทำไม Ramen จึงถูกเรียกว่า Ramen ทั้งในฐานะที่เป็นคำบอกคุณลักษณะของเส้น วิธีการปรุง หรือแม้กระทั่งอากัปกิริยาในการปรุงเลยทีเดียว แต่ชื่อเรียกที่ดูจะจริงจังกว่าของ Ramen เกิดขึ้นในช่วงต้นของ Meiji นี่เอง โดยชื่อเรียก Ramen ในสมัยนั้นบ่งบอกที่มาของ Ramen ไว้อย่างชัดเจนว่า Shina soba หรือ Chuka soba ซึ่งหมายถึงก๋วยเตี๋ยวจีน อย่างตรงไปตรงมา ความนิยมของ Ramen ในช่วงเวลาดังกล่าวดำเนินไปอย่างจำกัด ก็เพราะ Ramen เป็นอาหารที่พบได้เฉพาะในภัตตาคารและร้านอาหารจีนเท่านั้น เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในอาหารขึ้นเหลากันเลยก็ว่าได้ แต่เมื่อมาถึงสมัย Showa สถานะของการเป็นอาหารขึ้นห้างของ

Read More