Home > Japan (Page 5)

ปีใหม่แบบญี่ปุ่น (1)

 ช่วงปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง ท่านผู้อ่านเตรียมดำเนินกิจกรรมอะไรบ้างคะ หลายท่านอาจเดินทางท่องเที่ยว เติมพลังให้ชีวิต ขณะที่หลายท่านอาจปักหลักอยู่บ้านทบทวนวันปีที่เพิ่งผ่านไป แต่สำหรับชาวญี่ปุ่นช่วงปีใหม่ถือเป็นช่วงเวลาที่มีกิจกรรมต่างๆ หนาแน่น ซึ่งล้วนแต่อุดมด้วยเรื่องราวที่สะท้อนความลุ่มลึกและร่ำรวยของคติและวิธีคิดที่แหลมคมไม่น้อย เริ่มที่มิติของอาหารสำหรับปีใหม่กันก่อนดีไหม สำรับอาหารชุดพิเศษของชาวญี่ปุ่นในช่วงปีใหม่ ที่เรียกว่า Osechi Ryori นี้ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัย Heian หรือกว่าพันปีมาแล้ว เพื่อนชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่งซึ่งมีพื้นเพเดิมเป็นชาวเมืองเกียวโต เคยเชื้อเชิญให้ผู้เขียนและครอบครัวไปร่วมรับประทานอาหารปีใหม่สำรับพิเศษนี้ร่วมกับคุณพ่อคุณแม่ของเขาที่บ้าน Osechi Ryori ในครั้งนั้น นอกจากจะเต็มไปด้วยบรรยากาศของมิตรภาพอันอบอุ่น และรสชาติอาหารอันโอชะแล้ว ยังทำให้ได้รับความรู้จากอรรถาธิบายถึงความหมายและที่มาที่ไปของอาหารที่ทุกคนในครอบครัวช่วยกันลงมือทำสำรับนี้มากขึ้นด้วย ท่านผู้อ่านซึ่งคุ้นเคยกับอาหารญี่ปุ่น คงจะทราบดีว่าอาหารญี่ปุ่นมีจุดเด่นอยู่ที่ความสดใหม่ของวัตถุดิบในการปรุงเป็นหลัก หรือหากจะกล่าวให้ถูกต้อง ควรต้องเรียกว่าสดจนไม่ต้องปรุง แต่ Osechi-Ryori จะให้ความรู้สึกที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เพราะคติของชาวญี่ปุ่นแต่เดิมนั้น ถือว่าตลอด 3 วันแรกของการขึ้นปีใหม่ ที่เรียกว่า Oshoogatsu เป็นช่วงเวลาที่ไม่ควรประกอบอาหารใดๆ ยกเว้นเพียงการปรุงซุป Ozoni ซึ่งเป็นซุปใสที่ประกอบด้วยก้อนแป้งข้าวเหนียว (โมะจิ : mochi) ผัก และอาหารแห้งอื่นๆ ที่เป็นอาหารพิเศษสำหรับปีใหม่อีกชนิดหนึ่ง การเตรียมสำรับอาหาร Osechi จึงต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนวันสิ้นปี ด้วยเหตุนี้ Osechi ในยุคแรกๆ จึงถูกจำกัดให้เป็นเพียงชุดอาหารที่ประกอบส่วนด้วยผักต้มผักดอง เท่าที่ความรู้เกี่ยวกับการถนอมอาหารในขณะนั้นจะเอื้อให้จัดเตรียมได้ ความหลากหลายที่มีเพิ่มเติมเข้ามาในสำรับ Osechi ในเวลาต่อมา ในด้านหนึ่งจึงเป็นประหนึ่งเครื่องบ่งชี้ความสามารถในการสรรหาวัตถุดิบและความก้าวหน้าในการถนอมอาหารของชาวญี่ปุ่นไปในตัว ขณะเดียวกันองค์ประกอบของสำรับ

Read More

HOLY LAND: ฐานถิ่นแห่งความขลัง

 ช่วงที่ผ่านมา นอกจากจะได้ยินได้ฟังข่าวเกี่ยวกับเรื่องนิรโทษกรรมแล้ว อีกข่าวที่น่าสนใจไม่น้อยเพราะเป็นประหนึ่งรูปการณ์จิตสำนึกและเข็มมุ่งในแนวนโยบายแห่งรัฐ ก็เห็นจะเป็นเรื่องของมหกรรมสินค้า OTOP ที่รวบรวมของดีจากทุกสารทิศมาให้ได้เลือกซื้อเลือกชม ข่าวเกี่ยวกับ OTOP หรือรายการโทรทัศน์ประเภทของดีทั่วถิ่นไทย ทำให้บทสนทนาบนโต๊ะอาหารที่บ้านช่วงวันหยุด ดำเนินไปท่ามกลางการหวนรำลึกบรรยากาศเมื่อครั้งที่สมาชิกในบ้านมีโอกาสได้พักอาศัยและร่วมตะลอนทัวร์ ไปทัศนศึกษาความเป็นไปของเมืองต่างๆ ในญี่ปุ่นเป็นกำลัง โดยเฉพาะการไล่เรียงอาหารรสเด็ดบ้างไม่เด็ดบ้างที่ได้เคยมีโอกาสลิ้มลอง แต่เหนือสิ่งอื่นใดนอกเหนือไปจากรสชาติของอาหารที่ได้ลิ้มลองดังกล่าวก็คือการได้ไปเยือนถิ่นที่เป็นประหนึ่งดินแดนศักดิ์สิทธิ์และเข้มขลังของอาหารแต่ละชนิดกันเลยทีเดียว ถึงจะไม่ได้มีการกำหนดให้เป็นคำขวัญประจำถิ่น แต่อาหารหลายชนิด รวมถึงผลิตผลทางการเกษตรที่หลากหลายก็กลายเป็นสินค้าเลื่องชื่อและสัญลักษณ์ประจำท้องถิ่นไปโดยปริยาย พร้อมกันนี้การสถาปนาเมืองหลวงหรือสร้างดินแดนศักดิ์สิทธิ์ให้กับอาหารแต่ละชนิดในด้านหนึ่งยังดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับลักษณะท้องถิ่นนิยมที่ลุ่มลึกไม่น้อย เมื่อครั้งที่มีโอกาสเดินทางไป Hiroshima อาหารที่เราลงมติว่าสมควรต้องใช้เวลาเพื่อขจัดความหิวและเติมเต็มพลังงานให้กลับคืนมาก็คือ Okonomiyaki ซึ่งหลายท่านอาจเรียกว่าเป็น pizza ญี่ปุ่น แต่หากจะแปลความตามตัวอักษรอาหารชนิดนี้ก็จะมีความหมายว่า as you like itนี่แหละ แม้อาหารชนิดนี้จะมีชื่อเรียกขานดังกล่าว จากผลของส่วนประกอบที่หลากหลายเปิดโอกาสให้ผู้ปรุงและผู้ทานสามารถเลือกใส่เลือกปรุงได้ตามแต่ใจปรารถนา ในลักษณะที่ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่เพราะ Hiroshima ได้รับการสถาปนาให้เป็นประหนึ่งเมืองหลวงของ Okonomiyaki โดยแท้ และชาวบ้านร้านถิ่นในเมืองนี้ ก็พร้อมจะระบุว่าการปรุงในแบบ Hiroshima คือ Okonomiyaki สูตรต้นตำรับเสียด้วย ขณะเดียวกันก็มีข้อถกเถียงกันอยู่ไม่น้อยว่า Okonomiyaki ถือกำเนิดขึ้นมาอย่างไรและเริ่มต้นในพื้นที่แห่งใดก่อนกันแน่ เพราะที่ Osaka เอง ก็พยายามจะบอกว่า Okonomiyaki มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่นั่นเช่นกัน แต่ดูเหมือนว่า Osaka จะได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นทางและเมืองหลวงของ

Read More

MOCHIKO: โมจิความสุข

 ช่วงก่อนออกพรรษาที่ผ่านมา นอกเหนือจากประเพณีไหว้พระจันทร์ ที่หลายคนบ่นผิดหวัง เพราะเมฆฝนบดบังทัศนียภาพจนไม่สามารถชื่นชมความสง่างามของจันทร์ได้ แต่เชื่อว่าหลายท่านคงได้ร่วมบำเพ็ญกุศลใหญ่ ทั้งเทศกาลสารทไทย หรือสารทเดือนสิบ ต่อเนื่องด้วยเทศกาลถือศีลกินผักเป็นการชำระจิตใจเทศกาลงานบุญแบบไทยๆ ที่มีทั้งขนมลาและกระยาสารท ทำให้นึกถึงอาหารญี่ปุ่น ที่กล่าวได้ว่าเป็นได้ทั้งอาหารหลักและของทานเล่นที่สะท้อนความเป็นญี่ปุ่นได้ดีที่สุดชนิดหนึ่ง อย่างโมจิ (Mochi) ไม่น้อยเลย ยิ่งในช่วงเทศกาลต่างๆ ของญี่ปุ่น Daifuku Mochi หรือขนมโมจิที่มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษกลายเป็นของขวัญที่ส่งมอบให้แก่กันและกันอย่างกว้างขวาง ด้วยเหตุที่ Dai แปลว่าใหญ่ ส่วน fuku แปลว่าโชค Daifuku Mochi จึงอาจแปลเป็นไทยได้ประมาณว่า โมจิมหาโชค ซึ่งเป็นมงคลนามสำหรับเทศกาลแห่งความสุขจริงๆ แต่ท่านผู้อ่านอย่างเพิ่งพุ่งเป้าสรุปไปที่ โมจิ ที่เป็นชื่อเรียกขนมที่เราคุ้นเคยแต่โดยลำพังอย่างเดียว เพราะในความเป็นจริง Mochi กินความกว้างขวางไปถึงการแปรรูปข้าวให้กลายเป็นแป้ง หรือ Mochiko ด้วย ซึ่งนอกจากจะเป็นอาหารที่มีส่วนร่วมอยู่ในพิธีกรรมและเทศกาลสำคัญของญี่ปุ่นแล้วกระบวนการก่อนที่จะได้แป้งโมจิ (Mochiko) ยังสะท้อนวิธีคิดและสอดแทรกวิถีปฏิบัติสำหรับการอยู่ร่วมในชุมชนไว้อย่างแยบยล เพราะด้วยเหตุที่แป้งโมจิหรือ Mochiko แปรรูปมาจากการนำข้าวหุงสุกมาทุบโขกให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน จนมีลักษณะเหนียวนุ่ม กรรมวิธีดังกล่าวจึงต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจและแรงงานในการประกอบไม่น้อย ช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในประเทศไทยนอกจากจะมีสารทไทย หรืองานบุญเดือนสิบให้ได้ร่วมกันปรุงกระยาสารทแล้ว ยังมีเทศกาลไหว้พระจันทร์ ซึ่งในช่วงเดียวกันนี้ของญี่ปุ่นก็จะมีเทศกาลชมพระจันทร์ หรือ Otsukimi ซึ่งใกล้เคียงกับเทศกาลไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ที่ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางประเพณีว่าด้วย

Read More

อนิจจาน่าเสียดาย-Mottainai

 ในยุคสมัยปัจจุบัน เชื่อว่าคงมี คำ ในภาษาญี่ปุ่นมากมายหลายคำที่เราท่านต่างคุ้นเคยกันดี แม้กระทั่งนำมาพูดคุยสื่อความในชีวิตประจำวันกันอยู่เนืองๆ ในด้านหนึ่งก็คงเป็นเพราะมีชาวญี่ปุ่นจำนวนมากเป็นผู้เผยแพร่ผ่านการท่องเที่ยว ขณะที่สื่อทั้งของไทยและญี่ปุ่นก็ทำหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านวัฒนธรรมไปพร้อมกันลองนึกถึงคำประมาณ Oishi ที่แปลว่าอร่อย ซึ่งกลายเป็นชื่อร้านอาหารและเครื่องดื่ม หรือ Arigato ที่กลายเป็นชื่อขนมขบเคี้ยว รวมไปถึง Sugoiที่อ่านออกเสียงแบบไทยๆ ได้หลากหลายอารมณ์เหลือเกิน และใช้แทนค่า ความรู้สึกได้อย่างไม่จำกัดสถานการณ์หากแต่คำอุทานในภาษาญี่ปุ่นที่ใช้กันจนคุ้นปากและแพร่หลายในวงกว้างอย่าง mottainai กลับกลายเป็นนิยามของแนวความคิดว่าด้วยการอนุรักษ์และพิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีหญิงชาวเคนยาคนหนึ่ง เป็นประหนึ่งกระบอกเสียงที่ช่วยกระจายนัยความหมายของถ้อยความคำนี้Mottainai ไม่ใช่คำญี่ปุ่นที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ หากแต่ในความเป็นจริง คำคำนี้ ซึมลึกอยู่ในสังคมญี่ปุ่นมานานแสนนาน โดยมีความหมายไปในทางที่สะท้อนความน่าเสียใจเสียดายต่อสิ่งมีคุณค่าที่ต้องถูกทิ้งให้เสียหายไปอย่างเปล่าประโยชน์ รวมถึงการใช้สิ่งมีค่าไปอย่างผิดวิธีฟังดูแล้ว อาจไม่ค่อยเข้ายุคเข้าสมัยสักเท่าใดใช่ไหม เพราะสังคมทุกวันนี้เห็นมีแต่เรื่องเปล่าเปลืองเป็นส่วนมาก โอกาสที่จะใช้คำว่า mottainai จึงดูเหมือนจะถูกบีบให้แคบลงไปอีกแต่หญิงชาวเคนยาที่ทำให้ mottainai แพร่หลายไปไกลคนนี้ เธอไม่ใช่ธรรมดา หากเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ หรือ Nobel Peace Prize เมื่อปี 2004 มาแล้วWangari Muta Maathai ชาวเคนยาคนนี้ เป็นผู้หญิงแอฟริกาคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล และเป็นผู้รับรางวัลสาขาสันติภาพคนแรกที่มีปูมหลังเป็นนักสิ่งแวดล้อมอีกด้วยบทบาทและสถานะของเธอที่ผ่านมา ดูจะไม่ค่อยมีเหตุให้ต้องมาเกี่ยวข้องกับเรื่อง

Read More

Jidoukan: ศูนย์เยาวชนแบบญี่ปุ่น

 ช่วงนี้หลายโรงเรียนคงปิดภาคเรียนกลางปีการศึกษากันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครองเด็กๆ ที่ต้องประกอบด้วยความรับผิดชอบหลากหลายประการ คงเป็นภาระที่ทำให้หลายคนกังวลใจไม่น้อย เพราะไม่แน่ใจว่าจะพาลูกน้อยหรือเยาวชนในความดูแลไปฝากไว้ที่ไหนดีปัญหาในลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะช่วงปิดภาคเรียนหรอกนะคะ เพราะเท่าที่สังเกตเห็นส่วนใหญ่ ก็ต้องหาที่เรียนพิเศษ เพื่อเป็นการเสริมกิจกรรมยามว่างระหว่างรอผู้ปกครองมารับในช่วงเย็นก่อนกลับบ้านกันอยู่บ้างแล้วซึ่งเทรนด์ของเหตุผลว่าด้วย การใช้เวลาว่างในช่วงปิดภาคเรียนให้เป็นประโยชน์ ได้กลายเป็นวาทกรรมยอดนิยมและดูเลิศหรูไม่น้อย ที่ทำให้ผู้ปกครองจำนวนมากต่างยินยอมพร้อมใจพาบุตรหลานไปเข้าร่วมกิจกรรม หรือหากกล่าวอย่างตรงไปตรงมาก็ต้องบอกว่าไปเรียนพิเศษในช่วงปิดเทอมนี้ จะตรงประเด็นที่สุดในญี่ปุ่น ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองก็มีงานล้นมือไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคนไทย แต่พวกเขาโชคดีกว่าตรงที่สังคมญี่ปุ่นมี Jidoukan หรือศูนย์เยาวชนประจำแต่ละชุมชนท้องถิ่นคอยรับช่วงดูแลเด็กๆ ของพวกเขานอกเหนือจากโรงเรียนอีกด้วยแม้ว่าเวลาเปิดทำการของ Jidoukan ส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นจะเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงเช้าประมาณ 8-9 นาฬิกาตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ และไปสิ้นสุดในช่วง 18-20.00 น.แต่บทบาทของ Jidoukan ในด้านหลักจะเป็นประหนึ่ง children’s center หลังเวลาโรงเรียน เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองที่ติดภารกิจการงานจนไม่สามารถมารับเด็กๆ จากโรงเรียนหลังเวลาเลิกเรียน ไม่ต้องคอยพะว้าพะวงว่าเด็กๆ จะไปอยู่ที่ไหนหรือต้องเผชิญเรื่องราวเลวร้ายนอกโรงเรียนอย่างไรขณะเดียวกันในช่วงที่โรงเรียนปิดเทอม Jidoukan ก็ทำหน้าที่เป็น playground ที่ปลอดภัยและมีอุปกรณ์เสริมสร้างทักษะและการเรียนรู้มากมายให้เลือกตามอัธยาศัย โดยมีเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร ซึ่งผ่านการอบรมเรื่องการดูแลเด็กหรือ child rearing มาคอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำความเป็นไปของ Jidoukan ยังดำเนินควบคู่ไปกับ sport center และห้องสมุดชุมชนที่พร้อมจะเอื้ออำนวยไม่เฉพาะกับเด็กๆ เท่านั้น

Read More

OLYMPIC MIRACLE

 ผลการตัดสินคัดเลือกเมืองเพื่อเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน Olympic 2020 เสร็จสิ้นลงไปแล้ว พร้อมกับความผิดหวังของกรุงมาดริด และอิสตันบูล ท่ามกลางเสียงไชโยโห่ร้อง Banzai และน้ำตาแห่งความชื่นมื่นของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นกล่าวเฉพาะ Tokyo ความมุ่งหมายที่จะเป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกครั้งนี้ ถือเป็นกรณีที่สืบเนื่องมายาวนานตั้งแต่เมื่อปี 2005 เมื่อ Shintaro Ishihara ผู้ว่าการกรุงโตเกียวประกาศเป็นนโยบายสำหรับรณรงค์หาเสียงการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ สมัยที่ 3โดยวางเป้าหมายให้การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน Olympic 2016 เป็นส่วนหนึ่งในนโยบายเพื่อการพัฒนาของกรุงโตเกียวข้อเสนอของ Shintaro Ishihara ได้รับความสนใจจากประชาชนชาวญี่ปุ่น จนเขาได้รับเลือกให้เป็นผู้ว่าการกรุงโตเกียวเป็นสมัยที่ 3 สมดังตั้งใจในการเลือกตั้งเมื่อปี 2007 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาพความสำเร็จในอดีตเมื่อครั้งกรุงโตเกียวได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน Olympic เมื่อปี 1964 ซึ่งยังเป็นภาพอดีตที่ติดตราตรึงใจชาวญี่ปุ่นไม่น้อย และถูกกล่าวขวัญถึงในฐานะที่เป็น Olympic Miracle สำหรับญี่ปุ่นเลยทีเดียวเพราะการได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกเมื่อปี 1964 ทำให้กรุงโตเกียวสามารถแสดงพลังในการขับเคลื่อนทั้งในมิติของเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจที่ญี่ปุ่นสร้างขึ้นมาในช่วงทศวรรษ 1950 ต่อเนื่องมาสู่ 1960 หลังจากที่ต้องตกอยู่ในภาวะผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างบอบช้ำที่สุดOlympic 1964 จึงเป็นประหนึ่ง

Read More

ญี่ปุ่น ปรับกลยุทธ์ รุกหนัก ภาคการเงินไทย

 ราวกับเป็นความตั้งใจของบรรดาบรรษัทการเงินจากแดนซามูไร ที่พร้อมใจขับเคลื่อนก้าวย่างสำคัญเพื่อปักธงชัยในตลาดการเงินเมืองไทย ทั้งในภาคธุรกิจธนาคารและธุรกิจประกัน โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ เริ่มต้นจากมูฟเมนต์สำคัญของ “มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป” หรือ MUFG หลังจากเป็นข่าวฮือฮามานานหลายเดือน ในที่สุดเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา ก็ได้ข้อยุติเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่คนใหม่ของ BAY  คือ “แบงก์ ออฟ โตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ลิมิเต็ด” หรือ BTMU ธนาคารยักษ์ใหญ่อันดับต้นจากแดนปลาดิบ ซึ่งได้ซื้อหุ้น BAY จาก “จีอี แคปปิตอล” ที่ถืออยู่ 25.33% คนไทยส่วนใหญ่อาจไม่คุ้นเคยกับชื่อ “แบงก์ ออฟ โตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ลิมิเต็ด” แต่อันที่จริง BTMU ไม่ใช่ “คนแปลกหน้า” สำหรับวงการธนาคารในเมืองไทย เพราะ BTMU ได้เข้ามาเปิดสาขาในกรุงเทพฯ ตั้งแต่เมื่อ 50 กว่าปีก่อน

Read More

ยุทธศาสตร์รถไฟ: สร้างรางเพื่อสร้างเมือง

 ความพยายามของประเทศไทยที่จะปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ว่าด้วยเรื่องการคมนาคมขนส่งให้ก้าวหน้าและสามารถรองรับกับการจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ประสานกับบทบาทของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ระบุว่าการพัฒนาระบบรางของไทยมีความจำเป็น และกำลังศึกษารูปแบบที่เหมาะสมจากหลากหลายประเทศ ซึ่งหนึ่งในนั้นแน่นอนว่าต้องมีญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในตัวแบบของการพัฒนาด้วย ข้อสังเกตที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ แม้พัฒนาการของระบบรถไฟในประเทศยุโรปอีกหลายชาติจะมีความก้าวหน้าอย่างมาก และมีการบริหารจัดการที่ดีเยี่ยม โดยเฉพาะในกรณีของเยอรมนีที่บริหารโดย Deusche Bahn: DB หรือในกรณีของอังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งต่างเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าและพร้อมจะส่งออกวิทยาการเหล่านี้ ไม่นับรวมจีนที่หมายมั่นปั้นมือที่จะเบียดแทรกเข้าสู่ตลาดนี้ด้วยเช่นกัน แต่ภายใต้การจำเริญเติบโตของเมืองในสังคมการผลิตแบบเอเชีย ที่มีความใกล้เคียงกันระหว่างไทยและญี่ปุ่น บางทีประสบการณ์จากญี่ปุ่นอาจให้คำตอบที่ใกล้เคียงกับความต้องการของสังคมไทยในห้วงยามนี้  พัฒนาการของโครงข่ายการคมนาคม ด้วยระบบรางในประเทศญี่ปุ่น นอกจากจะจำเริญเติบโตจากผลของระดับเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า ซึ่งผลักดันให้ญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีกิจการรถไฟอยู่ในระดับที่ก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกแล้ว กิจการรถไฟในญี่ปุ่นยังเป็นกรณีที่มีความเกี่ยวเนื่องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับชาติอย่างยากจะแยกออก  ระดับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ส่งผลให้กิจการรถไฟในญี่ปุ่น ก้าวข้ามบริบทของการเป็นเพียงบริการสาธารณะที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับประชาชนสำหรับการเดินทางในประเทศไปอีกขั้น เมื่อนวัตกรรมที่เป็นผลผลิตจากระบบรถไฟของญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็น MagLev (Magnetic levitation) หรือรถไฟความเร็วสูง (Bullet Train: Shinkansen) กำลังแปลงสภาพเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามหาศาลอีกชนิดหนึ่ง ที่พร้อมรุกเข้าสู่การรับรู้ของผู้คนในทุกภูมิภาคโดยเฉพาะการสร้างโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงระหว่างเมืองทั่วอาเซียนในอนาคต ยุทธศาสตร์การพัฒนาของรถไฟความเร็วสูง หรือ Shinkansen ของญี่ปุ่นอาจให้ภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจและเป็นที่กล่าวถึง โดยเฉพาะข้อเท็จจริงที่ว่าการเดินทางระหว่างเมืองใหญ่สำคัญของญี่ปุ่นสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและมีราคาย่อมเยากว่าการเดินทางโดยเครื่องบิน แต่พัฒนาการที่ว่านี้คงเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากการวางโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง  ความเป็นมาของกิจการรถไฟในญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม 1872 เมื่อเส้นทางการเดินรถไฟสายแรกระหว่าง Shinbashi ซึ่งเป็นทั้งย่านธุรกิจและคลังสินค้าขนาดใหญ่ในกรุงโตเกียวกับเมืองท่า Yokohama เปิดให้บริการ โดยมีพิธีเปิดอย่างเอิกเกริกที่สถานีต้นทางทั้งสองแห่ง  ตลอดเส้นทางที่รถไฟสาย

Read More

ชัยชนะของ ชินโซ อาเบะ และการกลับมาของ “ความเป็นญี่ปุ่น”

ชัยชนะอย่างท่วมท้นของพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตย หรือ LDP (Liberal Democratic Party) จากผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้พรรค LDP มีที่นั่งในสภาญี่ปุ่นมากถึง 294 ที่นั่งจากจำนวนรวม 480 ที่นั่ง ซึ่งเมื่อผนวกกับพันธมิตรจากพรรคนิว โคเมะโตะ (New Komeito) ที่ได้รับเลือกอีก 31 ที่นั่ง ก็หมายความว่าพรรครัฐบาลใหม่ของญี่ปุ่น ภายใต้การนำของชินโซ อาเบะ (Shinzo Abe) จะมีจำนวนเสียงมากถึง 325 ที่นั่ง ซึ่งเกินกว่า 2 ใน 3 ที่เป็นสัดส่วนสำคัญในการผลักดันกฎหมายและนโยบายในอนาคตได้อย่างสะดวกด้วย ผลการเลือกตั้งของญี่ปุ่นที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งสะท้อนความคิดและความหวังที่ชาวญี่ปุ่นปรารถนาจะให้รัฐนาวาลำใหม่ของชินโซ อาเบะ ต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอยซึ่งเรื้อรังต่อเนื่องมานานนับทศวรรษ โดยชินโซ อาเบะ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ระหว่างกันยายน 2549-กันยายน 2550 มาแล้วหนึ่งครั้ง ประกาศตลอดการรณรงค์หาเสียงในปี 2555 ว่า

Read More