Home > Japan (Page 3)

เรามาลองคุยกัน

 เมื่อครั้งที่ผู้เขียนยังพำนักอยู่ในกรุงโตเกียวเมื่อหลายปีมาแล้ว กิจกรรมหนึ่งที่ช่วยเติมและสานส่งให้ความคิดคำนึงบรรเจิดจนบางครั้งเตลิดเลยเถิดไป หนึ่งในนั้นก็คงเป็น Pecha Kucha นี่ล่ะค่ะ ที่ผู้เขียนเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งด้วยความถี่มากเป็นพิเศษ ความน่าสนใจของ Pecha Kucha ในกรุงโตเกียว ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสพบเจอ อยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่สิ้นสุด ซึ่งต้องเริ่มจากเจ้าของสถานที่จัดงานและรูปแบบกิจกรรมที่ถือว่าเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับหน่ออ่อนของการแลกเปลี่ยนทางความคิด ที่ก่อให้เกิดการต่อยอด ผลิดอกออกผลในเวลาต่อมา แนวความคิดเกี่ยวกับ Pecha Kucha ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่น หากแปลเป็นภาษาอังกฤษก็ประมาณ chit-chat หรือ “มาคุยกัน” ในภาษาไทยบ้านๆ แบบเรา เกิดขึ้นจาก 2 สถาปนิก Astrid Klein และ Mark Dytham ที่เป็นหุ้นส่วนในบริษัท Klein-Dytham Architecture ที่ต้องการดึงดูดผู้คนให้เข้ามาใน Super Deluxe ไนท์คลับแบบอันเดอร์กราวน์ อีกหนึ่งในธุรกิจที่พวกเขาได้ร่วมกันลงทุนสร้างขึ้นท่ามกลางการแข่งขันสูงในย่าน Roppongi ที่ขึ้นชื่อของกรุงโตเกียว ด้วยการสร้างเอกลักษณ์ให้ Super Deluxe กลายเป็นพื้นที่สำหรับการจัดกิจกรรมแนวทดลองที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ไม่น่าเชื่อนะคะว่าจากแนวความคิดด้านการตลาดที่หวังจะสร้างให้คลับอันเดอร์กราวน์ แห่งหนึ่งให้เป็นที่รู้จัก กลายเป็นว่า Pecha Kucha

Read More

ชีวิตอัตโนมัติ

 ท่านผู้อ่านระลึกถึงวัยเด็กหรือมีภาพจำเกี่ยวกับโหลของเล่นหยอดเหรียญ ที่ต้องมาคอยลุ้นว่าของเล่นที่บรรจุอยู่ในหุ้มพลาสติกหน้าตาเหมือนไข่ จะเป็นอะไรและใช่อย่างที่เราต้องการได้หรือเปล่าคะ เวลาที่ล่วงเลยมา นานมากจนทั้งผู้เขียนและท่านผู้อ่านอาจจะลืมหรือจำรายละเอียดได้ไม่ทั้งหมดหรอกนะคะ อีกทั้งด้วยวิทยาการและเทคโนโลยี ก็คงนำพาให้เครื่องจำหน่ายสินค้าหยอดเหรียญพัฒนาไปไกลจนเกินกว่าที่จะจินตนาการได้ จากเดิมที่มีสถานะเป็นเพียงอุปกรณ์หลอกเอาสตางค์จากเด็กๆ ซึ่งไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่าสินค้าที่จะได้รับคุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่ายไปไหม มาสู่การเป็นเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติที่มีสรรพสินค้าแสดงให้เห็นและพร้อมที่จะให้เลือกซื้อได้ตามสะดวก เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติมีบทบาทและอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นแผ่กว้างครอบคลุมในเกือบจะทุกกิจกรรมเลยทีเดียว ไม่เว้นแม้แต่ร้านอาหารแบบ อิ่มด่วน ที่ผู้บริโภคจะต้องสั่งซื้ออาหารผ่านเครื่องสั่งซื้อก่อนที่จะนำตั๋วที่ได้ไปส่งให้บริกรซึ่งจะจัดอาหารให้ตามคำสั่งซื้อของลูกค้าแต่ละราย ความสะดวกของเหล่าเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ หรือตู้หยอดเหรียญเหล่านี้ล่ะค่ะ ที่สร้างให้เกิดวัฒนธรรมการบริโภคอย่างหนักหน่วงในสังคมญี่ปุ่น เพราะนอกจากจะมีร้านสะดวกซื้อกระจายอยู่ทั่วทุกหัวมุมถนนแล้ว เครื่องจำหน่ายสินค้ายังเข้าไปเติมเต็มช่องว่างในระดับตรอกซอกซอยให้ครบถ้วนกระบวนความของการบริโภคอย่างสะดวกสบายอีกด้วย เครื่องจำหน่ายสินค้าหยอดเหรียญไม่ได้มีภาพลักษณ์ว่าด้วยความสะดวกสบายเท่านั้นนะคะ เพราะในหลายกรณีเครื่องมือที่ว่านี้ยังกลายเป็นอุปกรณ์ในการดูดซับกำลังซื้อที่ทรงอานุภาพอย่างยิ่งยวด และบางครั้งดูจะกลายเป็นคู่แข่งขันที่น่าเกรงขามสำหรับร้านสะดวกซื้อไปในคราวเดียวกันเสียด้วย เพื่อนของผู้เขียนคนหนึ่ง เธอทำงานในสำนักงานที่มีเครื่องหยอดเหรียญสำหรับจำหน่ายเครื่องดื่มสารพัดชนิดอยู่ภายในบริเวณอาคาร ซึ่งนั่นทำให้เธอสมัครใจเป็นแฟนคลับของเครื่องหยอดเหรียญไปโดยปริยาย และมีค่าใช้จ่ายผ่านเครื่องมือที่ว่านี้วันละหลายพันเยนเลยทีเดียว จริงๆ แล้วจะเรียกเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติเหล่านี้ว่าเครื่องหยอดเหรียญก็คงจะเป็นการดูแคลนไปสักหน่อย เพราะนอกจากจะมีช่องให้หยอดเหรียญ 100 และ 500 เยนแล้ว เครื่องอัตโนมัติเหล่านี้ยังมีช่องสำหรับใส่ธนบัตรอีกด้วย ลำพังมูลค่าของเงินเยน ที่มีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ประมาณ 100 เยน ต่อ 30 กว่าบาทไทย ท่านผู้อ่านคงจินตนาการได้นะคะว่า เครื่องดื่มกระป๋องหรือขวด ที่มีสนนราคาขั้นต่ำเริ่มที่หน่วยละ 150 เยน จะสร้างให้เกิดการแพร่สะพัดของเงินในระบบอย่างไร มูลค่าการค้าที่ดำเนินผ่านช่องทางของเครื่องจำหน่ายสินค้าหยอดเหรียญ เฉพาะในหมวดเครื่องดื่มเพียงลำพังก็มีมูลค่าหลายหมื่นหลายพันล้านเยนต่อปีแล้วล่ะค่ะ และหากสำรวจให้ครบทุกหมวดสินค้าก็คงเป็นตัวเลขที่มากมายชวนให้เวียนศีรษะเป็นแน่ และทำให้เครื่องจำหน่ายสินค้าหยอดเหรียญมีสถานภาพเป็นดัชนีชี้วัดและกำหนดทิศทางเศรษฐกิจอย่าง อ้อมๆ ไปด้วย ขณะเดียวกันเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ยังมีมิติของการประดิษฐ์สร้างนวัตกรรมให้กับสังคมญี่ปุ่นไปด้วยพร้อมกัน ก่อนหน้านี้ไม่นาน ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะได้เห็นภาพข่าวเครื่องจำหน่ายสินค้ารุ่นใหม่ ที่สามารถประเมินผลบุคลิกภาพของผู้ซื้อ ก่อนที่จะแสดงตัวอย่างสินค้าที่คาดว่าจะถูกใจกับลูกค้าที่เป็นเป้าหมายขึ้นมาให้เลือก เรียกได้ว่าทำรายการสินค้าเสนอขายให้ตรงกับโปรไฟล์ของผู้ซื้อกันเลยทีเดียว หากมองในมิติของรูปแบบการตลาดสมัยใหม่ ก็ต้องบอกว่านี่เป็นการเก็บรวมรวบประพฤติกรรมของผู้บริโภค และนำไปสู่การสร้างข้อมูลกลุ่มลูกค้าที่แยบคาย

Read More

การละเลยของมืออาชีพ

 เห็นภาพข่าวที่น่าเศร้าสลดของเรือเฟอรรี่ “เซวอล” รวมถึงความคืบหน้าในการดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้อง ควบคู่กับข่าวแผ่นดินไหวที่เมืองไทยครั้งล่าสุดแล้ว ทำให้รู้สึกว่าพิบัติภัยจากธรรมชาติจะไม่ใช่ภัยคุกคามที่น่าสะพรึงกลัวอย่างเดียวของมนุษยชาติแล้วล่ะค่ะ หากยังมีภัยจากน้ำมือของมนุษย์นี่ล่ะ ที่กำลังคุกคามสวัสดิภาพของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างกว้างขวางและเพิ่มระดับความรุนแรงไปตามขีดขั้นของพัฒนาการด้านเทคโนโลยีไม่น้อยด้วยเช่นกัน ต้นเหตุของภัยร้ายที่ว่านี้ ในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากความประมาทหรือหากกล่าวให้ถึงที่สุดเป็นการละเลยที่จะดำเนินการตามมาตรฐานของความเป็นมืออาชีพ หรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า โปรเฟสชั่นนอล เนคลิเจนซ์ (professional negligence) ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วถือเป็นเรื่องที่พร้อมจะนำไปสู่การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย รุนแรง และเลวร้ายอย่างยิ่ง ตรรกะวิธีและหลักคิดว่าด้วยการกระทำผิดโทษฐาน “การละเลยของความเป็นมืออาชีพ” มาจากพื้นฐานที่ว่าบุคคลบางสาขาอาชีพย่อมต้องเป็นผู้มีทักษะและ/หรือได้รับการฝึกฝนให้มีความชำนาญอย่างยิ่งยวดเหนือกว่ามาตรฐานเฉลี่ยของสาธารณชนทั่วไป ซึ่งย่อมหมายถึงคุณภาพและมาตรฐานที่สูงกว่าระดับปกติที่พึงจะเป็น รวมถึงความคาดหวังทางสังคมที่ว่าบุคคลกลุ่มนี้จะสามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพด้วย ความล้มเหลวใดๆ ที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องในการตรวจสอบหรือแจ้งเตือนเหตุไม่พึงประสงค์ ที่นำไปสู่ความเสียหายต่อประโยชน์ของผู้รับบริการ จึงนำไปสู่การเรียกร้องค่าเสียหายได้อย่างไม่ยากเลย ก่อนหน้านี้ กรณีว่าด้วยการละเลยของมืออาชีพอาจจะพบเห็นได้บ่อยในกรณีของผู้ประกอบอาชีพในด้านการให้บริการสาธารณสุข โดยเฉพาะแพทย์และพยาบาล เพราะเกี่ยวเนื่องกับความเป็น-ความตายของคนไข้โดยตรง แต่ในปัจจุบันการฟ้องร้องในเรื่องดังกล่าวขยายไปสู่ผู้ประกอบการในสาขาวิชาชีพอื่นๆ ด้วยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นนักกฏหมาย หรือแม้กระทั่งผู้รับเหมาก่อสร้าง หากบุคคลเหล่านี้เพิกเฉยหรือละเลยต่อประโยชน์ของลูกค้าและผู้รับบริการ รวมถึงสาธารณชนตามแต่กรณี ที่เป็นเช่นนี้ก็ด้วยเหตุที่ว่าภายใต้กฎหมายส่วนใหญ่ ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมถูกกำกับจากข้อกำหนดว่าด้วย หน้าที่ในการเอาใจใส่ดูแลต่อผลประโยชน์ของสาธารณชนผู้จ้างวาน เพราะสาธารณชนเหล่านี้ย่อมต้องพึ่งพาทักษะและความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ รวมถึงการแจ้งเตือนและป้องกันความเสียหายอย่างมีเหตุผลจากผู้ประกอบวิชาชีพด้วย ท่านผู้อ่านอาจจะเคยได้ยินหรือพบเห็นข่าวโศกนาฏกรรมจากอุบัติเหตุเครื่องเล่นในสวนสนุกขัดข้อง หรือแม้กระทั่งเด็กติดหรือตกจากบันไดเลื่อนในศูนย์การค้ามาบ้างแล้ว กรณีเหล่านี้ในบางประเทศมีการฟ้องร้องข้อหาการละเลยของมืออาชีพกันอย่างเอิกเกริกและนำไปสู่การออกกฎข้อบังคับให้กับผู้ประกอบการเลยนะคะ ซึ่งในญี่ปุ่นก็เคยมีกรณีเช่นว่านี้ไม่น้อยเหมือนกัน กรณีที่น่าสนใจกรณีหนึ่งที่ทำให้มีการหยิบยก “การละเลยของมืออาชีพ” มาพิจารณาอย่างกว้างขวางในสังคมญี่ปุ่น คงหนีไม่พ้นเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2547 ในรอปปองงิ ฮิลล์ (Roppongi Hills) ซึ่งขณะนั้นนับเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของกรุงโตเกียว และกำลังจะฉลองวาระครบรอบขวบปีแรกของการเปิดพื้นที่ให้ผู้คนนับล้านๆ คนจากทั่วทุกสารทิศได้เข้ามาสัมผัสความแปลกใหม่ แต่แล้วงานฉลองก็กลับกลายเป็นความเศร้า เมื่อเด็กชายวัย

Read More

สร้างสรรค์แต่ไม่ปรุงแต่ง

 ภาพของผู้คนที่ยืนเรียงแถวรอคอยที่จะได้มีโอกาสเข้าไปเลือกซื้อสินค้าจากร้านเสื้อผ้าแบรนด์ดังจากญี่ปุ่น เมื่อคราวเปิดตัวในประเทศไทยแต่ละครั้งถือเป็นความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการธุรกิจจากญี่ปุ่นที่กำลังรุกเข้ามาสร้างสีสันให้กับแวดวงธุรกิจไทยไม่น้อยเลยนะคะ แม้ว่าความคุ้นเคยของคนไทยที่มีต่อสินค้าและบริการภายใต้แบรนด์จากญี่ปุ่น อาจทำให้ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงเรื่องราวสามัญธรรมดา ขณะเดียวกันก็อาจประเมินได้ว่านี่คือกระแสธารของโลกทุนนิยมและความเป็นไปในยุคโลกาภิวัตน์ ที่ดำเนินอยู่ไม่แตกต่างจากกรณีอื่นๆ หากแต่ในอีกมิติหนึ่งยังปรากฏข้อเท็จจริงที่ว่า การขยายบริบททางธุรกิจของผู้ประกอบการญี่ปุ่นออกสู่ตลาดภายนอกประเทศอาจเป็นหนึ่งในหนทางรอดทางธุรกิจของผู้ประกอบการเหล่านี้ ท่ามกลางความชะลอตัวทางเศรษฐกิจภายในญี่ปุ่นเองด้วย การจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษ 1960 ถึง1980 และได้รับการเรียกขานว่าเป็น “ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ” กลายเป็นกับดักที่ส่งผลให้เกิดภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง ก่อนที่ฟองสบู่จะแตกออกและทำให้ระบบเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้รับผลกระเทือนอย่างหนักหน่วงในระยะเวลาหลังจากนั้น  ถ้าจะถามว่าความเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ช่วงปี 1990 จนถึงปัจจุบันมีความรุนแรง หนักหนาเพียงใด ก็คงพิจารณาได้จากการประเมินและเรียกขานช่วงเวลาดังกล่าวของนักเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศที่ระบุว่าเป็น ทศวรรษที่หายไป หรือ เดอะ ลอสต์ เดเคด (the Lost Decade) ขณะที่บางรายเรียกช่วงเวลาดังกล่าวว่าเป็น ปีที่สูญเปล่า (the Lost Years) ของญี่ปุ่นกันเลยทีเดียว แต่ภายใต้ซากปรักหักพังของเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งมีบริษัทใหญ่ๆ ตกเป็นเหยื่อที่มีสภาพไม่ต่างจากผีดิบที่ไม่สามารถเติบโตและสร้างผลกำไร เพื่อมาหล่อเลี้ยงองคาพยพทางธุรกิจได้มากนัก กลับเปิดโอกาสให้บริษัทเล็กๆ ที่ค่อยๆ สะสมทุนจากระดับท้องถิ่น ก้าวขึ้นมาเติมเต็มช่องว่างของการขับเคลื่อนกลไกทางเศรษฐกิจที่หายไปทีละน้อย และมีผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคของญี่ปุ่นที่ทำให้เกิดเป็นเทรนด์ใหม่ในเวลาต่อมา การเกิดขึ้นของทั้ง MUJI และ Uniqlo เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจไม่น้อยในกรณีที่ว่านี้ เพราะหากย้อนหลังกลับไปในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้ ทั้งสองบริษัทยังมีสถานะเป็นเพียงผู้ประกอบการในระดับท้องถิ่น หรือหากกล่าวให้เข้าใจได้ง่ายก็ต้องบอกว่าเป็นเพียงเอสเอ็มอี ที่คงไม่มีใครให้ความสนใจเป็นแน่ ทั้งสองบริษัทมีจุดเปลี่ยนผ่านทางประวัติศาสตร์จากห้วงเวลาที่ใกล้เคียงกันในช่วงต้นของทศวรรษ 1980 ซึ่งสังคมญี่ปุ่นโดยรวมกำลังเริงร่าอยู่กับตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ไต่ระดับพุ่งทะยาน

Read More

พฤกษาแห่งท้องนภา

 วันที่ 22 พฤษภาคมนี้ ถือเป็นวันพิเศษเนื่องในโอกาสครบรอบสองปี ที่ Tokyo Skytree ได้เปิดให้ผู้คนทั่วไปได้เยี่ยมชม และทำให้สัญลักษณ์ของเมืองภายใต้ชื่อ Tokyo Tower ที่ยืนยาวมานานกว่าครึ่งศตวรรษ และถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวเกือบทุกรายต้องไม่พลาดเมื่อมีโอกาสไปเยือนกรุงโตเกียว กำลังจะเหลือเพียงรอยอดีตแห่งความรุ่งเรืองให้กล่าวขานเสียแล้ว เพราะการมาถึงของหอคอยสูงแห่งใหม่ ที่แทงยอดเบียดแทรกขึ้นสู่ท้องฟ้า มาเป็นประหนึ่งสัญลักษณ์แห่งความเจริญก้าวหน้าทางวิศวกรรมและสืบทอดบทบาทเดิมของ Tokyo Tower ในนาม Tokyo Skytree แห่งนี้ได้ก้าวขึ้นมาแทนที่ความจำเริญครั้งเก่าอย่างสมบูรณ์ โครงการก่อสร้างหอคอยสูงแห่งใหม่ในกรุงโตเกียวนี้ ไม่ใช่โครงการที่เพิ่งเริ่มคิดดำเนินการนะคะ หากแต่เป็นโครงการที่ผ่านกระบวนการถกแถลงในวงกว้างมายาวนานหลายปี ทั้งในเรื่องของการออกแบบรูปลักษณ์ของตัวหอคอย การหาทำเลที่ตั้ง หรือแม้กระทั่งชื่อหอคอยสูงแห่งใหม่ว่าจะใช้ชื่ออะไรดี ก่อนที่จะได้บทสรุปที่ชื่อ Tokyo Skytree หรือพฤกษาแห่งท้องนภานี่ล่ะคะ ความคิดที่จะก่อสร้างหอคอยสูงแห่งใหม่ในกรุงโตเกียวนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างไร้รากฐาน แต่เป็นผลมาจากการที่ญี่ปุ่นมีนโยบายจะปรับเปลี่ยนให้การแพร่ภาพสัญญาณวิทยุโทรทัศน์จากระบบ analog ไปสู่การส่งสัญญาณแบบ digital ในอนาคต กรณีที่ว่านี้ ทำให้บทบาทของ Tokyo Tower แห่งเดิม ซึ่งเป็นที่ติดตั้งจานรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ และรายได้ที่ประมาณกันว่ามีจำนวนมหาศาลกว่า 2.7 พันล้านเยนต่อปี ได้รับผลกระเทือนทันที เพราะด้วยความสูง 333 เมตรของ Tokyo Tower

Read More

พจนานุกรม แบรนด์เนม

 ท่านผู้อ่านเคยนึกถึงเวลาเดินเข้าร้านหนังสือแล้วพบว่ามีมุมหนึ่งของร้านจัดวางพจนานุกรม หรือ dictionary ที่พร้อมจะแปลความหมายของคำจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง หรือแม้กระทั่งขยายความของคำจากภาษาเดียวกันให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไหมคะ ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องแปลกเลยนะคะ เพราะทุกคนย่อมต้องมีโอกาสพบกับข้อติดขัดในการใช้และสื่อสารทางภาษากันทั้งนั้นจริงไหม ไม่นับรวมแนวความคิดที่ว่าหนังสือที่มีความน่าสนใจ เพราะเกี่ยวเนื่องกับความเป็นมาและเป็นไปของทัศนคติ ความคิด ความเชื่อของมนุษยชาติ ที่ประกอบส่วนขึ้นด้วย มหาคัมภีร์ไบเบิล คัมภีร์อัลกุรอาน และพระไตรปิฎก หรือแม้กระทั่งหลักธรรมคำสอนและมหาตำนานแห่งปวงเทพในศาสนาใดๆ แล้ว ก็เห็นจะมีพจนานุกรมนี่แหละที่เป็นหนังสือที่นอกจากจะบรรจุคำศัพท์ที่ใช้สื่อสารในสังคมมนุษย์แล้ว พจนานุกรมที่มีการรวบรวมคำศัพท์อย่างกว้างขวาง ยังถือเป็นแหล่งที่อุดมด้วยความรู้ไม่รู้จบอีกด้วย แต่ถ้าหากว่า เมื่อท่านผู้อ่านพบว่า พจนานุกรมที่วางตระหง่านอยู่เบื้องหน้ากลายเป็นพจนานุกรมว่าด้วยแบรนด์สินค้าชื่อดังต่างๆ ที่มาพร้อมกับคำอธิบายว่าด้วยประวัติความเป็นมา และจุดกำเนิดของสินค้าแต่ละชนิดด้วยล่ะคะ ผู้เขียนคิดว่าพจนานุกรมเล่มนี้น่าจะเป็นงานที่น่าสนใจที่สุดชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว อย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้เป็นไปไม่ได้ หรือจะมีใครหน้าไหนคิดนึกทำเรื่องที่ดูจะไม่เป็นเรื่องแบบนี้ขึ้นมาได้ เพราะในความเป็นจริงสิ่งนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศญี่ปุ่น และไม่ได้เกิดขึ้นจากความคิดของเด็กๆ ที่คิดสนุกอยากมีหนังสือที่มีชื่อตัวเองติดอยู่บนปกตามสมัยนิยมซะที่ไหน  หากเป็นงานที่รวบรวมขึ้นโดยนักวิจัยด้านภาษาศาสตร์ที่เพิ่มน้ำหนักความจริงจังให้พจนานุกรมที่ดูไม่น่าจะเป็นเรื่องนี้ เป็นเรื่องขึ้นมาจริงๆ ไม่ใช่ในฐานะนามานุกรมแบบแบรนด์ไดเร็คทอรี่ (brand directory) ทั่วไปที่อาจพบเห็นได้ไม่ยาก แต่เป็น Dictionary of Brand Names จริงๆ Masayoshi Yamada ศาสตราจารย์กิตติคุณในวัย 74 ปี จากมหาวิทยาลัยชิมาเนะในเมืองมัตสึเอะ คือนักวิจัยด้านภาษาศาสตร์ที่รวบรวมแบรนด์สินค้าชื่อดังกว่า 6,500 รายการมาบรรจุไว้ในพจนานุกรมว่าด้วยแบรนด์สินค้าฉบับภาษาอังกฤษ-ญี่ปุ่น ฉบับนี้ จะว่าไปนี่ก็คงไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น เพราะความคิดของ Yamada ที่จะรวบรวมแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์ในรูปของพจนานุกรมเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อครั้งที่เขาเดินทางไปเป็นนักวิจัยอยู่ในมหาวิทยาลัยแคนซัส

Read More

โอกินาวา

 แม้ว่าญี่ปุ่นจะได้ชื่อว่าเป็นสังคมที่มีรากทางวัฒนธรรมเข้มแข็งและเด่นชัด แต่คงไม่มีดินแดนของญี่ปุ่นส่วนใดที่จะให้ความรู้สึกแปลกแตกต่างออกไปจากความเป็นญี่ปุ่นได้มากเท่ากับหมู่เกาะทางตอนใต้ ที่ชื่อ โอกินาวา เป็นแน่ เพราะด้วยระยะทางที่ไกลโพ้นออกไปจากผืนแผ่นดินส่วนใหญ่ของญี่ปุ่น และประวัติศาสตร์ความเป็นมาในอดีตของหมู่เกาะกว่า 100 เกาะที่ทอดตัวยาวรวมระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตรแห่งนี้ และทำให้การไปเยือนโอกินาวาในความรู้สึกของคนญี่ปุ่นกลายประหนึ่งเดินทางไปต่างประเทศเลยทีเดียว เรียกได้ว่าเป็นต่างประเทศเสียยิ่งกว่าการเดินทางไปเที่ยวเกาหลี หรือเดินทางมาเที่ยวประเทศไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยซ้ำ แม้ความเป็นมาของโอกินาวาอาจสืบย้อนกลับไปได้ไกลถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7-8 แต่โอกินาวาเพิ่งถูกผนวกรวมเข้ามามีสถานะที่เป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นอย่างจริงจังก็เมื่อสมัยเมจิ (1868-1912) โดยได้รับการสถาปนาให้เป็นจังหวัดโอกินาวา เมื่อปี 1879 หรือเมื่อร้อยกว่าปีมานี้เอง หลังจากดินแดนแห่งนี้ถูกช่วงชิงสิทธิในการถือครองทั้งจากจีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น มาเนิ่นนาน ความสำคัญของโอกินาวาปรากฏให้เห็นเด่นชัดในช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อหมู่เกาะน้อยใหญ่ของโอกินาวากลายเป็นสมรภูมิการรบพุ่งระหว่างกองกำลังของสหรัฐอเมริกาและกองทัพของจักรพรรดิญี่ปุ่น ที่ดุเดือดและเข้มข้นที่สุดแห่งหนึ่งของประวัติศาสตร์สงคราม ความปราชัยของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้โอกินาวาต้องตกอยู่ภายใต้การครอบครองของสหรัฐอเมริกานานกว่า 27 ปี และทำให้โอกินาวากลายเป็นที่ตั้งของฐานทัพสหรัฐอเมริกา ในการก่อสงครามทั้งในคาบสมุทรเกาหลี (1950-1953) หรือแม้กระทั่งในสงครามเวียดนาม (1965-1972) ด้วย และแม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมอบคืนอำนาจอธิปไตยของโอกินาวาให้กลับคืนสู่ญี่ปุ่นในปี 1972 แต่สหรัฐอเมริกาก็ยังคงฐานทัพอยู่ในโอกินาวา  แต่ประวัติการณ์ของโอกินาวา ใช่ว่าจะมีแต่เรื่องของสงครามนะคะ เพราะด้วยเหตุของทำเลที่ตั้งทำให้โอกินาวามีสถานะเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรมหลากหลายไล่เรียงตั้งแต่พ่อค้าจากแผ่นดินใหญ่ของจีนไปจนจรดผู้คนจากหมู่เกาะทะเลใต้ รวมถึงชาวมาเลย์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และแน่นอนว่าต้องมีไทยด้วย มรดกทางวัฒนธรรมที่โอกินาวาได้รับจากการติดต่อสัมพันธ์กับผู้คนหลากหลายเผ่าพันธุ์ ไม่ได้ทำให้โอกินาวาสูญเสียเอกลักษณ์ดั้งเดิมแต่อย่างใด หากแต่กลายเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนเสริมต่อเติมให้เกิดสิ่งใหม่ในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมแบบโอกินาวาขึ้นมาเองอีกต่างหาก ความใกล้ชิดระหว่างโอกินาวากับจีนส่งผลให้วัฒนธรรมของโอกินาวามีกลิ่นอายความเป็นจีนแทรกอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดนตรี เครื่องเคลือบ หรือแม้แต่คาราเต้ (Karate) ที่แปลว่ามือเปล่า

Read More

ดิบ…แต่ไม่เถื่อน

 ท่านผู้อ่านคิดเห็นแบบเดียวกับผู้เขียนไหมคะว่า กิจกรรมในความทรงจำที่เกี่ยวเนื่องกับอาหารถือเป็นประสบการณ์ที่เล่าสู่ และแลกเปลี่ยนกันได้ไม่รู้เบื่อจริงๆ เพราะลำพังแค่เพียงปลาดิบ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของสังคมญี่ปุ่น ยังมีความหลากหลายในกระบวนการนำเสนอ จนพ้นไปจากการเป็นเพียงชิ้นเนื้อที่ไม่ผ่านการปรุงอย่างที่เราท่านคุ้นเคยไปไกลทีเดียว คนญี่ปุ่นเชื่อว่าการบริโภคปลาดิบมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะนอกจากจะได้สารอาหารครบถ้วนจากเนื้อปลาแล้ว การที่ไม่ผ่านการปรุงไม่ว่าจะเป็นการผัด ทอด หรือแม้แต่ต้ม นึ่ง ย่าง ก็ทำให้โอกาสเสี่ยงที่จะได้รับน้ำมันและสารปนเปื้อนอื่นๆ ในขั้นตอนเหล่านั้นลดลงไปด้วย  การบริโภคปลาดิบ นอกจากจะเป็นความรู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติแบบเซนของญี่ปุ่นแล้ว ยังเป็นอาหารเพื่อสุขภาพไปด้วยในตัว ครั้งหนึ่งผู้เขียนมีโอกาสไปทานมื้อกลางวันกับหมู่มิตรชาวญี่ปุ่นในร้านซูชิแบบ Kaiten ที่เป็นสายพานลำเลียงอาหารมาให้เลือกเป็นจานต่างๆ ซึ่งเป็นร้านประจำของพวกเรา เชฟคงเห็นว่าวันนั้นมีสาวๆ มาด้วยกันหลายคน จึงถือโอกาสแนะนำเมนูอาหารพิเศษประจำวันให้ได้ลิ้มลอง อาหารที่ว่าเป็นปลาตัวเล็กใส ซึ่งมีรูปพรรณสัณฐานเหมือนปลาเข็มของไทย ประมาณนั้นนะคะ นับจำนวนได้ ก็สักสิบกว่าตัว ใส่อยู่ในแก้วใสสะอาด ด้วยความสงสัยจึงถามเพื่อนๆ ญี่ปุ่นว่า เมนูที่ว่าดีต่อสุขภาพนั้นดีอย่างไร  เชฟยืนอธิบายสรรพคุณอย่างออกรสว่า เจ้าปลาเป็นๆ ตัวน้อยที่ว่านี้ จะช่วยดูดซึมของเสียหรือพิษในระบบทางเดินอาหาร ทานบ่อยๆ จะทำให้สุขภาพดี หุ่นดี แต่ต้องทานกันสดๆ ค่ะ แล้วให้มันว่ายกระดื๊บๆ อยู่ในท้องของเรา     กลุ่มเพื่อนที่เป็นชาวญี่ปุ่นเอง แม้จะเคยทราบว่ามีเมนูแบบนี้มาก่อน แต่ทุกคนในที่นั้น ก็ยังไม่มีใครเคยทดลองนะคะ เราก็มองหน้ากันไปมา ว่าจะทดลองดูไหม และด้วยความอยากรู้อยากเห็นของทุกคน ในที่สุด...เอ้า.. ลองก็ลอง...   ดื่มเลย...ดื่มเลย

Read More

ไปดูเบสบอล

 อาจจะด้วยเหตุที่บ้านเรือนของชาวญี่ปุ่นมีขนาดเล็ก จึงเป็นเหตุให้ชาวญี่ปุ่นนิยมแสวงหากิจกรรมยามว่างด้วยการออกไปพักผ่อนกลางแจ้ง ซึ่งไล่เรียงได้ตั้งแต่กิจกรรมชมดอกซากุระ การเดินป่า หรือแม้กระทั่งไปชมกีฬาประเภทต่างๆ โดยเฉพาะกีฬาเบสบอล ที่ถือเป็นกีฬายอดฮิตของชาวญี่ปุ่นมาเนิ่นนาน ฤดูการแข่งขันเบสบอลของญี่ปุ่นเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคม เรื่อยไปจนถึงปลายเดือนกันยายน ของแต่ละปี หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเริ่มต้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ผ่านฤดูร้อน ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงต้นของฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งถือว่าเป็นระยะเวลาที่เหมาะสำหรับการประกอบกิจกรรมกลางแจ้ง การนัดหมายไปพบกันในสนามแข่งขันเบสบอล เป็นวิถีของผู้คนในวัยทำงานในญี่ปุ่นก็ว่าได้ โดยใครไปก่อนก็นั่งชมนั่งเชียร์ทีมที่แข่งขันไปพลางๆ พร้อมกับรองท้องด้วย ทักโกะยากิ และยากิโซบะ แกล้มไปกับเบียร์สดที่มีสาวเบียร์เดินขายอยู่ทั่วทุกมุมบนอัฒจันทร์ของสนาม แต่หากจะเรียกสาวเบียร์สดของญี่ปุ่นว่าสาวเชียร์เบียร์แบบในบ้านเราคงไม่ถูกต้องนัก เพราะหน้าที่ของพวกเธอแทบไม่ต้องเชียร์เลย เนื่องจากในสังคมญี่ปุ่นนั้น ใครที่เป็นแฟนเบียร์ยี่ห้อใด ก็จะรักใคร่อยู่เฉพาะเบียร์ยี่ห้อนั้น อย่างสุดใจ เรียกว่ามีแบรนด์รอยัลตี้สูงจริงๆ หน้าที่ของสาวเบียร์ในสนามแข่งขันเบสบอลเหล่านี้ จึงอยู่ที่การแบกถังเบียร์สดขึ้นหลัง โดยมีคันโยก สำหรับกดปั๊มรินเบียร์ใส่แก้ว มองดูคล้ายเป็นถังออกซิเจนของมนุษย์อวกาศ ในขณะเดียวกันในบางมุมมองก็เหมือนเกษตรกรกำลังฉีดพ่นยากำจัดศัตรูพืชไม่น้อยเช่นกัน การดื่มเบียร์หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสนามกีฬาก็ดีหรือที่อื่นๆ ในสังคมญี่ปุ่นไม่ได้ถูกทำให้กลายเป็นกิจกรรมผิดบาปเหมือนในบ้านเรานะคะ เพราะเขาถือว่าทุกคนต้องดูแลสุขภาพร่างกายและสติได้อยู่แล้ว จะมียกเว้นก็เฉพาะในยามที่ต้องขับขี่ยวดยานพาหนะ ซึ่งกฏหมายว่าด้วยการขับขี่ขณะมึนเมาหรืออยู่ภายใต้ฤทธิ์เดชของแอลกอฮอล์นั้นหนักหน่วงมากจนไม่มีใครอยากเสี่ยง กระนั้นก็ดี ใช่ว่าการไปนั่งชมเบสบอลในสนามแข่งขันจะให้บรรยากาศแบบเดียวกันหมด เพราะด้วยเหตุที่การสร้างสนามเบสบอลในเขตเมืองใหญ่ๆ หมายถึงเงินลงทุนจำนวนมหาศาล ทั้งค่าที่ดินและการก่อสร้าง สนามเบสบอลรุ่นใหม่ๆ จึงพัฒนาปรับปรุงให้มีความสามารถในการรองรับกิจกรรมได้หลากหลายขึ้น แทนที่จะเป็นเพียงสนามกีฬาอย่างเดียว กิจกรรมที่เพิ่มมากขึ้นควบคู่กับความพยายามที่จะเอาชนะขีดจำกัดเรื่องดินฟ้าอากาศทำให้รูปแบบของสนามเบสบอลรุ่นใหม่ๆ แปลงสภาพเป็นสนามในร่ม หรือ indoor stadium ซึ่งมีหลังคาปิดและควบคุมอุณหภูมิภายในด้วยเครื่องปรับอากาศ เพื่อนชาวญี่ปุ่นของผู้เขียนคนหนึ่ง เธอพูดถึงสนามเบสบอลแบบที่มีหลังคานี้ด้วยภาษาไทยที่น่ารักแบบของเธอว่า “สนามที่มีฝาปิด” ส่วนสนามเบสบอลแบบดั้งเดิมก็ถูกเธอเรียกว่า “สนามไม่มีฝา” ซึ่งฟังแล้วก็ให้ความรู้สึกชัดเจนและน่าเอ็นดูไปอีกแบบหนึ่ง แม้ว่าเธอจะเป็นแฟนของทีม

Read More

Be Prepared! จงเตรียมพร้อม!

 ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งเข้าใจผิด คิดว่าผู้เขียนกำลังจะชวนท่านทั้งหลายไปเคลื่อนไหวอะไรนะคะ เพียงแต่บรรยากาศหลังจากชื่นมื่นระรื่นระเริงนับตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นมา เชื่อว่าหลายท่านคงต้องใช้เวลาในการปรับตัว กว่าจะนำพาความรู้สึกต่างๆ ในช่วงเทศกาลวันหยุดให้กลับมาเป็นปกติ ก่อนจะเดินหน้าสู่การทำงานอีกครั้ง หรืออาจมีบางท่านเตรียมตัววางแผนที่จะไปพักผ่อนยาวๆ อีกครั้ง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่นานนับจากนี้แล้วก็ได้ ขณะที่ผู้ที่มีเยาวชนในการดูแล คงต้องเตรียมความพร้อมให้บุตรหลานสำหรับการเริ่มต้นภาคเรียนใหม่ที่กำลังเคลื่อนใกล้เข้ามา และหลายท่านอาจเป็นกังวลอยู่กับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของบุตรหลาน โดยเฉพาะที่กำลังขยับชั้นเรียนจากประถมเข้าสู่มัธยม หรือจากมัธยมไปสู่ขั้นอุดมศึกษา สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนสังเกตเห็นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คือการรณรงค์ส่งเสริมการขายของในห้างสรรพสินค้าน้อยใหญ่ของเมืองไทยช่วงถัดจากนี้ มักจะอยู่ในธีมว่าด้วย สนุกหรรษารับลมร้อน มหาสงกรานต์ ซึ่งเป็นกิจกรรมภาคบันเทิง ก่อนที่จะย้อนกลับมาเข้าสู่ธีมต้อนรับการเปิดภาคเรียน หรือ back to school กันอย่างเอิกเกริก แต่เด็กญี่ปุ่นซึ่งจะกลับเข้าโรงเรียนในช่วงต้นเดือนเมษายนที่กำลังจะมาถึงนี้ มีบรรยากาศการเตรียมตัวก่อนการเปิดภาคเรียนที่ดูจะแตกต่างกับความเป็นไปในบ้านเรา เพราะสังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมแห่งการเตรียมตัว และมักจะเป็นการเตรียมตัวล่วงหน้ากันเป็นปี หรือหากจะเป็นการส่งเสริมการขายทั่วไป ก็มักจะมีการเตรียมตัวกันเป็นฤดูกาล หรืออย่างน้อยก็ 2 เดือนขึ้นไป ตัวอย่างง่ายๆ หนึ่ง ก็คือตั้งแต่ผ่านพ้นการเฉลิมฉลองปีใหม่ ห้างสรรพสินค้าและร้านรวงต่างๆ ก็จะเริ่มประดับและวางสินค้าอันเกี่ยวเนื่องกับวันวาเลนไทน์กันแล้ว และเมื่อถึงวันวาเลนไทน์จริงๆ สินค้าที่วางขายกลับเป็นอุปกรณ์การเรียนการสอน เครื่องแบบและกระเป๋านักเรียนที่จะต้องใช้ในเดือนเมษายน ปรากฏการณ์เช่นว่านี้ หากหนุ่มสาวคนไหนที่อยู่ในญี่ปุ่น คิดจะหวังน้ำบ่อหน้าในช่วงใกล้ๆ ประมาณว่ารอให้นัดได้ก่อนแล้วค่อยเลือกซื้อของขวัญช่วงใกล้ๆ วัน อาจต้องรอไปถึงปีหน้าเลยก็ได้นะคะ เพราะเมื่อถึงวันแห่งความรักจริงๆ สินค้าก็อาจจะพอมีอยู่บ้าง แต่ก็จะน้อย และมักจะกลายเป็นสินค้าเกรดสอง เกรดสาม ซึ่งสะท้อนมาตรฐานของผู้ซื้อไปในตัว เรื่องชุดนักเรียน และอุปกรณ์การศึกษาของญี่ปุ่นก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน คือ ถ้าเตรียมตัวมาไม่ดี และหวังจะไปซื้อหาในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนเปิดเรียนเหมือนที่บ้านเราคุ้นเคย

Read More