Home > Sport

“ไมโล ฟุตซอล 2019 Road to Barcelona” เปิดฤดูกาลยิ่งใหญ่ครบรอบ 10 ปี ปั้นตำนานนักเตะรุ่นจิ๋ว

“ไมโล ฟุตซอล 2019 Road to Barcelona” เปิดฤดูกาลยิ่งใหญ่ครบรอบ 10 ปี ปั้นตำนานนักเตะรุ่นจิ๋วด้วยการส่งเสริมให้เด็กไทยเติบโตสู่ความสำเร็จด้วยกีฬาเพราะกีฬาคือครูชีวิต ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มไมโล นำโดย นายวิคเตอร์ เซียห์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เนสท์เล่ อินโดไชน่า นายไชยงค์ สกุลบริรักษ์ ผู้อำนวยการบริหารธุรกิจผลิตภัณฑ์นมและโภชนาการ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด จัดกิจกรรม “ไมโล ฟุตซอล 2019 Road to Barcelona” ตอกย้ำวิสัยทัศน์ของแบรนด์ และฉลองครบรอบ 10 ปีการแข่งขันไมโล ฟุตซอล ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นของไมโลในการปั้นตำนานนักเตะรุ่นจิ๋วด้วยการส่งเสริมให้เด็กไทยเติบโตสู่ความสำเร็จด้วยกีฬาเพราะกีฬาคือครูชีวิต ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ สยามบรมราชกุมารี และทุนการศึกษารวม 676,000 บาท พร้อมไฮไลต์ในปีนี้ 1) ไมโล กรีนการ์ดหรือใบเขียวไมโล สนามแรกในไทยที่มอบกรีนการ์ดให้เด็กที่แสดงความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาระหว่างการแข่งขัน 2) ไมโล แคมป์

Read More

“4F” แบรนด์ไลฟ์สไตล์กีฬาจากประเทศโปแลนด์ เปิดตัวร้านในรูปแบบโมโนแบรนด์ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

"4F" โฟร์เอฟ แบรนด์ไลฟ์สไตล์กีฬาจากประเทศโปแลนด์ เปิดตัวร้านในรูปแบบโมโนแบรนด์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ ชั้น 1 ห้างสรรพสินค้าสยามดิสคัฟเวอรี ห้างสรรพสินค้าชั้นนำของประเทศไทย ผู้ผสมผสานเทคโนโลยีแบบอินเตอร์แอคทีฟ (Interactive) เพื่อสร้างประสบการณ์รีเทล (Retail) แบบใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ แบรนด์ "4F" (โฟร์เอฟ)ได้ก่อตั้งขึ้นมาในปี 2007 โดย Mr. Igor Klaja (อิกอร์ คลาจา) ด้วยความหลงไหลในกีฬา เขาจึงตัดสินใจที่จะสร้างแบรนด์ไลฟ์สไตล์กีฬาเป็นของตัวเอง โดยเขาต้องการที่จะสร้างสรรค์ชุดกีฬาคุณภาพดีที่คนทุกประเภทสามารถสวมใส่ได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักกีฬามืออาชีพหรือเล่นกีฬาเป็นงานอดิเรกก็ตาม ก่อนหน้าที่ Klaja จะเริ่มแบรนด์เป็นของตัวเอง เขาได้มีประสบการณ์ทำงานเป็นพนักงานขายที่ร้านรวมอุปกรณ์กีฬาแห่งหนึ่ง ซึ่งหนึ่งในไอเท็มที่ขายดีมากที่สุดของทางร้านคือ แจ็คเก็ตผ้าฟลีซ เขามองเห็นศักยภาพของสินค้าชิ้นนี้เขาจึงเริ่มเดินทางไปทั่วประเทศโปแลนด์เพื่อขายสินค้าชนิดนี้จากรถของเขา หลังจากที่ได้รับการตอบรับสักระยะหนึ่ง เขาจึงเริ่มเพิ่มชนิดของสินค้าให้มีมากขึ้นและเปิดตัวในชื่อแบรนด์ 4FUN ในปี 2003 และเปลี่ยนชื่อของแบรนด์เป็น "4F” ที่ทั่วโลกรู้จักกันในวันนี้ ปัจจุบัน แบรนด์ "4F” นั้นเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและมีเอกลักษณ์งานดีไซน์ที่สามารถใช้ได้จริงและทันสมัย แบรนด์ "4F” เป็นแบรนด์ไลฟ์สไตล์กีฬาชั้นนำระดับโลกที่มีร้านมากกว่า 200 แห่งใน

Read More

เจ้าภาพฟุตบอลโลก ความหวังที่อาจเป็นฝันร้าย

ขณะที่การแข่งขันฟุตบอลโลกในสังเวียนฟาดแข้งกำลังดำเนินไปอย่างออกรสชาติ และท่ามกลางผลการแข่งขันที่ส่งความสมหวังผิดหวังให้แก่เหล่ากองเชียร์ของทีมโปรดแต่ละทีมไปแบบระคนกัน ความเป็นไปนอกสนามแข่งขัน และความคาดหวังจากผลของการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันก็ดำเนินไปด้วยความเข้มข้นและลุ้นระทึกไม่แตกต่างกัน ผลประโยชน์จำนวนมหาศาลที่แต่ละประเทศคาดหวังไว้จากการเป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาระดับโลก ทำให้หลายประเทศพยายามอย่างยิ่งยวดในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ด้วยหวังว่ากรณีดังกล่าวจะเป็นจักรกลในการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจการลงทุนภายในประเทศ นอกเหนือจากการสร้างภาพลักษณ์ให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ การแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซียก็ดำเนินไปในวิถีที่ไม่แตกต่างกันมากนักโดยรัฐบาลรัสเซียตั้งความหวังไว้ว่า ฟุตบอลโลกครั้งนี้จะช่วยหนุนนำให้เศรษฐกิจของรัสเซียเติบโตขึ้น ก่อนที่คณะกรรมการของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) จะลงมติตัดสินใจมอบสิทธิการเป็นเจ้าภาพให้กับรัสเซีย ชนะคู่แข่งขันทั้งโปรตุเกส/สเปน และ เบลเยียม/เนเธอร์แลนด์ ที่เสนอตัวเข้ามาในฐานะเจ้าภาพร่วม ในช่วงปลายปี 2010 ตลอดระยะเวลากว่า 8 ปี ของการเตรียมการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกครั้งนี้ เป็นที่คาดการณ์ว่ารัสเซียได้ใช้งบประมาณไปเป็นจำนวนมากถึง 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยหวังว่ากรณีดังกล่าวจะเป็นการเปิดศักราชแห่งความรุ่งเรืองและการพัฒนาครั้งใหม่ให้กับ 11 เมืองที่จะใช้เป็นสังเวียนของการแข่งขัน และจะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของเมืองเหล่านี้เติบโตขึ้นร้อยละ 15 ในช่วงเวลานับจากนี้ การลงทุนเพื่อก่อสร้างและปรับปรุงสนามกีฬาให้ได้มาตรฐานรองรับการแข่งขันระดับโลกดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ที่มีงบประมาณรวมกว่า 3.53 แสนล้านรูเบิล โดยงบประมาณส่วนใหญ่ได้รับการจัดสรรไปสำหรับการลงทุนในระบบการบินและการพัฒนาสนามบิน ขณะที่การสร้างโรงแรมใหม่ในเมืองที่เป็นสถานที่แข่งขันก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่มีการลงทุนเพื่อรองรับกับทั้งนักกีฬาและนักท่องเที่ยวที่จะเข้าชมการแข่งขันด้วย การเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกของรัสเซียได้รับการประเมินว่าจะส่งผลให้ GDP ของรัสเซียเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และมีรายได้จากการท่องเที่ยว 1.2-1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยในช่วงเวลาระหว่างที่มีการแข่งขันฟุตบอลโลกที่มีกำหนดนานนับเดือนนี้ ภาคโรงแรมของรัสเซียจะมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาปกติ ประเด็นที่สำคัญมากกว่าตัวเลขรายได้และการลงทุนดังกล่าวอยู่ที่ตลอดระยะเวลาของการเตรียมตัวเพื่อเป็นเจ้าภาพการแข่งขันครั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้เกิดการจ้างงานในภูมิภาคต่างๆ ของรัสเซียรวมไม่ต่ำกว่า 2 แสนตำแหน่งงาน

Read More

“เคทีซี” จับมือ “สปอร์ต รีโวลูชั่น” เปิดตัวบัตรเครดิต “KTC-REV” เจาะกลุ่มคนรักกีฬาและการออกกำลังกายใบแรกของไทย

“เคทีซี” เจาะการตลาดแบบเซ็กเม้นเทชั่น จับมือพันธมิตร “สปอร์ต รีโวลูชั่น” ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้ากีฬาแบรนด์ดัง เปิดตัวบัตรเครดิต “KTC-REV VISA Platinum” และ “KTC-REV Platinum MasterCard” บัตรฯ ที่มุ่งเน้นตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรักกีฬาโดยเฉพาะใบแรกของประเทศไทย โดดเด่นด้วยโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษที่โดนใจ หวังขยายฐานเจาะกลุ่มสมาชิกที่รักการเล่นกีฬาทุกประเภท คาดส่งผลกระตุ้นยอดรวมการใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ในหมวดกีฬาเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 20% พร้อมเปิดแคมเปญ “ที่สุดของประสบการณ์ ก้าวข้ามขีดจำกัด The Ultimate Experience to Break Your Limits” ดึงอินฟลูเอ็นเซอร์ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ผ่านโซเชียลมีเดีย ส่งเสริมให้คนไทยก้าวข้ามขีดจำกัดของตนเอง และหันมาออกกำลังกายเพิ่มขึ้น นางสาวสิรีรัตน์ คอวนิช ผู้อำนวยการ ธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย​ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ปัจจุบัน คนไทยให้ความสำคัญกับการเล่นกีฬาและการออกกำลังกายมากขึ้น รวมถึงเทรนด์การแต่งกายสไตล์สปอร์ตก็ได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้ยอดรวมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีในหมวดกีฬาปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 4 ปี

Read More

ฟุตบอลฟีเวอร์ “บูม” ไม่หยุด “สาธิต-อินเตอร์” ผุดคอมเพล็กซ์

ภาพการแข่งขัน “ศึกฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 28” ของ 4 โรงเรียนดัง สวนกุหลาบ กรุงเทพคริสเตียน อัสสัมชัญ และเทพศิรินทร์ ที่เหล่ากองเชียร์แห่เข้าชมล้นอัฒจันทร์สนามศุภชลาศัย สะท้อนกระแสฟุตบอลฟีเวอร์ที่ยังร้อนแรงไม่หยุดในกลุ่มเด็กวัยรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี รวมถึงเหล่าแข้งจิ๋วตั้งแต่อายุ 6 ขวบที่บรรดาผู้ปกครองต่างพุ่งเป้าปลุกปั้นลูก เพื่อหวังเป็นซูเปอร์สตาร์ในอนาคต เมื่อ “นักฟุตบอล” กลายเป็นกีฬาอาชีพที่สามารถสร้างรายได้สูงถึงหลักแสนบาทต่อเดือน ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจน จากเดิมมีเพียงโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาชื่อดังที่เปิดโควตานักกีฬาฟุตบอล คัดเลือกเด็กจบประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเด็กที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับทุนเรียนฟรีและอยู่ประจำ “กิน-นอน” ไม่ต่างจากอะคาเดมีระดับประเทศ ปัจจุบันพบว่า โรงเรียนมัธยมศึกษาแทบทุกแห่งหันมาเปิดโควตานักกีฬาฟุตบอล เพื่อสร้างทีมนักเตะตั้งแต่อายุ 12-18 ปี ไม่เว้นแม้กระทั่งโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนนานาชาติชื่อดัง เป็นจุดขายดึงดูดผู้ปกครอง นอกเหนือจากความโดดเด่นด้านการเรียนการสอน จิรวรรณ ชัยรุ่งเรือง รองผู้จัดการโรงเรียนสาธิตกรุงเทพธนบุรี เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีได้ขยายการเรียนการสอนเปิดโรงเรียนสาธิตกรุงเทพธนบุรีเมื่อเดือนเมษายน 2560 เพื่อเป็นต้นแบบของโรงเรียนยุคใหม่ ภายใต้หลักสูตรสาธิตตามแบบกระทรวงศึกษาธิการ เพิ่มเติมภาษาที่สองและสาม คือ ภาษาอังกฤษและภาษาจีน โดยเปิดรับนักเรียนตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาล (อายุ 2

Read More

Ari Football Concept Store เปลี่ยนความคลั่งไคล้เป็นธุรกิจ

 สำหรับคอลูกหนังเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชื่นชอบรองเท้าสตั๊ดด้วยแล้ว น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก Ari Football Concept Store หรือ “อาริ” ร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับฟุตบอลแบบครบวงจร ที่เกิดขึ้นมาจากความคลั่งไคล้ในกีฬาลูกหนังของศิวัช วสันตสิงห์ เริ่มต้นจากร้านเล็กๆ เพียงไม่กี่ตารางเมตร ณ วันนี้ อาริขยายสาขาออกไปมากกว่า 10 สาขา ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เติบโตขึ้นจนกลายเป็นธุรกิจที่น่าจับตามอง ร้านอาริก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2553 ด้วยความชื่นชอบในกีฬาฟุตบอลและรองเท้าสตั๊ดเป็นทุนเดิมของศิวัช วสันตสิงห์ บวกกับข้อเท็จจริงที่ว่าขณะนั้นเมืองไทยยังไม่มีร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับฟุตบอลโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่จะเป็นร้านที่ขายอุปกรณ์กีฬาหลายประเภทรวมๆ กัน  ความคิดที่จะเปิดร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับกีฬาฟุตบอลแบบเต็มรูปแบบจึงเกิดขึ้น เพื่อให้คนไทยได้มีโอกาสใช้สินค้าที่มีคุณภาพ หลากหลาย ได้ใช้สินค้าของทีมฟุตบอลที่ตัวเองชอบ และหาซื้อสะดวกไม่ต้องเดินทางไปซื้อถึงต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่มาของ “Ari Football Concept Store” ร้านขายอุปกรณ์กีฬาฟุตบอลแบบครบวงจร  โดยสาขาแรกตั้งอยู่บนพื้นที่เล็กๆ ขนาดเพียง 25 ตารางเมตร ภายในโครงการอารีน่า 10 ย่านทองหล่อ ด้วยเงินลงทุนตั้งต้น 2 ล้านบาท โดยมีธารา เทย์เลอร์ (Tahra

Read More

Trail Running ข้ามผ่านทุกขีดจำกัดของการวิ่ง

 ต้องยอมรับว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กระแสการวิ่งเพื่อสุขภาพมาแรงมากจริงๆ เห็นได้จากกิจกรรมงานวิ่งที่จัดขึ้นแทบทุกเดือน มีหลากประเภท หลายระยะทาง หลายสนาม ไล่เรียงไปตั้งแต่ Fun Run, มินิมาราธอน, ฮาล์ฟมาราธอน, ฟูลมาราธอน, ไตรกีฬา ไปจนถึงการวิ่งเทรล (Trail Running)  สำหรับการวิ่งประเภทต่างๆ น่าจะเป็นที่รู้จักกันดีในวงกว้าง แต่สำหรับการวิ่งเทรล หลายคนอาจจะสงสัยว่ามันคืออะไร แตกต่างจากการวิ่งประเภทอื่นอย่างไร  การวิ่งเทรล หรือ Trail Running เป็นการวิ่งแบบผจญภัยบนพื้นที่ธรรมชาติ นักวิ่งต้องเผชิญความท้าทายที่มากกว่าการวิ่งบนถนนปกติ เส้นทางการวิ่งอาจจะประกอบไปด้วยภูเขา ทางชัน ป่า ที่แน่ๆ คือไม่ได้วิ่งบนถนนปกติ หรือเรียกแบบเข้าใจง่ายๆ อาจจะเรียกได้ว่ามันคือการวิ่งวิบากนั่นเอง ในต่างประเทศการวิ่งเทรลเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ช่วงปี 2006-2012 เทรนด์ของการวิ่งเทรลเพิ่มขึ้นถึง 30%  สำหรับในประเทศไทยในช่วงหลังมานี้กระแสการวิ่งเทรลเริ่มคึกคักมากขึ้น ดูได้จากจำนวนนักวิ่งเทรลคนไทยและงานวิ่งเทรลที่จัดในเมืองไทยซึ่งมีจำนวนมากขึ้น บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด จำกัด (มหาชน) หรือเคทีซี ตอบรับกระแสการวิ่งเทรล จึงได้จัดกิจกรรม “Go Adventure

Read More

ไปดูเบสบอล

 อาจจะด้วยเหตุที่บ้านเรือนของชาวญี่ปุ่นมีขนาดเล็ก จึงเป็นเหตุให้ชาวญี่ปุ่นนิยมแสวงหากิจกรรมยามว่างด้วยการออกไปพักผ่อนกลางแจ้ง ซึ่งไล่เรียงได้ตั้งแต่กิจกรรมชมดอกซากุระ การเดินป่า หรือแม้กระทั่งไปชมกีฬาประเภทต่างๆ โดยเฉพาะกีฬาเบสบอล ที่ถือเป็นกีฬายอดฮิตของชาวญี่ปุ่นมาเนิ่นนาน ฤดูการแข่งขันเบสบอลของญี่ปุ่นเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคม เรื่อยไปจนถึงปลายเดือนกันยายน ของแต่ละปี หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเริ่มต้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ผ่านฤดูร้อน ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงต้นของฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งถือว่าเป็นระยะเวลาที่เหมาะสำหรับการประกอบกิจกรรมกลางแจ้ง การนัดหมายไปพบกันในสนามแข่งขันเบสบอล เป็นวิถีของผู้คนในวัยทำงานในญี่ปุ่นก็ว่าได้ โดยใครไปก่อนก็นั่งชมนั่งเชียร์ทีมที่แข่งขันไปพลางๆ พร้อมกับรองท้องด้วย ทักโกะยากิ และยากิโซบะ แกล้มไปกับเบียร์สดที่มีสาวเบียร์เดินขายอยู่ทั่วทุกมุมบนอัฒจันทร์ของสนาม แต่หากจะเรียกสาวเบียร์สดของญี่ปุ่นว่าสาวเชียร์เบียร์แบบในบ้านเราคงไม่ถูกต้องนัก เพราะหน้าที่ของพวกเธอแทบไม่ต้องเชียร์เลย เนื่องจากในสังคมญี่ปุ่นนั้น ใครที่เป็นแฟนเบียร์ยี่ห้อใด ก็จะรักใคร่อยู่เฉพาะเบียร์ยี่ห้อนั้น อย่างสุดใจ เรียกว่ามีแบรนด์รอยัลตี้สูงจริงๆ หน้าที่ของสาวเบียร์ในสนามแข่งขันเบสบอลเหล่านี้ จึงอยู่ที่การแบกถังเบียร์สดขึ้นหลัง โดยมีคันโยก สำหรับกดปั๊มรินเบียร์ใส่แก้ว มองดูคล้ายเป็นถังออกซิเจนของมนุษย์อวกาศ ในขณะเดียวกันในบางมุมมองก็เหมือนเกษตรกรกำลังฉีดพ่นยากำจัดศัตรูพืชไม่น้อยเช่นกัน การดื่มเบียร์หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสนามกีฬาก็ดีหรือที่อื่นๆ ในสังคมญี่ปุ่นไม่ได้ถูกทำให้กลายเป็นกิจกรรมผิดบาปเหมือนในบ้านเรานะคะ เพราะเขาถือว่าทุกคนต้องดูแลสุขภาพร่างกายและสติได้อยู่แล้ว จะมียกเว้นก็เฉพาะในยามที่ต้องขับขี่ยวดยานพาหนะ ซึ่งกฏหมายว่าด้วยการขับขี่ขณะมึนเมาหรืออยู่ภายใต้ฤทธิ์เดชของแอลกอฮอล์นั้นหนักหน่วงมากจนไม่มีใครอยากเสี่ยง กระนั้นก็ดี ใช่ว่าการไปนั่งชมเบสบอลในสนามแข่งขันจะให้บรรยากาศแบบเดียวกันหมด เพราะด้วยเหตุที่การสร้างสนามเบสบอลในเขตเมืองใหญ่ๆ หมายถึงเงินลงทุนจำนวนมหาศาล ทั้งค่าที่ดินและการก่อสร้าง สนามเบสบอลรุ่นใหม่ๆ จึงพัฒนาปรับปรุงให้มีความสามารถในการรองรับกิจกรรมได้หลากหลายขึ้น แทนที่จะเป็นเพียงสนามกีฬาอย่างเดียว กิจกรรมที่เพิ่มมากขึ้นควบคู่กับความพยายามที่จะเอาชนะขีดจำกัดเรื่องดินฟ้าอากาศทำให้รูปแบบของสนามเบสบอลรุ่นใหม่ๆ แปลงสภาพเป็นสนามในร่ม หรือ indoor stadium ซึ่งมีหลังคาปิดและควบคุมอุณหภูมิภายในด้วยเครื่องปรับอากาศ เพื่อนชาวญี่ปุ่นของผู้เขียนคนหนึ่ง เธอพูดถึงสนามเบสบอลแบบที่มีหลังคานี้ด้วยภาษาไทยที่น่ารักแบบของเธอว่า “สนามที่มีฝาปิด” ส่วนสนามเบสบอลแบบดั้งเดิมก็ถูกเธอเรียกว่า “สนามไม่มีฝา” ซึ่งฟังแล้วก็ให้ความรู้สึกชัดเจนและน่าเอ็นดูไปอีกแบบหนึ่ง แม้ว่าเธอจะเป็นแฟนของทีม

Read More

สนามกอล์ฟ…ชุมชน

 ขออนุญาตย้อนหลังกลับมาพูดเรื่อง “กอล์ฟ” อีกสักครั้ง เพราะเวลาที่พูดถึงกีฬา “กอล์ฟ” ในสังคมไทย อาจทำให้หลายคนนึกถึงหรือติดภาพลักษณ์ว่ากีฬาชนิดนี้เป็นกีฬาของผู้มีอันจะกิน มีปัจจัยของความมีราคาแพง และการพยายามยกสถานะทางสังคมประกอบอยู่ในการเล่นกีฬาชนิดนี้อยู่ไม่น้อย นอกจากนี้ การสร้างสนามกอล์ฟส่วนใหญ่ในเมืองไทย ยังมีประเด็นเกี่ยวเนื่องถึงเรื่องความเป็นธรรม ในการกระจายทรัพยากร และข้อถกเถียงเกี่ยวกับทำลายสิ่งแวดล้อมอยู่ด้วยเช่นกัน  แม้ว่าในปัจจุบัน จำนวนคนไทยที่หันมาเล่นกีฬากอล์ฟจะขยายตัว และกระจายไปยังคนกลุ่มต่างๆ เพิ่มขึ้นบ้าง แต่ภาพลักษณ์ของ “กอล์ฟ” กับการเป็นกีฬาที่จับต้องได้ หรือการเป็นวิถีของประชาชนทั่วไปในสังคมไทย นับว่ายังอยู่ค่อนข้างห่างไกลจากจุดดังกล่าว แต่สำหรับในญี่ปุ่นแล้ว กีฬากอล์ฟ ไม่ได้ให้ภาพที่พิเศษหรือสถานะทางสังคมที่แตกต่างจากกีฬาชนิดอื่นๆ ในญี่ปุ่นเลยนะคะ              ขณะที่การสร้างสนามกอล์ฟในหลายกรณี กลับยิ่งต้องเน้นความสำคัญของการออกแบบให้มีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุดอีกด้วย วิธีการจัดการแบบญี่ปุ่นนี่เอง ที่ถือเป็นกุญแจสำคัญ และน่าจะเป็นกรณีศึกษาที่นำมากล่าวถึงไว้ในที่แห่งนี้ พื้นที่รอบอ่าวโตเกียว เป็นตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจในกรณีที่ว่านี้ เพราะนอกจากพื้นที่โดยรอบซึ่งเป็นเกาะที่สร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์จากการถมขยะเพื่อขยายพื้นที่ให้กับเขตอุตสาหกรรมแล้ว พื้นที่ส่วนหนึ่งยังถูกกันไว้เป็นสวนสาธารณะ และสนามกอล์ฟอีกด้วย โดยเฉพาะพื้นที่ที่ต้องรับลมและคลื่นจากทะเล จากพื้นที่เสี่ยงภัยจึงแปลงสภาพมาเป็นแหล่งสันทนาการไปโดยปริยาย ซึ่งรวมถึงสนามกอล์ฟ ที่มีสถานะเป็นสนามกอล์ฟชุมชนไปด้วย ที่ผู้เขียนใช้คำว่าสนามกอล์ฟชุมชน ก็เพราะว่าสนามกอล์ฟในพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ บริหารจัดการโดยองค์กรบริหารระดับท้องถิ่น ซึ่งอาจบริหารเองในรูปแบบสวัสดิการชุมชน หรือให้สัมปทานผู้ประกอบการในท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ แต่เน้นว่าผลประโยชน์จะต้องกลับมาสู่ชุมชนเป็นหลัก สนามกอล์ฟชุมชนที่ว่านี้ ส่วนใหญ่อยู่ตามแนวเส้นทางของคลองหรือทางน้ำสายย่อยๆ ซึ่งมีทำนบกั้นอย่างดี แต่ในบางช่วงของปีอาจมีน้ำหลากท่วมท้นพื้นที่ขึ้นมา

Read More

เรื่องเล่าจากสนามกอล์ฟ

 ช่วงที่ผ่านมา คุณพ่อบ้านคนดี มีโอกาสได้ออกรอบตีกอล์ฟ กับเพื่อนพ้องน้องพี่ที่คุ้นเคยกันหลายรอบ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะช่วงเวลาวันหยุดในห้วงรอยต่อข้ามปี ทำให้พอจะมีเวลาวางมือจากภารกิจประจำได้บ้าง และถือเป็นโอกาส refresh ความสัมพันธ์กับผู้คนแวดล้อมไปในตัว เรื่องเล่าเกี่ยวกับบทสนทนาในก๊วนกอล์ฟ ย่อมเป็นไปอย่างออกรส เพราะนอกจากจะถามไถ่กันถึงสารทุกข์สุกดิบ ไล่เรียงตั้งแต่เรื่องอนาคตของบุตรหลาน ซึ่งกำลังเดินทางเข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ มาสู่การวิเคราะห์เรื่องภาวะเศรษฐกิจที่รุมเร้า หรือแม้กระทั่งวิพากษ์วิจารณ์เหตุบ้านการเมืองในช่วงที่ผ่านมา แต่ที่วาบแวบเข้ามาในความคิดของผู้เขียน กลับเป็นความรู้สึกถึงบรรยากาศครั้งเก่า เมื่อคราวที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่นกว่า 4 ปีและเป็นช่วงที่คุณพ่อบ้านคนดีต้องแสวงหาโอกาสออกรอบตีกอล์ฟในญี่ปุ่น แบบหัวเดียวกระเทียมลีบ แม้จะไม่คุ้นชินกับสำนวนหนังสือกำลังภายในมากนัก แต่ทุกครั้งที่เห็นคุณพ่อบ้านแบกถุงกอล์ฟไปออกรอบโดยลำพัง ก็ให้นึกถึงคำเปรียบเปรยที่ว่า กอล์ฟเป็นเหมือนเพลงกระบี่ ที่ต่อให้ฝึกซ้อมร่ายรำเท่าใด แต่หากไม่ได้ประลองกับผู้คนย่อมไม่อาจรู้ว่าฝีมือของเราพัฒนาก้าวหน้า มีจุดด้อยให้แก้ไขอย่างไร ให้ได้แอบยิ้มในใจ โชคดีที่ในญี่ปุ่นมีกิจกรรมกอล์ฟประเภทหนึ่งที่เรียกว่า โอเพ่น คอมเปะ ที่เป็นการออกเสียงแบบญี่ปุ่นซึ่งมาจากคำว่า open competition ที่เปิดโอกาสให้นักกอล์ฟต่างระดับฝีมือและต่างภูมิหลังได้มาร่วมออกรอบตีกอล์ฟกัน ข้อมูลเกี่ยวกับโอเพ่น คอมเปะ มีอยู่หลากหลายในหนังสือแจกฟรี ที่วางไว้ตาม Driving Range และร้านขายอุปกรณ์กอล์ฟซึ่งมีอยู่ทั่วไปแทบทุกหัวมุมถนน หากมองอย่างผิวเผินหนังสือเหล่านี้ก็เป็นเพียงสื่อโฆษณาที่เสนอขายอุปกรณ์กอล์ฟและแนะนำสนามกอล์ฟธรรมดา แต่ท้ายเล่มของหนังสือเหล่านี้จะมีตารางโอเพ่น คอมเปะ ของแต่ละสนามแจ้งไว้ให้เลือกกันล่วงหน้า 2-3 เดือนเลยทีเดียว แม้ว่าชื่อกิจกรรมจะมีนัยชี้ชัดว่าเป็นเรื่องของการแข่งขัน โดยมีของรางวัลมากมายรอคอยอยู่ แต่นักกอล์ฟส่วนใหญ่ไม่ได้จริงจังกับเรื่องดังกล่าวมากนัก หากได้รางวัลก็ถือเป็นกำไรเสียมากกว่า เพราะนอกจากนักกอล์ฟจะไม่รู้มือหรือระดับความสามารถผู้แข่งขันรายอื่นแล้ว ด้วยระบบการคิดคะแนนแบบพีเรีย และดับเบิ้ลพีเรีย ซึ่งไม่ต่างจากการคิดคะแนนแบบ 36

Read More