Home > Education

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์ และ Singapore Management University ผนึกกำลังเปิดโครงการ 3+1 Dual Degree Program เป็นครั้งแรกของไทย

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ Thammasat Business School (TBS) โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สุภัทรกุล คณบดี และ Singapore Management University (SMU) โดย Associate Professor Dr. Themin Suwardy, Associate Provost (PGP Education) ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ณ Singapore Management University ประเทศสิงคโปร์ เพื่อประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญในการเปิดโครงการ TBS x SMU 3+1 Dual Degree Program ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมของวงการศึกษาด้านบริหารธุรกิจเพื่อพัฒนาผู้นำแห่งอนาคตที่จะขับเคลื่อนธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ โครงการ TBS x SMU 3+1 Dual Degree Program

Read More

“สาธร อุพันวัน” 16 ปี บนเส้นทางการศึกษา กับแนวคิด “EdTech & Lifelong Learning”

“เราเริ่มทำออนดีมานด์ในปี 2548 ด้วยความตั้งใจหลักคือต้องการพัฒนาการศึกษา สร้างโอกาสให้กับเด็กไทย และช่วยพัฒนาสังคมโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ ซึ่งตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ออนดีมานด์ไม่ใช่แค่โรงเรียนกวดวิชา แต่มันคือช่องทางที่ทำให้เราในฐานะเอกชนสามารถเข้ามาช่วยพัฒนาการศึกษาได้” บทสนทนาเริ่มต้นระหว่าง “ผู้จัดการ 360” กับ “สาธร อุพันวัน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เลิร์น คอร์ปอเรชั่น จำกัด และผู้ก่อตั้งออนดีมานด์ สถาบันกวดวิชาอันดับหนึ่งของประเทศ กับบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนาการศึกษาของไทยที่ดำเนินมากว่า 16 ปี จากบัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาธรเริ่มต้นการทำงานในภาคการเกษตรของเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ราวๆ 6-7 ปี ก่อนที่จะเบนเข็มสู่เส้นทางธุรกิจด้านการศึกษา จากคำชวนของ โหน่ง-สุธี อัสววิมล ผู้ที่มีบทบาทสำคัญและเป็นอีกหนึ่งผู้ร่วมก่อตั้งออนดีมานด์ สาธรเล่าว่า “เรามีโอกาสเข้าไปทำโปรเจกต์โรงเรียนในโรงงาน ไปช่วยสอนหนังสือพี่ๆ ป้าๆ ที่เป็นพนักงานในโรงงานดอกไม้ประดิษฐ์ที่โหน่งเขาทำอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ ปรากฏว่าผ่านไป 6 เดือน ป้าๆ สามารถอ่านออกเขียนได้ เหมือนเขาได้ชีวิตใหม่ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เรามาทำงานด้านการศึกษาในรูปแบบการส่งเสริมการศึกษาในภาคเอกชน เพราะเราเชื่อว่าการศึกษามันช่วยพัฒนาสังคมได้” นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทั้งสองคนร่วมกันก่อตั้งสถาบันกวดวิชาออนดีมานด์ขึ้นในปี 2548 เพื่อเป็นช่องทางในการพัฒนาด้านการศึกษาของเด็กไทย โดยเป็นโรงเรียนกวดวิชาที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนแบบหนึ่งต่อหนึ่งเป็นรายแรกๆ ในเมืองไทย ซึ่งแตกต่างจากโรงเรียนกวดวิชาส่วนใหญ่ในยุคนั้น “ในสมัยนั้นอุปกรณ์ต่างๆ แพงมาก

Read More

Limited Education แก้ปัญหาผ่านแบรนด์ เปลี่ยนการศึกษาไทยให้เป็นของ (ไม่) ลิมิเต็ด

เสื้อยืดสีขาวที่มีตัวอักษรโย้เย้สะกดชื่อแบบผิดๆ ถูกๆ อยู่บนตัวเสื้อ หรือ ป้าย “ขนมปังเนยโสด” ที่อยู่บนกล่องขนมปังเนยสดของร้านขนมหวานชื่อดังอย่าง After You คงเคยผ่านตาของใครหลายคน แม้มุมหนึ่งอาจจะดูน่ารัก ดึงดูดความสนใจ ประหนึ่งการตลาดรูปแบบใหม่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ภายใต้ตัวอักษรเหล่านั้นกำลังสะท้อนความจริงของปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ฝังลึกอยู่ในสังคมไทย “ความเหลื่อมล้ำ” เป็นคำที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยครั้ง แต่โดยส่วนมากมักนึกถึงความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจหรือรายได้เป็นหลัก เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้เป็นปัญหาที่เห็นภาพเด่นชัดในสังคมไทย ทว่าช่องว่างของรายได้และทรัพย์สินที่เกิดขึ้นไม่เพียงส่งผลทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำด้านต่างๆ ในสังคม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา” ที่โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพถูกจำกัดด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัญหาเรื้อรังที่ฝังลึกอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ตัวอักษรโย้เย้และคำสะกดผิดที่อยู่บนเสื้อยืดสีขาวและกล่องขนมข้างต้น คือหนึ่งในความพยายามที่จะลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ผ่านโครงการ “Limited Education” ที่เป็นดั่งพื้นที่รวบรวมสินค้า Limited Edition จากแบรนด์ดังต่างๆ ที่เห็นความสำคัญและพร้อมที่จะเข้ามาร่วมกันเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย โดยเชื่อว่าความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทยจะลดลงได้ เมื่อเกิดพื้นที่แห่งความร่วมมือจากทุกคน ที่ร่วมกันสร้างสรรค์ อุดหนุน และส่งต่อประเด็นปัญหา ผ่านสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบขึ้นมาเป็นพิเศษโดยใช้คำที่สะกดผิดจากลายมือจริงของเด็ก ที่ดูผ่านๆ หลายคนคงคิดว่าเป็นลายมือของเด็กประถม แต่แท้ที่จริงแล้วทุกตัวอักษรและทุกข้อความที่ปรากฏอยู่บนผลิตภัณฑ์เหล่านั้น เป็นฝีมือของเด็กระดับมัธยมต้น ที่กำลังเผชิญกับปัญหาทางการศึกษา ขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ทำให้อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ตามเกณฑ์ที่ควรจะเป็น “จากสถิติปี 2563 เราพบว่า

Read More

ก้าวใหม่การศึกษาไทย มหาวิทยาลัยปรับใช้โซลูชันอัจฉริยะ รับ New Normal

ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบัน ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยต่างจำเป็นต้องรีบปรับกระบวนการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตอบรับกับเทรนด์ยุค “นิวนอร์มัล” ที่เน้นให้บุคลากรสามารถประสานงานกันได้ผ่านเทคโนโลยีติดต่อสื่อสารทางไกล ลดความจำเป็นของการพบปะโดยตรง ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการศึกษาไทยก็เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่เปลี่ยนมาใช้การเรียนการสอนแบบออนไลน์ในปัจจุบันเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนหนังสือผ่านกล้องอาจมีประสิทธิภาพไม่เต็มที่สำหรับการสอนในวิชาชีพเชิงปฏิบัติ เมื่อเทียบเท่าการเรียนการสอนแบบปกติ จึงเป็นสาเหตุให้สถานศึกษาบางแห่งเริ่มหันมาประยุกต์ใช้โซลูชันอัจฉริยะประกอบกับหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อเสริมประสิทธิภาพการเรียนทางไกลให้สมบูรณ์แบบ ดังเช่นที่ทางมหาวิทยาลัยเกริกได้ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด นำโซลูชันกระดานอัจฉริยะ Huawei IdeaHub มาเสริมศักยภาพให้แก่หลักสูตรการเรียนทางไกล เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงมายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ มหาวิทยาลัยเกริก ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2495 โดย ดร. เกริก มังคละพฤกษ์ และถือว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของประเทศไทย ด้วยเป้าหมายที่จะสนับสนุนการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อเตรียมให้นักศึกษามีความพร้อมเมื่อเข้าสู่โลกของการทำงาน คณะและหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเกริกจึงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นคณะบริหารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง รวมไปถึงวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมสากลจีน ด้วยเป้าหมายที่จะเสริมทักษะเพื่อให้รับมือกับความต้องการของตลาดแรงงานสมัยใหม่ได้ มหาวิทยาลัยเกริกได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ในการสร้างเครือข่ายแบ่งปันองค์ความรู้ที่แข็งแกร่ง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งนักศึกษาและภาคสังคม ทางมหาวิทยาลัยมีพันธกิจระยะยาวในการที่จะนำหน้าความต้องการของตลาดอยู่เสมอ ด้วยการนำเสนอหลักสูตรที่ออกแบบมาอย่างดีและสามารถนำไปใช้ในโลกที่กำลังก้าวไปข้างหน้าได้จริง ลดช่องว่างทางการศึกษาด้วยประสบการณ์การเรียนรู้ทางไกลแบบอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยเกริกตั้งเป้าที่จะออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ที่ยังคงรักษามาตรฐานคุณภาพเอาไว้ ผ่านโครงการ Smart Campus โดยมีการนำเสนอหลักสูตรออนไลน์ที่หลากหลายทั้งสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท ผ่านแพลตฟอร์ม

Read More

8 ภาคี โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ประชุมเตรียมจัดงาน ครบรอบ 10 ปี ชูประเด็นประเทศไทยกับการศึกษาเพื่อความยั่งยืน

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา โดย รองศาสตราจารย์คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานโครงการบ้านนักวิทยาศาสต์น้อย ประเทศไทย เป็นประธานประชุมเตรียมจัด “งานสัมมนาวิชาการครบรอบ 10 ปี บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยกับการศึกษาเพื่อความยั่งยืน” โดยมีตัวแทนของหน่วยงานภาคีแต่ละเครือข่ายเข้าร่วมประชุม ร่วมระดมความคิดเห็นพร้อมนำเสนอรูปแบบเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดงาน ซึ่งในงานดังกล่าวได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒนรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงานและเป็นองค์ปาฏกถาพิเศษ ในวันพุธที่ 10 มีนาคม 2564 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 กรุงเทพฯ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ริเริ่มเมื่อปี พ.ศ.2552 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจกรรม Haus der kleinen Forscher (บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย) ณ ประเทศเยอรมนี ซึ่งส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล ต่อมาในปี 2553 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาร่วมกับ บริษัท นานมีบุ๊คส์

Read More

ปฏิรูปการศึกษาไทย นับหนึ่งไปได้ถึงไหน

ศตวรรษที่ 20 หลายสิ่งหลายอย่างถูกพัฒนาไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่บางครั้งหลายคนวิ่งตามแทบไม่ทัน แม้แต่ปัญหาสังคม ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เคยถูกเพิกเฉยมาอย่างยาวนานกลับได้รับการใส่ใจและค่อยๆ ถูกแก้ไขให้ดีขึ้น การก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลทำให้เราได้มีโอกาสเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นโดยเฉพาะการทำงานในระบบราชการไทย หลายกระทรวงเริ่มบูรณาการและเห็นผลลัพธ์ที่ดีภายใต้คำว่า “ปฏิรูป” แต่นั่นคงไม่ใช่กับกระทรวงศึกษาธิการ จนถึงวันนี้ นโยบายด้านการศึกษาไทยที่ยังคงมีอยู่แทบจะทุกรัฐบาล คือความพยายามที่จะ “ปฏิรูปการศึกษา” แน่นอนว่า การศึกษาคือรากฐานสำคัญของการพัฒนาสังคมในทุกมิติ ทว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับระบบการศึกษาไทยอาจทำให้หลายฝ่ายกุมขมับ ที่รัฐบาลทุกชุดเริ่มนับหนึ่งเมื่อก้าวเข้ามาบริหารประเทศ รอยต่อของแต่ละรัฐบาลสร้างให้เกิดความยากในการทำงานแทบจะทุกกระทรวง ทบวง กรม การขาดไร้ซึ่งความต่อเนื่องและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ขวางทางกั้นไม่ให้การศึกษาไทยก้าวไปสู่ความสำเร็จเฉกเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ฮ่องกง และจีน น่าแปลกที่กระทรวงการศึกษามีนโยบายที่จะส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงไปศึกษาดูงานยังประเทศเหล่านี้ ซึ่งน่าจะเป็นต้นแบบของการพัฒนาด้านการศึกษาไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่จนถึงปัจจุบันหลายคนยังพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าการศึกษาไทยไม่เพียงแต่ยังไม่พัฒนา แต่ดูเหมือนจะมีโอกาสถอยหลังเข้าคลองอีกด้วย เห็นได้จากการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันจาก 63 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจัดโดย IMD (International Institute for Management Development) ซึ่งมักจะจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันในหลายด้าน โดยผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของไทยอยู่ที่อันดับ 56 ทั้งปี 2561 และ 2562 ไม่ใช่เพียงผลการจัดอันดับความสามารถด้านการแข่งขันเท่านั้น ที่เป็นการชี้ให้เห็นว่าไทยกำลังเผชิญกับปัญหาด้านการศึกษาที่อาจถึงขั้นวิกฤต แต่รูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มุ่งเน้นไปที่ผลการสอบวัดผล มากกว่าจะสร้างรากฐานความรู้และความเข้าใจให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน หากจะนำเอาแนวความคิดของสิงคโปร์ ประเทศที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งมีแนวความคิดที่น่าสนใจว่า

Read More

ปฏิรูปการศึกษาไทย คุณภาพ มาตรฐาน และความเหลื่อมล้ำ!

การศึกษาไทยมีประเด็นที่น่าสนใจรับศักราชใหม่ จากแนวความคิดอันสร้างสรรค์ของ ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยที่ให้นักเรียนเริ่มทดลองแต่งชุดไปรเวตมาเรียน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง นัยสำคัญของการทดลองนี้อยู่ตรงที่เพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเครื่องแต่งกายที่ไม่ใช่เครื่องแบบนักเรียน ว่าจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของนักเรียนในเชิงสร้างสรรค์หรือไม่ และในวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา ภาพนักเรียนจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ที่แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ด้วยการแต่งชุดไปรเวต มุมหนึ่งต้องยอมรับว่า การแสดงออกของนักเรียนกลุ่มนี้สร้างสีสันและอุดมไปด้วยไอเดีย ทว่า อีกแง่มุมหนึ่งกลายเป็นประเด็นให้สังคมได้ถกแถลง เมื่อหลายฝ่ายมองว่าการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกด้วยการใส่ชุดไปรเวตไม่ใช่เรื่องผิดแปลก อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้เด็กเหล่านี้ได้มีอิสระทางความคิด รู้จักแสดงออกในทางที่เหมาะสม ขณะที่อีกฟากฝั่งกลับร้องหาความถูกต้องเหมาะสม ภายใต้เงื่อนไขอันว่าด้วยกฎระเบียบมากมายที่ถูกบัญญัติขึ้นในยุคสมัยหนึ่ง แม้ว่าโลกจะหมุนไปทุกวินาที และปัจจุบันเราใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางโลกยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว การทำงานเชิงรุกของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ส่งหนังสือแจ้งไปยังโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เพื่อขอให้โรงเรียนทบทวนเรื่องดังกล่าว ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด แม้โรงเรียนจะชี้แจงไปก่อนหน้าแล้วว่า “นี่เป็นการทดลองทำวิจัยเรื่องการแต่งเครื่องแบบนักเรียนเท่านั้น” ซึ่ง สช. แสดงความกังวลว่า แนวทางดังกล่าวของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย อาจส่งผลกระทบต่อเรื่องระเบียบวินัยและค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง บริบทของสังคมไทย และปัญหาสังคม แน่นอน หากเปิดใจให้กว้าง ความกังวลของ สช. ดูจะไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด ขณะที่การศึกษาไทยอยู่ในขั้นวิกฤต มีหลายปัญหาที่สะสมมาอย่างยาวนาน และฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรจะต้องหันมาระดมความคิดเข้าแก้ไขปัญหา ทั้งเรื่องการขาดแคลนทรัพยากร บุคลากรที่มีศักยภาพ การศึกษาที่เด็กนักเรียนสามารถนำไปใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน หรือความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และการอนุญาตให้นักเรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สามารถแต่งชุดไปรเวตได้ 1 วันใน 1

Read More

ธนินท์ เจียรวนนท์ ลุยภารกิจใหญ่ ปั้นซีอีโอในอนาคต

ธนินท์ เจียรวนนท์ ทุ่มทั้งเวลาและเงินทุนสร้าง “สถาบันผู้นำ” ลุยภารกิจใหญ่ ปั้นผู้นำรุ่นใหม่และซีอีโอในอนาคต เพื่อรองรับอาณาจักรธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ที่มีการลงทุนในเกือบ 20 ประเทศ มีการค้าระหว่างประเทศอีกมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ใน 8 สายกลุ่มธุรกิจ ทั้งธุรกิจเกษตรอาหาร ธุรกิจการตลาดและลอจิสติกส์ ธุรกิจโทรคมนาคมและมีเดีย ธุรกิจเวชภัณฑ์ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมหนัก ธุรกิจสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และธุรกิจการเงิน มูลค่าเม็ดเงินจำนวนมหาศาล “อนาคตของซีพี ที่สำคัญที่สุดคือ คน ซีพีจะยืนหยัดมั่นคงเหมือนดาวฤกษ์ได้ต้องมีผู้นำรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งจะนำพาให้คนในเครือฯ พร้อมที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปด้วยกัน” นั่นถือเป็นวรรคทองและหัวใจสำคัญที่สุด ซึ่งธนินท์เคยกล่าวผ่านสื่อ ย้ำถึงความจำเป็นในการลงทุนเกือบ 4,000 ล้านบาท ตั้งสถาบันเพื่อการพัฒนาผู้นำ C.P. Leadership Institute ในพื้นที่ 145 ไร่ ตำบลหนองน้ำแดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยศึกษาข้อมูลเรื่องการสร้างคนที่ดีที่สุดขององค์กรชั้นนำระดับโลก และนำคณะผู้บริหารระดับสูงไปเยี่ยมชมองค์กรชั้นนำเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นบริษัท จีอี บริษัทซัมซุง และบริษัทโบอิง

Read More

RSU 5.0 นวัตกรรม ม.รังสิต บนความพยายามของการศึกษาไทย

ความเคลื่อนไหวของมหาวิทยาลัยรังสิตเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กับการเปิดเผยทิศทางและภาพรวมของแผนการที่กำลังดำเนินไปอย่างมีกรอบโครง ที่ถูกกำหนดเอาไว้ในอนาคต ภาพชัดที่ฉายขึ้นมานั้นดูจะอุดมไปด้วยความคาดหวังที่มุ่งจะสร้างนวัตกรรมทางการศึกษารูปแบบใหม่ โดยมีหมุดหมายเพื่อสร้างให้เกิดแรงขับเคลื่อนของมหาวิทยาลัยรังสิต ให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงท่ามกลางกระแสสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แผนการลงทุนในธุรกิจของผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยรังสิตที่จะผุดโรงพยาบาลอาร์เอสยู อินเตอร์เนชั่นแนล บนพื้นที่ 11 ไร่ ย่านธุรกิจบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และด้วยงบประมาณสูงนับหมื่นล้านบาท อาจจะเป็นคำตอบที่สามารถไขข้อข้องใจในคำถามที่อยู่ในใจของใครหลายคนได้เป็นอย่างดี ที่ว่าศักยภาพด้านการแพทย์ของไทยนั้นก้าวหน้าไปมากน้อยเพียงใด ทว่า ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กลับบอกว่า “จุดประสงค์ของเราไม่ได้ต้องการสร้างโรงพยาบาลเพื่อทำธุรกิจ แต่อยากจะสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องแสดงศักยภาพของประเทศ” ก่อนจะอธิบายเพิ่มเติมถึงความเป็นมาของโครงการนี้ว่า มีแนวความคิดในการสร้างโรงพยาบาลที่ไม่เหมือนโรงพยาบาล เปลี่ยนความเจ็บป่วย สิ้นหวัง และสลดหดหู่ มาเป็นการอยู่กับธรรมชาติ สถานที่สวยงาม โดยกำหนดให้มีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 35 เป็นสถานบริการด้านสุขภาพที่คนมาแล้วมีความสุข เป็น The Most Humanized Medical Care เน้นความเป็นมนุษย์ เอาใจใส่ และเอื้ออาทร นอกจากนี้แนวความคิดที่สองคือ การสร้างโรงพยาบาลที่มีศูนย์การแพทย์ขั้นสูงครบวงจร เป็นคอนเซ็ปต์ใหม่ในการรักษาพยาบาลในอนาคต และแนวความคิดที่สาม คือการเป็นโรงพยาบาลที่มีองค์ความรู้ทั้งการแพทย์แผนตะวันตก และการแพทย์แผนตะวันออก โดยเฉพาะ Oriental Medicine ที่ประกอบไปด้วยแพทย์แผนไทย แผนจีน และแผนอินเดีย กลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยรังสิตที่นอกจากความต้องการจะปรับรูปแบบของโรงพยาบาลให้ห่างไกลจากความหดหู่และความสิ้นหวังของผู้เข้ามารักษาพยาบาลแล้ว

Read More

โอกาสทางธุรกิจ บนวิกฤตการศึกษาไทย

   “ถ้าคุณตัดสินปลาทองด้วยความสามารถในการปีนขึ้นต้นไม้...ก็คงเป็นเรื่องที่โง่เขลา” ถ้อยความเริ่มต้นของ “I just sued the school system!” วิดีโอคลิปความยาว 6 นาทีของ Prince Ea ที่มีผู้เข้าชมกว่า 7 ล้านครั้งภายในช่วงเวลาเพียง 24 ชั่วโมงหลังจากที่เผยแพร่ออกมา สื่อแสดงถึงความกังวลใจต่อวิกฤตว่าด้วยการศึกษาในระดับนานาชาติที่น่าสนใจไม่น้อย ประเด็นแหลมคมจากวิดีโอคลิปดังกล่าวไม่เพียงแต่จะตั้งคำถามต่อกระบวนทัศน์ในการจัดระบบการศึกษาที่ล้มเหลวและหน่วงเหนี่ยวพัฒนาการของเยาวชนที่ต่อเนื่องยาวนานเท่านั้น หากยังกล่าวหาว่า “โรงเรียนเป็นฆาตกรที่สังหารความคิดสร้างสรรค์ ทำลายเอกลักษณ์และเหยียดหยามทางความคิด” อีกด้วย ขณะที่สำหรับสังคมไทยวิดโอคลิปดังกล่าวก็คงเป็นเพียงประหนึ่งคลื่นลูกหนึ่งในกระแสธารของโซเซียลมีเดียที่ท่วมทะลักต่อการรับรู้ก่อนจะจางหายและผ่านพ้นจากความสนใจไปอย่างรวดเร็ว  ก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยวิดิโอคลิปครูหรือบุคลากรทางการศึกษาใช้กำลังประทุษร้ายทางกายภาพต่อนักเรียน ภายใต้การนิยามว่า เป็นการลงโทษ สั่งสอน ด้วยหวังจะให้ลูกศิษย์เป็นคนดีเข้ามาทดแทน ความล้มเหลวที่น่าอับอายของระบบการศึกษาที่ล้าหลังของสังคมไทยกลายเป็นโอกาสในการลงทุนของโรงเรียนนานาชาติ ที่เป็นประหนึ่งการเปิดทางเลือกใหม่ไปโดยปริยาย ควบคู่กับความพยายามที่จะเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาเกิดใหม่เหล่านี้เข้ากับชื่อเสียงและอัตลักษณ์ของโรงเรียนที่มีรากฐานยาวนานในต่างแดน  แม้ว่าในความเป็นจริงกลไกและกระบวนการศึกษาเรียนรู้ในแต่ละแห่งจะดำเนินไปท่ามกลางสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่อาจไม่ได้มีความเกี่ยวโยงใดๆ ต่อกันเลย นอกจากค่าธรรมเนียมการใช้ชื่อมาเป็นแบรนด์ในการสร้างตลาดเท่านั้น วิกฤตด้านการศึกษาของไทยอาจส่งผลให้โรงเรียนนานาชาติที่ผูกโยงเข้ากับชื่อเสียงของสถาบันการศึกษาชั้นนำจากต่างประเทศในช่วงที่ผ่านมามีสถานะเป็นทางเลือก ทั้งในมิติของมาตรฐานการศึกษาและชื่อเสียงเกียรติประวัติที่ยาวนาน แต่นั่นอาจไม่ใช่สิ่งยืนยันว่าการบริหารจัดการภายในจะดำเนินไปอย่างมีคุณภาพตามที่คาดหวัง เพราะในขณะที่ licence fee จากการใช้ชื่อสถาบันต้นทางกลายเป็นค่าใช้จ่ายและต้นทุนที่ทำให้โรงเรียนนานาชาติจำเป็นต้องคำนวณปริมาณนักเรียนที่จะรับสมัครในแต่ละปีและช่วงชั้นให้เหมาะสมต่อความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ ประเด็นว่าด้วยคุณภาพการเรียนการสอนก็กลายเป็นอีกด้านหนึ่งของเหรียญที่ยากจะหลีกเลี่ยง แต่สำหรับโรงเรียนนานาชาติอย่าง Phuket International Academy (PIA) ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2009 และมีนักเรียนจากช่วงอายุ 2–18 ปี รวมกว่า 400 คน ความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานและบรรทัดฐานด้านคุณภาพการศึกษาดำเนินควบคู่ไปพร้อมๆ กับการแสวงหาเครือข่ายที่กว้างขวางขึ้นสำหรับดึงดูดความสนใจของผู้ปกครอง  กรณีดังกล่าวนำไปสู่การผนึกผสาน

Read More