Home > นวัตกรรม

ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่นสร้างนวัตกรรมสีเขียว วิเคราะห์ทางเคมีจากภูมิปัญญาบรรพชนฝาง

ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น ม.เชียงใหม่ พัฒนาภูมิปัญญามากกว่า 100 ปีของบรรพชนชาวฝางสู่ “นวัตกรรมสีเขียว” ในการวิเคราะห์ทางเคมี สร้างเครือข่ายความร่วมมือ เกิดตัวอย่างการใช้จริง รวมถึงใช้ในการศึกษาแนวใหม่-ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางเคมีที่บ้านผ่านระบบออนไลน์ ศ.ดร. เกตุ กรุดพันธ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยทางนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ตนได้ริเริ่มพัฒนาการวิเคราะห์ทางเคมีโดยใช้รีเอเจนต์จากธรรมชาติ ซึ่งบุกเบิกการสร้างนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากว่า 15 ปี อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ และได้รับทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ดำเนินโครงการ “นวัตกรรมสีเขียวในการวิเคราะห์ทางเคมีกับภูมิปัญญาท้องถิ่น” โดยมีวิสัยทัศน์และเป้าหมาย “Local issues- Global impact- Sustainable world” มุ่งเน้นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาต่อยอดเป็นการวิเคราะห์ทางเคมีแบบสะอาดสมัยใหม่ รวมถึงการสร้างและขยายเครือข่ายเพื่อการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลายมิติ จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมากกว่า 100 ปี ของบรรพชนชาวฝาง นำมาสู่การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับศูนย์วิจัยทางนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ และคลัสเตอร์ความเป็นเลิศด้านเศรษฐกิจและสังคมบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมี ดร.กนกวรรณ คิวฝอ เข้าร่วมพัฒนาต้นแบบรีเอเจนต์ธรรมชาติแบบพร้อมใช้ และขยายเครือข่ายการใช้งานเริ่มต้นไปยังมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ

Read More

หัวเว่ยชี้ แม้โควิด-19 ปิดกั้นโอกาส แต่นวัตกรรมจะเปิดช่องทางแห่งความหวัง

หัวเว่ยชี้ แม้โควิด-19 ปิดกั้นโอกาส แต่นวัตกรรมจะเปิดช่องทางแห่งความหวัง ความก้าวหน้าทางนวัตกรรมจะยกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาธุรกิจให้ชาญฉลาด และสร้างความเท่าเทียมแก่ผู้คนทั่วโลกให้มากยิ่งขึ้น ในพิธีเปิดงาน Mobile World Congress Shanghai 2021 นายเคน หู (Ken Hu) รองประธานหัวเว่ย กล่าวถึงประเด็นของโควิด-19ที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อประเทศ องค์กร และผู้คนทั่วโลก รวมถึงบทบาทของเทคโนโลยีในการต่อสู้กับโรคระบาด “นวัตกรรมไม่ใช่แค่เรื่องของการแก้ปัญหาที่เราเผชิญอยู่ในวันนี้” นายเคน หู กล่าว “แต่เป็นเรื่องของการมองหาหนทางให้กับวันพรุ่งนี้ เมื่อเราสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้แล้ว เราต้องตระหนักว่าเราจะสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างไรให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาธุรกิจให้ชาญฉลาดยิ่งขึ้น และสร้างโลกที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมด้วยกันมากยิ่งขึ้น” เขาอธิบายว่า ขณะที่ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลทำให้ช่องว่างทางดิจิทัลขยายตัวกว้างขึ้น โรคระบาดยิ่งทำให้สถานการณ์ดังกล่าวแย่ลงไปอย่างเห็นได้ชัด เราจึงต้องมุ่งเน้นให้นวัตกรรมเป็นสะพานเชื่อมต่อช่องว่างระหว่างคนที่มีและคนที่ไม่มี รวมทั้งเป็นเครื่องมือผลักดันการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียมกัน (digital inclusion) โควิด-19 ได้ทำให้เกิดเงื่อนไขใหม่ ๆ มากมายด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ทั้งนี้ หัวเว่ยได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการโครงข่ายจำนวนมากตลอดปีที่ผ่านมา เพื่อทำให้เครือข่ายสัญญาณกว่า 300 เครือข่ายใน 170 ประเทศมีเสถียรภาพ ในอินโดนีเซีย หัวเว่ยได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลรูปแบบใหม่กับการขนส่งติดตั้งสถานีฐานกว่า 5,000 แห่งได้อย่างรวดเร็ว

Read More

ซีอีโอหัวเว่ยเผย พร้อมแบ่งปันองค์ความรู้ 5G ขับเคลื่อนสู่นวัตกรรมระดับโลก

ซีอีโอหัวเว่ยเผย พร้อมแบ่งปันองค์ความรู้ 5G ขับเคลื่อนสู่นวัตกรรมระดับโลก ชี้ตลาดเสรีและความร่วมมือจำเป็นต่อการเติบโตไปพร้อมกัน นายเหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งหัวเว่ย ได้กล่าวในพิธีเปิดห้องปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการทำเหมืองอัจฉริยะในเมืองไท่หยวนถึงวิสัยทัศน์ต่อความร่วมมือทางการค้าที่จะเกิดขึ้นจากนโยบายเสรี โดยย้ำว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้จากนโยบายการค้าเสรี และตอกย้ำความมุ่งมั่นของหัวเว่ยที่จะถ่ายโอนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี 5G ให้แก่ส่วนรวมเพื่อการพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านไอซีทีอย่างเท่าเทียมทั่วโลก นายเหริน เจิ้งเฟย กล่าวถึงความสำคัญของการเปิดนโยบายการค้าเสรีไว้ว่า “ทั้งสหรัฐอเมริกาและจีนต่างต้องการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของตนเองเพื่อผลประโยชน์ทางด้านสังคมและการเงิน ทุกคนทั่วโลกก็เช่นกัน ในเวลาที่มนุษยชาติกำลังก้าวต่อไปข้างหน้า ไม่มีบริษัทหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมระดับโลกได้ด้วยตัวคนเดียว เนื่องจากการพัฒนาในระดับโลกจำเป็นต้องมีการระดมความร่วมมือกันจากทั่วทุกมุมโลก” นอกจากนี้ เหริน เจิ้งเฟย ยังแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากเทคโนโลยี 5G ในระดับโลกไว้ว่า “เราพร้อมที่จะแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G ในทุกด้าน ไม่เพียงแค่ลิขสิทธิ์ในการผลิตแต่ยังรวมไปถึงซอร์สโปรแกรม ซอร์สโค้ด ด้านการออกแบบฮาร์ดแวร์ ไปจนถึงความรู้ความชำนาญและการออกแบบชิปเซ็ต” ในยุคสมัยใหม่ของภาคอุตสาหกรรมที่มีความอิสระ ทั้งสายการผลิตและการร่วมมือกันอย่างเปิดกว้างระหว่างองค์กรจากหลายประเทศทั่วโลกเป็นสิ่งที่จำเป็น หัวเว่ยในฐานะผู้นำการให้บริการโซลูชันด้านไอซีทีระดับโลกจะยังคงมุ่งมั่นให้บริการแพลตฟอร์มแก่ภาคอุตสาหกรรมหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทำเหมืองแร่ การท่าเรือ อุตสาหกรรมเหล็ก และอุตสาหกรรมถ่านหิน ที่ต้องการนำโซลูชันด้านไอซีทีมาประยุกต์ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ และระบบการประมวลผลคอมพิวเตอร์สำหรับนำไปใช้พัฒนาและต่อยอดในภาคอุตสาหกรรม เพื่อดำเนินการตามความมุ่งมั่นในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า หัวเว่ยจึงเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมให้รุดหน้ามากกว่าการจำกัดอยู่แค่ด้านโทรคมนาคม ด้วยการก่อตั้งศูนย์การวิจัยและห้องปฏิบัติการร่วมกว่า 100 แห่งทั่วโลก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในหลากหลายด้าน เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี

Read More

CPAC BIM ผลักดันนวัตกรรมก่อสร้างหนุนวงการแพทย์ ตอบโจทย์ลดการแพร่เชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่

CPAC BIM ผลักดันนวัตกรรมก่อสร้างหนุนวงการแพทย์ ชูโซลูชั่นห้องแยกและควบคุมเชื้อ ตอบโจทย์ลดการแพร่เชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ การระบาดระลอกใหม่ของไวรัสโควิด-19 กำลังสร้างความกังวลให้กับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าครั้งแรก การแก้ปัญหาแบบทันสถานการณ์เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทั้งภาครัฐและวงการแพทย์ต้องเร่งแก้ ไม่เว้นแม้แต่ภาคเอกชนที่พร้อมสนับสนุนและสร้างนวัตกรรมมาช่วยรับมือ ทำให้ CPAC ผู้นำด้านโซลูชั่นการก่อสร้าง ได้นำเทคโนโลยี Digital Construction พร้อมบูรณาการองค์ความรู้ทางการแพทย์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ พัฒนาเป็น Medical Solution by CPAC BIM โซลูชั่นห้องแยกและควบคุมโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เพื่อตอบโจทย์ในการป้องกันการแพร่ระบาดครั้งนี้ วีรกร สายเทพ CPAC BIM Director บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด (CPAC) เปิดเผยว่า จากองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการก่อสร้างที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน CPAC BIM ได้พัฒนาต่อยอดสู่การแก้ไขปัญหาด้าน Medical Solution เพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์ที่เร่งด่วน ซึ่งปัญหานี้ต้องลงมือทำทันที เราจึงนำเอาศักยภาพของเราที่มีในหลายด้านมาต่อยอดช่วยเหลือบุคลากรทางแพทย์หรือหน่วยงานสาธารณสุข ภายใต้เงื่อนไขการทำงาน Speed with Good Enough Quality

Read More

ประเทศไทยไม่ได้มีดีแค่ “รอยยิ้ม” และ “วัฒนธรรม” NIA เปิดมุมมองใหม่ประเทศไทยด้วยภาพลักษณ์ใหม่ด้าน “นวัตกรรม”

ประเทศไทยไม่ได้มีดีแค่ “รอยยิ้ม” และ “วัฒนธรรม” NIA เปิดมุมมองใหม่ประเทศไทยด้วยภาพลักษณ์ใหม่ด้าน “นวัตกรรม” ชวนคนไทยรับรู้และร่วมภาคภูมิใจ ผ่านแคมเปญ Innovation Thailand เมื่อถามถึงจุดเด่นของประเทศไทย หลายคนอาจนึกถึงรอยยิ้มและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยมาอย่างยาวนาน แต่ความจริงแล้วยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่ประเทศไทยทำได้ดีไม่แพ้รอยยิ้มและวัฒนธรรม นั่นก็คือ “นวัตกรรม” เราได้เห็นไอเดียและความพลิกแพลง เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมของคนไทยมากมาย โดยเฉพาะในสถานการณ์วิกฤต เช่น น้ำท่วม หรือในเหตุการณ์ล่าสุดคือการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้มีนวัตกรรมเกิดขึ้นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มรวบรวมข้อมูลผู้ติดเชื้อแบบเรียลไทม์ รถเข็นเคลื่อนย้ายแรงดันลบ เครื่องช่วยหายใจ ชุดตรวจคัดกรองเชื้อเบื้องต้นจากน้ำลายที่รู้ผลใน 1 ชั่วโมง รวมถึงระบบสุขภาพทางไกล หรือ Telehealth ที่ทำให้คนไทยปรึกษาแพทย์ได้โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล ความจริงแล้วนวัตกรรมของไทยไม่ได้เกิดขึ้นในสถานการณ์วิกฤติเท่านั้น แต่คนไทยสร้างสรรค์นวัตกรรมมาโดยตลอด มีการต่อยอดจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ และเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตมากมาย นี่จึงเป็นที่มาที่ทำให้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ริเริ่มแคมเปญ Innovation Thailand ขึ้นมา เพื่อเปิดมุมมองใหม่ของประเทศไทยด้วยภาพลักษณ์ใหม่ด้านนวัตกรรม และชักชวนคนไทยให้มารับรู้และภาคภูมิใจในนวัตกรรมของไทย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “คนไทยนำความรู้ที่สั่งสมมาผสมผสานการมองโลกในแง่ดี

Read More

เอ็นไอเอโชว์ 2 นวัตกรรมเตือนภัย ป้องกันเด็กหาย – ลืมเด็กไว้ในรถ เพิ่มความอุ่นใจ

เอ็นไอเอโชว์ 2 นวัตกรรมเตือนภัย ป้องกันเด็กหาย - ลืมเด็กไว้ในรถ ตัวช่วยความปลอดภัยนอกบ้านเพื่อความอุ่นใจของพ่อแม่และลูกน้อย ความปลอดภัยของลูกน้อยถือเป็นสิ่งที่พ่อแม่ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเห็นข่าวการสูญหายหรือเสียชีวิตของเด็กที่เกิดจากอุบัติเหตุและความประมาทของผู้เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มปฐมวัย ซึ่งการแก้ปัญหาเรื่องเหล่านี้ จำเป็นต้องมีมาตรการในการป้องกันที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งมีเครื่องมือที่ช่วยให้เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ง่ายและใกล้ตัวทุกคนมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการเตือนภัย เครื่องมือที่ช่วยให้เด็กอยู่ในสายตาพ่อแม่ตลอดเวลา หรือแม้แต่กระทั่งนวัตกรรมที่ใช้ง่ายสำหรับเด็กที่อายุยังน้อย วันนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA จึงขออาสาพาไปรู้จักนวัตกรรมของสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการไทยที่ชื่อว่า “Save the Kids: นวัตกรรมที่เข้ามาช่วยป้องกันปัญหาการลืมเด็กไว้บนรถ” และ “GPS Watch POMO: นาฬิกาติดตามตัวเด็กป้องกันเด็กหายโพโมะ” ซึ่งเป็น 2 นวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจาก NIA ซึ่งจะทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองหายห่วงเกี่ยวกับภาวะความเสี่ยง และเพิ่มความเซฟตี้ให้กับบรรดาเจ้าตัวน้อยได้มากกว่าที่ผ่านมา โดยนวัตกรรมชิ้นแรกคือ “Save the kids” นวัตกรรมที่เข้ามาช่วยป้องกันปัญหาการลืมเด็กไว้บนรถ โดยนายปิติชัย ปิติมณียากุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทูแคนส์ จำกัด เล่าว่า “Save the kids” เกิดจากปัญหาการลืมเด็กไว้ในรถทำให้เด็กเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวต่อเนื่องทุกปี

Read More

บ้านปู จับมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่งเสริมคนรุ่นใหม่พัฒนานวัตกรรม

“บ้านปู” ร่วมมือกับสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่งเสริมคนรุ่นใหม่พัฒนานวัตกรรม ขับเคลื่อน Digital Transformation ในธุรกิจพลังงานแห่งอนาคตอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) มุ่งสร้างความเป็นเลิศด้านธุรกิจพลังงานครบวงจรแห่งอนาคต โดยลงนามความร่วมมือกับสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (School of Integrated Innovation: ScII) แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และสนับสนุนโครงการวิจัยร่วมในสาขาเศรษฐกิจดิจิทัล เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการหุ่นยนต์ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนนวัตกรรมด้านพลังงานและเทคโนโลยีพลังงานส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลและดิสรัปชันในธุรกิจพลังงาน เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและโซลูชันที่จะตอบรับ New Normal ของโลกพลังงานในอนาคตได้อย่างยั่งยืน คุณจรียา เชิดเกียรติศักดิ์ ผู้อำนวยการสายอาวุโส-ดิจิทัล บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บ้านปูฯ มุ่งเน้นการพัฒนาการศึกษาของเยาวชนผ่านโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมหลากหลายรูปแบบมาโดยตลอดด้วยความเชื่อว่า “พลังความรู้ คือพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา” ข้อตกลงความร่วมมือกับ ScII นับเป็นอีกก้าวสำคัญของบ้านปูฯ ในการเชื่อมโยงโลกยุค New Normal กับการเปลี่ยนแปลงรอบด้าน โดยเฉพาะดิสรัปชันด้านพลังงานกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ด้วยองค์ความรู้และทรัพยากรของ ScII

Read More

ไมโครซอฟท์จับมือ RISE ผุดโครงการ “Hack the Future: Business Rebound Edition” เพื่อ SME ไทย สู้ภัยโควิด-19

ไมโครซอฟท์จับมือ RISE ผุดโครงการ “Hack the Future: Business Rebound Edition” เร่งสร้างนวัตกรรมเพื่อ SME ไทย กู้ธุรกิจหลังวิกฤตโควิด-19 ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย และ RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กรระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชวนสตาร์ทอัพไทยมาร่วมสรรสร้างนวัตกรรม เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ไทยให้ฟื้นฟูธุรกิจ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกันบนแพลตฟอร์มคลาวด์ Microsoft Azure ในโครงการ “Hack the Future: Business Rebound Edition” โดยสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการมีโอกาสนำผลงานโซลูชั่นที่ชนะเลิศ ทำการตลาดร่วมกับไมโครซอฟท์ ทั้งในประเทศไทยและตลาดอื่น ๆ ทั่วภูมิภาคอาเซียน และยังอาจได้รับ Azure Credit เพื่อการใช้งานคลาวด์เป็นมูลค่าสูงสุดถึง 120,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 3,800,000 บาท) สำหรับสนับสนุนการพัฒนาโซลูชั่นต่อไป นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท

Read More

มจธ.อบรมอบแห้งผลไม้แบบธรรมชาติ ไมโครเวฟร่วมลมร้อนประหยัดพลังงาน

ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สกสว. จาก มจธ. อบรมเทคนิคอบแห้งผลไม้แบบธรรมชาติด้วยการใช้ลมร้อนร่วมกับไมโครเวฟช่วยประหยัดพลังงานและเวลาได้ 3 เท่า สี-เนื้อสัมผัสใกล้เคียงของสด อยู่ระหว่างการใช้งานจริงโดยภาคเอกชน หวังเป็นสินค้าพรีเมียมส่งออก ศ. ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดการอบรม “การผลิตผลไม้อบแห้งแบบธรรมชาติ ไม่ใช้สารละลายน้ำตาลที่มีคุณภาพสูง ประหยัด รวดเร็ว และต้นทุนต่ำ” แก่ผู้ประกอบการภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา จำนวน 72 คน ณ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กิจกรรมดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากการดำเนินงานวิจัยเรื่อง “เทคนิคขั้นสูงทางวิศวกรรมเกษตรเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันด้านการวิจัยพัฒนาและการค้าวัสดุชีวภาพและพลังงานหมุนเวียน” ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมค้นพบวิธีการเตรียมผักและผลไม้ก่อนการอบแห้ง เพื่อให้ได้ผักและผลไม้อบแห้งแบบธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีและสารละลายน้ำตาลที่มีคุณภาพสูงด้วยวิธีการอบแห้งแบบผสมผสานระหว่างไมโครเวฟร่วมกับลมร้อนที่สามารถอบแห้งได้เร็วกว่าลมร้อน 2-3 เท่า และประหยัดพลังงานมากกว่าลมร้อนมาก คณะวิจัยได้พัฒนากรรมวิธีการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้และมะม่วงมหาชนกอบแห้งที่ไม่ต้องเติมน้ำตาลและไม่ใช้สารซัลไฟต์ และไม่ต้องพรีทรีตเมนต์ด้วยสารเคมีใด ๆ โดยแช่มะม่วงทั้งผล (ก่อนปอกเปลือก) ในน้ำร้อนภายในระยะเวลาที่เหมาะสม ทำให้ได้ทั้งสีและเนื้อสัมผัสของมะม่วงอบแห้งที่ดี เนื่องจากผลิตภัณฑ์มะม่วงอบแห้งที่เป็นธรรมชาติจริง ๆ กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศระดับสูง รวมถึงการร่วมกับผู้ประกอบการออกแบบเครื่องอบแห้งผลไม้ เช่น มะม่วง เป็นต้น แบบสายพานโดยใช้ลมร้อนร่วมกับไมโครเวฟขนาดเท่าที่ใช้จริงในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ซึ่งให้ผลเหนือความคาดหมาย

Read More