Home > เศรษฐกิจดิจิทัล

ฟรีแลนซ์ไทยฮือ! เศรษฐกิจดิจิทัลไทยชะงักรับเงินผ่าน PayPal ไม่ได้แล้ว!

คนไทยทำงานฟรีแลนซ์ทางออนไลน์ฮือหนัก รับเงินออนไลน์ผ่าน PayPal ไม่ได้แล้ว กระทบกลุ่มคนไทยทำงานออนไลน์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบดีไซน์, การเขียนโปรแกรม, และงานที่ทำผ่านทางออนไลน์เป็นหลัก โดยส่วนใหญ่รับงานจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันสามารถดึงเงินจากต่างประเทศเข้าประเทศได้เป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะใช้ PayPal เป็นเครื่องมือในการรับเงิน แต่หลังจากที่ PayPal ปรับเปลี่ยนนโยบายการให้บริการในประเทศใหม่ ทำให้ผู้ใช้งานที่เป็นบุคคลธรรมดา ต้องเปลี่ยนไปเป็นบัญชีแบบธุรกิจเท่านั้น ซึ่งต้องมีการจดทะเบียนพาณิชย์ และยังเพิ่มเงื่อนไขการฝาก-โอน, ค่าธรรมเนียม และภาษี (VAT) ต่างๆ อีกเพียบ ทำให้คนไทยที่เป็นฟรีแลนซ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ๆ ที่ได้รับผลกระทบอย่างมหาศาล นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กูรูด้านอีคอมเมิร์ซเมืองไทย กล่าวว่า "ปัญหาที่เกิดนี้จะกระทบคนไทยที่ใช้บริการ PayPal ในการรับเงินจากต่างประเทศอย่างมาก เพราะที่ผ่านมากลุ่มคนทำงานด้านนี้จะนิยมใช้ PayPal เป็นช่องทางหลักในการรับเงิน แต่จริงๆ แล้วเรามีเครื่องมือชำระเงินจากต่างประเทศของคนไทยมากมายที่สามารถใช้ทดแทน PayPal ได้ โดยสามารถรับเงินจากบัตรเครดิตได้ทั่วโลก รวมไปถึงรับเงินในรูปแบบเงินผ่อน (ให้ลูกค้าผ่อนผ่านบัตรเครดิต แต่ร้านค้าจะได้เงินเต็มๆ โดยทางลูกค้าจะไปผ่อนกับบัตรเครดิตของธนาคารที่สมัครไว้เอง), พร้อมเพย์ หรือ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ" ยกตัวอย่างเช่น บริการของ

Read More

รมว.ดีอีเอส ลงพื้นที่ Thailand Digital Valley เร่งสร้างพื้นที่พัฒนานวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูงขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน

รมว.ดีอีเอส ลงพื้นที่ Thailand Digital Valley มอบหมายเร่งสร้างพื้นที่พัฒนานวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูงขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ลงพื้นที่โครงการ Thailand Digital Valley ติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างอาคาร TDV2: Digital Startup Knowledge Exchange Center และพบปะดิจิทัลสตาร์ทอัพ พร้อมมอบหมาย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เร่งสร้าง TDV3: Digital Innovation Center หัวใจสำคัญของโครงการฯ โดยหวังเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ ทดสอบ ทดลอง พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูงที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ด้วยขนาดพื้นที่ 40,000 ตารางเมตร นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ลงพื้นที่โครงการ Thailand Digital Valley ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างอาคาร TDV2: Digital Startup Knowledge Exchange Center โดยมี

Read More

หัวเว่ยชี้โครงข่ายใยแก้วนำแสงเต็มรูปแบบเป็นปัจจัยหลักช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

ภายในงานประชุม 2021 Asia-Pacific Target Network Conference เมื่อเร็วๆ นี้ นายริชาร์ด จิน ประธานสายผลิตภัณฑ์ใยแก้วนำแสงของหัวเว่ย กล่าวว่า การส่งสัญญาณผ่านใยแก้วนำแสงเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงานมากขึ้น โดยหัวเว่ยมีความมุ่งมั่นสร้างโครงข่ายใยแก้วนำแสงเต็มรูปแบบที่มีความอัจฉริยะ เปี่ยมประสิทธิภาพ และมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ความต้องการใช้งานเครือข่ายที่มากขึ้น ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้งานแบนด์วิดท์โครงข่ายที่สูงขึ้น การติดตั้งโครงข่าย 5G ในวงกว้างส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายสัญญาณแบบไร้สายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2568 อัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อเดือนโดยเฉลี่ยต่อผู้ใช้หนึ่งรายจะอยู่ที่ 28 GB ความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากนี้ทำให้ต้องมีโครงข่ายใยแก้วนำแสงอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อส่งมอบแบนด์วิดท์ที่สูงยิ่งขึ้นด้วย ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดนี้ ผู้คนเลือกที่จะเรียนออนไลน์หรือทำงานทางไกลมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น ทั่วโลกจึงมีการเร่งขยายการเดินสายใยแก้วนำแสงตรงไปยังที่พักอาศัย หรือ FTTH (Fiber to the Home) เพื่อมอบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระดับกิกะบิต และตอบสนองความต้องการแบนด์วิดท์ที่สูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทั้งนี้ สำหรับธุรกิจองค์กร 85% ของบริการในภาคธุรกิจดังกล่าวจะปรับย้ายไปอยู่บนเทคโนโลยีคลาวด์แทน ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการเชื่อมต่อคุณภาพสูงเพื่อเชื่อมระหว่างบริการนั้น ๆ กับเทคโนโลยีคลาวด์ ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยีในการรวมระบบเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้ตามบ้านหรือสำนักงานเป็นหนึ่งเดียว (Fixed–mobile convergence

Read More

“ดีป้า” เผยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งสัญญาณบวก พร้อมเดินหน้าสู่อุตสาหกรรม 4.0

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ร่วมกับองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ เผยผลการศึกษาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมไทย ชี้ปัจจุบันยังคงกระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรม 1.0 ในทุกภาคอุตสาหกรรมที่ทำการสำรวจ แต่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น หลังดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ถือเป็นส่งสัญญาณเชิงบวกในการเดินหน้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยในงาน “Thailand: Driving Towards Industry 4.0” ที่จัดโดย ดีป้า และองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) ว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ดีป้า ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนประชากร เกษตรกร ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และชุมชน ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างรายได้และลดต้นทุน ควบคู่ไปกับการพัฒนาดิจิทัลสตาร์ทอัพไทย เพื่อให้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ รวมถึงการสร้างระบบนิเวศทางเศรษฐกิจ (Ecosystem) ผ่านการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และโครงการ Thailand Digital

Read More

โลจิสติกส์ไทยสุดคึก รับกระแสอี-คอมเมิร์ซบูม

การมาถึงของอาลีบาบากรุ๊ป พร้อมกับบันทึกข้อตกลงที่จะลงทุนในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้วยมูลค่ารวมกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท ดูจะเป็นแรงกระตุ้นเร้าภาคธุรกิจและจุดประเด็นความหวังของรัฐบาลไทยที่จะนำธุรกิจอี-คอมเมิร์ซไทยให้ก้าวหน้าไปตามนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลที่มุ่งหมายไม่น้อยเลย ขณะเดียวกันกรณีดังกล่าวได้ส่งผลให้ภาคธุรกิจว่าด้วยการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ได้รับอานิสงส์จากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ที่กำลังรุกเร้าและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คนในสังคมด้วยอัตราเร่ง อย่างก้าวกระโดด และดำเนินไปท่ามกลางสีสันที่น่าสนใจอย่างยิ่ง และกำลังส่งผลให้ภูมิทัศน์ของธุรกิจปรับเปลี่ยนและเกิดภาพใหม่ที่แปลกแตกต่างไปจากเดิม แผนการก่อสร้างโครงการ Smart Digital Hubในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มูลค่าลงทุนกว่า 11,000 ล้านบาท ของ “อาลีบาบา” ที่จะเริ่มก่อสร้างภายในปี 2561-2562 ซึ่งเป็นโครงการที่จะอาศัยเทคโนโลยีด้านการประมวลข้อมูลโลจิสติกส์ เพื่อทำให้การขนส่งสินค้าระหว่างไทย-จีน การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนสู่ประเทศเพื่อนบ้าน (CLMV) และไปยังที่อื่นๆ ทั่วโลก ที่ได้รับการคาดหวังว่าจะทำให้ประเทศไทยทะยานไปสู่ความเป็นศูนย์กลางการค้า “อี-คอมเมิร์ซ” ได้ไม่ยาก และคาดหวังว่าจะกรุยทางให้ไทยก้าวไปสู่ศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ในอนาคต สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA ได้ประเมินมูลค่าการซื้อขายผ่านออนไลน์ในปี 2561 ว่าจะพุ่งทะยานเพิ่มขึ้นไปสู่ระดับที่มีมูลค่าเกิน 3 ล้านล้านบาท จากปีก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 2.4 ล้านล้านบาท ซึ่งกรณีที่ว่านี้จะทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้ากลายเป็นธุรกิจดาวรุ่งพุ่งแรงที่น่าจับตามอง และมีการแข่งขันสูง ด้วยเหตุที่การจัดการขนส่งสินค้าจากผู้ขายไปถึงมือผู้ซื้อยังคงต้องพึ่งพาการขนส่งสินค้าเป็นหลัก ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นของไทยและจากต่างประเทศต่างทยอยสร้างฐานการให้บริการเพื่อรองรับและเก็บเกี่ยวอานิสงส์ของธุรกิจค้าออนไลน์ที่เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยนอกจากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.)

Read More