Home > สินเชื่อ (Page 2)

ศึกช่วงชิงแบรนด์ มหากาพย์ “เงินติดล้อ”

 ในตลาดสินเชื่อ “รถแลกเงิน” แบรนด์ “ศรีสวัสดิ์” ถือเป็นผู้บุกเบิกสร้างตลาดสินเชื่อรายย่อยระดับรากหญ้า เปิด “ตลาดใหม่” ให้บรรดาสถาบันการเงินเข้ามาสร้างรายได้จำนวนมหาศาล และเป็นแบรนด์ที่ถูกช่วงชิงกันระหว่างกลุ่มตระกูล “แก้วบุตตา” กับยักษ์ใหญ่อย่างธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งดวงใจ แก้วบุตตา กรรมการผู้จัดการบริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979 จำกัด (มหาชน) เปรียบเทียบเหมือนมหากาพย์เรื่องยาว มีการเจรจาหลายรอบและฟ้องร้องอยู่นานหลายเดือน  จุดเริ่มต้นของ “ศรีสวัสดิ์” เกิดจากแนวคิดของเสี่ยเจ้าของธุรกิจอู่ซ่อมรถในจังหวัดเพชรบูรณ์ ฉัตรชัย แก้วบุตตา ซึ่งมีเครือข่ายลูกค้าที่นำรถยนต์มาใช้บริการในอู่อยู่เป็นประจำ และส่วนใหญ่มักเจอปัญหาการติดต่อขอกู้เงินจากธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเอกสารรายได้ทางการเงิน การตรวจสอบเครดิต รวมถึงการเดินทางไปยังสาขาต่างๆ ของธนาคาร  ปี 2522 ฉัตรชัยตัดสินใจเปิดธุรกิจปล่อยเงินกู้ด้วยวิธีจำนำทะเบียนรถเป็นหลักประกัน โดยใช้ชื่อมารดา “ศรีสวัสดิ์ แก้วบุตตา” ตั้งชื่อกิจการว่า “บริษัท ศรีสวัสดิ์ เพชรบูรณ์” เริ่มต้นธุรกิจให้บริการสินเชื่อในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้วิธีเดินสายไปยังพื้นที่ชุมชนต่างๆ จนเป็นที่รู้จักและถือเป็นเจ้าตลาดในจังหวัด เนื่องจากมีการจัดระบบการให้สินเชื่ออย่างเป็นระบบ มีหลักฐานสัญญาชัดเจน และสามารถเจรจาผ่อนผันการชำระได้  ดำเนินธุรกิจเกือบ 20 ปี  บริษัท ศรีสวัสดิ์

Read More

“ศรีสวัสดิ์พาวเวอร์” ลั่นกลองรบ รุก “ร้านสะดวกซื้อทางการเงิน”

 ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและอดีตนายแบงก์ กระโดดเข้ามาร่วมถือหุ้นและรับตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979 จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเพียงบริษัทขนาดกลาง เหตุผลไม่ใช่แค่สัมพันธ์ฉันเพื่อนกับฉัตรชัย แก้วบุตตา ในฐานะร่วมวงก๊วนกอล์ฟมานานหลายสิบปีเท่านั้น แต่เกิดจากแนวคิดของฉัตรชัยเรื่องการสร้างระบบสินเชื่อรายย่อย หรือ “Micro Finance” อย่างมีมาตรฐาน คิดอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นธรรม และสร้างโมเดลธุรกิจที่เรียกว่า “ร้านสะดวกซื้อทางการเงิน” เพื่อเปิดช่องทางให้ลูกค้าระดับชาวบ้านทั่วไปเข้าถึงแหล่งเงินทุนง่ายขึ้น   โดยเฉพาะปีนี้ ฉัตรชัย แก้วบุตตา วางแผนการใหญ่เพื่อรุกตลาดสินเชื่อทะเบียนรถแบบก้าวกระโดด ตั้งเป้าหมายขยายสาขาทั่วประเทศครบ 1,000 สาขา และผลักดันรายได้แตะ 10,000 ล้านบาทภายใน 3-5 ปี  การเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวน 250 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ซึ่งคาดว่าจะอยู่ในช่วงไตรมาส 1-2  เพื่อเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 1,000 ล้านบาท และใช้ชื่อ “SAWAD” ในการซื้อขายหมวดธุรกิจการเงิน จึงเป็นความพยายามสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจและสร้างภาพลักษณ์ใหม่ๆ

Read More