Home > สตรีทฟู้ด

โลตัส ร่วมกับ ททท. จัดงาน “ฟู้ดติดดาว” เดินสายออกบูธในโลตัส 5 ภาค

โลตัส ร่วมกับ ททท. จัดงาน “ฟู้ดติดดาว” ยกขบวนร้านมิชลินและสตรีทฟู้ดชื่อดังกว่า 25 ร้านค้า ที่สุดของประเทศไทย! เดินสายออกบูธในโลตัส 5 ภาค เติมเต็มการเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับอาหารและอาหารสดคุณภาพสูง โลตัส ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดงาน “ฟู้ดติดดาว” ขนขบวนพันธมิตรร้านอาหารระดับมิชลิน และร้านสตรีทฟู้ดชื่อดังรวมกว่า 25 ร้านค้า มาจัดโรดโชว์ออกบูธจำหน่ายอาหาร ในโลตัสสาขาพิเศษ 10 แห่ง ทั้งในกรุงเทพฯ และเมืองท่องเที่ยว 5 ภูมิภาค เปิดประสบการณ์แบบ Amazing Thailand สัมผัสรสชาติความอร่อยหลากสไตล์ของคนไทย พร้อมโชว์ทำอาหารจากหลากหลายเชฟชื่อดัง นำโดยเชฟบุ๊ค บุญสมิทธ์ พุกกะณะสุต มาร่วมสร้างสรรค์เมนูสุดพิเศษ นอกจากนี้ ยังมีแคมเปญให้ประชาชนทั่วประเทศสามารถมีส่วนร่วม โดยสะสมใบเสร็จจากการซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าในโลตัสสาขาใหญ่ทั่วประเทศ เพื่อลุ้นรับบัตรทานอาหารที่ร้านมิชลิน 1 ดาว ตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. – 5

Read More

เวิลด์แก๊สแตกไลน์ ดัน “วันเดอร์ฟู้ด” เข้าตลาดหุ้น

“เวิลด์แก๊ส” เปิดยุทธศาสตร์แตกไลน์ธุรกิจร้านอาหารแนวสตรีทฟู้ดระดับพรีเมียม โดยประเดิมโปรเจกต์แรกจับมือกับบริษัท วันเดอร์ฟู้ด อินเตอร์เนชันแนล จำกัด ของเชฟมิชลินสตาร์ “แอนดี้ ยังเอกสกุล” และมองข้ามช็อตต่อยอดขยายเครือข่ายสาขาแฟรนไชส์ ธุรกิจเครื่องปรุงรสและอาหารกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งหมายถึงการขยายฐานรายได้ใหม่ และยังเป็นการเพิ่มลูกค้าก๊าซกลุ่มร้านอาหารแบบดับเบิ้ลด้วย ทั้งนี้ หากดูโครงสร้างรายได้ของบริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ผู้จัดจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภายใต้แบรนด์เวิลด์แก๊ส เมื่อปี 2562 อันดับ 1 มาจากโรงบรรจุก๊าซ 6,376 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 44.83% ตามด้วยสถานีบริการก๊าซ 3,337 ล้านบาท สัดส่วน 24.29% กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม 1,378 ล้านบาท สัดส่วน 9.39% กลุ่มลูกค้าพาณิชย์ 842 ล้านบาท สัดส่วน 5.32% ร้านค้าก๊าซ 609 ล้านบาท สัดส่วน 4.15% ที่เหลือเป็นซัปพลายเซลและอื่นๆ

Read More

สตรีทฟู้ดบูม 3.4 แสนล้าน เซ็นกรุ๊ป งัด “เขียง” รถเข็นปูพรม

เชนร้านอาหารยักษ์ใหญ่ “เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป” ประกาศรุกสงคราม Street Food ส่งโมเดลร้านรูปแบบใหม่ “รถเข็น” แบรนด์ “เขียง” หลังภาพรวมตลาดมีแนวโน้มเติบโตพุ่งพรวดหลายเท่า ทั้งความนิยม ไลฟ์สไตล์ของคนไทย และที่สำคัญ คือ ปัจจัยบวกจากโครงการกระตุ้นการจับจ่าย “คนละครึ่ง” ของรัฐบาลสามารถผลักดันยอดขายของร้านสตรีทฟูดริมทางเพิ่มขึ้นมากกว่า 30-50% ในเวลาเพียงไม่กี่เดือน ขณะเดียวกัน ธุรกิจร้านอาหารริมทาง หรือ Street Food พลิกขยายตัวสวนพิษโควิด โดยกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารประมาณการปี 2564 จะมีมูลค่าตลาดมากกว่า 340,000 ล้านบาท จากปีที่ผ่านๆ มามีมูลค่าตลาดราว 270,000 ล้านบาท จำนวนร้านค้ามากกว่า 103,000 ร้านทั่วประเทศ เหตุผลสำคัญมาจากความได้เปรียบในแง่ความคล่องตัวของการเปิดร้าน ใช้พื้นที่ไม่มาก เงินลงทุนไม่สูง และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ต่างปรับกลยุทธ์จุดขายหลากหลายรูปแบบ เช่น การประยุกต์เมนูอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่า การจัดร้าน เน้นจุดขายทั้งในแง่ความเก่าแก่ ชูตำนานความอร่อย และเข้าสู่ระบบเดลิเวอรี่มากขึ้น จนสามารถสร้างยอดขายไล่ตามกลุ่มฟาสต์ฟู้ดได้อย่างชัดเจน ดูจากข้อมูลการสำรวจสถิติการสั่งอาหารออนไลน์ของคนไทย โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)

Read More

เคานต์ดาวน์เศรษฐกิจไทย ปลุก “สตรีทฟูด” พลิกวิกฤต

เริ่มเคานต์ดาวน์เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ปี 2563 ท่ามกลางข้อมูลหลายสำนักที่ฟันธงในทิศทางเดียวกัน คือ “แย่” และต้องถือว่า 2 วันสุดท้ายของปี 2562 บรรดาห้างร้านต่างอัดงบจัดเต็มสร้างบรรยากาศการนับถอยหลัง เพื่อดูดเม็ดเงินก่อนปิดยอดขายรายได้ เพราะไม่ใช่แค่การชี้ขาดผลการดำเนินงานของธุรกิจเอกชน แต่ยังหมายถึงผลสะท้อนความสำเร็จและความล้มเหลวของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนรับศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งใหญ่ หากประมวลตัวเลขต่างๆ แม้ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่ปี 2563 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,223 ตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 11-20 ธ.ค. 2562 คาดว่าจะมีมูลค่าการใช้จ่าย 137,809 ล้านบาท เป็นมูลค่าสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มสำรวจเมื่อ 14 ปีที่แล้ว โดยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.9% จากปี 61 ที่มีมูลค่าการใช้จ่าย 135,279.74 ล้านบาท แต่อัตรา 1.9% กลับเป็นตัวเลขการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 14 ปี สาเหตุหลักมาจากประชาชนกังวลภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจึงใช้จ่ายอย่างระมัดระวังที่สุด โดยค่าใช้จ่าย 137,809 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการท่องเที่ยวในประเทศ 60,449.57

Read More

CRG ทรานส์ฟอร์มชิงธงรบ ดัน “อร่อยดี” เจาะสตรีทฟู้ด

เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป ออกมาประกาศเดินหน้ารุกสมรภูมิธุรกิจร้านอาหารที่มีเม็ดเงินมากกว่า 410,000 ล้านบาท ภายใต้ยุทธศาสตร์ Let’s Make The Jump โดยปีนี้กำหนดกลยุทธ์สำคัญ Transform from Operator to Innovator ไม่ใช่แค่การเป็น “แฟรนไชซี” แบรนด์อิมพอร์ตยักษ์ใหญ่ แต่พลิกบทบาทเข้าสู่โหมดการลุยธุรกิจแบบเต็มสูบ โดยเฉพาะแผนสร้างแบรนด์รุกเซกเมนต์ใหม่ๆ เปิดศึกหลายแนวรบ ทั้งสตรีทฟู้ด แฟรนไชส์และศึกเดลิเวอรี่ที่กำลังร้อนเดือดขีดสุด ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป หรือ “ซีอาร์จี” ระบุว่า ปี 2562 จะเป็นปีที่บริษัทรุกสมรภูมิธุรกิจร้านอาหารมากที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่อาจดูชะลอตัว แต่ยังคงเติบโตดีอยู่ ที่สำคัญคู่แข่งในกลุ่มฟู้ดเชนรายใหญ่กระโดดลงแข่งขันเจาะตลาดแมสมากขึ้น เพราะสถานการณ์ตลาดเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างสิ้นเชิง “ในอดีต ผู้คนต้องตามล่าหาอาหาร แต่ทุกวันนี้ ร้านอาหารต้องตามล่าเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกรูปแบบบวกกับพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเลือกสรรอาหารที่มีคุณภาพ โดนๆ มากกว่าการคำนึงถึงราคาเพียงอย่างเดียว ลูกค้าคนรุ่นใหม่บางคนอาจยอมเสียค่าบริการส่งสินค้าเพื่อสั่งชานมไข่มุก 1 แก้ว เหตุผลเดียว

Read More

มิชลินสตาร์ บนวัฒนธรรมอาหารไทย

ข่าวการประกาศผลและมอบรางวัลมิชลินสตาร์ ให้กับร้านอาหารไทยเมื่อไม่นานมานี้ ดูจะก่อให้เกิดความตื่นตัว และกระแสวิพากษ์อย่างกว้างขวางพอสมควร ทั้งในประเด็นที่มาที่ไปของการมอบรางวัล และมาตรฐานความเป็นไปของอาหารไทยที่ครั้งหนึ่งเคยได้รับการผลักดันให้เป็นครัวของโลก ในระดับนานาชาติไม่น้อยเลย ประเด็นที่น่าสนใจมากประการหนึ่งจากปรากฏการณ์ มิชลินสตาร์ รอบล่าสุดอยู่ที่การกำหนดนิยามความหมายของคำว่า สตรีทฟู้ด หรือร้านอาหารริมทาง ที่ดูจะเลื่อนไหลไปจากความหมายทั่วไปจากเดิมที่สังคมไทยคุ้นชิน ไปสู่มาตรฐานใหม่ และอาจนำไปสู่การบริหารจัดการในอนาคต ก่อนหน้านี้ในปี 2559 ที่ผ่านมา สำนักข่าว CNN เคยจัดอันดับเมืองที่มีอาหารริมทาง หรือสตรีทฟู้ด ที่ดีที่สุดในโลก จาก 23 เมืองของโลก ก่อนที่จะระบุให้กรุงเทพมหานคร เป็นอันดับหนึ่งของเมืองสตรีทฟู้ด ซึ่งทำให้กิจกรรมของร้านอาหารริมทางในสังคมไทยตื่นตัวขึ้นมาระยะหนึ่ง ควบคู่กับความพยายามที่จะจัดระเบียบและวางหลักเกณฑ์ด้านสุขอนามัยควบคู่ไปด้วย ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ก็พยายามหยิบยกกรณีดังกล่าวขึ้นเป็นส่วนหนึ่งในการโฆษณาประชาสัมพันธ์กิจกรรมการท่องเที่ยวไทย เพื่อเพิ่มสีสันและความหลากหลาย ที่ทำให้แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ของไทยเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วทุกมุมโลกมากยิ่งขึ้น และเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าเมืองไทยอุดมด้วยอาหารการกินตลอด 24 ชั่วโมง สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือการยอมรับสถานภาพของอาหารริมทาง ในฐานะที่เป็นมากกว่าส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมการบริโภค หากแต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตที่หนุนนำความเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่แวดล้อมไปด้วยแรงงานนอกระบบจำนวนมหาศาล เป็นการค้าและเป็นอาชีพอิสระประเภทหนึ่งในฐานะที่เป็น informal sector ขนาดเล็กที่บางครั้งเรียกว่า “ธุรกิจขนาดจิ๋ว” หรือ Micro-enterprise ที่ช่วยหนุนนำและขับเคลื่อนองคาพยพของกลไกเศรษฐกิจหลักมานานก่อนที่จะเกิดคำศัพท์ยอดฮิตไม่ว่าจะเป็น start-up หรือไทยแลนด์ 4.0 ในปัจจุบัน ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ

Read More