Home > วิกฤตโควิด-19

สหพัฒน์ผนึกกำลัง ช่วยเหลือบุคลากรด่านหน้าและชุมชน ฝ่าวิกฤตโควิด-19

โครงการประชารัฐเครือสหพัฒน์ และกลุ่ม SAHAGROUP Health Care & Wellness ผนึกกำลัง ช่วยเหลือบุคลากรด่านหน้าและชุมชน ฝ่าวิกฤตโควิด-19 รวมกว่า 25 ล้านบาท บริษัทจากโครงการประชารัฐเครือสหพัฒน์ และกลุ่ม SAHAGROUP Health Care & Wellness ภายใต้เครือสหพัฒน์ ยังคงดำเนินธุรกิจภายใต้นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม “คนดี สินค้าดี สังคมดี” ตามแนวทางหลักของเครือสหพัฒน์เป็นสำคัญ ในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 นี้ จึงได้ร่วมกันระดมความช่วยเหลือไปยังบุคลากรด่านหน้าผู้ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย โรงพยาบาล สำนักการแพทย์ หน่วยงาน มูลนิธิ รวมทั้งคนในชุมชน ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมเป็นเงินช่วยเหลือกว่า 25 ล้านบาท สำหรับการกระจายความช่วยเหลือในช่วงวิกฤตโควิด-19 จากบริษัทในโครงการประชารัฐเครือสหพัฒน์ และกลุ่ม SAHAGROUP Health Care & Wellness มีดังนี้ ๏ บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด

Read More

“เด็กแรกเกิดต้องรอด” โครงการจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับทารกแรกเกิดที่แม่ติดเชื้อโควิด-19

“เด็กแรกเกิดต้องรอด” โครงการจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับทารกแรกเกิดที่แม่ติดเชื้อโควิด-19 จาก “โรงพยาบาลเด็ก” “เด็กแรกเกิด” เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตโควิด-19 เพราะปัจจุบันมีกลุ่มแม่อุ้มท้องที่ติดเชื้อและเจ็บท้องคลอด แต่เพื่อไม่ให้เด็กทารกแรกเกิดที่คลอดออกมานั้น ได้รับเชื้อโควิด-19 จำเป็นต้องมีการดูแลมารดาและทารกอย่างถูกต้อง จากข้อมูลในปัจจุบันพบว่า ในคุณแม่ติดเชื้อแม้มีโอกาสถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ไม่มากนัก แต่หากกระบวนการดูแลทั้งการคลอด หลังคลอด และที่บ้าน ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจะทำให้เด็กแรกเกิดมีโอกาสติดเชื้อไปด้วย ฉะนั้น โรงพยาบาลเด็ก หนึ่งในด่านหน้าที่รับดูแลเด็กแรกเกิดที่ป่วยจึงได้ริเริ่มโครงการ “เด็กแรกเกิดต้องรอด” เพื่อเตรียมสถานที่และอุปกรณ์สำหรับรองรับการดูแลทารกแรกเกิดที่มีอาการป่วยด้วยโรคโควิด-19 หรือคลอดจากมารดาที่ติดเชื้อ นายแพทย์เสรี ตู้จินดา ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก กล่าวว่า “สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือในชื่อเดิมคือ รพ.เด็ก เป็น รพ.รัฐบาลแห่งเดียวในประเทศไทยที่รับดูแลแต่ผู้ป่วยเด็กเท่านั้น มีแผนกต่างๆสำหรับเด็กครบถ้วนเช่นเดียวกับโรงพยาบาลผู้ใหญ่ ให้การดูแลตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึง 15-18 ปี โดยหน่วยทารกแรกเกิด สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านทารกแรกเกิดของกรมการแพทย์ ให้การดูแลทารกที่คลอดที่ รพ.ราชวิถีทุกราย ทั้งทารกปกติที่อยู่กับมารดา และทารกที่มีอาการป่วยซึ่งจะได้รับการส่งต่อมารับการรักษาที่สถาบันฯ นอกจากนี้ ยังให้การดูแลรักษาทารกวิกฤต หรือมีปัญหาซับซ้อนที่ส่งต่อมาจาก รพ.ทั่วประเทศ โดย รพ.ราชวิถี ซึ่งเป็นรพ.ศูนย์ขั้นสูงระดับตติยภูมิ และให้การดูแลและรับส่งต่อมารดาที่มีความเจ็บป่วยซับซ้อนเช่นเดียวกัน ปัจจุบันสถิติมารดาคลอดประมาณ 400–500

Read More

ดิ เอ็มโพเรี่ยม ดิ เอ็มควอเทียร์ จัดมาตรการช่วยเหลือร้านอาหารภายในศูนย์การค้า ช่วงการยกระดับมาตรการป้องกันโควิด-19

ดิ เอ็มโพเรี่ยม ดิ เอ็มควอเทียร์ จัดหลากหลายมาตรการช่วยเหลือร้านอาหารภายในศูนย์การค้าในช่วงการยกระดับมาตรการป้องกันโควิด-19 ของทางภาครัฐ ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรี่ยม และ ดิ เอ็มควอเทียร์ จัดมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารภายในศูนย์การค้าที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ทั้งมาตรการสนับสนุนและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้กับร้านค้าต่างๆ ด้วยการงดเว้นค่าเช่าให้กับร้านอาหารในช่วงที่ไม่สามารถนั่งรับประทานอาหารได้ พร้อมเปิดตัวบริการ “โทรสั่งครั้งเดียว อร่อยได้หลายร้าน” RESTAURANT CONCIERGE SERVICE และบริการสั่ง-รับอาหาร (Food Order & Pick up) รวมถึงมอบโปรโมชั่นพิเศษต่างๆอีกมากมาย ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรี่ยม และดิ เอ็มควอเทียร์ นางสุธาวดี ศิริธนชัย รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรี่ยม ดิ เอ็มควอเทียร์ กล่าวถึงการช่วยเหลือร้านค้าในศูนย์การค้าฯ ว่า ในช่วงเวลาแห่งความลำบากที่ทุกคนต้องช่วยกันปฏิบัติตามนโยบายของทางภาครัฐเพื่อควบคุมโควิด-19 อย่างในช่วงนี้ ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรี่ยม และ ดิ เอ็มควอเทียร์จึงเร่งจัดมาตรการเร่งด่วนต่างๆ

Read More

เดอะมอลล์ จัดโครงการ “ถุงน้ำใจ หัวใจไทย ไทยช่วยไทย ไทยสู้สู้” มอบถุงน้ำใจให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ใน 5 พื้นที่

เดอะมอลล์ กรุ๊ป จัดโครงการ “ถุงน้ำใจ หัวใจไทย ไทยช่วยไทย ไทยสู้สู้” เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปัน ดูแล ตลอดจนเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 เดินหน้ามอบถุงน้ำใจให้กับประชาชนที่พำนักอาศัยอยู่ในชุมชน 5 พื้นที่โดยรอบศูนย์การค้าเดอะมอลล์ บางแค, บางกะปิ, ท่าพระ, เดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน และเดอะมอลล์ โคราชรวม 5,000 ถุง พร้อมให้คำมั่นสัญญาว่าจะเดินหน้าให้ความช่วยเหลือในทุกมิติเพื่อให้ประเทศไทยปลอดโควิด-19 และจะยืนหยัดเคียงข้างประเทศไทยและประชาชนคนไทยในทุกสถานการณ์ นางสาววรลักษณ์ ตุลาภรณ์ ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า “ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก เดอะมอลล์ กรุ๊ป ในฐานะองค์กรเอกชนของคนไทยที่ยืนหยัดเคียงข้างประเทศไทยมาโดยตลอด เรามีความห่วงใยและขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปัน ดูแล ตลอดจนเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 โดยจัดโครงการ “ถุงน้ำใจ หัวใจไทย ไทยช่วยไทย ไทยสู้สู้” นำถุงน้ำใจ ที่ภายในประกอบด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวัน อาทิ ข้าวสาร,อาหารกระป๋อง,

Read More

แมคโดนัลด์ส่งแคมเปญแทนคำขอบคุณจากใจ มอบกาแฟฟรี แก่บุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ

ท่ามกลางสถานการณ์ยากลำบากที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 นี้ บุคลากรทางการแพทย์คือบุคคลสำคัญที่เสียสละทุ่มเททำงานอย่างหนัก เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างไม่มีวันหยุด บริษัท แมคไทย จำกัด ผู้นำธุรกิจอาหารบริการด่วน ภายใต้แบรนด์ แมคโดนัลด์ ในประเทศไทย ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งกำลังใจ เติมพลังแรงกาย ภายใต้แคมเปญ ‘แทนคำขอบคุณจากใจแมคโดนัลด์ เพื่อบุคลากรทางการแพทย์’ มอบกาแฟฟรี ให้แก่ฮีโร่ทุกท่าน ที่ร้านแมคโดนัลด์ทุกสาขาทั่วประเทศ จำนวน 20,000 แก้ว รวมมูลค่ากว่า 1.1 ล้านบาท นายธันยเชษฐ์ เอกเวชวิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท แมคไทย จำกัด กล่าวว่า “แมคโดนัลด์ต้องการขอบคุณบุคลากรแนวหน้าในการรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในครั้งนี้ ซึ่งไม่จำกัดเพียงแต่คุณหมอ คุณพยาบาล ในโรงพยาบาลของภาครัฐ และเอกชนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ด้วยเช่นกัน” บุคลากรทางการแพทย์ทุกท่าน สามารถมาชาร์จพลัง เติมความสดชื่นกับกาแฟหอมกรุ่นได้ทุกเวลา เพียงแสดงบัตรประจำตัวพนักงาน รับฟรี! กาแฟลองแบล็คร้อน ขนาด 8

Read More

LPN เปิดตัวแคมเปญ “ช่วยผ่อนนานสูงสุด…5 ปี” ช่วยลูกค้ามีบ้านในช่วงวิกฤตโควิด-19

LPN เปิดตัวแคมเปญใหม่ “ช่วยผ่อนนานสูงสุด...5 ปี” ช่วยลูกค้ามีบ้านในช่วงวิกฤตโควิด-19 โดยลดภาระค่าผ่อนบ้านให้กับลูกค้าได้นานสูงสุดถึง 5 ปี หรือ 60 เดือน เริ่มตั้งแต่วันนี้ ถึง 15 พ.ค.2564 ตั้งเป้ายอดขาย 1,000 ล้านบาท นางปนัดดา ขจรศิลป์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)(LPN) กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระลอกใหม่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นใจของผู้ซื้อบ้านต่อรายได้ในอนาคต ในขณะที่ยังมีความต้องการซื้อบ้านเพื่อการอยู่อาศัย ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว บริษัทจึงได้มีการออกแคมเปญ “ช่วยผ่อนนานสูงสุด...5 ปี” พร้อมฟรีค่าใช้จ่ายวันโอน เพื่อแบ่งเบาภาระการผ่อนบ้าน โดยที่บริษัทช่วยผ่อนในช่วง 5 ปีแรก ซึ่งเชื่อว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 น่าจะคลี่คลายแล้ว และเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นยอดขายของบริษัทในไตรมาสสองของปี 2564 ภายใต้แคมเปญ “ช่วยผ่อนนานสูงสุด…5 ปี” LPN จะช่วยลูกค้าผ่อนค่างวดให้กับสถาบันการเงินนานสูงสุดถึง 5

Read More

ไทยน้ำทิพย์ เดินหน้าปรับกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจเติบโตพร้อมพันธมิตรก้าวผ่านวิกฤตโควิด 19

บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โคคา-โคลา และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของโคคา-โคล่า ประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น แฟนต้า สไปรท์ มินิทเมด ชเวปส์ และน้ำดื่มน้ำทิพย์ ตอกย้ำความเป็นหนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ด้วยธุรกิจที่ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้อุตสาหกรรมโดยรวมชะลอตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยกลยุทธ์สำคัญที่ครอบคลุมทั้งด้าน ผลิตภัณฑ์ (Product) พันธมิตร (Partnership) และพนักงาน (People) โดยเป็นผลมาจากความสำเร็จของเครื่องดื่มสูตรไม่มีน้ำตาล และความมุ่งมั่นที่จะผลักดันการเติบโตร่วมกันไปพร้อมกับทุกฝ่าย แม้ในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความท้าทาย ผลิตภัณฑ์ในพอร์ตโฟลิโอของโคคา-โคล่า ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของไทยน้ำทิพย์ที่ยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเซกเมนต์เครื่องดื่มอัดลม ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 55.2 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้น 0.6 เปอร์เซ็นต์จากปีที่แล้ว โดยสำหรับตลาดน้ำดำ ไทยน้ำทิพย์สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดได้เพิ่มขึ้น 0.6 เปอร์เซ็นต์ มาอยู่ที่ 48.2 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ตลาดเครื่องดื่มไม่มีน้ำตาลก็ขยายตัวถึง 15.8 เปอร์เซ็นต์ โดยมี โค้ก สูตรไม่มีน้ำตาล

Read More

ธุรกิจการบินอ่วมหนัก ยอดขาดทุนยังพุ่งไม่หยุด

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 และยังไม่มีแนวโน้มที่จะยุติลงโดยง่าย สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกในวงกว้างทั้งในภาคการบริการและภาคอุตสาหกรรมโดยหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างสูงคือธุรกิจสายการบิน โดยในระดับโลกจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้หลายประเทศทั่วโลกใช้มาตรการปิดเมือง (lock-down) หรือกระทั่งปิดประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเดินทางเข้ามาแพร่เชื้อโรค ส่งผลให้ปริมาณเที่ยวบินระหว่างประเทศที่เข้าหรือออกจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปรับลดลงอย่างมาก ผลจากการปรับลดจำนวนหรือยกเลิกเที่ยวบินในเส้นทางระหว่างประเทศดังกล่าว ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบการสายการบินทั่วโลก เพราะในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจการบินต้องประสบกับความยากลำบากจากการแข่งขันด้านราคา และการแทรกตัวเข้ามาของสายการบินโลว์คอสต์ที่รุกคืบเข้ามาช่วงชิงลูกค้าของสายการบินฟูลเซอร์วิสในเส้นทางภายในประเทศและเส้นทางบินระยะสั้นไปจำนวนมาก ขณะที่การบินในเส้นทางระยะยาวก็ต้องแข่งขันกันด้านราคากับผู้ประกอบการอื่นเช่นกัน การหยุดให้บริการทั้งในเส้นทางระหว่างประเทศและในประเทศในช่วงที่ผ่านมา ทำให้หลายสายการบินต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินการด้วยการลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะด้านค่าใช้จ่ายพนักงานที่คิดเป็นร้อยละ 15-20 ของต้นทุนทั้งหมด รวมทั้งเพิ่มช่องทางในการหารายได้ใหม่ๆ โดยสายการบินไทยเน้นให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศเพิ่มขึ้น และให้ครัวการบินไทยปรับมาขายอาหารที่ปรุงโดยเชฟของครัวการบินไทย รวมถึงการขายเบเกอรี่ หรือแม้กระทั่ง ปาท่องโก๋ ผ่านทางร้าน Puff & Pie และเอาต์เล็ตอื่นๆ รวมถึงการจัดเที่ยวบินพิเศษบินวนไม่ลงจอดเพื่อสักการะสถานที่มงคลทั่วประเทศ ความพยายามดิ้นรนของสายการบินแต่ละแห่งในห้วงเวลายากลำบากนี้ดำเนินไปโดยไม่ได้จำกัดเฉพาะกรณีของการบินไทยเท่านั้น หากแต่สายการบินอื่นๆ ก็พยายามสร้างช่องทางรายได้ โดยสายการบินไทยแอร์เอเชีย มีการเปิดขายบัตรโดยสารล่วงหน้า และขายเบเกอรี่และเครื่องดื่มผ่านทางเดลิเวอรี่ ขณะที่สายการบินนกแอร์จัดโปรโมชัน “ซื้อก่อน บินทีหลัง” ด้วยการขาย voucher ล่วงหน้าเพื่อนำไปใช้ในช่วง 1 มิถุนายน ถึง 31

Read More

SEED แนะการปรับตัว 6 ประการ สำหรับ SMEs เพื่ออยู่รอดในวิกฤตโควิด-19

SEED แนะปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัว 6 ประการเพื่อให้อยู่รอดในช่วงการระบาดของโควิด-19 ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ในกลุ่มธุรกิจภาคสังคมและธุรกิจสีเขียวของไทย SEED ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระดับโลกเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการได้สรุปปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัวที่สำคัญหกประการเพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ของประเทศไทยอยู่รอดในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยมีความยืดหยุ่นและความยั่งยืนเป็นองค์ประกอบหลัก รายงานล่าสุดระบุว่าธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ทั่วโลกราว 42% อาจประสบภาวะขาดทุนภายในหกเดือนข้างหน้า เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากสถาณการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและสภาพทางสังคมของไทยกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง แผน 6 ข้อของ SEED จึงมีเป้าหมายเพื่อชี้นำผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับวิธีการสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อความท้าทายในอนาคตและรับมือกับสิ่งที่ไม่เคยประสบมาก่อน แผนดังกล่าว ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวในเชิงธุรกิจ (Business Resilience) ความสามารถในการปรับตัวด้านการเงิน (Financial Resilience) ความสามารถในการปรับตัวขององค์กร (Organisational Resilience) ความสามารถในการปรับตัวต่อระบบนิเวศ (Ecosystem Resilience) ความสามารถในการปรับตัวตามภาวะตลาด (Market Resilience) และความสามารถในการปรับตัวเพื่อสร้างผลกระทบ (Impact Resilience) ผู้เริ่มต้น (Starters) ผู้พัฒนา (Movers) และผู้เป็นเลิศ (Champions)

Read More

ถอดบทเรียนจีนฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด สู่โอกาสของไทยหลุดพ้นจีดีพีติดลบ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า วิกฤตโควิด-19 สร้างความเสียหายเชิงโครงสร้างแก่ทุกประเทศที่มีการแพร่ระบาด ทั้งด้านสาธารณสุข และเศรษฐกิจทั้งระบบ เป็นเรื่องยากที่จะฟื้นตัวจากสถานการณ์อันยากลำบากในห้วงยามนี้ ที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอยเป็นทุนเดิม ประเทศจีนแม้จะเป็นประเทศต้นทางการแพร่ระบาดของเชื้อร้ายนี้ และต้องเผชิญกับวิบากกรรมก่อนประเทศอื่น หลายประเทศแสดงความกังวลว่าจีนจะรับมือกับสถานการณ์นี้ได้อย่างไร การประกาศล็อกดาวน์ของจีนในเวลานั้นส่งผลกระทบในหลายด้าน ทั้งผลกระทบต่อประชากรในประเทศตัวเอง รวมไปถึงผลกระทบต่อประเทศคู่ค้า แต่ความเอาจริงเอาจังและศักยภาพที่มีทำให้จีนผ่านพ้นช่วงเวลาอันเลวร้ายมาได้ในที่สุด และด้วยระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน เศรษฐกิจจีนที่เคยฟุบตัวลงในช่วงเวลาหนึ่งกลับฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว กระทั่งมีการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีอีกครั้ง โดยเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3/2563 มีการขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อเนื่องจากไตรมาส 2/2563 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 3.2 เป็นผลสืบเนื่องจากการทยอยฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศที่กลับมาคึกคักอีกครั้ง ภายหลังจากที่ทางการจีนได้ออกมาตรการผ่อนคลายการท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2563 นอกจากนี้ กิจกรรมการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์คำสั่งซื้อที่สูงขึ้น ในช่วงที่ยังมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ซึ่งส่งผลต่อความต้องการสินค้าผลิตภัณฑ์ยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์จากจีน ที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง อาทิ อุปกรณ์วัดไข้ ผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัย อีกทั้งมาตรการทำงานที่บ้าน (Work From Home) ของหลายประเทศช่วยหนุนความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากจีน โมเมนตัมข้างต้นจะยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เศรษฐกิจจีนในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2563 จะยังขยายตัวต่อเนื่องได้สูงกว่าร้อยละ 5.0 (บนสมมุติฐานที่ไม่มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างระลอกสอง) หากแต่ยังคงเป็นอัตราการขยายตัวต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อันเนื่องมาจากภาคการส่งออกของจีนที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มสินค้าที่ตอบโจทย์การรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงเผชิญกับความท้าทายจากความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นของเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกัน

Read More