Home > วิกฤตโควิด-19 (Page 2)

ภาคธุรกิจจับมือสนับสนุนงานด้านความยั่งยืนคู่การฟื้นธุรกิจหลังโควิด

ภาคธุรกิจในประเทศไทยหลากหลายอุตสาหกรรมได้ร่วมถ่ายทอดความรู้เพื่อสนับสนุนความยั่งยืนในงาน Sustainability for Business Forum (SBF20) ครั้งที่ 4 ที่จัดโดย หอการค้าฝรั่งเศส-ไทย หอการค้าเนเธอร์แลนด์-ไทย และหอการค้าไทย-สวีเดน เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนการทำงานเพื่อความยั่งยืนในภาคธุรกิจ และช่วยหาแนวคิดใหม่ๆ ที่จะมาสร้างวิถีชีวิตใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมให้ผู้บริโภคคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในที่สุด หัวข้อในงานสัมมนาในปีนี้คือ Green Recovery เนื่องด้วยความยั่งยืนและวิกฤตโควิด-19 มีความเกี่ยวข้องกันอย่างลึกซึ้ง ขณะเดียวกันแม้ว่าเศรษฐกิจทั่วโลกจะหยุดชะงัก แต่ความเสื่อมโทรมด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมไม่ได้หยุดไปด้วย ดังนั้นการทบทวนธุรกิจของทุกองค์กรภายใต้ขอบเขตของระบบนิเวศ รวมถึงสวัสดิภาพของมนุษย์เพื่อสร้างความยั่งยืนในระยะยาวจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก งานเน้นการเสวนาภายใต้ 3 หัวข้อ ได้แก่ เมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืนและมีพลวัต ไลฟ์สไตล์ด้านแฟชั่นและความงามที่ยั่งยืน และอาหารแห่งอนาคต โดยไฮไลท์ของงานอยู่ที่เวทีเสวนา CEO โดยผู้บริหารจากบริษัทชั้นนำภายในประเทศที่ดำเนินธุรกิจด้วยความยั่งยืนเป็นสำคัญตลอดช่วงวิกฤติโควิด-19 จาก ลอรีอัล ประเทศไทย ซิมไบเออร์ โซลาร์ และ เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ ภายใต้หัวข้อ ความยั่งยืนในมุมมองของกลยุทธ์องค์กร นางอินเนส คาลไดรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย)

Read More

หนี้ครัวเรือนพุ่งสูงรอบ 18 ปี  ทำเศรษฐกิจไทยบอบช้ำรุนแรง

คงไม่มีปาฏิหาริย์ใดที่จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นขึ้นได้ในช่วงเวลานี้ เมื่อดัชนีสำคัญที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าไปได้ ยังคงถูกล้อมกรอบไปด้วยปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งกำลังซื้อของภาคประชาชนที่อ่อนกำลังลงเป็นทุนเดิม การขยายตัวของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจบางประเภทจนทำให้เกิดภาวะโอเวอร์ซัปพลาย ผนวกกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยิ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเปราะบางยิ่งขึ้น ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ที่ติดลบทั้งสองไตรมาสที่ผ่านมา น่าจะอธิบายความได้ดีเกี่ยวกับสถานการณ์ของเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ แม้ว่าเชื้อไวรัสโควิดจะเป็นเสมือนจุดเปลี่ยนที่สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ทุกอย่างดูเลวร้ายลง แต่ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงขาลงมาตั้งแต่ปีก่อนหน้า ซึ่งตัวเลขจีดีพีค่อยๆ ไต่ระดับลงอย่างต่อเนื่อง และเรื่องที่น่ากังวลมากที่สุดคือสัญญาณบ่งบอกความบอบช้ำทางเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้น นั่นคือ ระดับ “หนี้ครัวเรือน” ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานออกมาอยู่ที่ 84 เปอร์เซ็นต์ ต่อตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงสุดในรอบ 18 ปี นับตั้งแต่มีการเก็บสถิติ อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับหนี้ครัวเรือนของไตรมาสก่อนหน้า จะเห็นได้ว่าสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาเพียง 3.8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นั่นหมายความว่ามูลหนี้ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นมากมายอะไร ทว่า สิ่งที่น่ากังวลคือ การปรับลดลงของจีดีพีที่ติดลบเพิ่มขึ้น หรือเข้าใจง่ายๆ นั่นคือรายได้ของประชาชนลดลง ทั้งจากปัญหาการว่างงานและการถูกลดจำนวนชั่วโมงการทำงาน ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติแสดงตัวเลขของตลาดแรงงานในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 พบว่า มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวแตะระดับ 7.5 แสนคน และจำนวนผู้เสมือนว่างงาน คือกลุ่มคนที่ยังมีงานทำแต่ชั่วโมงการทำงานน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มขึ้นใกล้เคียง 5.4 ล้านคน แม้ว่าจำนวนผู้เสมือนว่างงานจะลดลงเหลือ

Read More

การล่มสลายของธุรกิจไทย เปราะบาง-อิงต่างชาติมากเกินไป?

การประกาศปรับลดประมาณการตัวเลขจีดีพีไทยในปี 2563 ที่อาจติดลบถึง 9 เปอร์เซ็นต์ เสมือนเป็นการยอมรับโดยดุษณีว่า เศรษฐกิจไทยยังไร้กำลังฟื้นตัว และวิกฤตจากโควิด-19 ส่งผลเสียต่อระบบหนักกว่าเมื่อครั้งวิกฤตต้มยำกุ้ง ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์เศรษฐกิจในหลายสถาบันต่างมองหาความเป็นไปได้ว่า เศรษฐกิจไทยจะมีทิศทางการฟื้นตัวไปในรูปแบบใด ระหว่างรูปแบบตัว V รูปแบบตัว U หรือรูปแบบตัว L ซึ่งตัวแปรที่จะก่อให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยไม่ใช่อาศัยจังหวะที่เอื้ออำนวยอันนำมาซึ่งกำลังซื้อที่แข็งแรงขึ้นหรือนโยบายจากภาครัฐที่จะผลักดันให้อุปสงค์เพิ่มกำลังขึ้นเท่านั้น แค่เพียงนโยบายอุดหนุนจากรัฐบาลที่มุ่งหวังให้มีกระแสเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อคนในชาติด้วยกันเอง ดูจะไม่เพียงพอเสียแล้ว เมื่อทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการล้วนแต่ใช้มาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งดูจะเป็นการ์ดที่มีไว้ป้องกันตัวเอง เพราะสถานการณ์ในหลายด้านยังไม่ถึงจุดสิ้นสุด ไม่ว่าจะจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สงครามการค้ารอบใหม่ที่เริ่มร้อนแรงขึ้น หรือเหตุการณ์โศกนาฏกรรมคร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก หลังจากมาตรการผ่อนปรนที่รัฐบาลประกาศออกมา พร้อมทั้งนโยบายอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” โดยรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่พัก ค่าตั๋วเครื่องบิน ในสัดส่วน 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ประชาชนยังใช้สิทธิไม่มากอย่างที่หวังไว้ สัดส่วนการเข้าใช้สิทธิ์ที่เกิดขึ้นเพียงกระผีกลิ้นจากโครงการดังกล่าว เป็นภาพสะท้อนสถานการณ์ของกำลังซื้อภายในประเทศ และการระมัดระวังในการจับจ่ายของประชาชนมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เมื่อภาคเอกชนต่างเรียกร้องให้รัฐออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มขึ้น ด้วยหวังว่าจะมีเงินหมุนเวียนเข้ามายังสายใยของธุรกิจที่แบกความหวังอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ธุรกิจและอุตสาหกรรมจำนวนไม่น้อยที่นับถอยหลังสู่การล่มสลาย เมื่อมองไม่เห็นสัญญาณในทางบวกที่พอจะไปต่อได้ นั่นอาจเป็นเพราะโครงสร้างของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยเกาะติดและยึดโยงกับรายได้ที่มาจากต่างประเทศมาอย่างยาวนาน เวลานี้อาจดูเป็นเรื่องยาก หากผู้ประกอบการไทยจะมองหาตลาดใหม่เข้ามาทดแทนตลาดเดิม เมื่อหลายประเทศคู่ค้ายังประสบกับสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจไม่ต่างกัน วิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้ สร้างผลกระทบให้แก่ธุรกิจทุกขนาด และทุกแวดวง โดยเฉพาะธุรกิจ SME ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจผลกระทบโควิด-19 ต่อ

Read More

แฟมิลี่มาร์ท รับสมัครแฟรนไชส์ ลงทุนต่ำ คืนทุนไว กำไรดี ไม่ต้องมีทำเลเอง

โอกาสทองเป็นเจ้าของธุรกิจง่ายๆ แฟมิลี่มาร์ท (FamilyMart) รับสมัครแฟรนไชส์ การันตีรายได้ขั้นต่ำ 30,000 บาท ต่อเดือน ลงทุนต่ำ คืนทุนไว กำไรดี ไม่ต้องมีทำเลเอง ในวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ แฟมิลี่มาร์ทในเครือเซ็นทรัล รีเทล พร้อมสร้างโอกาสการเป็นเจ้าของหนึ่งในธุรกิจ ดาวเด่น “ค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ” (Convenience Store) เปิดรับสมัครแฟรนไชส์ร้านแฟมิลี่มาร์ท (FamilyMart) หลายรูปแบบให้ทุกคนเป็นเจ้าของร้านได้แม้ไม่มีพื้นที่หรืออาคารส่วนตัว และได้เปิดรับสมัครแฟรนไชส์รูปแบบใหม่ “การันตีรายได้ขั้นต่ำ 30,000 บาท/เดือน ในระยะเวลา 1 ปี ลงทุนต่ำ คืนทุนไว กำไรดี พร้อมทีมเทรนนิ่งมืออาชีพอบรมให้ความรู้ เป็นที่ปรึกษา ตลอดระยะสัญญา 6 ปี เพื่อผลักดันธุรกิจประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย พร้อมจัดหาสินเชื่อเพื่อการลงทุนกับธนาคารชั้นนำ ตั้งเป้าสิ้นปี 2563 ขยายสาขาแฟรนไชส์แฟมิลี่มาร์ทกว่า 100 สาขา ครอบคลุมทำเลย่านชุมชน สถานีบริการน้ำมัน คอนโดมิเนียม นายสเตฟาน คูม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร -

Read More

Hill+Knowlton Strategies เปิดตัวทีม I-ACT ช่วยแบรนด์รับมือโควิด-19

บริษัท ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ เปิดตัวทีม I-ACT ช่วยแบรนด์รับมือโควิด-19 ในภูมิภาคเอเชีย ด้วยกลยุทธ์แบบองค์รวมที่ได้รับการออกแบบเพื่อรับมือโควิด-19 ช่วยนำองค์กรผ่านพ้นสภาวการณ์การบริหารธุรกิจอันซับซ้อน ท่ามกลางสถานการณ์ที่ท้าทายในปัจจุบัน องค์กรธุรกิจทั่วโลกต่างกำลังเผชิญหน้ากับอุปสรรคในการค้นหาบทบาทของตนเอง (role) และจุดประสงค์ของแบรนด์ (brand purpose) บริษัท ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ (Hill+Knowlton Strategies) หนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ชั้นนำของโลก ได้เปิดตัวทีมที่ปรึกษา Intelligence + Advisory Communications Team หรือ I-ACT Team ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งพร้อมให้คำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยง สร้างชื่อเสียง และเร่งการเติบโตขององค์กรธุรกิจ ทีมที่ปรึกษา I-ACT ของฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ จะให้คำปรึกษาและบริการด้านการสื่อสารองค์กรแบบบูรณาการและครบวงจร ซึ่งจะช่วยชี้แนะทิศทางของบริษัทในสภาวการณ์ที่ต้องบริหารธุรกิจอย่างซับซ้อนหลังได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 วิกฤตโควิด-19 ได้ก่อให้เกิดความท้าทายใหม่ๆ ในแวดวงนักประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร การเผชิญหน้ากับแรงปะทะทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และภูมิรัฐศาสตร์

Read More

ไมโครซอฟท์จับมือ RISE ผุดโครงการ “Hack the Future: Business Rebound Edition” เพื่อ SME ไทย สู้ภัยโควิด-19

ไมโครซอฟท์จับมือ RISE ผุดโครงการ “Hack the Future: Business Rebound Edition” เร่งสร้างนวัตกรรมเพื่อ SME ไทย กู้ธุรกิจหลังวิกฤตโควิด-19 ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย และ RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กรระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชวนสตาร์ทอัพไทยมาร่วมสรรสร้างนวัตกรรม เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ไทยให้ฟื้นฟูธุรกิจ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกันบนแพลตฟอร์มคลาวด์ Microsoft Azure ในโครงการ “Hack the Future: Business Rebound Edition” โดยสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการมีโอกาสนำผลงานโซลูชั่นที่ชนะเลิศ ทำการตลาดร่วมกับไมโครซอฟท์ ทั้งในประเทศไทยและตลาดอื่น ๆ ทั่วภูมิภาคอาเซียน และยังอาจได้รับ Azure Credit เพื่อการใช้งานคลาวด์เป็นมูลค่าสูงสุดถึง 120,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 3,800,000 บาท) สำหรับสนับสนุนการพัฒนาโซลูชั่นต่อไป นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท

Read More