Home > ธุรกิจพลังงาน (Page 2)

BGRIM ผนึก ENERGY CHINA พัฒนาโครงการพลังงานภูมิภาคเอเซีย

ดร.ฮาราล์ด ลิงค์ ประธานกลุ่มบริษัท บี.กริม พลเอกมงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ประธานที่ปรึกษาฯ นายวีระพล ตั้งสุวรรณ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะกรรมการ บี.กริม เพาเวอร์ ได้ให้การต้อนรับ Mr.Wang Jianping ประธานฯ ผู้บริหารสูงสุด China Energy Engineering Corporation - Energy China บรรษัทรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานยักษ์ใหญ่ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโอกาสเยือนประเทศไทยเพื่อร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วม ว่าด้วยการค้าการลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ครั้งที่ 6 พร้อมทั้งได้ร่วมการลงนามหนังสือแสดงเจตจำนงค์ความร่วมมือการพัฒนาโครงการพลังงานที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย ที่จะมีขึ้นอย่างต่อเนื่องร่วมกันระหว่าง บมจ.บี.กริม เพาเวอร์ และ Energy China ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคาร ดร.เกฮาร์ด ลิงค์ เมื่อเร็วๆ นี้

Read More

บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) ฉลองความสำเร็จขายหุ้นกู้ 6,700 ล้านบาท

บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) ฉลองความสำเร็จขายหุ้นกู้ 6,700 ล้านบาท เพื่อลดภาระต้นทุนทางการเงิน สร้างความแข็งแกร่งให้กลุ่มธุรกิจ นักลงทุนสถาบัน-รายใหญ่ เชื่อมั่นให้การตอบรับเป็นอย่างดี นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ ‘BGRIM’ ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศ ร่วมฉลองความสำเร็จการออกหุ้นกู้ ของบริษัทย่อย 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท บี.กริม บีไอพี เพาเวอร์ 1 จำกัด และ บริษัท บี.กริม บีไอพี เพาเวอร์ 2 จำกัด รวมมูลค่า 6,700 ล้านบาท โดยมีตัวแทนจาก 2 บริษัทผู้จัดการจัดจำหน่ายหุ้นกู้คือ นายสมสกุล วินิชบุตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ Client Coverage 2.1

Read More

บ้านปู อินฟิเนอร์จี และภูเก็ตพัฒนาเมือง ประกาศความร่วมมือในโครงการ พลังงานทดแทน ภายใต้แผนพัฒนาภูเก็ตสมาร์ทซิตี้

บริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด ผู้ให้บริการด้านการวางระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจร ด้วยเทคโนโลยีสะอาดและทันสมัย หนึ่งในบริษัทลูกของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจพลังงานแบบครบวงจรแห่งเอเชียแปซิฟิก และบริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด (Phuket City Development: PKCD) วิสาหกิจเพื่อสังคมที่เกิดจากการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการในภูเก็ต เพื่อพัฒนาเมืองให้เติบโตอย่างชาญฉลาด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ในโครงการ “พัฒนาพลังงานทดแทน ภายใต้แผนพัฒนาภูเก็ตสมาร์ทซิตี้” เพื่อร่วมกันผลักดันแผนพัฒนาภูเก็ตสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ ตอบรับนโนบายพลังงาน 4.0 ของรัฐบาล ผ่านการพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน โดยภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ บ้านปู อินฟิเนอร์จี และภูเก็ตพัฒนาเมือง จะร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการวางระบบไมโครกริด ด้วยการนำระบบจัดเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่มาใช้ในพื้นที่ที่เหมาะสมในจังหวัดภูเก็ต ติดตั้งระบบแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา(โซลาร์รูฟท็อป) เพื่อให้เกิดการใช้ไฟฟ้าที่คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมศึกษาความเป็นไปได้ในการนำรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (Electric Vehicle) เพื่อความทันสมัย และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) และกรรมการ บริษัท บ้านปู

Read More

BGRIM ยัน 2 โรงไฟฟ้ากำลังผลิต 240 MW ไม่มีสะดุด! มั่นใจ SCOD ภายในปี 64 ตามแผน เตรียมย้าย BGPR1-BGPR2 ไปนิคมฯ จ.สมุทรปราการ

BGRIM ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานยักษ์ใหญ่ของเมืองไทย ยัน 2 โรงไฟฟ้ากำลังการผลิต 240 MW ไม่มีสะดุด! มั่นใจขายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ได้ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ตามแผน เผยอยู่ระหว่างยื่นขอย้ายที่ตั้ง 2 โรงไฟฟ้า “BGPR1-BGPR2” ไปนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย (สุวรรณภูมิ) จ.สมุทรปราการ มั่นใจช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับพื้นที่ EEC ซึ่งมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (BGRIM) เปิดเผยว่า บริษัทฯอยู่ในระหว่างดำเนินการขอย้ายที่ตั้งโรงไฟฟ้าโครงการ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ (ราชบุรี) 1 จำกัด (BGPR 1)และ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์(ราชบุรี) 2 จำกัด (BGPR 2) กำลังการผลิตรวม 240

Read More

บ้านปูฯ รายงานผลประกอบการไตรมาส 1/2561 สร้างการเติบโตต่อเนื่อง เดินหน้าเต็มกำลังสร้างความแข็งแกร่งจากภายในสู่ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานแบบครบวงจร

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานแบบครบวงจรแห่งเอเชีย-แปซิฟิก รายงานผลประกอบการไตรมาส 1/2561 ผลการดำเนินงานเติบโตตามเป้าหมาย มีรายได้จากการขายรวม 700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 22,079 ล้านบาท) และมีกำไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (EBITDA) เพิ่มขึ้น 11 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 347 ล้านบาท) จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ทั้งนี้ หากไม่นับรวมผลกระทบจากค่าใช้จ่ายตามคำพิพากษาคดีหงสาจำนวน 86 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,713 ล้านบาท) และการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นที่ส่งผลให้บริษัทฯ รับรู้ขาดทุนในทางบัญชีจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 33 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,041 ล้านบาท) บริษัทฯ จะมีกำไรสุทธิจำนวน 79 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,492 ล้านบาท) อย่างไรก็ตาม จากการเดินหน้าการผนึกกำลังกลุ่มธุรกิจหลัก จากธุรกิจต้นน้ำ

Read More

บี.กริม เพาเวอร์ ‘BGRIM’ ชูกำไรเฉียด 3,600 ล้านบาท พุ่งกว่า 55% ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตปี 2561 กว่า 400 เมกะวัตต์

บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) ชูความสำเร็จจากการรับรู้รายได้ของปี 2561 ทำสถิติสูงสุด 31,482 ล้านบาท หรือเติบโต 14% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เผยเป็นผลจากการเปิดดำเนินการโรงไฟฟ้าใหม่เข้าสู่ระบบ พร้อมเพิ่มอัตรากำไร EBITDA 28% และอัตรากำไรสุทธิปรับปรุง 9% นั่งแท่นเป็นหนึ่งในผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าอุตสาหกรรมรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เชื่อมั่นศักยภาพและความพร้อมของบริษัท สามารถขยายธุรกิจสู่ภูมิภาคอาเซียนตามเป้าที่วางไว้ นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงภาพรวมผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในปี 2560 ว่า บริษัทฯ มีรายได้จากการขายและการให้บริการจำนวน 31,482 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการรับรู้รายได้การขายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 5 (ABP5) ในนิคมอุสาหกรรมอมตะนคร เต็ม 9 เดือนของปี 2560 และการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ของโรงไฟฟ้า บี.กริม

Read More

ความมั่นคงพลังงานไทย บนทางแพร่งและทางเลือก

ความเป็นไปของโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ ทั้งที่จังหวัดกระบี่ ด้วยกำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ และที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา กำลังการผลิตรวม 2,000 เมกะวัตต์ กำลังสะท้อนภาพมิติความคิดของทั้งระบบการบริหารจัดการ และยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านพลังงานของไทยได้อย่างน่าสนใจ เนื่องเพราะภายใต้ “แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579” (Thailand Power Development Plan: PDP ฉบับปี 2015) หรือ PDP2015 ซึ่งเป็นแผนแม่บทในการจัดหาพลังงานไฟฟ้าในระยะยาวในกรอบเวลา 20 ปี ระบุถึงความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งไว้ ในฐานะที่เป็นการตอบสนองต่อความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นและเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงทางพลังงานในภาคใต้ ภายใต้แผนดังกล่าวระบุว่าความต้องการพลังงานในภาคใต้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ทำให้ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี 2562-2567 ต้องมีการพัฒนาโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 3 โรง จำแนกเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ในปี 2562 โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เครื่องที่ 1 ในปี 2564 และเครื่องที่ 2 ในปี 2567 แม้ว่าความเคลื่อนไหวล่าสุด รัฐมนตรีพลังงานจะลงนามในข้อตกลงร่วมกับ “เครือข่ายปกป้องสองฝั่งทะเลกระบี่-เทพา ยุติโรงไฟฟ้าถ่านหิน” เพื่อให้เริ่มกระบวนการ

Read More

บ้านปูผลประกอบการดี มุ่งเป็นผู้นำธุรกิจพลังงานครบวงจร

ข่าวคราวกรณีการคัดค้าน “โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา” ของกลุ่มต่อต้านที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องให้ยุติโครงการ โดยชุมนุมอยู่บริเวณด้านหน้าสำนักงานสหประชาชาติ หรือ UN เพิ่งได้ข้อยุติเมื่อสัปดาห์ก่อน ด้วยการลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและกลุ่มเครือข่ายฯ ในการถอนการศึกษา EHIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา ขณะที่บริษัทเอกชนที่มีความชำนาญด้านธุรกิจพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินอย่างบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เพิ่งแถลงข่าวเปิดเผยตัวเลขผลประกอบการประจำปี 2560 ว่าบริษัท บ้านปู มีรายได้จากการขายรวม 2,877 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 97,640 ล้านบาท ถือเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากถึง 27 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อีกทั้งบ้านปูฯ ยังมีกำไรสุทธิรวม 234 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7,942 ล้านบาท มากกว่าปีก่อนถึง 4 เท่าตัว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาถ่านหินที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลมาจากปริมาณการผลิตถ่านหินที่จำกัดของประเทศส่งออกหลัก และปริมาณการขายไฟฟ้าที่สม่ำเสมอของธุรกิจไฟฟ้า ตัวเลขรายได้และกำไรไม่ได้มีเพียงเฉพาะบริษัทบ้านปูใหญ่เท่านั้น ขณะที่บริษัทลูกอย่าง บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากทั้งพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป (Conventional Power Generation)

Read More

ธุรกิจพลังงาน: ทางเลือกเพื่อทดแทนหรือกระแสทุน?

ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ประเด็นว่าด้วยการขยายตัวเข้าสู่ธุรกิจพลังงานทดแทนของบรรษัทใหญ่น้อย ทั้งที่เป็นธุรกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือการรุกคืบเข้ามาขยายธุรกิจของกลุ่มทุนใหญ่เพื่อแสวงหาช่องทางรายได้ใหม่ในอนาคต หลังจากที่ธุรกิจเดิมเริ่มส่อเค้าว่ากำลังเดินทางเข้าสู่หนทางตัน กลายเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจไม่น้อยเลย ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐไทยพยายามส่งเสริมให้ประเทศไทยพึ่งพาการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้กำหนดแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558-2579 หรือ AEDP: 2015 (Alternative Energy Development Plan: AEDP 2015) ซึ่งนับเป็นกรอบโครงในการพัฒนาพลังงานที่มีระยะยาวถึง 20 ปี ภายใต้วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลักของประเทศทดแทนการนำเข้าน้ำมันได้ในอนาคต เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ สนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในประเทศ และเพื่อวิจัยพัฒนาส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสัญชาติไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดสากล ควบคู่กับการกำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนตามแผน AEDP 6 ประเด็น ประกอบด้วย การส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนอย่างกว้างขวาง การปรับมาตรการจูงใจสำหรับการลงทุนจากภาคเอกชนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ การแก้ไขกฎหมาย และกฎระเบียบที่ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบสายส่ง สายจำหน่ายไฟฟ้า รวมทั้งการพัฒนาสู่ระบบ Smart Grid การประชาสัมพันธ์ และสร้างความรู้ความเข้าใจต่อประชาชน การส่งเสริมให้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนแบบครบวงจร หากแต่เป้าหมายในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตาม AEDP: 2015 กลับมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในภาพรวมอยู่ที่เพียงร้อยละ 20

Read More

บี.กริม เดินเครื่องดับบลิวเอชเอ 1 รองรับอุตสาหกรรมขยายตัว

“จากการคาดการณ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยน่าจะมีการขยายตัวจากปี 2559 ประมาณ 3-4 เปอร์เซ็นต์” ปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าว และนี่เองที่น่าจะเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญในการเปิดเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม บี.กริม เพาเวอร์ ดับบลิวเอชเอ 1 ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราช จังหวัดชลบุรี เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา การเลือกพื้นที่ก่อตั้งโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมของ บี.กริม ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช ดูจะประจวบเหมาะกับแผนนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลพยายามอย่างเต็มที่ที่จะผลักดันเมืองชายแดนให้มีความกระเตื้องด้านเศรษฐกิจมากกว่าที่เป็นอยู่ จนท้ายที่สุด ภายใต้การนำทัพของหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจอย่าง ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development: EEC) ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ด้วยเป้าหมายที่ประชาชนทั้งประเทศได้ยินแต่ยังไม่เข้าใจเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ถึงความหมายที่แท้จริงเกี่ยวกับการนำประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่หวังว่านโยบายดังกล่าวจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติ อีกทั้งยังเป็นการนำไปสู่แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ที่สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เพื่อรองรับการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมหลัก เป้าหมายที่รัฐบาลเรียกขานว่า First S-curve

Read More