Home > ธุรกิจพลังงาน (Page 3)

Future Energy บนทางเลือกพลังงานไทย

บทบาทของกระทรวงพลังงานในบริบทของสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา ดูจะมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจติดตามไม่น้อย เพราะนอกจากจะมีประเด็นร้อนว่าด้วย ความพยายามจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ (NOC) ไว้ในส่วนหนึ่งในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก่อนที่การประชุมสนช. เมื่อช่วงปลายมีนาคมจะมีมติให้กระทรวงพลังงานจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาการจัดตั้ง NOC ภายใน 60 วันและต้องรู้ผลภายใน 1 ปี การมองหารูปแบบของ NOC ที่เหมาะสมและเป็นไปได้อย่างสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย ทำให้คณะของเจ้ากระทรวงพลังงานไทยต้องเดินทางไปศึกษาดูงานด้านพลังงานไกลถึงนอร์เวย์และเดนมาร์กเมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ภารกิจหลักของการดูงานที่นอร์เวย์และเดนมาร์กดังกล่าว แม้ด้านหนึ่งจะเน้นหนักไปที่การหาต้นแบบหรือโมเดลของ NOC ในการบริหารจัดการทรัพยากร และสัมปทานปิโตรเลียม แต่อีกมิติหนึ่งก็คือการแสวงหาหนทางและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อเติมเต็มและพัฒนาไปสู่ทางเลือกของพลังงานทดแทนอื่นๆ ทั้งพลังงานลม ขยะ พลังงานความร้อน ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ นับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน-10 กันยายน กระทรวงพลังงานกำลังจะไปแสดงศักยภาพการพัฒนาพลังงานชีวภาพของประเทศไทย ในงาน Astana Expo 2017 ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน ที่จัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก “พลังงานแห่งอนาคต” (Future Energy) และหัวข้อย่อยว่าด้วย “Solutions for Tackling Humankind’s Greatest

Read More

บ้านปูเพาเวอร์: ผู้นำธุรกิจพลังงาน รุกตลาด CLMV และเอเชียแปซิฟิก

   การแถลงข่าวประกาศขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ในกลุ่มบ้านปู ที่พร้อมจะเปิดให้ประชาชนผู้สนใจจองซื้อหุ้นที่ราคาเสนอขายสุดท้ายได้ในวันระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคมนี้ หากจะพิจารณาถึงเหตุผลของการระดมทุนในครั้งนี้ นั่นคือการนำเงินที่จะได้มาชำระคืนเงินกู้จากบริษัทแม่ และนำเงินไปลงทุนขยายธุรกิจพลังงานทั้งในและต่างประเทศ เหตุผลดังกล่าวดูจะสะท้อนภาพที่แสดงถึงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนถึงทิศทางในการเดินเกมก้าวต่อไปบนธุรกิจพลังงานของบ้านปู เพาเวอร์ คือนอกเหนือจากการปลดหนี้ที่มีต่อบริษัทแม่ อันมีสาเหตุมาจากการลงทุนในโรงไฟฟ้าหงสาที่มีมูลค่าหนี้มากกว่า 1 หมื่นล้านบาทแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งอาจจะหมายถึงจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะตามมาในอีกหลายมิติ หากแต่ในมิติที่กำลังดำเนินไปในครั้งนี้ดูน่าจับตามองเป็นพิเศษ เพราะการที่บ้านปู เพาเวอร์มีหมุดหมายสำคัญที่จะเบนเข็มและตั้งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นในการรุกตลาด CLMV และตลาดที่ใหญ่กว่าอย่างกลุ่มประเทศในเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้หากมองในตัวเลขมูลค่าการเสนอขายที่น่าจะได้รับคือ 11,673–13,618 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นการชำระหนี้คืนต่อบริษัทแม่ 90 เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายความว่าบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จะปลอดหนี้โดยสิ้นเชิง ส่งผลให้การใช้เม็ดเงินที่เหลืออีก 10 เปอร์เซ็นต์ในการลงทุนธุรกิจพลังงานในอนาคต เป้าหมายที่ว่าคือการขยายกำลังการผลิต 4,300 เมกะวัตต์ (เทียบเท่า) ภายในปี พ.ศ.2568 โดยมีตลาดใหญ่ที่บ้านปู เพาเวอร์ ให้ความสนใจและมีโครงการอยู่อย่างต่อเนื่องคือกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ประเทศเวียดนาม ประเทศเมียนมาร์ และประเทศลาว  ซึ่งวรวุฒิ ลีนานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

Read More