Content

เชลล์มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย เดินหน้าส่งเสริมการเรียนรู้ และทักษะผู้ประกอบการระดับชุมชน

การรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในปัจจุบัน นับเป็นเรื่องท้าทายสำหรับทุกคน ด้วยเหตุนี้เอง การผสานความร่วมมือในสังคมและชุมชนบนรากฐานการมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งระดับบุคคล ระดับองค์กร และระดับชุมชน จำเป็นต้องปรับตัวและปรับกลยุทธ์เพื่อร่วมกันสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับเชลล์ ความยั่งยืนคือ การส่งมอบพลังงานที่สะอาดขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพอย่างรับผิดชอบ ด้วยวิธีการดำเนินงานที่สนับสนุนความร่วมมือและให้เกียรติซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการด้านพลังงาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทย ในด้านที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เชลล์ ร่วมสร้างคุณค่าให้กับสังคม ผ่านโครงการต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการของคนไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต ควบคู่ไปกับการส่งมอบพลังงานให้กับลูกค้าและสังคมไทย ภายใต้แนวคิด การส่งเสริมการเรียนรู้โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลางและการพัฒนาทักษะการดำเนินธุรกิจ หรือ Community Skill and Enterprise Developlent (CSED) โดยหนึ่งในนั้นคือโครงการ “เชลล์ เติมสุข” โครงการสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักเรียนผู้สมควรได้รับโอกาสและผู้มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว เพื่อให้พวกเขามีทักษะทางอาชีพ เช่น การทำการเกษตรเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างรายได้และพึ่งพาตนเองได้ สิ่งเหล่านี้คือ การเปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาส และสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับชุมชนของพวกเขาต่อไป นายปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “เรากำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ

Read More

ประธานรัฐสภาสนใจนวัตกรรมบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่ในงานนิทรรศการใช้ประโยชน์ที่รัฐสภา

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยภารกิจการส่งเสริมระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดนิทรรศการ “ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) กับการนำผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์” ณ อาคารสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา เกียกกาย โดยมี นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อม ส.ส. และเจ้าหน้าที่รัฐสภา ให้เกียรติเยี่ยมชมนิทรรศการด้วยความสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ประธานรัฐสภาให้ความสนใจการบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่ โดยสอบถามถึงจำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมและประโยชน์ที่ชาวบ้านจะได้รับ ซึ่งนายชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม ในฐานะหัวหน้าโครงการ โครงการวิจัย “แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในระดับพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง จังหวัดกำแพงเพชร” รายงานว่าเพื่อหาแนวทางในการพัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำให้เข้าใจภาพรวมของระบบน้ำในชุมชนตนเอง โดยศึกษารูปแบบและกลไกสร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ ผลผลิตและผลกระทบตามที่ตั้งไว้ จึงได้ดำเนินโครงการร่วมกับพื้นที่นำร่อง 10 ตำบล 4 อำเภอ ซึ่งคณะวิจัยได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ดำเนินกิจกรรมในชุมชนโดยเริ่มจากการพัฒนาผู้นำในพื้นที่ให้มีความเข้าใจ ร่วมจัดทำประวัติศาสตร์การพัฒนาระบบน้ำในพื้นที่เพื่อให้เข้าใจพื้นที่แหล่งน้ำที่มี การจัดทำตารางการเพาะปลูกพืชในรอบปี บนทางเลือกพืชที่เพาะปลูกต่าง ๆ ตามปริมาณน้ำแต่ละปี จัดทำแผนผังชุมชนซึ่งแสดงผังเกษตร ผังน้ำ

Read More

2020 KPMG CEO Outlook สำรวจแนวคิดของ CEO ทั่วโลก หลังโควิด-19

ช่วงหลังวิกฤตโควิด-19 ซีอีโอทั่วโลกให้ความสำคัญด้านพนักงานที่เป็นคนเก่ง (Talent) และความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเป็นอันดับต้น ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ซีอีโอของบริษัทชั้นนำทั่วโลกมองว่าความเสี่ยงด้านพนักงานที่เป็นคนเก่ง (Talent) เป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญที่สุดในการเติบโตขององค์กร และยังให้ความสำคัญไปที่การสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและทบทวนจุดมุ่งหมายขององค์กร โดยเคพีเอ็มจีได้ทำการสำรวจ 2 ครั้ง คือ ก่อนการระบาดของโควิด-19 ในเดือนมกราคม และอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม/สิงหาคม ซึ่งถือว่าเป็นการวิจัยแรกที่สำรวจความเปลี่ยนแปลงของการจัดลำดับความสำคัญและความกังวลของซีอีโอก่อนและหลังการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก การสำรวจ 2020 KPMG CEO Outlook พบว่า เป้าหมายสำคัญของผู้นำได้เปลี่ยนไปอย่างมากตั้งแต่ช่วงต้นปี เนื่องจากแนวโน้มด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, Governance – ESG) การทำงานที่ยืดหยุ่น (Flexible working) และการเปลี่ยนแปลงโดยนำดิจิทัลมาใช้ (Digital Transformation) ได้ถูกเร่งรัดให้เกิดเร็วขึ้น ในเรื่องการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอีก 3 ปีข้างหน้านั้น ซีอีโอร้อยละ 32 มีความมั่นใจลดลงจากตอนต้นปี อย่างไรก็ตาม ซีอีโอยังคงคาดการณ์เชิงบวกเกี่ยวกับการเติบโตของประเทศตนเอง (ร้อยละ 45 มีความมั่นใจ) และมีความมั่นใจในความยืดหยุ่นขององค์กรตนเองในอีก

Read More

BGRIM ได้รับคัดเลือกเข้าดัชนี FTSE Global Index ประเภท Asia Pacific Ex Japan Ex China Large Cap

บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ‘BGRIM’ ได้รับการคัดเลือกจากฟุตซี่ รัสเซล (FTSE Russell) ให้เข้าสู่ดัชนีรายชื่อหุ้นที่ถูกคัดเลือกในการคำนวณดัชนีชุด FTSE Global Equity Index Series Asia Pacific Ex Japan Ex China September 2020 ประเภท Large Cap Index โดยจะมีผลในวันที่ 18 กันยายน 2563 นี้ นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ เปิดเผยว่า การที่ บี.กริม เพาเวอร์ ได้รับคัดเลือกในการคำนวณดัชนีจากประเภท Mid Cap ไปเข้าสู่การคำนวณประเภท Large Cap ดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อบริษัททั้งในด้านผลประกอบการและแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัท

Read More

BOI ดิ้นเฮือกใหญ่ หวังดึง FDI ลงทุนในไทย

ความซบเซาทางเศรษฐกิจทั้งในระดับนานาชาติและของไทย ที่ทำให้ภาวะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลงมากเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ -30 ถึงร้อยละ -40 กำลังส่งผลลบต่อสภาพการลงทุนในประเทศไทยและการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) อย่างหนัก จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI ต้องเร่งระดมสรรพกำลังเพื่อกระตุ้นการลงทุนในช่วงที่เหลือของปีนี้ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ลดต่ำลงสามารถพิจารณาได้จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ระบุว่าในปี 2562 มีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ขอรับการส่งเสริมรวม 991โครงการ ปริมาณเงินลงทุน 506,230 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 876 โครงการ เงินลงทุน 281,873 ล้านบาท ขณะที่ในช่วง 6 เดือนแรกปี 2563 มี FDI ขอรับการส่งเสริมรวม 459 โครงการ เงินลงทุน 75,902 ล้านบาท ซึ่งแม้จะมีจำนวนโครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 แต่มูลค่าเงินลงทุนกลับลดลงถึงร้อยละ 34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่ BOI ต้องเร่งปรับแผนเพื่อดึงการลงทุน

Read More

เจ็ทส์ เปิดตัว เจ็ทส์ แบล็ก คลับระดับพรีเมียมแบรนด์ใหม่แห่งแรกในเมืองไทย

เจ็ทส์ เปิดตัว เจ็ทส์ แบล็ก คลับระดับพรีเมียมแบรนด์ใหม่แห่งแรกในเมืองไทย ตอกย้ำผู้นำฟิตเนสที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชีย เดินหน้าสู่เบอร์หนึ่งในไทย เจ็ทส์ ฟิตเนส เปิดตัวแบรนด์ฟิตเนสระดับพรีเมียมล่าสุด เจ็ทส์ แบล็ก พร้อมเปิดตัวคลับแรกของโลกในกรุงเทพฯ พร้อมส่งมอบประสบการณ์การออกกำลังกายสุดพรีเมียมด้วยอุปกรณ์เหนือระดับมาตรฐานระดับโลก สิ่งอำนวยความสะดวกชั้นเยี่ยม และเทรนเนอร์มืออาชีพมากประสบการณ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 100 ล้านบาท เจ็ทส์ แบล็ก ปักหมุนโลเคชั่นใจกลางกรุงเทพฯ ในโครงการระดับโลกอย่าง The PARQ (เดอะปาร์ค) และเกษรวิลเลจ เสริมทัพให้เจ็ทส์ ฟิตเนส มีสาขากว่า 32 แห่งทั่วประเทศ ครอบคลุมทำเลเข้าถึงง่ายทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภูมิภาคต่างๆ การเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยการเปิดคลับใหม่เฉลี่ยเดือนละหนึ่งสาขา ทำให้เจ็ทส์ ฟิตเนส ขึ้นแท่นแบรนด์ฟิตเนสที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทย ทุบสถิติเติบโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในอุตสาหกรรมระดับเอเชีย มร. ไมค์ แลมบ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เจ็ทส์ ฟิตเนส ภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า “การเปิดตัวเจ็ทส์ แบล็ก คลับแรกของโลกในกรุงเทพฯ ถือเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นและความสำคัญของตลาดประเทศไทย

Read More

ลาซาด้า พลิกโฉม LazMall ห้างสรรพสินค้าเสมือนจริง เปิดตัวร้าน Lazada On Ground แห่งแรกของไทย

ลาซาด้า พลิกโฉม LazMall ห้างสรรพสินค้าเสมือนจริงที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมเปิดตัวร้าน Lazada On Ground แห่งแรกของไทย ลาซาด้า แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำของประเทศไทย ยกระดับ LazMall ห้างสรรพสินค้าเสมือนจริงที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำเสนอคอนเซ็ปต์ค้าปลีกยุคใหม่ (new retail) พร้อมเปิดตัวป๊อปอัพสโตร์ Lazada On Ground เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ผสานประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์และออฟไลน์อย่างไร้รอยต่อ นายแจ็ค จาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ปัจจุบัน มีแบรนด์และผู้ค้าเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ลาซาด้าจึงไม่หยุดที่จะค้นหาวิธีใหม่ๆ ในการสร้างคุณค่าให้ทั้งธุรกิจและผู้บริโภค แพลตฟอร์ม LazMall โฉมใหม่ของเราไม่เพียงแต่ปรับเปลี่ยนหน้าอินเทอร์เฟซใหม่เพื่อให้ผู้ใช้งานสะดวกสบายยิ่งขึ้น แต่ยังนำเสนอสินค้าแบรนด์พรีเมียมที่หลากหลายมากขึ้น พร้อมกับมาตรฐานการบริการคุณภาพที่สูงขึ้น เพื่อพัฒนาประสบการณ์การช้อปปิ้งขึ้นอีกขั้นและให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อสินค้าแบรนด์ของแท้ได้อย่างไร้กังวล” “Lazada On Ground ป๊อปอัพสโตร์แห่งแรกของลาซาด้าในประเทศไทย ที่ศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ ใจกลางกรุงเทพมหานคร จะจัดแสดงสินค้าของแบรนด์ชั้นนำบน LazMall มากกว่า 40 แบรนด์ เราจะนำเสนอประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภค

Read More

ส่องอนาคตของ EEC บนนโยบายเศรษฐกิจใหม่รัฐไทย

การปรับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลประยุทธ์ ในช่วงที่ผ่านมาได้จุดประกายของการตั้งคำถามในบริบทว่าด้วยความต่อเนื่องและทิศทางของนโยบายที่กำลังจะมุ่งไปนับจากนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของอนาคตและความเป็นไปในการพัฒนาโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC ที่เป็นประหนึ่งผลงานน่าพึงใจที่รัฐบาลประยุทธ์พยายามโหมประโคมในฐานะโครงการพัฒนาทางเศรษฐกิจหลักตลอดระยะเวลาของการบริหารรัฐนาวามายาวนานกว่า 6 ปี การพ้นออกจากตำแหน่งไปของรัฐมนตรีที่มีส่วนร่วมผลักดันและโหมโฆษณาโครงการพัฒนา EEC ในช่วงก่อนหน้านี้และแทนที่ด้วยรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบชุดใหม่ทำให้หลายฝ่ายเพ่งมองไปที่แนวทางการพัฒนาและนโยบายที่จะเกิดมีขึ้นว่าจะมีความชัดเจนและรูปธรรมอย่างไร ความกังวลใจของนักลงทุนต่างชาติในมิติของความชัดเจนและแนวทางการพัฒนา EEC ในห้วงเวลานับจากนี้ในด้านหนึ่งสะท้อนความเปราะบางของแผนพัฒนา EEC ที่ดำเนินอยู่ แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะดำเนินมานานมากกว่า 5-6 ปี หากแต่โครงสร้างพื้นฐานในการรองรับการพัฒนาในพื้นที่กลับดำเนินไปอย่างเชื่องช้าและในหลายกรณีขาดการบูรณาการที่มีเอกภาพอีกด้วย การเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีที่รับผิดชอบและกำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ในด้านหนึ่งเป็นเพียงการเปลี่ยนหัวรถจักรในการขับเคลื่อนพัฒนาการของ สกพอ. หากแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ก็คือ สกพอ. มีกรอบกำหนดเป็นประหนึ่งรางให้เคลื่อนไปในทิศทางที่วางไว้ก่อนแล้ว ประเด็นที่น่าสนใจจึงอยู่ที่ว่ารัฐมนตรีที่เข้ามารับผิดชอบครั้งใหม่นี้จะมีวิสัยทัศน์และความสามารถในการเร่งความเร็วหรือกำหนดทิศทางใหม่ของการพัฒนา EEC ไปในรูปแบบใด โดยไม่ทำให้การพัฒนา EEC ต้องสะดุดหรือตกรางไปในที่สุด ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในช่วงที่ผ่านมาในด้านหนึ่งคือการแสวงหาช่องทางของหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) เพื่อเข้าพบและหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับรัฐมนตรีที่ดูแลงานด้านเศรษฐกิจชุดใหม่ เพื่อสอบถามถึงนโยบายเศรษฐกิจและแผนพัฒนา EEC ที่จะมีขึ้นนับจากนี้ แม้ว่าพวกเขาจะเชื่อว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ใน EEC จะเดินหน้าต่อเนื่องเพราะมี พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 มารองรับอยู่แล้ว และขณะนี้หลายโครงการก็คืบหน้าไปมากทั้งรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา แต่ประเด็นในเชิงนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนภายหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจและ COVID-19 ที่ทำให้ทุกอย่างชะลอตัวเป็นกรณีที่นักลงทุนต้องการความชัดเจนอย่างยิ่ง ความเชื่อมั่นที่ว่าโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) จะเดินหน้าต่อไปโดยรัฐบาลจะสานต่อโครงการนี้อย่างแน่นอนแม้ว่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่

Read More

3M สานต่อความสำเร็จในครึ่งปีหลัง รุกขยายความร่วมมือกับ ‘ช้อปปี้’

3M สานต่อความสำเร็จในครึ่งปีหลัง รุกขยายความร่วมมือกับ ‘ช้อปปี้’ เสิร์ฟความคุ้มค่าให้กับคนไทย ในมหกรรม Shopee 9.9 Super Shopping Day ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม - 9 กันยายน 2563 พบกับโปรโมชั่น ส่วนลดสูงสุด 70% และแจกโค้ดส่วนลดและของแถมสุดพิเศษอีกมากมาย หลังจากที่ได้ผลตอบรับที่ดีเป็นอย่างมากจากผู้ใช้งานออนไลน์ในช่วงครึ่งปีแรก 3M Official Store ร้านค้าออนไลน์ 3 เอ็มอย่างเป็นทางการ สานต่อความสำเร็จกับ ‘ช้อปปี้’ ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน ส่งผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อและทำความสะอาดคุณภาพชั้นนำเข้าร่วมมหกรรมการช้อปปิ้งสุดยิ่งใหญ่ Shopee 9.9 Super Shopping Day มอบโปรโมชั่นสุดคุ้ม ด้วยส่วนลดสูงสุด 70% พร้อมแจกโค้ดส่วนลดสูงสุด 20% ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม - 9 กันยายน 2563 นายสุธี ตั้งวงศ์กิจ

Read More

เอสเอ็มอีท่องเที่ยวไทย เผชิญวิกฤตที่ยังไร้ทางออก

อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าอุตสาหกรรมหลักๆ ของไทยที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ พึ่งพารายได้จากต่างประเทศเป็นหลัก และเมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้สร้างผลกระทบเชิงลบในทุกระนาบ โดยที่ไม่อาจรู้ได้เลยว่า เมื่อใดสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตโควิด-19 คือ ภาคการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุน แม้ว่าในห้วงเวลาปัจจุบันไวรัสจะยังคงอยู่บนโลกนี้อย่างไม่มีวี่แววว่าจะจางหายไป แต่สถานการณ์การส่งออกของไทยยังพอมีแรงที่จะขับเคลื่อนไปได้บ้าง เมื่อไทยยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกที่ประเทศคู่ค้าต้องการ ขณะที่ภาคการลงทุนที่เหล่านักลงทุนยังต้องมองสถานการณ์ในหลายๆ ด้านประกอบการตัดสินใจ ทั้งเศรษฐกิจโลก ปัญหาการเมืองที่เริ่มส่งสัญญาณความรุนแรงเพิ่มขึ้น อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนเลื่อนการลงทุนในไทยออกไป เมื่อยังมองหาเสถียรภาพที่มั่นคงได้ยากขึ้น สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหลายฝ่ายยอมรับว่าครั้งนี้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวประสบกับวิกฤตของจริง เมื่อรายได้หลักมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 70-80% โดยตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยปี 2562 ประมาณ 39.7 ล้านคน และสร้างรายได้มากถึง 1.93 ล้านล้านบาท ขณะที่ปีนี้ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับไวรัสร้ายนี้ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) มีจำนวนเพียง 6.69 ล้านคน และสร้างรายได้รวม 3.32 แสนล้านบาท ซึ่งหากเปรียบเทียบตัวเลขรายได้กับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วจะพบว่ารายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงไปประมาณ 4.89 แสนล้านบาท การสูญเสียรายได้หลักของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวส่งผลให้มีผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวจดทะเบียนขอเลิกประกอบกิจการประมาณ 90 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ 39 ราย เชียงใหม่ 9 ราย ภูเก็ต

Read More