Home > 2017 > พฤษภาคม (Page 2)

หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร หมุดหมายแห่งปัญญา-ความรู้

ก้าวย่างของกาลเวลาที่ดำเนินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและไม่เคยอิดออดรอสิ่งใด การมาถึงของเทคโนโลยีอันทันสมัยส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนที่ดูจะเร่งเร้าให้เท่าทันตามจังหวะของการพัฒนา กระนั้นดูเหมือนว่าการพัฒนาที่เกิดขึ้น อาจเรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ในหลากหลายมิติ และแม้ว่าในบางแง่มุมของการพัฒนาจะทำให้วัฏจักรบางอย่างไม่สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างที่ควรเป็น และในทางกลับกัน เสมือนว่าสิ่งนั้นเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เป็นการนับถอยหลังเข้าสู่ช่วงเวลาสุดท้ายของเส้นทางที่เดิน การพัฒนาที่ว่าส่งผลต่อวัฒนธรรมบางอย่างที่เรามักคุ้นชินในสังคม ให้ค่อยๆ ถูกกลืนหายพร้อมกับการมาถึงของความก้าวล้ำทางเทคโนโลยี จากสังคมการอ่านเพื่อประเทืองปัญญา เข้าสู่สังคมก้มหน้าเพื่อค้นหาความบันเทิงที่มีมากล้นเพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละคน แม้ว่าการปฏิเสธเทคโนโลยีจะเป็นเรื่องที่ดูจะทำได้ยากยิ่งในสังคมยุคดิจิทัล เมื่อสาระความรู้ หรือข่าวสารบางอย่างสามารถสืบเสาะค้นหาได้จากอินเทอร์เน็ต อีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญของเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อโลกใบใหญ่ให้ดูเล็กลงไปถนัดตา และแน่นอนว่าอะไรก็ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส ขณะที่สภาพทางสังคม วิถีชีวิตของผู้คนที่กำลังหมุนเปลี่ยนไปอย่างชนิดนาทีต่อนาที หลายหน่วยงาน หลายองค์กรที่เกี่ยวข้อง ตระหนักถึงปัญหาที่กำลังก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากมองเห็นผลเสียที่ตามมา ทั้งในด้านการถูกลดทอนศักยภาพในตัวของเยาวชนไทยที่ดูจะเป็นความหวังใหม่ของสังคม ทำให้เกิดความพยายามที่จะรังสรรค์สังคมแห่งการอ่าน “หนังสือ” ให้กลับมาเป็นวัฒนธรรมของสังคมไทยอีกครั้ง “ราชดำเนิน” ถนนที่อุดมไปด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์ชาติ ที่น่าเรียนรู้ จดจำ อาคารที่ตั้งอยู่ตลอดแนวถนนราชดำเนินกลางหลายอาคารถูกปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย โดยเฉพาะอาคารที่บัดนี้กลายเป็น “หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร” ซึ่งอาคารหลังนี้มีความเป็นมาแรกเริ่มภายใต้พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ให้ตัดถนนราชดำเนินจากพระบรมมหาราชวังไปยังพระราชวังดุสิต โดยจัดวางรูปแบบตามลักษณะของ Champs Elysees ในประเทศฝรั่งเศส การก่อสร้างบนถนนราชดำเนินเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2442 ส่วนอาคารตลอดแนวถนนราชดำเนินกลางได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ.2480 การก่อสร้างอาคารดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ต่อเนื่องมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ. 2482- 2491 อาคารบริเวณถนนราชดำเนินประกอบด้วย อาคารพาณิชย์ โรงแรม และโรงมหรสพ รูปแบบเป็นศิลปะสไตล์อาร์ตเดคอร์

Read More

จากจอมยุทธ์หมากล้อม สู่ “ครูใหญ่” สาธิต PIM

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ใช้เวลากว่า 13 ปี เป็นหัวหอกลุยธุรกิจด้านการศึกษาในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดโรงเรียนปัญญาภิวัฒน์เทคโนธุรกิจ จากเป้าหมายเริ่มต้น เร่งผลิต “คน” ป้อนธุรกิจร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” เพื่อรุกขยายอาณาจักรค้าปลีก ผุดวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ยกระดับการเรียนการสอนขั้นอุดมศึกษา จนล่าสุดลงทุนสร้าง โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หรือ “สาธิต PIM” ซึ่งจะประเดิมเทอมแรกในปีการศึกษา 2560 แน่นอนว่า เป้าหมายของก่อศักดิ์ในฐานะผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนสาธิต PIM เปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะเรื่องการสร้าง “คน” ให้เป็นนักจัดการมืออาชีพ มีความคิดเชิงกลุยทธ์ และไม่ใช่เพียงแค่ความเก่งกาจในวิชาหลักอย่างคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน นั่นทำให้จอมยุทธ์หมากล้อมคนนี้สวมบทคุณครูหยิบเอา “โกะ” เข้ามาเป็นวิชาเสริมในหลักสูตรของ “สาธิต PIM” หลังจากได้ผลพิสูจน์อย่างชัดเจนว่า หมากล้อมหรือ “โกะ” คืออาวุธชิ้นสำคัญ ที่ช่วยให้เขาและ “เซเว่นอีเลฟเว่น” สามารถขยายอาณาจักรธุรกิจร้านสะดวกซื้อได้อย่างยิ่งใหญ่ ก่อศักดิ์เคยกล่าวว่า เขามองประเทศไทยทั้งประเทศเป็นเสมือนกระดานหมากล้อมกระดานหนึ่ง เร่งเปิดร้านค้าในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะสุดยอดกลยุทธ์ของโกะไม่ใช่การจับกิน หรือทำลายฝ่ายตรงข้าม แต่เป็นการสร้างดินแดนให้มากกว่าคู่ต่อสู้

Read More

ซีพี รุกแนวรบใหม่ ธุรกิจการศึกษาครบวงจร

เครือซีพีของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ กำลังสร้างอาณาจักรธุรกิจการศึกษาบนที่ดินผืนใหญ่ เนื้อที่มากกว่า 50 ไร่ ย่านแจ้งวัฒนะ ซึ่งมีทั้ง “สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM)” เจาะตลาดระดับอุดมศึกษาในฐานะ Corporate University แห่งแรก อาคาร CP ALL ACADEMY และล่าสุด ประกาศเปิดโรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หรือ “สาธิต PIM” โดยคาดหวังจะให้เป็นโรงเรียนสาธิตต้นแบบในยุคศตวรรษที่ 21 รศ.ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) หัวหน้าทีมและผู้บริหารโครงการก่อตั้งโรงเรียนสาธิต PIM กล่าวว่า โครงการโรงเรียนสาธิต PIM ใช้เวลาศึกษาและเตรียมความพร้อมล่วงหน้าถึง 3 ปี โดยเดินทางไปดูงานการศึกษาในหลายประเทศ จนกระทั่งตัดสินใจเลือกรูปแบบและระบบการศึกษาของประเทศฟินแลนด์ ซึ่งมีมาตรฐานการศึกษาระดับโลกและเน้นการพัฒนาผู้เรียนตามความถนัด เพราะเชื่อมั่นว่า ถ้าเด็กได้เรียนในสิ่งที่ถนัด เขาจะมีความสุขและสามารถพัฒนาได้อย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน รศ.ดร.พิชิตฟอร์มทีมอาจารย์จากวงการศึกษา ดึงอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนชื่อดัง และโรงเรียนสาธิตของรัฐเข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้านต่างๆ เพื่อเสริมจุดแข็งตามแนวคิด “สาธิต” อย่างแท้จริง ไม่ใช่การเรียนเพื่อแข่งขันเหมือนในยุคปัจจุบัน

Read More