Home > Vanida Toonpirom (Page 16)

No sugar added/Sugar Free อ่านฉลากสักนิด ก่อนหยิบลงตะกร้า

No sugar added/Sugar free ที่ปรากฏอยู่บนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มกลายเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงบนโลกโซเชียลอีกครั้ง โดยเฉพาะสายรักสุขภาพที่มักจะพลิกดูฉลากก่อนหยิบของลงตะกร้าทุกครั้ง ว่าแท้ที่จริงแล้วเหมือนหรือต่างกันอย่างไร “ไม่เติมน้ำตาล” คือไม่มีน้ำตาลเลยจริงๆ ใช่หรือไม่? และถ้าไม่มีน้ำตาลแต่ทำไมยังมีรสหวานอยู่? No sugar added ปราศจากน้ำตาล? มาที่คำแรกอย่าง “No sugar added” ถ้าเห็นฉลากนี้แล้วคิดว่าอาหารหรือผลิตภัณฑ์นั้นไม่มีน้ำตาล คุณกำลังคิดผิด เพราะแท้ที่จริงแล้วคำว่า No sugar added ไม่ได้หมายถึงไม่มีน้ำตาล แต่เป็นฉลากที่บอกให้เรารู้ว่า หมายถึงผู้ผลิตไม่ได้มีการเติมน้ำตาลเพิ่มลงไปเท่านั้นเอง แต่ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ยังคงมีน้ำตาลตามธรรมชาติที่มีอยู่ในส่วนประกอบและวัตถุดิบอยู่ เช่น น้ำตาลที่มีอยู่ในผลไม้ ผัก น้ำผึ้ง นม และยังคงให้ความหวานอยู่ด้วยเช่นกัน ส่วนฉลาก “Sugar Free” หมายถึง ผลิตภัณฑ์นั้นมีน้ำตาลอยู่ในปริมาณที่น้อยกว่า 0.5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค และส่วนใหญ่จะใช้สารให้ความหวานมาทดแทนการใช้น้ำตาล (Artificial sweeteners) โดยสารให้ความหวานนั้นก็ยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สารให้ความหวานไม่ให้พลังงานหรือน้ำตาลเทียม เช่น แอสปาแตม

Read More

“บุญศิริ หัสสรังสี” ติดอาวุธธุรกิจด้วยเทคโนโลยี เสริมแกร่งสู่การเติบโตในยุคดิจิทัล

ปัจจุบัน “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน” กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาธุรกิจและเสริมศักยภาพให้องค์กรทั่วโลก หลายองค์กรในประเทศไทยเองก็เริ่มเข้าสู่กระบวนการดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยต่อยอดและพัฒนาธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อปรับให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะนี้ “ผู้จัดการ 360 องศา” มีโอกาสได้พูดคุยกับ “บุญศิริ หัสสรังสี” ผู้บริหารรุ่นใหม่ แห่งบริษัท สเฟรียร์เอท จำกัด (SPHERE8) บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการวางกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี ถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และความสำคัญของเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเป็นอาวุธเสริมความแกร่งให้กับองค์กรให้สามารถเติบโตและก้าวสู่ตลาดโลกได้ “เรามองว่าไม่ช้าก็เร็วทุกองค์กรต้องปรับตัวและทรานส์ฟอร์ม เพราะโลกมันหมุนไปแล้ว โควิด-19 ทำให้เราเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีต่างๆ มากขึ้น กรอบความคิดของผู้คนและองค์กรเปลี่ยนไป พร้อมเปิดรับและนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดและไปต่อได้ หากองค์กรไหนเตรียมพร้อมหรือปรับตัวได้ก่อน ก็จะได้เปรียบมากกว่า และที่สำคัญยังสามารถไปแข่งขันในระดับสากลได้อีกด้วย” บุญศิริเน้นย้ำถึงความสำคัญของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันต่อองค์กรยุคใหม่ แต่บุญศิริมองว่ากระบวนการสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันนั้น จำเป็นต้องเริ่มจากการวางกลยุทธ์ พร้อมมองหาเทคโนโลยีหรือโซลูชันที่เหมาะสมมาใช้ในการพัฒนาองค์กร ซึ่งแน่นอนว่าจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยวางกลยุทธ์ และจับคู่เครือข่ายทางเทคโนโลยี เพื่อเป็น “ทางลัด” สำหรับการเตรียมความพร้อมให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนธุรกิจไปได้อย่างเติบโตและยั่งยืนในยุคดิจิทัลนี้ “สเฟียร์เอท” จึงถือโอกาสนี้เข้ามาเป็นตัวกลางและ “ทางลัด” ให้กับองค์กรต่างๆ เพื่อผลักดันให้ธุรกิจไทยเติบโตต่อไปได้ในยุคแห่งดิจิทัล โดยวางโพสิชันตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวางกลยุทธ์ที่เน้นเทคโนโลยี เป็นที่ปรึกษาในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เฟ้นหาเทคโนโลยีและจับคู่ทางธุรกิจทั้งในและจากต่างประเทศ (Tech Scouting & Business Matching) โดยมีจุดแข็งด้านพันธมิตรที่มีอยู่ในหลายประเทศ

Read More

GWM เล็งขึ้นแท่นผู้นำรถยนต์ไฟฟ้าในไทย เดินเครื่องเต็มกำลัง หลังตลาดมีแนวโน้มสดใส

ปัจจุบันผู้บริโภคในไทยเริ่มหันมาใช้ “รถยนต์ไฟฟ้า” แทนรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลกันมากขึ้น เพื่อเป็นการลดการปล่อยคาร์บอนและสร้างมลพิษทางอากาศ ทำให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามาแรงอย่างต่อเนื่อง ค่ายรถยนต์ทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ต่างทยอยเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ เพื่อชิงส่วนแบ่งการตลาดก้อนโต ตัวเลขที่น่าสนใจจากงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2021 พบว่า ภายในงานมียอดจองรถยนต์ทั้งสิ้น 31,583 คัน และยอดจองรถมอเตอร์ไซต์อีกกว่า 3,000 คัน ในจำนวนยอดจองรถยนต์ทั้งหมดนั้น 25% เป็นรถยนต์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนหรือร่วมขับเคลื่อน โดยแบ่งเป็นกลุ่มรถไฮบริด 70% กลุ่มรถปลั๊ก-อิน ไฮบริด 17% และรถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV 13% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สะท้อนเทรนด์ของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ในขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า ทิศทางการแข่งขันในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ของค่ายรถต่างๆ ทั้งญี่ปุ่น จีน และตะวันตกคึกคักมากขึ้น และในอนาคตรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่จะกลายมาเป็นรถยนต์มาตรฐานใหม่แทนที่รถยนต์ใช้น้ำมันนั้นก็ใกล้เข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งภาครัฐของไทยเองก็มีมาตรการออกมาเพื่อสนับสนุนให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น รวมถึงส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ เพื่อทำให้ราคาของรถยนต์ไฟฟ้าลดลงมาอยู่ในระดับที่จับต้องได้มากขึ้น ทั้งนโยบาย 30@30 ที่ตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 หรือ

Read More

สร้างพื้นที่แห่งการรับฟัง เพราะซึมเศร้าหลังคลอดไม่ใช่เรื่องไกลตัว

งานวิจัยจาก 80 ประเทศทั่วโลกที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ระบุว่า ผู้หญิง 1 ใน 6 พบกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด โดยแต่ละคนจะมีลักษณะและความหนักของอาการที่ต่างกันออกไป นอกจากนี้ยังพบอาการทางจิตเวชอื่นๆ ที่เกิดกับผู้หญิงในช่วงก่อนและหลังการคลอดบุตร แต่กลับเป็นประเด็นที่ไม่ถูกกล่าวถึงในวงกว้าง และน้อยคนที่จะรับรู้ถึงภาวะอาการเหล่านี้ อีกทั้งสังคมเองยังมีมุมมองเกี่ยวกับปัญหาทางจิตที่ไม่ค่อยดีนัก ทำให้ผู้ที่ประสบภาวะอาการเหล่านี้เกิดความกังวล ไม่กล้าที่จะเปิดเผย กลัวการถูกตัดสินจากภายนอก ส่งผลให้การต่อสู้กับภาวะอาการทางจิตในช่วงตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตรดำเนินไปอย่างยากลำบาก เดือนกันยายน ปี 2564 เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความสะเทือนใจ เมื่อคุณประณัยยา อุลปาทร และลูกชาย น้องอาร์เธอร์ ต้องจากไปอันสืบเนื่องมาจากภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งสร้างความสูญเสียให้กับครอบครัวเป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้สังคมเริ่มตระหนักถึงภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมากขึ้น จนกลายเป็นที่มาของการก่อตั้ง มูลนิธิประณัยยาและอาร์เธอร์มากอฟฟิน (Pranaiya & Arthur Magoffin Foundation) หรือ PAM Foundation ในที่สุด PAM Foundation ก่อตั้งโดย มร.เฮมิช มากอฟฟิน สามีของคุณประณัยยา โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ สนับสนุนการดูแล และศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและภาวะอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนและหลังการคลอดบุตร เพื่อให้สังคมตระหนักในประเด็นดังกล่าวมากขึ้น ข้อมูลจาก

Read More

สถานการณ์แรงงานไทย ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลง

ภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอันสืบเนื่องมาจากวิกฤตโควิด-19 ที่ดำเนินมามากกว่า 2 ปี ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศและต่อสถานการณ์ของแรงงานอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ปี 2563 ปีแรกแห่งวิกฤตโควิด ถือเป็นปีที่ตลาดแรงงานได้รับผลกระทบอย่างหนัก เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจทั้งภาคการท่องเที่ยว การส่งออก การบริโภค และการลงทุน ชะงักงัน หลายบริษัทต้องเลิกจ้างพนักงานหรือแม้กระทั่งปิดกิจการ อีกทั้งมาตรการเยียวยาจากภาครัฐยังไม่ชัดเจนนัก ส่งผลให้ตัวเลขผู้ว่างงานพุ่งสูง โดยมีอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.69 เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2562 ที่ร้อยละ 0.98 หรือมีจำนวนผู้ว่างงานประมาณ 6.5 แสนคน ในขณะที่ปี 2564 มีการเรียนรู้และปรับตัว รวมถึงใช้หลักทางเศรษฐศาสตร์เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจควบคู่กับมาตรการทางสาธารณสุขเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดไปพร้อมกัน ในส่วนของกระทรวงแรงงานได้มีการนำมาตรการต่างๆ มาใช้เพื่อพยุงการจ้างงาน ได้แก่ 1. ลดเงินสมทบ เพื่อเป็นการลดภาระค่าครองชีพผู้ประกันตน ซึ่งพบว่ากว่าร้อยละ 85 สามารถกลับไปทำงานได้ ถ้าไม่มีตรงนี้อาจจะเห็นคนว่างงานพุ่งสูงถึง 2-3 ล้านคน 2. นโยบายภาครัฐที่กระตุ้นการจ้างงานใหม่และการบริโภคภายในประเทศ เช่น จ๊อบ เอ็กซ์โป (Job Expo) ที่จะโฟกัสในกลุ่มของนักศึกษาจบใหม่โดยเฉพาะ รวมถึงโครงการรักษาการจ้างงานของกลุ่มเอสเอ็มอี มาตรการคนละครึ่ง และ ม.33

Read More

สายงานมาแรงแห่งปี 2565 จากดิจิทัลดิสรัปชันถึงโควิดดิสรัปชัน

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญๆ ทั้งจากดิจิทัลดิสรัปชันที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแวดวงต่างๆ จนมาถึงยุคโควิดดิสรัปชันที่ส่งผลกระทบและสร้างแรงสั่นสะเทือนทั้งต่อการใช้ชีวิต การทำงาน การดำเนินธุรกิจ รวมถึงตลาดแรงงานด้วยเช่นกัน ปัจจุบันตลาดแรงงานของไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อันเนื่องมาจากการปรับตัวในการดำเนินธุรกิจของแต่ละองค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป ล่าสุด แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ได้ทำการสำรวจทิศทางและสถานการณ์ของตลาดแรงงานไทย ของปี 2565 พบว่า ทิศทางของตลาดแรงงานและภาพรวมความต้องการแรงงานมีทิศทางดีขึ้นกว่าสถานการณ์โควิดรอบแรก เมื่อปี 2563 องค์กรและผู้ประกอบการพร้อมเดินหน้าธุรกิจด้วยมาตรการด้านความปลอดภัยและป้องกันความเสี่ยงต่างๆ มีการนำเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงานมากขึ้น และมีแนวโน้มปรับตัวไปสู่รูปแบบของธุรกิจใหม่ (New Economy) ที่ต้องวางแผนด้านกำลังคน การสรรหาบุคลากร และพัฒนาบุคลากรเพื่อให้ตอบโจทย์การทำงานปัจจุบันสู่อนาคต นอกจากนี้ยังพบว่าความต้องการบุคลากรในตลาดแรงงานมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความต้องการทักษะใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์การทำงานในปัจจุบันและการจ้างงานยุคใหม่ ด้านความต้องการของนายจ้างส่วนใหญ่ยังอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่ๆ ในแต่ละภูมิภาค เช่น สมุทรปราการ, ปทุมธานี, ระยอง, ชลบุรี, อยุธยา, ฉะเชิงเทรา, เชียงใหม่, นครราชสีมา และสงขลา เป็นต้น โดยที่นายจ้างส่วนใหญ่ต้องการแรงงานในลักษณะหมุนเวียนในประเทศและประจำพื้นที่ 10 อันดับ

Read More

พ.ร.บ. อากาศสะอาดและนวัตกรรม ความหวัง-ทางออกของปัญหา PM2.5

“ฝุ่นพิษ PM2.5” ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพและเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมามีความพยายามจากหลายฝ่ายเพื่อหาทางแก้ปัญหาและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นให้เบาบางลง และที่ถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญและน่าจับตาคือ ความเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่รวมตัวผลักดันร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาดฉบับเครือข่ายอากาศสะอาด (พ.ร.บ. อากาศสะอาด) นำเสนอต่อรัฐสภา เพื่อหวังเป็นเครื่องมือที่จะมาแก้ปัญหา PM2.5 เป็นที่ทราบกันดีกว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 เป็นมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของประเทศอย่างฝังลึก และเป็นสิ่งที่คนไทยกำลังเผชิญอยู่ทุกปี จากการติดตามสถานการณ์ PM2.5 โดยสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติของกรมควบคุมมลพิษ จํานวน 64 สถานี ใน 34 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2562-2564 สถานการณ์ PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง สูงเกินเกณฑ์มาตรฐานในช่วงต้นปีและปลายปี โดยเฉพาะในเมืองขนาดใหญ่ที่มีการจราจรหรือบรรทุกขนส่งหนาแน่น เขตอุตสาหกรรม พื้นที่ก่อสร้าง และพื้นที่มีการเผาในที่โล่ง เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แม่ฮองสอน เชียงราย น่าน ลำปาง แพร่ นครสวรรค์ และสระบุรี เป็นต้น โดยแหล่งกำเนิดหลักๆ

Read More

ค่ายอสังหาฯ เปิดเกมรุกปีเสือ จับทำเลทอง พร้อมอัดโปรฯ ดุ

ค่ายอสังหาริมทรัพย์ “โนเบิล-แสนสิริ-แอล.พี.เอ็น.” เปิดเกมรุกประเดิมศักราชใหม่ ยึดทำเลทองใกล้ห้างและแนวรถไฟฟ้า พร้อมอัดโปรโมชั่นเดือดทั้งลด-ทั้งแถม มั่นใจภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2565 จะฟื้นตัวขึ้นจากปีก่อน แม้จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ อย่าง “โอมิครอน” ก็ตาม หลังจากเผชิญกับวิกฤตโควิดที่ส่งผลต่อภาคอสังหาริมทรัพย์มากว่า 2 ปี หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าปี 2565 นี้จะเป็นปีแห่งการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทำได้ครอบคลุม ประกอบกับภาครัฐมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ที่เป็นข้อจำกัดมากขึ้น ทั้งต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองบ้าน-คอนโดเหลือ 0.01% ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม บ้านใหม่และบ้านมือสอง รวมถึงการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อที่อยู่อาศัย (มาตรการ LTV) จากธนาคารแห่งประเทศไทย เป็น 100% จนถึงสิ้นปี 2565 (จากเดิมที่เพดาน LTV สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ที่ระดับ 70-90%) และมีการผ่อนปรนให้ต่างชาติเข้ามาถือครองอสังหาริมทรัพย์ในไทยได้ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการที่กล้าเดินหน้าต่อมากขึ้น ประเดิมที่ บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) “NOBLE” ที่ถือครองโครงการที่อยู่อาศัยในทำเลชั้นนำของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นหลัก

Read More

‘ดินสไลด์-บ้านทรุด’ ภัยพิบัติที่ไม่อาจมองข้าม

วันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา เกิดเหตุดินสไลด์ในพื้นที่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนประชาชนกว่า 20 หลังคาเรือน จากการตรวจสอบพบว่า เดิมทีพื้นที่ที่ถล่มนั้นเคยเป็นบ่อเลี้ยงปลามาก่อน แต่ได้มีการถมและปล่อยให้เช่า ประกอบกับการถมดินไม่มีความแข็งแรงที่เพียงพอ อีกทั้งยังอยู่ติดกับบ่อที่เกิดจากการตักดินขายของเอกชน จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดดินสไลด์ในครั้งนี้ ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์ดินสไลด์จนสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน พฤศจิกายน 2564 – เกิดเหตุดินทรุดตัวเป็นหลุมกว้างภายในสวนทุเรียน อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี ระหว่างการขุดเจาะบ่อบาดาล ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ตุลาคม 2564 – เกิดเหตุดินสไลด์ บริเวณถนนกัลปพฤกษ์ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร โดยจุดดังกล่าวมีการขุดหลุมเพื่อซ่อมท่อประปา ทำให้คนงานได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ธันวาคม 2563 – เกิดเหตุดินสไลด์ทับบ้านเรือนประชาชนบริเวณ อ.เบตง จ.ยะลา จากฝนที่ตกต่อเนื่องมานานหลายวัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต นี่เป็นเพียงบางเหตุการณ์ที่หยิบยกขึ้นมาเพื่อให้เห็นภาพความเสียหายที่เราไม่อาจมองข้ามได้เท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าสาเหตุของการเกิดดินสไลด์มีทั้งปัจจัยจากดินฟ้าอากาศและจากการกระทำของมนุษย์ นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้เผยถึงสาเหตุของดินสไลด์ที่ อ.บางพลี ในครั้งนี้ว่า พื้นที่ดังกล่าวมีการขุดบ่อดินขนาด 400 ไร่ เพื่อนำดินไปขาย โดยมีแนวคันดินกว้างประมาณ

Read More

“การนอน” เรื่องง่ายๆ ที่อาจจะไม่ง่าย

เชื่อว่าหลายคนคงเคยตั้งใจว่าวันนี้จะนอนให้เต็มอิ่ม แต่พอล้มตัวลงนอนจริงๆ กลับคิดนู่นคิดนี่จนนอนไม่หลับ พลิกไปพลิกมาจนน่าหงุดหงิด หรือหลับไปแล้ว แต่จู่ๆ ดันสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึก ต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่กว่าจะข่มตาให้หลับต่อได้ ยิ่งช่วงนี้เรื่องชวนเครียดมีมากมายเหลือเกิน ทั้งสถานการณ์โควิดที่กลายพันธุ์กันเป็นว่าเล่น สภาพเศรษฐกิจ ราคาข้าวของที่พุ่งสวนทางกับรายได้ ทำให้หลายคนข่มตานอนได้ยากเต็มที “การนอนหลับ” เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการมีสุขภาพที่ดี จำนวนชั่วโมงในการนอนของแต่ละคนนั้นย่อมไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สำหรับตัวเลข 7-8 ชั่วโมง เป็นเพียงค่าเฉลี่ยในการนอนของวัยผู้ใหญ่เท่านั้น ซึ่งการนอนหลับที่เพียงพอสามารถวัดได้จากความรู้สึกที่ตื่นมาด้วยความสดชื่น รู้สึกว่านอนได้อิ่ม และไม่อ่อนเพลียช่วงกลางวัน แม้ว่าการนอนจะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่กลับพบปัญหาที่เกี่ยวกับการนอนไม่น้อยเลยทีเดียว และหลายปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอนเป็นสัญญาณเตือนว่าสุขภาพร่างกายกำลังต้องการการเยียวยาและฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน - การนอนไม่หลับ (Insomnia) ต้องใช้เวลานานกว่าจะสามารถหลับได้ นอนหลับๆ ตื่นๆ หรือตื่นเร็วกว่าปกติแล้วไม่สามารถหลับต่อได้ ซึ่งเป็นอาการที่มักเกิดร่วมกับความผิดปกติของร่างกายและจิตใจ เช่น จากความเครียดสะสม - อาการตื่นกลางดึก (Middle Insomnia) อีกหนึ่งประเภทในโรคนอนไม่หลับ โดยจะมีอาการตื่นนอนตอนช่วงกลางดึกในเวลาเดิมซ้ำๆ และกว่าจะกลับไปหลับต่อได้อาจต้องใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 2 ชั่วโมง แต่การตื่นกลางดึกอาจเป็นรูปแบบของการนอนหลับตามธรรมชาติได้ หากสามารถกลับไปนอนต่อภายใน 1 ชั่วโมง - นอนกรน (Snoring) เป็นอีกหนึ่งปัญหาเกี่ยวกับการนอนที่พบได้บ่อย และพบมากในผู้ชายและผู้ป่วยภูมิแพ้ไซนัส ซึ่งการกรนขึ้นอยู่กับลักษณะท่าทางการนอน -

Read More