Home > ภัยพิบัติ

‘ดินสไลด์-บ้านทรุด’ ภัยพิบัติที่ไม่อาจมองข้าม

วันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา เกิดเหตุดินสไลด์ในพื้นที่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนประชาชนกว่า 20 หลังคาเรือน จากการตรวจสอบพบว่า เดิมทีพื้นที่ที่ถล่มนั้นเคยเป็นบ่อเลี้ยงปลามาก่อน แต่ได้มีการถมและปล่อยให้เช่า ประกอบกับการถมดินไม่มีความแข็งแรงที่เพียงพอ อีกทั้งยังอยู่ติดกับบ่อที่เกิดจากการตักดินขายของเอกชน จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดดินสไลด์ในครั้งนี้ ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์ดินสไลด์จนสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน พฤศจิกายน 2564 – เกิดเหตุดินทรุดตัวเป็นหลุมกว้างภายในสวนทุเรียน อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี ระหว่างการขุดเจาะบ่อบาดาล ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ตุลาคม 2564 – เกิดเหตุดินสไลด์ บริเวณถนนกัลปพฤกษ์ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร โดยจุดดังกล่าวมีการขุดหลุมเพื่อซ่อมท่อประปา ทำให้คนงานได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ธันวาคม 2563 – เกิดเหตุดินสไลด์ทับบ้านเรือนประชาชนบริเวณ อ.เบตง จ.ยะลา จากฝนที่ตกต่อเนื่องมานานหลายวัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต นี่เป็นเพียงบางเหตุการณ์ที่หยิบยกขึ้นมาเพื่อให้เห็นภาพความเสียหายที่เราไม่อาจมองข้ามได้เท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าสาเหตุของการเกิดดินสไลด์มีทั้งปัจจัยจากดินฟ้าอากาศและจากการกระทำของมนุษย์ นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้เผยถึงสาเหตุของดินสไลด์ที่ อ.บางพลี ในครั้งนี้ว่า พื้นที่ดังกล่าวมีการขุดบ่อดินขนาด 400 ไร่ เพื่อนำดินไปขาย โดยมีแนวคันดินกว้างประมาณ

Read More

นักวิจัยแนะสำรวจอาคาร-ออกแบบตาม มยผ. ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดในแอ่งดินอ่อนเพิ่มขึ้น

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศลาวเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ผศ. ดร.ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์ นักวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย สกสว. จากมหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าแผ่นดินไหวที่ ส.ป.ป.ลาว ในช่วงเวลา 06.50 น. ห่างจากอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ประมาณ 19 กม. เบื้องต้นเชื่อว่าเกิดบนรอยเลื่อนน้ำเป็งซึ่งเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ที่อำเภอปัว เมื่อปี 2478 ที่ระยะห่างประมาณ 30 กม. ซึ่งมีรอยเลื่อนมีพลังอยู่เป็นจำนวนมากจึงเกิดแผ่นดินไหวได้บ่อยครั้ง ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมามีแผ่นดินไหวขนาดกว่า 6.0 เกิดขึ้นในบริเวณรอยต่อประเทศไทย พม่า และลาวกว่า 7 ครั้ง รวมทั้งครั้งนี้ด้วย สำหรับผู้อยู่อาศัยบนอาคารสูงในกรุงเทพมหานครนั้นสามารถรับรู้ถึงแผ่นดินไหวได้ประมาณปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่ระยะไกล เนื่องจากการพัฒนาอาคารสูงตามการพัฒนาของเศรษฐกิจในระยะหลัง บุคคลทั่วไปรับรู้แผ่นดินไหวได้มากขึ้นกว่าในอดีต ที่ผ่านมาโครงการวิจัยได้ศึกษาผลกระทบดินอ่อนต่ออาคารในกรุงเทพมหานคร และพัฒนามาตรฐานการออกแบบแผ่นดินไหวครอบคลุมทุกอำเภอและกรุงเทพมหานคร โดยมาตรฐานแผ่นดินไหว (มยผ 1302-61) ซึ่งเผยแพร่โดยกรมโยธาและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย กำหนดค่าการออกแบบสำหรับวิศวกรในการออกแบบตึกสูงให้ทนทานต่อแผ่นดินไหวที่รุนแรงเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบต่อกรุงเทพมหานครได้ แต่แม้ว่าจะเผยแพร่มาตรฐานดังกล่าวแล้วประชาชนทั่วไปอาจไม่เข้าใจถึงการนำไปใช้

Read More