Home > Vanida Toonpirom (Page 13)

ลัดเลาะย่านเก่าแห่งพระนคร กับเรื่องลับของพื้นที่สีเทาในอดีต

เยาวราชในการรับรู้ในปัจจุบันคือย่านธุรกิจที่พลุกพล่านทั้งกลางวันและกลางคืน และเป็นแหล่งรวมของกินแสนอร่อยที่เป็นหมุดหมายของใครหลายๆ คน แต่ท่ามกลางภาพฉายแห่งปัจจุบัน ในอดีตย่านเยาวราชยังเคยเป็นพื้นที่ของธุรกิจสีเทา ทั้งโรงฝิ่น โรงหวย และโรงโคมเขียวของบรรดาหญิงงามเมืองที่เรียกกันในสมัยนั้นอีกด้วย “ผู้จัดการ 360 องศา” ขอพาคุณผู้อ่านลัดเลาะไปตามตรอกซอกซอยในย่านเยาวราช เพื่อไปทำความรู้จักเรื่องราวสีเทาๆ ในอดีต ผ่านสถานที่ต่างๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่เพื่อคอยบอกเล่าเรื่องราวที่ผ่านมา เริ่มกันที่ “วัดบำเพ็ญจีนพรต” วัดจีนที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่ซ่อนตัวอยู่ในตึกทรงวินเทจในตรอกเต๊า (เยาวราชซอย 8) ซึ่งเป็นหนึ่งในย่านโรงโคมเขียว หรือแหล่งประกอบธุรกิจค้าประเวณีชื่อดังในอดีตแห่งเยาวราช วัดบำเพ็ญจีนพรต (ย่งฮกยี่) เดิมเป็นวิหารพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ชื่อ “ย่งฮกอำ” คาดว่าสร้างโดยชาวจีนในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หรือราวๆ พ.ศ. 2338 เพื่อเป็นสังฆารามหรือสำนักสงฆ์ของคณะสงฆ์จีนนิกาย ก่อนที่จะมีการปฏิสังขรณ์ โดยพระอาจารย์สกเห็ง ที่จาริกมาจากประเทศจีนและพำนักอยู่ ณ ที่แห่งนี้ จนได้รับพระราชทานนาม “วัดบำเพ็ญจีนพรต” จากรัชกาลที่ 5 ในที่สุด ซึ่งปัจจุบันยังมีป้ายพระราชทานนามวัดประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดคือพระอุโบสถขนาดเล็กที่ล้อมรอบด้วยอาคารทรงวินเทจชนิดที่ผนังแนบแน่นไปกับตัววัดเลยทีเดียว ภายในพระอุโบสถประกอบด้วยพระประธาน 3 องค์ ได้แก่ พระศากยมุนีพุทธเจ้า พระอมิตาภะพุทธเจ้า และพระไภษัชยะคุรุพุทธเจ้า อันเป็นตัวแทนของอดีต

Read More

“ชุมชนบ้านครัว” เสน่ห์ชุมชนที่ยังมีลมหายใจ ท่ามกลางกรอบแห่งการพัฒนาเมือง

ชื่อของ “ชุมชนบ้านครัว” น่าจะเป็นที่รู้จักของใครหลายคนในหลากหลายบริบทที่ต่างกันออกไป ซึ่งหนึ่งในนั้นคือความเป็นชุมชนมุสลิมขนาดใหญ่ที่เก่าแก่ที่สุดในฝั่งพระนคร เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์และผ่านความท้าทายมาอย่างยาวนาน แต่ยังคงเต็มเปี่ยมด้วยเสน่ห์แห่งความเป็นชุมชนท่ามกลางความเป็นเมืองใหญ่ที่พัฒนาอย่างไม่หยุดหย่อน ชุมชนบ้านครัวเป็นชุมชนมุสลิมขนาดใหญ่ที่ทอดตัวขนานไปกับคลองแสนแสบ แวดล้อมด้วยอาคารสูงและทางด่วนพาดผ่าน ในย่านที่เรียกได้ว่าราคาที่ดินสูงลิ่วอย่างราชเทวี มีผู้อาศัยอยู่หลายพันคน ซึ่งส่วนใหญ่คือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยแบ่งออกเป็น ชุมชนบ้านครัวเหนือ ชุมชนบ้านครัวตะวันตก และชุมชนบ้านครัวใต้ รวมทั้งสิ้น 1,376 ครัวเรือน มีมัสยิดยามีอุลค็อยรียะห์ หรือในอดีตที่รู้จักในชื่อ “สุเหร่ากองอาสาจาม” เป็นศูนย์กลางของชุมชน ตามประวัติความเป็นมา ชุมชนบ้านครัวเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวมุสลิมเชื้อสายจามที่อพยพมาจากกัมปงจาม ประเทศกัมพูชา ตั้งแต่สมัยอยุธยา ก่อนที่จะเข้าร่วมรบในสมัยสงครามเก้าทัพในนาม “กองอาสาจาม” จนได้รับพระราชทานที่ดินจากรัชกาลที่ 1 เพื่อตั้งครัวเรือนบริเวณป่าไผ่ทุ่งพญาไท ปทุมวัน-ราชเทวี ริมคลองแสนแสบ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการขุดขยายคลองแสนแสบทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น จึงมีการอพยพแบบยกครัวเข้ามามากขึ้น อันเป็นที่มาของชื่อ “บ้านครัว” และได้นำอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทอผ้าเข้ามาพร้อมกัน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาในราวสมัยรัชกาลที่ 5 ชุมชนบ้านครัวจึงได้เริ่มทอผ้าไหมขึ้นเพื่อค้าขายในหมู่บ้านและนำไปขายทางเรือตามต่างจังหวัด เช่น อ่างทอง อยุธยา โดยยุคแรกเป็นการทอผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง ผ้าโจงกระเบนลวดลายต่างๆ ที่ทอด้วยกี่มือ และนับเป็นจุดเริ่มต้นของผ้าไหมแห่งชุมชนบ้านครัว พร้อมๆ

Read More

ยานยนต์ไฟฟ้า : โอกาสและความท้าทาย ภายใต้บริบทโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง

สถานการณ์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจากหลากหลายปัจจัยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งโรคระบาด สภาวะเศรษฐกิจ สงคราม ราคาน้ำมัน เงินเฟ้อ ที่เป็นทั้งความท้าทายและโอกาสของยานยนต์ไฟฟ้าไปพร้อมๆ กัน ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้ากำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจากกระแสโลกที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และหันมาใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น นั่นทำให้ยอดขายยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกทำสถิติสูงสุดต่อเนื่อง แม้โลกจะเผชิญกับวิกฤตของโควิด-19 และสภาวะสงครามที่ส่งผลต่อราคาวัตถุดิบในการผลิต รายงานของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEA) ระบุว่ายอดขายยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก (รวมถึงรถยนต์ PHEV และรถยนต์ BEV) ในปี 2021 เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปี 2020 มาอยู่ที่ 6.6 ล้านคัน โดยร้อยละ 53 ของยอดขายทั่วโลก (ประมาณ 3.4 ล้านคัน) อยู่ที่จีน ตามมาด้วยตลาดยุโรป (ร้อยละ 33) และตลาดสหรัฐฯ (ร้อยละ 11) ทั้งนี้ ในปี 2021 ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.6

Read More

ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต และร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม กับโอกาสเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยของคู่รัก LGBTQIA+

เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาถือเป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ หรือที่รู้จักในชื่อ “Pride Month” เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มหลากหลายทางเพศทั่วโลก (LGBTQIA+) ที่ไม่ว่าจะมองไปทางไหนเราจะได้เห็นสัญลักษณ์สีรุ้งประดับตกแต่งอยู่ในสถานที่ต่างๆ รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องและแคมเปญจากแบรนด์ต่างๆ ที่ส่งเสริมและเพิ่มการตระหนักรู้ถึงความหลากหลายของกลุ่ม LGBTQIA+ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรยังสร้างประวัติศาสตร์ในการรับร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศถึง 4 ฉบับ ประกอบด้วย ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ....หรือ ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม, ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต พ.ศ....., ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) และ ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต แม้ว่าการรับร่างดังกล่าวยังคงต้องผ่านการพิจารณาอีกหลายขั้นตอน แต่ถือเป็นการกลัดกระดุมเม็ดแรกสู่ความเสมอภาค และเป็นก้าวสำคัญที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQIA+ ได้รับสิทธิทางกฎหมายในหลายด้าน และมีบทบาทในการดูแลหรือทำธุรกรรมต่างๆ ร่วมกันมากขึ้น ภายใต้กฎหมายในฐานะคู่สมรส ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าสังคมตระหนักถึงความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ล่าสุด ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจว่า ผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQIA+ มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจต่างๆ ไม่น้อย ข้อมูลล่าสุดจาก

Read More

“กสิกิจ พ่วงภิญโญ” กับธุรกิจความงาม ปั้นแบรนด์ Aestox เจาะตลาด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมีภาพลักษณ์ที่ดูดีเป็นสิ่งที่หลายๆ คนปรารถนา ซึ่งนั่นทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวกับความงามยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ดูแลผิวพรรณ เครื่องสำอาง ที่ถูกผลิตออกมาหลากหลายแบรนด์ในท้องตลาด รวมไปถึงสถานเสริมความงามที่ผุดขึ้นอย่างมากมายด้วยเช่นกัน ”ผู้จัดการ 360°” มีโอกาสได้พูดคุยกับ “กสิกิจ พ่วงภิญโญ” หรือคุณทอม กรรมการผู้บริหาร บริษัท เอสเทค ฟาร์มา จำกัด ผู้บริหารรุ่นใหม่ที่เริ่มต้นการทำธุรกิจด้วยการนำเข้าผลไม้จากต่างประเทศป้อนให้กับห้างสรรพสินค้าและโรงแรมชั้นนำทั่วประเทศ ก่อนที่จะมองเห็นโอกาสและเบนเข็มเข้าสู่ธุรกิจความงาม ด้วยการปั้นแบรนด์เอสท็อกซ์ (Aestox) สารลดริ้วรอยและยกกระชับใบหน้า “Botuliunm toxin type A” จากประเทศเกาหลี เจาะตลาด 28 ประเทศทั่วโลก “ผมชอบคอนเซ็ปต์ในการทำธุรกิจ ชอบค้าขายอยู่แล้ว ช่วงที่เรียนปริญญาตรีก็เริ่มทำธุรกิจเล็กๆ ทั้งร่วมหุ้นกับเพื่อนเปิดร้าน และทำธุรกิจอย่างอื่น เห็นช่องทางอะไรก็ลองทำดู” กสิกิจเริ่มต้นบทสนทนาด้วยการเล่าถึงจุดเริ่มต้นในเส้นทางการทำธุรกิจ จากธุรกิจเล็กๆ ในสมัยเรียนกสิกิจได้ก้าวเข้าสู่ธุรกิจระดับใหญ่ขึ้นหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) โดยเริ่มต้นจากสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ ด้วยการเปิดบริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายผักผลไม้และอาหารให้กับห้างสรรพสินค้า โรงแรม และฟู้ดเซอร์วิสต่างๆ ทั่วประเทศ ตั้งแต่อายุเพียง 25 ปี “ผมเป็นคนชอบกินและชอบเดินทางท่องเที่ยวด้วย พอเราไปต่างประเทศได้เจอผัก

Read More

ตลาดความงามกลับมาสดใส ลอรีอัลลุยต่อ ปักหมุดผู้นำ Beauty Tech

แม้ธุรกิจความงามจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่หนีไม่พ้นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนทำให้การเติบโตและมูลค่าการตลาดที่เคยหอมหวานกลับต้องหยุดชะงักลงไปอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง แต่เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ตลาดความงามจึงเริ่มกลับมาสดใสอีกครั้ง และมีแนวโน้มเติบโตมากกว่าเดิม นั่นทำให้ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และรายย่อยต่างปรับกลยุทธ์เพื่อช่วงชิงโอกาสที่กำลังมา รวมถึง “ลอรีอัล ประเทศไทย” ยักษ์ใหญ่ของตลาด ที่ประกาศเดินหน้าปลุกตลาดอีกครั้ง พร้อมปักหมุดเป็นผู้นำด้าน “Beauty Tech” ภายใต้ผู้บริหารคนใหม่อย่าง “แพทริค จีโร” ย้อนเวลากลับไปปี 2562 ก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 ตลาดความงามของไทยมีมูลค่าถึง 218,000 ล้านบาท เติบโตถึง 6.7% และที่สำคัญเป็นการโตที่สูงกว่าตลาดโลก ที่เติบโตอยู่ที่ 5.5% อีกด้วย โดยแบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลผิว (skincare) 42% ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม 15% สุขอนามัย 14% เครื่องสำอาง (makeup) 12% เครื่องสำอางเกี่ยวกับริมฝีปาก 12% น้ำหอม 5% ส่วนในปี 2563 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมาตรการป้องกันต่างๆ ทั้งการล็อกดาวน์และการใส่หน้ากากอนามัย ทำให้ภาพรวมของตลาดความงามได้รับผลกระทบและต้องปรับตัว โดยพบว่าช่วงการระบาดของโควิด-19 ระลอกแรก ตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า (Face

Read More

“พิพิธภัณฑ์พัฒน์พงศ์” บอกเล่าเรื่องราวของคนกลางคืน

ภาพยนตร์อินเดียอย่าง “Gangubai Kathiawadi” หรือ หญิงแกร่งแห่งมุมไบ ที่ฉายทาง Netflix สร้างกระแสความนิยมและเรียกเสียงชื่นชมจากผู้ชมอย่างล้นหลามทั้งในตัวเนื้อเรื่องที่พูดถึงเรื่องราวและการต่อสู้เพื่อสิทธิของหญิงขายบริการในอินเดีย โทนภาพที่สวยงาม และตัวละครในเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “คังคุไบ” ตัวละครหลักที่หลายๆ คนชื่นชอบ ออกมาคัฟเวอร์เป็นคังคุไบกันมากมาย จนกลายเป็น “คังคุไบฟีเวอร์” อยู่ในขณะนี้ แต่ในอีกแง่หนึ่ง ภาพยนต์ดังกล่าวก็ทำให้อีกหลายๆ คน เริ่มหันกลับมาสนใจเรื่องราวของคนกลางคืนมากขึ้นด้วยเช่นกัน วันนี้ “ผู้จัดการ 360 องศา” ขอพาผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ “พิพิธภัณฑ์พัฒน์พงศ์” พิพิธภัณฑ์ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่กลับอัดแน่นไปด้วยเรื่องราวความเป็นมาของ “พัฒน์พงศ์” ย่านที่ถูกขนานนามว่าเป็นโลกกลางคืนแห่งกรุงเทพมหานคร จากซอยพัฒน์พงศ์ 2 เดินเข้าไปไม่ไกลนัก เราจะพบป้ายสีสดใสที่เชื้อเชิญให้เราขึ้นไปเยี่ยมชม “พิพิธภัณฑ์พัฒน์พงศ์” ที่ฝังตัวอยู่บนชั้น 2 ของอาคาร แวดล้อมด้วยผับบาร์มากมาย “พิพิธภัณฑ์พัฒน์พงศ์” หรือ Patpong Museum ก่อตั้งโดย ไมเคิล เมสซ์เนอร์ (Michael Messner) ศิลปินชาวออสเตรียที่ใช้เวลาอยู่ในย่านพัฒน์พงศ์มานานจนเก็บเกี่ยวเรื่องราวและสะสมร่องรอยของประวัติศาสตร์ความเป็นพัฒน์พงศ์จนถ่ายทอดออกมาผ่านพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ตัวพิพิธภัณฑ์มีพื้นที่จัดแสดงทั้งหมด 6 ส่วน ทั้งในส่วนของข้อมูล

Read More

“หอมขจรฟาร์ม” พื้นที่เกษตรแนวใหม่ อีกหนึ่งแลนด์มาร์กแห่งสุพรรณบุรี

บนเนื้อที่กว่า 50 ไร่ ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี คือที่ตั้งของ “หอมขจรฟาร์ม” โครงการแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะและแหล่งเรียนรู้เกษตรแนวใหม่ อีกหนึ่งบทบาทของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่มีเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร สู่อีกหนึ่งแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของจังหวัดสุพรรณบุรี ภาคการเกษตรยังคงเป็นหัวใจสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย แต่ถึงกระนั้นเกษตรกรไทยผู้เป็นฟันเฟืองหลักยังคงเผชิญกับปัญหาในการทำการเกษตร และยังไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตในฐานะแหล่งรวมความรู้ จึงนำองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยที่มี ถ่ายทอดไปยังเกษตรกร ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรแนวใหม่ ในชื่อ “หอมขจรฟาร์ม” “หอมขจรฟาร์ม” ตั้งอยู่ ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี บนพื้นที่กว่า 50 ไร่ โดยนิยามตนเองเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรแนวใหม่ ที่ต้องการส่งเสริมการทำเกษตรปลอดภัยตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำให้กับเกษตรกร เพื่อสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร รวมถึงสร้างเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในอนาคต โดยหอมขจรฟาร์มแห่งนี้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของ รศ. ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยทำความร่วมมือกับจังหวัดสุพรรณบุรีและหน่วยงานภายใต้กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งให้ความรู้ศึกษาดูงานของเกษตรกร ผู้ที่สนใจ และนักเรียน นักศึกษา ภายในฟาร์มประกอบด้วยโครงการหลักๆ 5 โครงการ ได้แก่ 1. “สวนหอมขจร” (Homkhajorn Garden) เป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทำการเกษตร

Read More

คาด Wellness Tourism ฟื้นตัวหลังโควิด อีกหนึ่งความหวังทางเศรษฐกิจของไทย

ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 “การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ” หรือ Wellness Tourism กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ตามพฤติกรรมของผู้คนในสังคมที่หันมาให้ความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพตนเองกันมากขึ้น แต่เมื่อการเดินทางทั้งภายในและระหว่างประเทศถูกจำกัดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด ทำให้ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาการเดินทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพก็เกิดการชะงักงันไปด้วยเช่นกัน จนเมื่อสถานการณ์โรคระบาดเริ่มคลี่คลายและสามารถกลับมาเดินทางได้อีกครั้ง ประกอบกับการระบาดของโควิด-19 เอง ก็เป็นตัวกระตุ้นให้กระแสการดูแลสุขภาพทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์และคาดหวังกันว่า การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจะยิ่งกลับมาคึกคัก และจะกลายเป็นฟันเฟืองตัวใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย จากการประเมินของสถาบันโกลบอลเวลเนส (Global Wellness Institute: GWI) พบว่า ก่อนโควิด-19 ระบาด มูลค่าตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2561 มีมูลค่าสูงถึง 617,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2562 โตขึ้น 720,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 8.1% ต่อปี สูงกว่าค่าเฉลี่ยมูลค่าโดยรวมของธุรกิจเวลเนสทั้งหมดที่เติบโตปีละ 6.4% ในขณะที่ปี 2563 ที่เกิดการระบาดของโควิด-19 พบว่ามูลค่าตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพลดลงเหลือเพียง 435,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตกลงมาถึง 39.5% แต่เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย

Read More

‘เฮงเสง’ เบาะไหว้เจ้าทำมือ ร้านสุดท้ายแห่งตลาดน้อย

มือผอมเกร็งที่บ่งบอกถึงการเดินทางผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนานของ “อาม่าจินดารัตน์” อีกหนึ่งผู้สานต่อแห่งร้าน ”เฮงเสง” ยังคงบรรจงเย็บริมเบาะไหว้เจ้าได้อย่างประณีต ไม่ทิ้งลายทายาทแห่งร้านทำเบาะไหว้เจ้าเย็บมือที่มีอายุกว่า 100ปี ที่เป็นร้านแรก ร้านเดียว และร้านสุดท้ายแห่งตลาดน้อย เชื่อว่าใครที่มีโอกาสได้มาเดินเล่นในย่านตลาดน้อย น่าจะเคยผ่านตาหรือบางคนอาจจะได้แวะเวียนเข้าไปทำความรู้จักกับร้าน “เฮงเสง” ร้านทำเบาะไหว้เจ้า ที่ดึงดูดสายตาของผู้ที่เดินผ่านไปผ่านมาด้วยเบาะสีสันสดใสกันมาบ้าง “ผู้จัดการ 360 องศา” มีโอกาสได้พูดคุยกับ “วิมล เหลืองอรุณ” หรือ คุณเจี๊ยบ เจ้าของและทายาทรุ่นที่สาม ที่กำลังนำพาเฮงเสงให้ก้าวเดินไปอีกครั้งท่ามกลางบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป คุณเจี๊ยบเริ่มต้นบทสนทนาด้วยการเล่าประวัติความเป็นมาของร้านทำเบาะไหว้เจ้าแห่งนี้ว่า “เหล่ากงเป็นผู้บุกเบิกกิจการร้านเฮงเสง แกล่องเรือจากเมืองจีนมาตั้งรกรากอยู่ในสยามตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากนั้นก็เริ่มทำหมอน มุ้ง ที่นอนนุ่นขายเลี้ยงชีพ ถือเป็นร้านแรกและร้านเดียวในตลาดน้อย สมัยก่อนแกทำส่งตามโรงแรมต่างๆ ย่านเยาวราช อย่างโรงแรม 7 ชั้น นอกนั้นก็มีเย็บเบาะนุ่นสำหรับวางบนเก้าอี้หวายส่งไปขายแถวประตูผีด้วย ซึ่งสมัยนั้นคนนิยมเก้าอี้หวายกันมาก ถือว่าขายดีทีเดียว” คุณเจี๊ยบขยายความต่อไปว่า สมัยนั้นคนนิยมใช้เก้าอี้หวายเพราะยังไม่มีโซฟาเหมือนในปัจจุบัน เลยเย็บเบาะรองนั่งที่ใช้กับเก้าอี้หวายขึ้นมาขาย ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำส่งวันหนึ่งๆ เป็นจำนวนนับร้อยลูก โดยส่งไปขายย่านประตูผีซึ่งเป็นแหล่งทำผลิตภัณฑ์หวายเป็นหลัก ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองของร้านเฮงเสงก็ว่าได้ ทั้งที่นอน หมอน มุ้ง และเบาะหวาย ถูกส่งไปขายยังสถานที่ต่างๆ มากมาย แม้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่เป็นช่วงยากลำบากก็ยังมีลูกค้า “ช่วงสงครามไม่มีผ้าขาย

Read More