Home > ท่องเที่ยวชุมชน

“ชุมชนบ้านครัว” เสน่ห์ชุมชนที่ยังมีลมหายใจ ท่ามกลางกรอบแห่งการพัฒนาเมือง

ชื่อของ “ชุมชนบ้านครัว” น่าจะเป็นที่รู้จักของใครหลายคนในหลากหลายบริบทที่ต่างกันออกไป ซึ่งหนึ่งในนั้นคือความเป็นชุมชนมุสลิมขนาดใหญ่ที่เก่าแก่ที่สุดในฝั่งพระนคร เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์และผ่านความท้าทายมาอย่างยาวนาน แต่ยังคงเต็มเปี่ยมด้วยเสน่ห์แห่งความเป็นชุมชนท่ามกลางความเป็นเมืองใหญ่ที่พัฒนาอย่างไม่หยุดหย่อน ชุมชนบ้านครัวเป็นชุมชนมุสลิมขนาดใหญ่ที่ทอดตัวขนานไปกับคลองแสนแสบ แวดล้อมด้วยอาคารสูงและทางด่วนพาดผ่าน ในย่านที่เรียกได้ว่าราคาที่ดินสูงลิ่วอย่างราชเทวี มีผู้อาศัยอยู่หลายพันคน ซึ่งส่วนใหญ่คือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยแบ่งออกเป็น ชุมชนบ้านครัวเหนือ ชุมชนบ้านครัวตะวันตก และชุมชนบ้านครัวใต้ รวมทั้งสิ้น 1,376 ครัวเรือน มีมัสยิดยามีอุลค็อยรียะห์ หรือในอดีตที่รู้จักในชื่อ “สุเหร่ากองอาสาจาม” เป็นศูนย์กลางของชุมชน ตามประวัติความเป็นมา ชุมชนบ้านครัวเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวมุสลิมเชื้อสายจามที่อพยพมาจากกัมปงจาม ประเทศกัมพูชา ตั้งแต่สมัยอยุธยา ก่อนที่จะเข้าร่วมรบในสมัยสงครามเก้าทัพในนาม “กองอาสาจาม” จนได้รับพระราชทานที่ดินจากรัชกาลที่ 1 เพื่อตั้งครัวเรือนบริเวณป่าไผ่ทุ่งพญาไท ปทุมวัน-ราชเทวี ริมคลองแสนแสบ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการขุดขยายคลองแสนแสบทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น จึงมีการอพยพแบบยกครัวเข้ามามากขึ้น อันเป็นที่มาของชื่อ “บ้านครัว” และได้นำอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทอผ้าเข้ามาพร้อมกัน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาในราวสมัยรัชกาลที่ 5 ชุมชนบ้านครัวจึงได้เริ่มทอผ้าไหมขึ้นเพื่อค้าขายในหมู่บ้านและนำไปขายทางเรือตามต่างจังหวัด เช่น อ่างทอง อยุธยา โดยยุคแรกเป็นการทอผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง ผ้าโจงกระเบนลวดลายต่างๆ ที่ทอด้วยกี่มือ และนับเป็นจุดเริ่มต้นของผ้าไหมแห่งชุมชนบ้านครัว พร้อมๆ

Read More

ชุมชนบ้านแหลม ท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่พร้อมยกระดับสู่ Smart Tourism

การท่องเที่ยวชุมชนเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวที่เป็นที่ชื่นชอบของหลายๆ คน และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่การเดินทางถูกจำกัด ทำให้นักท่องเที่ยวเริ่มหันมาเที่ยวภายในประเทศอย่างการท่องเที่ยวชุมชนกันมากขึ้น เพื่อสัมผัสเสน่ห์ที่อยู่ใกล้ตัว ปัจจุบันการท่องเที่ยวชุมชนมีอยู่อย่างมากมายทั่วประเทศ ซึ่งมีเอกลักษณ์และจุดขายที่แตกต่างกันออกไป และหนึ่งในท่องเที่ยวชุมชนที่น่าสนใจ คือ “วิสาหกิจท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลบ้านแหลม” จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ดึงจุดแข็งในเรื่องวิถีชีวิตของชุมชนเก่าแก่ริมสายน้ำมาเป็นจุดขาย และที่สำคัญยังเป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เข้มแข็ง ที่พร้อมจะยกระดับสู่ Smart Tourism หรือการท่องเที่ยวอัจฉริยะ โดยการผสานวิถีชีวิตเข้ากับนวัตกรรม เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนของจังหวัดสุพรรณบุรี เสียงเพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงอีแซว ตามมาด้วยเพลงเรือ ที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของชุมชน แนะนำสมาชิก ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ตบท้ายด้วยประโยคที่ว่า “เลี้ยวเลาะ เที่ยวท่อง ล่องวิถี คนเมืองเหน่อ บ้านแหลมสุพรรณจ้า” ที่มีความเหน่อเป็นเอกลักษณ์ คือการต้อนรับอันอบอุ่นที่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสเป็นด่านแรกจากชาวชุมชนตำบลบ้านแหลม ที่ไม่ทิ้งลายของเมืองแห่งศิลปิน ชุมชนตำบลบ้านแหลม ตั้งอยู่ที่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีเรือนไทยหลังคาแหลมใต้ถุนสูงอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี (ส่วนหนึ่งของแม่น้ำท่าจีนตอนที่ไหลผ่าน จ. สุพรรณบุรี) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “ชุมชนบ้านแหลม” โดยสองฝั่งแม่น้ำมีทั้งเรือนไทยเดี่ยว เรือนไทยหมู่ เรือนไทยคหบดี วัดเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และวิถีชีวิตของชาวชุมชนที่ผูกพันกับสายน้ำ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นเสน่ห์และจุดขายของท่องเที่ยวชุมชนตำบลบ้านแหลม สำหรับ “วิสาหกิจท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลบ้านแหลม”

Read More

อพท. ยกระดับ 2 ชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบสู่การเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. โดยสํานักท่องเที่ยวโดยชุมชน ร่วมกับบริษัท โลเคิล อไลค์ จำกัด จัดทำโครงการ “กิจกรรมพัฒนาชุมชนและเยาวชนต้นแบบเพื่อยกระดับสู่วิสาหกิจเพื่อสังคม” เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และประสบการณ์และเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้นำเยาวชน และชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพ ไปสู่การยกระดับเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมด้านการท่องเที่ยว นำร่องในชุมชนต้นแบบ 2 แห่ง ได้แก่ ชุมชนตะเคียนเตี้ย จังหวัดชลบุรี และชุมชนภูหลวง จังหวัดเลย ระยะเวลาดำเนินงาน 7 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนกันยายน 2564 ที่ผ่านมาชุมชนดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสามารถวางแผนการดำเนินธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านการท่องเที่ยว การตั้งเป้าหมายรายได้ ตลอดจนเป้าหมายทางสังคม เพื่อตอบโจทย์การเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมในอนาคต และจากนี้ไปชุมชนทั้ง 2 แห่ง จะเริ่มดำเนินการตามแผนงานที่วางแผนไว้ เพื่อเตรียมความพร้อมในการยกระดับชุมชนท่องเที่ยวสู่การเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมให้สามารถบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางแผนไว้ ซึ่ง อพท. มีความมุ่งมั่นในการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่พิเศษของ อพท. ทั่วประเทศ ให้ก้าวสู่การเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนท่องเที่ยวในอนาคต

Read More

ดร.สุเมธชี้ต้องหาทางออกอนาคตข้าวไทย สกสว.ดันท่องเที่ยววิถีชาวนาลาวเวียง

เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาแนะทุกฝ่ายหาทางออกอนาคตข้าวไทยร่วมกันในยุค Disruption ด้าน สกสว.หนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนวิถีชาวนาพอเพียงในเวทีข้าวไทย 2563 ชูจุดเด่นวิถีชาติพันธุ์ลาวเวียงกลุ่มโคกนาศัย ริมแม่น้ำป่าสัก จ.สระบุรี และผลิตภัณฑ์ข้าวเสาไห้ “เจ๊กเชย” ที่หุงขึ้นหม้อไม่บูดง่าย ผศ. ดร.สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ ผู้อำนวยการภารกิจการส่งเสริมระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำผลงาน “การท่องเที่ยววิถีชาวนา ชุมชนเสาไห้ สระบุรี” จากโครงการวิจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานอัตลักษณ์วิถีชาวนากลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดสระบุรี พร้อมด้วยผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ ข้าวเจ๊กเชย ข้าวห่อ ค็อกเทลลาวเวียง (น้ำขาวจากข้าว) ข้าวเปลือก ข้าวสาร และขนมท้องถิ่น มาร่วมจัดแสดงและให้ผู้มาร่วมงานทดลองชิม ในการประชุมเวทีข้าวไทย ปี 2563 “อนาคตข้าว-อนาคตไทย” ซึ่งจัดโดยมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และภาคีองค์กรพันธมิตร ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เพื่อนำข้อคิดเห็นและประเด็นปัญหาของข้าวและชาวนาไทยจากเวทีสาธารณะมาประมวลและนำเสนอแก่ผู้กำหนดนโยบายได้รับทราบ โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขามูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานในพิธีเปิด ด้านนางวนิดา ดำรงค์ไชย

Read More

ม.สวนดุสิตพลิกโฉมท่องเที่ยวตราด ดันร่อนพลอยทับทิมสยามฟื้นโควิด

คณะวิจัยม.สวนดุสิตเร่งมือยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน อ.บ่อไร่ จ.ตลาด เพื่อพลิกฟื้นในช่วงโควิด-19 หลังคลิปไวรัล “การร่อนพลอย” ทำนักท่องเที่ยวแห่ชม พร้อมผสานวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชนพื้นเมือง “ชาวชอง” เป็นจุดขายร่วมภายใต้การสนับสนุนจากนายอำเภอบ่อไร่ นายภานุวัฒน์ พุทธเกสร นายอำเภอบ่อไร่ จ. ตราด เป็นประธานการประชุมร่วมกับคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต นำโดย รศ. ดร.พรรณี สวนเพลง ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย และคณะวิจัยโครงการ “การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารไทยของชุมชน (Gastronomy Village Tourism) ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองชายฝั่งทะเลตะวันออก (ระยอง-จันทบุรี-ตราด) บนรากฐานคุณค่าและภูมิปัญญาสู่ความยั่งยืนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ซึ่งได้ทุนสนับสนุนการวิจัยมาจากหน่วยการบริหารและจัดการทุน ด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ทั้งนี้ อ.บ่อไร่ จ. ตราด เป็นพื้นที่มีศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยวสูงมาก โดยเฉพาะ ต.ช้างทูล และ ต.หนองมน ที่มีเหมืองแร่และมีการขุดพลอยทับทิมสยาม ซึ่งสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันซีนแห่งใหม่ด้วยการนำเสนอ ‘การร่อนพลอย’ ซึ่งจะพบพลอยได้เยอะมากโดยเฉพาะในฤดูฝน

Read More

กระบี่ผนึกกำลังทุกภาคส่วน ร่วมปกป้องรักษาทุนธรรมชาติอันล้ำค่าของจังหวัดกับ “โครงการหวงแหนกระบี่”

จากวิกฤติระดับโลกอย่างการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้คนทั่วโลก แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนทั้งโลกได้ประจักษ์คือ ธรรมชาติยังมีพลังที่จะฟื้นฟูตัวเองได้ เราได้หายใจในอากาศที่ดีขึ้น ได้เห็นท้องทะเลที่สวยงาม สัตว์ที่หายากกลับมาปรากฎตัว สิ่งที่เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ กลับมาเป็นไปได้ในช่วงเวลาเพียงไม่กี่เดือน จังหวัดกระบี่นับเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีทุนทางธรรมชาติอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับโลกของทะเลฝั่งอันดามัน ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่ที่มีความสำคัญต่อสิ่งแวดดล้อมที่โดดเด่นล้ำค่าและมีความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศที่หลากหลาย อีกทั้งวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นับเป็นสมบัติล้ำค่ายากจะหาสิ่งใดมาทดแทน จังหวัดกระบี่จึงได้ริเริ่มความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการและคนในชุมชนเพื่อร่วมกันปกปักรักษากระบี่ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามการรักษาสมดุลระหว่างการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ทุนทางธรรมชาติ นับเป็นความท้าทายที่จังหวัดกระบี่ต้องเผชิญ จังหวัดกระบี่จึงได้ผนึกกำลังจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาโมเดลธุรกิจ การท่องเที่ยวที่สามารถสร้างความยั่งยืนและสร้างประโยชน์ให้กับทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งทุกแนวปฏิบัติที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้ริเริ่มนั้น แสดงให้เห็นถึงการมีเป้าหมายร่วมกันคือ การรักษาทุนทางธรรมชาติของกระบี่ด้วยการปกป้องในวิถีแห่งความยั่งยืนและผลักดันให้จังหวัดกระบี่ก้าวสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกอย่างเต็มภาคภูมิ เช่นเดียวกับ โครงการหวงแหนกระบี่ (Cherish Krabi) ที่ต้องการสร้างจิตสำนึกและสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกระดับ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้เห็นความสำคัญของจังหวัดกระบี่ สร้างความเข้าใจและเชิญชวนสังคมร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจหวงแหนกระบี่ หาแนวทางอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมผ่านบทบาทของตัวเองเพื่อร่วมสร้างคุณค่าให้แก่แหล่งท่องเที่ยว ชุมชนวัฒนธรรมพื้นถิ่น และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พ.ต.ท.ม.ล. กิติบดี ประวิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า “กระบี่มีต้นทุนทางธรรมชาติที่ประเมินค่าไม่ได้ ทั้งสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้และที่มนุษย์สร้างขึ้น มีระบบนิเวศที่หลากหลายทั้งภูเขาและป่าที่อุดมสมบูรณ์ ทะเลที่สวยงาม ถ้ำและภาพเขียนโบราณ เป็นสิ่งที่คนกระบี่รักและหวงแหน อยากให้สิ่งเหล่านี้คงอยู่ไปนาน ๆ ถามว่าในอนาคตอยากเห็นกระบี่เป็นอย่างไร ก็อยากเห็นกระบี่คงความสวยงามอย่างนี้ แต่มีการบริหารจัดการที่ดีขึ้น เป็นระบบ มีมิติทางธรรมชาติ

Read More

หน้ากากผ้าบาราโหม-ปัตตานียอดพุ่ง ช่วยแรงงานกลับจากมาเลเซียมีรายได้

เครือข่ายวิจัย สกสว. ปัตตานี กลุ่มบาราโหมบาร์ซา พลิกวิกฤตเป็นโอกาสในช่วงโควิด-19 ชักชวนแรงงานที่กลับจากมาเลเซียทำหน้ากากผ้าลวดลายมลายู สร้างรายได้ตกเดือนละ 1.2 แสนบาท ยอดซื้อส่วนใหญ่มาจาก กทม. เพราะเป็นงานศิลป์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนใคร นางฟารีดา กล้าณรงค์ หัวหน้ากลุ่มบาราโหมบาร์ซา และวิทยากรศูนย์เรียนรู้การท่องเที่ยวอารยธรรมปัตตานี ในฐานะเครือข่ายวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในโครงการ “วิจัยและพัฒนาศักยภาพเยาวชนนอกระบบจังหวัดชายแดนใต้สู่การเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์บนฐานทุนทางวัฒนธรรมชายแดนภาคใต้” เปิดเผยว่า ตนได้พลิกวิกฤตเป็นโอกาสในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายใต้แนวคิดการนำสิ่งที่มีอยู่มาสร้างสรรค์เป็นลวดลายบนงานหัตถกรรม จากที่ทำผ้าบาติกด้วยบล๊อกไม้โดยประยุกต์เอามรดกทางประวัติศาสตร์ของชุมชนบาราโหม มาสร้างจุดเด่นในการสืบสานศิลปวัฒธรรมให้ลูกหลานของชุมชนและเผยแพร่แก่สังคม ด้วยการทำหน้ากากผ้าแทนหน้ากากอนามัยที่ขาดแคลน โดยด้านนอกใช้ผ้าฝ้ายพิมพ์ลวดลายเครื่องถ้วยชามโบราณที่ขุดพบในพื้นที่แล้วนำมาทำบล็อกไม้ ด้านในเป็นผ้ามัสลินหรือผ้าสาลู ซึ่งขั้นตอนการทำได้ศึกษาเปิดดูจากอินเตอร์เน็ต ล่าสุดกลุ่มบาราโหมบาร์ซาได้จัดทำ “ลือปัสบาติก” ที่มีความพิเศษจากที่อื่นด้วยลวดลายคงความเป็นอัตลักษณ์ของปัตตานี ใช้สี 4 ราชินีในตำนานของชาวปาตานี การออกแบบที่ไม่เหมือนใคร สินค้าสะดวกต่อการพกพา โดยในคอลเลคชั่นใหม่ของบาราโหมบาร์ขณะนี้เน้นผ้าบาติกวัยรุ่น ใน 1 เซต ราคา 450 บาท ประกอบด้วยผ้าลือปัสเพจ (ผ้าอเนกประสงค์ ใช้เป็นผ้าคลุมศีรษะหรือผ้าพันคอ) กระเป๋าใส่ผ้าลือปัน และหน้ากากป้องกันโรค ซึ่งผ้าเซตดังกล่าวได้ถ่ายทอดเรื่องราวศิลปะบนพื้นผ้าบาติกพิมพ์ลายด้วยบล๊อกไม้แห่งปัตตานี โดดเด่นด้วยลวดลายประวัติศาสตร์สู่งานหัตถกรรมร่วมสมัย

Read More