Home > ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

คาด Wellness Tourism ฟื้นตัวหลังโควิด อีกหนึ่งความหวังทางเศรษฐกิจของไทย

ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 “การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ” หรือ Wellness Tourism กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ตามพฤติกรรมของผู้คนในสังคมที่หันมาให้ความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพตนเองกันมากขึ้น แต่เมื่อการเดินทางทั้งภายในและระหว่างประเทศถูกจำกัดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด ทำให้ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาการเดินทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพก็เกิดการชะงักงันไปด้วยเช่นกัน จนเมื่อสถานการณ์โรคระบาดเริ่มคลี่คลายและสามารถกลับมาเดินทางได้อีกครั้ง ประกอบกับการระบาดของโควิด-19 เอง ก็เป็นตัวกระตุ้นให้กระแสการดูแลสุขภาพทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์และคาดหวังกันว่า การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจะยิ่งกลับมาคึกคัก และจะกลายเป็นฟันเฟืองตัวใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย จากการประเมินของสถาบันโกลบอลเวลเนส (Global Wellness Institute: GWI) พบว่า ก่อนโควิด-19 ระบาด มูลค่าตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2561 มีมูลค่าสูงถึง 617,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2562 โตขึ้น 720,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 8.1% ต่อปี สูงกว่าค่าเฉลี่ยมูลค่าโดยรวมของธุรกิจเวลเนสทั้งหมดที่เติบโตปีละ 6.4% ในขณะที่ปี 2563 ที่เกิดการระบาดของโควิด-19 พบว่ามูลค่าตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพลดลงเหลือเพียง 435,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตกลงมาถึง 39.5% แต่เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย

Read More

ททท. เปิดแผนเชิงรุก ฟื้นท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ร่วมจัดงาน Thailand International Health Expo 2022

ททท. เปิดแผนเชิงรุก ฟื้นท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ร่วมจัดงาน Thailand International Health Expo 2022 แสดงศักยภาพด้านการแพทย์และบริการสุขภาพครบวงจร พร้อมชูมาตรฐาน SHA และ SHA Plus สร้างความเชื่อมั่นความปลอดภัยจากโควิด-19 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ผนึกกำลังร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) กระทรวงสาธารณสุข และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงาน Thailand International Health Expo 2022 ระหว่างวันที่ 20 - 23 มกราคม 2565 ณ รอยัลพารากอฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน กรุงเทพฯ เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ พร้อมแสดงศักยภาพทางการแพทย์และบริการสุขภาพครบวงจร ชูมาตรฐาน SHA และ SHA Plus สร้างความเชื่อมั่นท่องเที่ยวปลอดภัยโควิด-19 ชูไทยเมืองหลวงสุขภาพแห่งเอเชีย นายอภิชัย

Read More

มช. มุ่งพัฒนาสปาล้านนาและผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสู่สากล

สกสว.หนุนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่พัฒนาสปาล้านนาและผลิตภัณฑ์จากพืชหอมประจำถิ่น ว่านเสน่ห์จันทร์หอมและตะไคร้ภูเขา หวังยกระดับมาตรฐานสากล ตามแผนงานวิจัยการบริหารจัดการแผนงานการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเชิงรุกให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาดา คุณาวิกติกุล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะผู้อำนวยการแผนงานวิจัยการบริหารจัดการแผนงานการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเชิงรุกให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพ เปิดเผยว่า ปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจอนาคตของโลกและของประเทศ มีมูลค่าการตลาดสูงเป็นอันดับ 4 รองจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงอาหาร และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพคิดเป็นร้อยละ 15.6 จากรายได้การท่องเที่ยวทั้งหมด คณะวิจัยจึงได้ศึกษาหาแนวทางการพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวเชิงกีฬา ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ทำให้ได้ชุดความรู้ใหม่และข้อมูลการวิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อจัดทำแผนการบริหารจัดการเพื่อเตรียมความพร้อมประเทศไทย และร่างแนวทางการบริหารจัดการโครงการวิจัยที่สามารถนำไปบริหารจัดการโครงการวิจัยให้มีประสิทธิผลตามเป้าหมาย พร้อมกับผลักดันสู่กระบวนการกำหนดนโยบายที่มีความเหมาะสม เช่น การส่งเสริมด้านกลยุทธ์ในระดับต่าง ๆ ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การสร้างความร่วมมือ การผลักดันระบบสาธารณะที่เกี่ยวข้อง นำมาซึ่งการสร้างโอกาสด้านการท่องเที่ยวและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น หรือระดับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเข้าสู่กระบวนการวิจัยในชุมชนและพื้นที่ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ ขยายผลต่อผู้ประกอบการกีฬาและสปาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อสร้างความยั่งยืน ขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร.อารีวรรณ กลั่นกลิ่น หัวหน้าโครงการการพัฒนาสปาล้านนาสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ระบุว่าการให้บริการสปาเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวหนึ่งของไทยที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Read More