Home > เยาวราช

ลัดเลาะย่านเก่าแห่งพระนคร กับเรื่องลับของพื้นที่สีเทาในอดีต

เยาวราชในการรับรู้ในปัจจุบันคือย่านธุรกิจที่พลุกพล่านทั้งกลางวันและกลางคืน และเป็นแหล่งรวมของกินแสนอร่อยที่เป็นหมุดหมายของใครหลายๆ คน แต่ท่ามกลางภาพฉายแห่งปัจจุบัน ในอดีตย่านเยาวราชยังเคยเป็นพื้นที่ของธุรกิจสีเทา ทั้งโรงฝิ่น โรงหวย และโรงโคมเขียวของบรรดาหญิงงามเมืองที่เรียกกันในสมัยนั้นอีกด้วย “ผู้จัดการ 360 องศา” ขอพาคุณผู้อ่านลัดเลาะไปตามตรอกซอกซอยในย่านเยาวราช เพื่อไปทำความรู้จักเรื่องราวสีเทาๆ ในอดีต ผ่านสถานที่ต่างๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่เพื่อคอยบอกเล่าเรื่องราวที่ผ่านมา เริ่มกันที่ “วัดบำเพ็ญจีนพรต” วัดจีนที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่ซ่อนตัวอยู่ในตึกทรงวินเทจในตรอกเต๊า (เยาวราชซอย 8) ซึ่งเป็นหนึ่งในย่านโรงโคมเขียว หรือแหล่งประกอบธุรกิจค้าประเวณีชื่อดังในอดีตแห่งเยาวราช วัดบำเพ็ญจีนพรต (ย่งฮกยี่) เดิมเป็นวิหารพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ชื่อ “ย่งฮกอำ” คาดว่าสร้างโดยชาวจีนในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หรือราวๆ พ.ศ. 2338 เพื่อเป็นสังฆารามหรือสำนักสงฆ์ของคณะสงฆ์จีนนิกาย ก่อนที่จะมีการปฏิสังขรณ์ โดยพระอาจารย์สกเห็ง ที่จาริกมาจากประเทศจีนและพำนักอยู่ ณ ที่แห่งนี้ จนได้รับพระราชทานนาม “วัดบำเพ็ญจีนพรต” จากรัชกาลที่ 5 ในที่สุด ซึ่งปัจจุบันยังมีป้ายพระราชทานนามวัดประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดคือพระอุโบสถขนาดเล็กที่ล้อมรอบด้วยอาคารทรงวินเทจชนิดที่ผนังแนบแน่นไปกับตัววัดเลยทีเดียว ภายในพระอุโบสถประกอบด้วยพระประธาน 3 องค์ ได้แก่ พระศากยมุนีพุทธเจ้า พระอมิตาภะพุทธเจ้า และพระไภษัชยะคุรุพุทธเจ้า อันเป็นตัวแทนของอดีต

Read More

ภาคีจัดเทศกาลไหว้พระจันทร์-โคมไฟ สืบสานวิถีเยาวราชส่งต่อคนรุ่นใหม่

ภาคีวัฒนธรรมชี้อัตลักษณ์ย่านเยาวราชสูงค่า ร่วมถ่ายทอดแก่นแท้ของเทศกาลไหว้พระจันทร์และองค์ความรู้ในพื้นที่อย่างเหมาะสม หากลวิธีส่งต่อให้คนรุ่นใหม่สืบสานพื้นที่วัฒนธรรมอันทรงคุณค่าและสีสันที่มีเสน่ห์เฉพาะตัว โครงการวิจัยการพัฒนาทุนทางศิลปะและวัฒนธรรมย่านเยาวราช มหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับชุมชนเลื่อนฤทธิ์ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในย่านเยาวราช จัดกิจกรรม “Moon Festival” ไหว้พระจันทร์ วันดูโคม ชมศิลปะ ณ ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ ถ.เยาวราช พร้อมจัดเสวนา “คุณค่า การเปลี่ยนผ่าน และการต่อยอด, ประเพณีจีนในสังคมไทย” ศ. ดร.พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ ผู้จัดการโครงการวิจัย กล่าวว่า เทศกาลไหว้พระจันทร์มีความสำคัญรองมาจากเทศกาลตรุษจีน นักวิจัยใช้พื้นที่ของชุมชนและเทศกาลเป็นตัวเชื่อมคนภายในกับคนภายนอกให้มองเข้ามาในพื้นที่เยาวราชซึ่งยังคงรักษาประเพณีไว้ โดยมีอีกตัวเชื่อมหนึ่งคือ “โคมไฟ” อันเป็นสัญลักษณ์การไหว้พระจันทร์ในอดีต เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ แนวคิดเรื่องคุณค่า การเปลี่ยนผ่าน และการต่อยอด โดยมองว่าวัฒนธรรมอาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่เราจะปรับเปลี่ยนและอยู่กับวัฒนธรรมเหล่านี้ได้อย่างไร การถ่ายทอดประเพณีไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน รวมทั้งค้นหากลไกแนวทางจัดการศิลปะของชุมชน และสร้างเวทีพบปะสังสรรค์ทางความคิด โดยได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชน ภาครัฐ เอกชนเป็นภาคีสำคัญ ด้านนายไพศาล หทัยบวรพงษ์ ผู้เชียวชาญด้านวัฒนธรรมจีน เผยว่า ในฐานะลูกหลานจีนรุ่นที่ 3 ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบเทศกาลไหว้พระจันทร์ในประเทศไทยที่นับวันเลือนหายไป ในขณะที่ช่วงเดินทางไปเยี่ยมบรรพบุรุษที่เมืองซัวเถา

Read More

เยาวราชทำเลทอง บนเส้นทางแห่งการเปลี่ยนแปลง

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เมื่อใดก็ตามที่ภาครัฐประกาศแนวนโยบายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นทางคมนาคม พื้นที่โดยรอบของโครงการจะถูกกลุ่มทุนให้ความสนใจและเริ่มปักหมุด แหแหนกันหาหนทางเข้าไปจับจองอาณาเขต ด้วยหวังว่าจะพัฒนาโครงการด้านอสังหาริมทรัพย์ไปพร้อมๆ กัน และด้วยการคาดการณ์จากนักลงทุนด้านอสังหาฯ ทำให้พื้นที่ตลอดแนวเส้นทางรถไฟฟ้าค่อยๆ เปลี่ยนหน้าไป การนำสิ่งอำนวยความสะดวก ความทันสมัย และสิ่งที่สามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายได้ จึงเป็นเป้าประสงค์หลักของบรรดาผู้ประกอบการที่เล็งเห็นศักยภาพของพื้นที่ดังกล่าว ย่านบางใหญ่ น่าจะอธิบายให้เห็นชัดเจนถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่การคมนาคมที่สามารถเข้าถึงได้เท่านั้น ทว่า สิ่งที่ตามมาทำให้พื้นที่บางใหญ่เปลี่ยนไปจากเดิม นับตั้งแต่การเปิดทดลองเดินรถเสมือนจริงของเส้นทางส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพงถึงท่าพระ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2562 ยิ่งเป็นเครื่องตอกย้ำว่า พื้นที่เก่าแก่ที่รถไฟใต้ดินจะวิ่งผ่าน กำลังจะเปลี่ยนไป ย่านเยาวราชกลายเป็นพื้นที่เนื้อหอมไปโดยปริยาย นับตั้งแต่รัฐบาลประกาศเส้นทางการพัฒนารถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย และด้วยอิทธิพลอันทรงเสน่ห์ของย่านเก่าแก่แห่งนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ใครต่อใครอยากจะเข้ามาหาพื้นที่สำหรับการลงทุน แม้จะเป็นไปไม่ได้ ที่จะหาพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับการลงทุนด้านอสังหาฯ เพื่อการอยู่อาศัย ทว่า ยังมีธุรกิจอื่นๆ อีกมากมายที่อาจจะน่าลงทุนและเหมาะสมกับพื้นที่แห่งนี้ ดังเช่นที่กลุ่ม BDMS ที่สบโอกาสทองจับอาคารสำนักงานเดิมของสหธนาคารให้เป็นโรงพยาบาลไชน่าทาวน์ จากนั้นก็ทรานส์ฟอร์มสู่โรงพยาบาลสมิติเวชไชน่าทาวน์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาด 59 เตียง สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและคนไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ การมาถึงของรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินทำให้ราคาที่ดินย่านเยาวราชมีราคาขายอยู่ที่ตารางวาละ 1.4-1.6 ล้านบาท เมื่อพิจารณาราคาที่ดินย่านนี้จะเห็นได้ว่า ตัวเลขราคาไม่ต่างจากย่านธุรกิจของไทยสักเท่าไร ความยาวของถนนเยาวราชเพียง 1.4 กิโลเมตร อัดแน่นไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่การเปลี่ยนชื่อจากเดิมที่เคยใช้ว่า ถนนยุพราช และเป็นแหล่งทำกินของชาวจีนที่ข้ามน้ำข้ามทะเลมา ซึ่งเมื่อรัชกาลที่

Read More

เยาวราช-ตลาดน้อย เส้นขนานบนรอยทางและรางรถไฟ

 ในห้วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านยุคสมัย รวมไปถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในหลายมิติ แม้ความล้ำสมัยของวิทยาการคือตัวแปรสำคัญที่สร้างให้เกิดพลวัตอันจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาในสังคม แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจหมายถึงการคืบคลานเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมทางสังคมดั้งเดิม ซึ่งอาจหมายถึงเสน่ห์แห่งวิถีชีวิตของชุมชนที่ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น เยาวราช ถนนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานแห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2434–พ.ศ.2443 เพื่อให้เยาวราชเป็นสถานที่สำหรับส่งเสริมการค้า เดิมชื่อ “ถนนยุพราช” และได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “ถนนเยาวราช” ซึ่งมีชุมชนชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เคยได้ชื่อว่าเป็นย่านธุรกิจการค้าที่สำคัญตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ นอกเหนือไปจากเยาวราช ยังมีอีกหนึ่งชุมชนที่เป็นสถานที่อันเต็มไปด้วยวัฒนธรรมและเสน่ห์ที่ชวนให้ค้นหา แฝงตัวอยู่ในตรอกเล็กๆ บนถนนเจริญกรุง “ตลาดน้อย” ชุมชุนเล็กๆ ที่มีชาวจีนขยายตัวมาจากสำเพ็งเมื่อครั้งที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง ด้วยทำเลที่ไม่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยามากนัก สร้างความสะดวกในการสัญจร ประกอบกับมีถนนเจริญกรุงตัดผ่าน อีกทั้งคลองผดุงกรุงเกษมไหลผ่าน จึงไม่แปลกหากย่านนี้จะเคยเป็นย่านการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ ที่สามารถรองรับการค้าได้ทั้งทางบกและทางน้ำ ห้องแถวไม้สองชั้นมีจำนวน 20 กว่าห้อง ที่บรรพบุรุษเคยอาศัยอยู่และใช้พื้นที่หน้าบ้านเป็นแหล่งค้าขายทั้งอาหารพื้นถิ่น โรงน้ำแข็ง โรงกลึง ธุรกิจเซียงกง อัตลักษณ์ที่ทำให้คนภายนอกรู้จักและจดจำตลาดน้อยได้มากขึ้น แม้ว่าในปัจจุบันตรอกนี้จะไม่มีตลาดให้เห็น แต่เมื่อถึงหน้าเทศกาลไหว้บะจ่าง เทศกาลถือศีลกินผัก วันตรุษจีน ชาวตลาดน้อยยังสืบทอดวิถีเดิมจนกระทั่งปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้ไชน่าทาวน์ไม่ใช่ย่านธุรกิจที่สำคัญของไทยอีกต่อไป อีกทั้งการขยายตัวของระบบคมนาคมแบบรางที่กำลังแทรกตัวเข้ามาแบบก้าวกระโดด แม้ความก้าวหน้าในด้านการคมนาคมจะมีส่วนช่วยให้ชีวิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญในการย่นระยะทางและเครื่องมือในการช่วยประหยัดเวลาได้อย่างดี คำถามในนาทีนี้คือการเข้ามาแทรกตัวของรถไฟใต้ดินท่ามกลางถนนที่อุดมไปด้วยวัฒนธรรมนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้หรือไม่อย่างไร  แม้ปัจจุบันจะมีเพียงเส้นทางรถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงินเท่านั้นที่กำลังก่อสร้างอยู่ หากแต่ในอนาคตอันใกล้ โครงการรถไฟสายสีม่วง และสายสีแดง ที่กำลังรอการอนุมัติในหลักการและงบประมาณ

Read More