Home > ตลาดน้อย

‘เฮงเสง’ เบาะไหว้เจ้าทำมือ ร้านสุดท้ายแห่งตลาดน้อย

มือผอมเกร็งที่บ่งบอกถึงการเดินทางผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนานของ “อาม่าจินดารัตน์” อีกหนึ่งผู้สานต่อแห่งร้าน ”เฮงเสง” ยังคงบรรจงเย็บริมเบาะไหว้เจ้าได้อย่างประณีต ไม่ทิ้งลายทายาทแห่งร้านทำเบาะไหว้เจ้าเย็บมือที่มีอายุกว่า 100ปี ที่เป็นร้านแรก ร้านเดียว และร้านสุดท้ายแห่งตลาดน้อย เชื่อว่าใครที่มีโอกาสได้มาเดินเล่นในย่านตลาดน้อย น่าจะเคยผ่านตาหรือบางคนอาจจะได้แวะเวียนเข้าไปทำความรู้จักกับร้าน “เฮงเสง” ร้านทำเบาะไหว้เจ้า ที่ดึงดูดสายตาของผู้ที่เดินผ่านไปผ่านมาด้วยเบาะสีสันสดใสกันมาบ้าง “ผู้จัดการ 360 องศา” มีโอกาสได้พูดคุยกับ “วิมล เหลืองอรุณ” หรือ คุณเจี๊ยบ เจ้าของและทายาทรุ่นที่สาม ที่กำลังนำพาเฮงเสงให้ก้าวเดินไปอีกครั้งท่ามกลางบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป คุณเจี๊ยบเริ่มต้นบทสนทนาด้วยการเล่าประวัติความเป็นมาของร้านทำเบาะไหว้เจ้าแห่งนี้ว่า “เหล่ากงเป็นผู้บุกเบิกกิจการร้านเฮงเสง แกล่องเรือจากเมืองจีนมาตั้งรกรากอยู่ในสยามตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากนั้นก็เริ่มทำหมอน มุ้ง ที่นอนนุ่นขายเลี้ยงชีพ ถือเป็นร้านแรกและร้านเดียวในตลาดน้อย สมัยก่อนแกทำส่งตามโรงแรมต่างๆ ย่านเยาวราช อย่างโรงแรม 7 ชั้น นอกนั้นก็มีเย็บเบาะนุ่นสำหรับวางบนเก้าอี้หวายส่งไปขายแถวประตูผีด้วย ซึ่งสมัยนั้นคนนิยมเก้าอี้หวายกันมาก ถือว่าขายดีทีเดียว” คุณเจี๊ยบขยายความต่อไปว่า สมัยนั้นคนนิยมใช้เก้าอี้หวายเพราะยังไม่มีโซฟาเหมือนในปัจจุบัน เลยเย็บเบาะรองนั่งที่ใช้กับเก้าอี้หวายขึ้นมาขาย ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำส่งวันหนึ่งๆ เป็นจำนวนนับร้อยลูก โดยส่งไปขายย่านประตูผีซึ่งเป็นแหล่งทำผลิตภัณฑ์หวายเป็นหลัก ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองของร้านเฮงเสงก็ว่าได้ ทั้งที่นอน หมอน มุ้ง และเบาะหวาย ถูกส่งไปขายยังสถานที่ต่างๆ มากมาย แม้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่เป็นช่วงยากลำบากก็ยังมีลูกค้า “ช่วงสงครามไม่มีผ้าขาย

Read More

เยาวราช-ตลาดน้อย เส้นขนานบนรอยทางและรางรถไฟ

 ในห้วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านยุคสมัย รวมไปถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในหลายมิติ แม้ความล้ำสมัยของวิทยาการคือตัวแปรสำคัญที่สร้างให้เกิดพลวัตอันจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาในสังคม แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจหมายถึงการคืบคลานเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมทางสังคมดั้งเดิม ซึ่งอาจหมายถึงเสน่ห์แห่งวิถีชีวิตของชุมชนที่ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น เยาวราช ถนนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานแห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2434–พ.ศ.2443 เพื่อให้เยาวราชเป็นสถานที่สำหรับส่งเสริมการค้า เดิมชื่อ “ถนนยุพราช” และได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “ถนนเยาวราช” ซึ่งมีชุมชนชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เคยได้ชื่อว่าเป็นย่านธุรกิจการค้าที่สำคัญตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ นอกเหนือไปจากเยาวราช ยังมีอีกหนึ่งชุมชนที่เป็นสถานที่อันเต็มไปด้วยวัฒนธรรมและเสน่ห์ที่ชวนให้ค้นหา แฝงตัวอยู่ในตรอกเล็กๆ บนถนนเจริญกรุง “ตลาดน้อย” ชุมชุนเล็กๆ ที่มีชาวจีนขยายตัวมาจากสำเพ็งเมื่อครั้งที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง ด้วยทำเลที่ไม่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยามากนัก สร้างความสะดวกในการสัญจร ประกอบกับมีถนนเจริญกรุงตัดผ่าน อีกทั้งคลองผดุงกรุงเกษมไหลผ่าน จึงไม่แปลกหากย่านนี้จะเคยเป็นย่านการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ ที่สามารถรองรับการค้าได้ทั้งทางบกและทางน้ำ ห้องแถวไม้สองชั้นมีจำนวน 20 กว่าห้อง ที่บรรพบุรุษเคยอาศัยอยู่และใช้พื้นที่หน้าบ้านเป็นแหล่งค้าขายทั้งอาหารพื้นถิ่น โรงน้ำแข็ง โรงกลึง ธุรกิจเซียงกง อัตลักษณ์ที่ทำให้คนภายนอกรู้จักและจดจำตลาดน้อยได้มากขึ้น แม้ว่าในปัจจุบันตรอกนี้จะไม่มีตลาดให้เห็น แต่เมื่อถึงหน้าเทศกาลไหว้บะจ่าง เทศกาลถือศีลกินผัก วันตรุษจีน ชาวตลาดน้อยยังสืบทอดวิถีเดิมจนกระทั่งปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้ไชน่าทาวน์ไม่ใช่ย่านธุรกิจที่สำคัญของไทยอีกต่อไป อีกทั้งการขยายตัวของระบบคมนาคมแบบรางที่กำลังแทรกตัวเข้ามาแบบก้าวกระโดด แม้ความก้าวหน้าในด้านการคมนาคมจะมีส่วนช่วยให้ชีวิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญในการย่นระยะทางและเครื่องมือในการช่วยประหยัดเวลาได้อย่างดี คำถามในนาทีนี้คือการเข้ามาแทรกตัวของรถไฟใต้ดินท่ามกลางถนนที่อุดมไปด้วยวัฒนธรรมนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้หรือไม่อย่างไร  แม้ปัจจุบันจะมีเพียงเส้นทางรถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงินเท่านั้นที่กำลังก่อสร้างอยู่ หากแต่ในอนาคตอันใกล้ โครงการรถไฟสายสีม่วง และสายสีแดง ที่กำลังรอการอนุมัติในหลักการและงบประมาณ

Read More