Home > Life (Page 17)

แบ่งเบาภาระ “คุณหมอ” ฝึก คุณหมา ดมกลิ่น COVID-19

ความหนักหน่วงของการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 ที่ดำเนินไปท่ามกลางการระบาดระลอกใหม่และการกลายพันธุ์ของเชื้อที่ทำให้สถานการณ์ของโรคที่ส่งผลกระทบต่อประชากรทั่วโลกยังเป็นไปอย่างน่าเป็นห่วง ขณะที่ความหวังว่าด้วยวัคซีนในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการยับยั้งดูจะกลายเป็นสิ่งที่อาจไม่เพียงพอสำหรับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสับสนว่าด้วยปริมาณของวัคซีนที่จะจัดหาได้ในระยะถัดจากนี้ และคุณภาพของวัคซีนที่มีอยู่ว่าจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับสาธารณชนได้มากน้อยเพียงใด ข้อกังวลใจในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอีกประการหนึ่งที่กำลังเป็นที่สนใจในขณะนี้อยู่ที่การคัดกรองกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ ที่อาจเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ และก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดในฐานะที่เป็นคลัสเตอร์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด ดังที่ปรากฏเป็นการแพร่ระบาดระลอกใหม่ๆ อยู่ในห้วงเวลาปัจจุบัน ความพยายามที่จะหาเครื่องมือหรือตัวช่วยที่เป็นทางเลือกในการคัดกรองและตรวจหาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ไม่แสดงอาการ ดูจะได้รับความสนใจจากนานาประเทศและได้ทำการวิจัยทดลองในหลายประเทศไปก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นที่ ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี รวมถึงในสหราชอาณาจักร ซึ่งพบว่าสุนัขดมกลิ่นที่ได้รับการฝึกฝนสามารถจำแนกและระบุตัวบุคคลที่ติดเชื้อ COVID-19 ได้ และทำให้การนำสุนัขดมกลิ่นมาใช้อาจเป็นทางเลือกในการช่วยคัดกรองผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่มีต้นทุนลดลง มีความเป็นมิตรและเข้าถึงได้ง่าย ที่อาจเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยยับยั้งหรือชะลอการแพร่ระบาดของโรคไว้ได้ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคและเชื้อ COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมาก็คือการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อ COVID-19 ด้วยอุปกรณ์วัดอุณหภูมิแบบต่างๆ เป็นวิธีการคัดกรองเบื้องต้นและได้ผลสำหรับผู้ที่ติดเชื้อและแสดงอาการแล้วเท่านั้น ส่วนผู้ที่ติดเชื้อแต่ยังไม่แสดงอาการ เครื่องมือเหล่านี้ยังไม่สามารถตรวจพบได้ แต่สุนัขที่ได้รับการฝึกมาแล้วสามารถทำสิ่งนี้ได้ ข้อมูลทางการแพทย์ที่สนับสนุนวิธีการดังกล่าวนี้ อยู่บนฐานของข้อเท็จจริงที่ว่าในอดีตที่ผ่านมา วงการแพทย์เคยมีการใช้สุนัขดมกลิ่นเพื่อตรวจหาผู้ป่วยในหลายโรคมาก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคมาลาเรีย รวมถึงโรคอื่นๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส การนำสุนัขดมกลิ่นมาช่วยคัดกรองผู้ติดเชื้อ COVID-19 มาใช้ในประเทศไทย ดูจะเป็นอีกก้าวหนึ่งของการใช้วิทยาศาสตร์เข้ามามีบทบาทในการควบคุมและยับยั้งชะลอการแพร่ระบาดของโรคเมื่อคณะวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Read More

สร้างเกราะเสริมภูมิ ป้องกันตัวเองจากโควิด

คนไทยเผชิญกับเชื้อไวรัสโควิด-19 มานานกว่า 1 ปี แม้เราจะรู้หลักเบื้องต้นในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส ทั้งการใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างจากบุคคลอื่น การล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ที่ทำให้เราลดความเสี่ยงการติดเชื้อได้ ทว่า ประการสำคัญที่เราควรหันกลับมาใส่ใจ คือ การเสริมภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้นจากภายในร่างกายตัวเอง เพราะการสร้างความแข็งแรงให้ตัวเองนั้นเป็นเกราะชั้นดีที่จะทำให้เราปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ด้วยวิธีง่าย ๆ ที่ “ผู้จัดการ 360 องศา” รวบรวมมา ได้แก่ ห่างจากภาวะความเครียด มีงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องความเครียด ที่ระบุว่า เมื่อคุณประสบกับสภาวะเครียดเพียงแค่ 4 นาที ภูมิในร่างกายของคนเราจะตกไปนาน 4-6 ชั่วโมง อย่าเอาตัวเองเข้าไปอยู่กับสิ่งที่บั่นทอนกำลังใจ หรือความเศร้า วิธีง่ายๆ ที่ทำได้ในช่วงนี้คือ หาหนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจ เรื่องราวที่ชวนให้คิดบวก ภาพยนตร์หรือซีรีส์แนวตลก เฮฮา ที่ทำให้เราได้หัวเราะ ได้ยิ้มบ่อยๆ เมื่อเราเครียดร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนที่ชื่อคอร์ติซอลออกมามากกว่าปกติ ดังนั้น เราต้องทำให้ร่างกายปล่อยฮอร์โมนตรงข้าม นั่นคือ เอ็นโดรฟิน หรือสารแห่งความสุขนั่นเอง ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเรื่องเครียดได้ เช่น การทำงานที่เคร่งเครียด เร่งรีบ ความวิตกกังวลต่อสภาพการเงิน เศรษฐกิจในครอบครัว อาจต้องไปปรึกษาจิตแพทย์ การนอน

Read More

ภาวะโรคอ้วน เพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตจากเชื้อโควิด

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกที่ 3 ในไทย นอกจากจะมีตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันสูงแตะหลักพันแล้ว สิ่งที่น่าเป็นกังวลอย่างยิ่งคือ อัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้น ล่าสุดผู้เสียชีวิตในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ทำนิวไฮที่ 34 ราย และเมื่อพิจารณาจากโรคประจำตัว ปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรคแล้ว ผู้ที่เสียชีวิตจากโรคโควิดส่วนใหญ่ นอกจากจะมีโรคประจำตัวอย่าง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ พบว่ามีภาวะอ้วนประกอบด้วย ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ หัวหน้าสาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยให้ข้อมูลไว้ในปี 2563 ว่า ความเสี่ยงของผู้สูงอายุและคนอ้วนกับโควิดว่า ผู้สูงอายุวัย 65 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 มากขึ้น รวมถึงผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ หรือแม้แต่โรคมะเร็ง มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่าย และเมื่อติดเชื้อแล้วทำให้โรคมีความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ง่าย นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาของสหรัฐอเมริกา พบว่า ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการติดเชื้อโควิด-19 เกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูง

Read More

เทรนเนอร์ออนไลน์บูม โควิดระลอกไหนก็สยบไม่ลง

“ในวิกฤตมักมีโอกาสเสมอ” คำพูดนี้ดูจะเหมาะสมกับสถานการณ์อันยากลำบากนี้ยิ่งนัก เมื่อโลกต้องเผชิญหน้ากับเชื้อไวรัสโควิด-19 มานานกว่า 1 ปี หลายธุรกิจถูกคลื่นความร้ายกาจของไวรัสนี้กลืนกิน บางรายไม่สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้ ในขณะที่อีกหลายธุรกิจพยายามเร่งปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด วิถี New Normal คือกุญแจสำคัญของธุรกิจที่จะไปต่อได้ในช่วงเวลาอันแสนลำเค็ญ แน่นอนว่าการต่อยอดจากธุรกิจฟิตเนสแบบสาขา มาสู่รูปแบบออนไลน์ ก็เช่นเดียวกัน ธุรกิจฟิตเนสได้รับผลกระทบเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ เพราะฟิตเนสคืออีกหนึ่งสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อสูงมาก เนื่องจากผู้คนมีความใกล้ชิดกัน การหยิบจับและใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายร่วมกัน เกือบทุกประเทศออกมาตรการคำสั่งเด็ดขาดให้ฟิตเนสปิดบริการในช่วงที่มีการแพร่ระบาดหนัก แม้ว่าต่อมาจะออกมาตรการผ่อนปรนให้สามารถเปิดบริการได้ แต่ยังมีการควบคุมจำนวนผู้เข้าใช้บริการ กำหนดเวลาเปิดปิด หรือเพิ่มข้อบังคับให้ผู้ใช้บริการต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่มาออกกำลังกาย แน่นอนว่าเป็นเรื่องยากมาก เพราะสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายแล้ว จะเข้าใจได้เป็นอย่างดีว่า การใส่หน้ากากอนามัยเวลาออกกำลังกาย จะทำให้เหนื่อยเพิ่มขึ้น แม้จะปลอดภัยมากขึ้นก็ตาม เหตุผลข้างต้นอาจเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเทรนเนอร์ออนไลน์ ค่อยๆ กลับมาอยู่ในกระแสความนิยมอีกครั้ง แม้ว่าธุรกิจนี้จะมีมานานแล้วก็ตาม แต่ด้วยวิถี New Normal เป็นแรงขับเคลื่อนชั้นดี ที่เร่งเร้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เร็วขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อสถานการณ์ที่ยังไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้ว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดจะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ และกิจการฟิตเนสจะสามารถกลับมาดำเนินกิจการได้เมื่อใด ในเมื่อธุรกิจฟิตเนสยังต้องแสวงหารายได้เพื่อมารองรับกับค่าใช้จ่าย การปั้นธุรกิจเทรนเนอร์ออนไลน์ดูจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ธุรกิจเทรนเนอร์ออนไลน์ในไทยเกิดขึ้นมาสักระยะหนึ่งแล้ว และได้รับความนิยมไม่น้อย แม้จะเป็นเพียงลูกค้ากลุ่มเล็กๆ ก็ตาม แต่ด้วยสถานการณ์ของธุรกิจฟิตเนสที่ไม่สามารถเปิดบริการได้เต็มรูปแบบเช่นเดิม ส่งผลให้ธุรกิจนี้สามารถต่อยอดและค่อยๆ ขยายวงกว้างมากขึ้น บางรายเริ่มต้นธุรกิจนี้ด้วยการเป็น InFluencer

Read More

วัคซีนใจภูมิคุ้มกัน ปัญหาสุขภาพจิต

แม้ว่าคนไทยจะกำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์โรคระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเวลานานกว่า 1 ปี แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า คนไทยจะไม่มีอาการวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้ เมื่อการระบาดของเชื้อไวรัสระลอก 3 ดูจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งอาจมาจากมีการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส ที่พัฒนาตัวเองให้ร้ายกาจกว่าระลอกก่อน ส่งผลให้มีการติดเชื้อกันง่ายขึ้น และความรุนแรงของโรคเข้าขั้นอันตราย สำหรับผู้คนที่มีโรคประจำตัว เมื่อระยะเวลาการเพาะเชื้อและแสดงอาการรวดเร็วขึ้น บางเคสเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่วันหลังพบเชื้อ ความรุนแรงดังกล่าวก่อให้เกิดความกังวลใจต่อผู้คนอย่างมาก ทั้งกังวลต่อความเสี่ยงที่อาจได้รับ กังวลต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่อาจจะชะลอตัวลงจากปัจจุบัน แน่นอนว่า ปัญหาความกังวลดังกล่าวย่อมส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพจิต สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “คนไทยกับโควิด-19 ระลอก 3” จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,082 คน สำรวจวันที่ 16-22 เมษายน 2564 พบว่า ประชาชนมองว่าการระบาดระลอก 3 นี้มีการแพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ อย่างรวดเร็ว ร้อยละ 74.29 ทำให้ตื่นตระหนก และวิตกกังวลมากกว่าครั้งที่ผ่านมา ร้อยละ 68.40 มองว่าระลอก 3 นี้มีความรุนแรงมากที่สุดร้อยละ 70.51 จะป้องกันตัวเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัยและล้างมือบ่อยๆ ร้อยละ 83.90 มองว่ารัฐบาลน่าจะรับมือได้

Read More

“หนังสือ” เพื่อนที่ดีที่สุด ที่ใครหลายคนอาจลืม

งานสัปดาห์หนังสือครั้งที่ 46 ที่จัดขึ้นเมื่อ 3 ปีก่อน คงจะเป็นช่วงเวลาในความทรงจำของคนในวงการหนังสือเลยก็ว่าได้ เมื่อเป็นปีที่เกิดปรากฏการณ์ใหม่ นั่นคือ หนังสือแนวประวัติศาสตร์ กลายเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสำหรับนักอ่าน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ชื่อดังเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ที่ปลุกกระแสรักการอ่านให้ก่อตัวขึ้น ซึ่งความนิยมของหนังสือขายดี ไม่ได้จำกัดวงอยู่เพียงแค่นวนิยายชื่อดังเท่านั้น แต่ยังขยายวงไปยังหนังสือแนวประวัติศาสตร์ ไล่เรียงไปถึงจดหมายเหตุที่บันทึกเรื่องราวสมัยกรุงศรีอยุธยา เวลานั้นกระแสดังกล่าวสร้างให้เกิดนักอ่านหน้าใหม่ขึ้นจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะนักอ่านรุ่นเยาว์ ถัดจากนั้นอีก 2 ปี เป็นปีที่โลกได้เผชิญหน้ากับความท้าทาย นั่นคือไวรัสโควิด-19 ที่เข้าเล่นงานอุตสาหกรรมที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไม่เว้นแม้แต่อุตสาหกรรมหนังสือ ที่เดิมทีก็ถูก Disrupt จากยุคดิจิทัล ซึ่งฝากบาดแผลไว้อย่างสาหัส เพราะนอกจากจะไม่สามารถจัดงานสัปดาห์หนังสือในรูปแบบ Offline เฉกเช่นเดิมได้ แต่การจัดงานในรูปแบบ Online ก็ไม่ได้รับกระแสตอบรับจากนักอ่านดีเช่นเดิม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่บีบบังคับให้ต้องระมัดระวังในการจับจ่าย ผู้คนจำนวนมากตัดสินใจตัดงบการซื้อหนังสือออก เมื่อยังมีความไม่แน่นอนที่เป็นผลมาจากการชะลอทางเศรษฐกิจ กระนั้นอุตสาหกรรมหนังสือและผู้คนที่อยู่ในแวดวง ยังคงมุมานะ และเดินหน้าทำงานกันต่อไป ด้วยการเสาะแสวงหาต้นฉบับแห่งการสร้างสรรค์ ที่จะเพิ่มพูนความรู้ ความบันเทิงให้แก่นักอ่านต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ หากจะกล่าวว่า ไม่ว่าสถานการณ์ใด “หนังสือจะยังคงเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์” ก็คงไม่ผิดนัก การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่มีวิวัฒนาการล้ำหน้าในหลายมิติ ส่งผลโดยตรงต่อวิถีชีวิตของเรา ก่อนที่ดิจิทัลจะมีอิทธิพลต่อเราเฉกเช่นทุกวันนี้ มือของใครหลายคนมักจะมีหนังสือให้ถืออยู่บ่อยครั้ง หลายคนเลือกหนังสือเป็นเครื่องมือในการใช้เศษเวลา ในขณะเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ

Read More

ฟังเสียงหัวใจตัวเองบ้าง แล้วจะมีความสุขขึ้น

โลกอินเทอร์เน็ตขยายอิทธิพลเข้ามาในชีวิตประจำวันของมนุษย์ในทุกช่วงเวลา ตั้งแต่ตื่นลืมตา กระทั่งหลับตานอนอีกครั้งในยามราตรี จนทำให้เราแทบจะตัดขาดจากโลกโซเชียลไม่ได้ บางคนใช้เวลาอยู่กับโลกโซเชียลนานเกินไปจนความรู้สึกนึกคิดที่เป็นของตัวเองอย่างแท้จริงได้ถูกครอบงำ หรือรูปแบบวิถีชีวิตถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เดิมทีมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่หาความรื่นรมย์ในชีวิตด้วยการดื่มด่ำกับกลิ่นกรุ่นของกาแฟยามเช้า เดินสำรวจต้นไม้ในสวนหลังบ้าน มือหนึ่งถือแก้วกาแฟที่ยังมีควันลอยฟุ้งส่งกลิ่นกาเฟอีนปลุกให้เราตื่นตัว อีกมือถือกรรไกรตัดกิ่ง คอยเล็ม ริด ใบไม้ที่แห้งเหี่ยวโรยราออกจากต้น ทว่า ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีเจริญรุดหน้าแบบก้าวกระโดด ความรื่นรมย์ในยามเช้าเปลี่ยนไปจากเดิม กาแฟแก้วโปรดถูกจับคู่กับโทรศัพท์มือถือที่ตอบรับสัญญาณของโลกออนไลน์ตัวแปรสำคัญที่นำพาให้เราหลุดจากโลกแห่งความเป็นจริง และสร้างความบันเทิงจากเรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดลงในโลกอินเทอร์เน็ต ทั้งความขัดแย้ง ปมดราม่าของผู้คนจากหลากหลายวงการ การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยทำให้ผู้คนจำนวนมากไม่สามารถอยู่กับตัวเองได้ และแทบไม่เคยฟังเสียงตัวเอง เสียงหัวใจ หรือแม้แต่เสียงลมหายใจของตัวเอง บ่อยครั้งที่เราปล่อยความคิดของตัวเองให้เอนเอียงไปกับมายาคติของโลกออนไลน์ ปล่อยให้ตัวเองถูกชักจูงได้ง่ายขึ้น น่าแปลกที่คนแปลกหน้าเหล่านี้สร้างอิทธิพลต่อเราขึ้นมาจากตัวอักษรที่ลอยเคว้งอยู่กลางอากาศที่มีเพียงช่องสัญญาณอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมต่อเท่านั้น หลายคนแทบไม่รู้ตัวเองเลยว่า การปล่อยให้มายาภาพเหล่านี้เข้ามามีอิทธิพลในความคิดเรานั้น เราเหลือความสุขที่แท้จริงน้อยลง แต่เรากลับคิดเป็นจริงเป็นจังกับทัศนะที่เปิดเผยเพียงด้านเดียวบนโลกออนไลน์ แม้โลกคู่ขนานใบนี้จะมีความเป็นจริงอยู่บ้าง ทว่า อีกมิติของโลกใบดังกล่าวก็อัดแน่นไปด้วยมายาลวงเช่นกัน ความสุขของเราถูกลดทอนให้น้อยลง ความเครียดสะสมมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง พื้นที่ส่วนตัวลดลง แม้กระทั่งเราเห็นคุณค่าของตัวเอง และคนรอบข้าง คนในครอบครัวน้อยลง จะดีกว่าไหม ถ้าเราสร้างสมดุลระหว่างโลกแห่งความเป็นจริง และการใช้ประโยชน์จากโลกคู่ขนานที่เรียกว่า “โซเชียลมีเดีย” ให้เกิดขึ้น เริ่มจากการปิด เปิดโลกออนไลน์ให้เป็นเวลา เพื่อสร้างเวลาส่วนตัวอย่างแท้จริง ในเมื่อเราฟังเสียงจาก “คนอื่น” มามากมาย แล้วเพราะอะไรเราจะหยุดและฟังเสียงของตัวเองบ้างไม่ได้ ตื่นนอนตอนเช้า ใช้เวลากับการจิบกาแฟ ทอดสายตาไปกับต้นไม้ใบหญ้า สีเขียวของใบไม้ และสีสันของดอกไม้จะช่วยให้สายตาของเราได้พักผ่อน หลับตาลง ปล่อยให้สรรพเสียงเดินทางเข้าสู่โสตประสาทเราอย่างช้าๆ

Read More

อาหารคลายร้อน

อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นในเดือนเมษายน กำลังแจ้งเตือนให้ได้ตระหนักว่าการมาถึงของฤดูร้อนในประเทศไทยได้เคลื่อนเข้ามาให้ได้สัมผัสแล้ว ควบคู่กับความร้อนระอุของแสงแดดจัดจ้าและลมแล้งที่รุนแรงหนักหน่วง การมาถึงของฤดูร้อนเช่นว่านี้ ทำให้หลายๆ คนคงนึกถึงอาหารคลายร้อน ซึ่งในแต่ละวัฒนธรรมก็คงมีความหลากหลายแตกต่างกันออกไป เพราะหากเป็นวัฒนธรรมตะวันตกซุ้มขายไอศกรีม ตามหัวมุมถนนคงเป็นแหล่งรวมพลของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ต้องการสัมผัสความหวานเย็นและดับกระหายคลายความร้อนที่เผชิญ ขณะที่ในญี่ปุ่นและภาคพื้นตะวันออกไกล บะหมี่เย็นอาจเป็นคำตอบ ที่นอกจากจะให้ความชุ่มคอชื่นใจแล้ว ยังอิ่มท้องไปในคราวเดียวกันด้วย สำรับอาหารของไทยที่อุดมด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และดูจะมีความหลากหลายให้ได้เลือกเสพเลือกรับประทานสำหรับดับกระหายคลายความร้อน ต่อสู้กับอุณหภูมิที่เพิ่มสูงร้อนแรงนี้ไม่ด้อยไปกว่ากัน แม้ว่าเมนูอาหารสำรับไทยบางสำรับจะดูไกลตัวออกไปหรือถูกค่อนว่าเป็นเมนูโบราณ แต่ทุกสำรับไทยกลับเป็นเมนูที่มีภูมิปัญญาชาญฉลาดแฝงอยู่ไม่น้อย เพราะนอกจากจะรับประทานดับร้อน ยังลดอาการร้อนในได้ด้วย สำรับอาหารไทยซึ่งถือเสมือนหนึ่งเป็นตัวแทนแห่งการมาถึงของฤดูร้อนสำรับแรก คงหนีไม่พ้น “ข้าวแช่” โดยการลิ้มชิมรสความอร่อยแบบสวยๆ สไตล์ชาววังของอาหารสำรับนี้ ปัจจุบันมีให้บริการหลายแห่ง โดยเฉพาะร้านไหนที่เป็นข้าวแช่ต้นตำรับดั้งเดิม ยิ่งเครื่องแน่น หลากหลาย อร่อยเพลินไปอีก โดยทั่วไปเครื่องเคียงข้าวแช่ จะประกอบไปด้วย ลูกกะปิทอด, พริกหยวกห่มสไบสอดไส้หมูและกุ้ง, หัวไชโป๊วผัดหวาน, หัวหอมสอดไส้ปลาแห้ง, ปลาช่อนผัดหวาน, หมูสับ-ปลากุเลาแห้งเค็ม บางร้านก็จะเพิ่มปลายี่สนผัดหวานให้ด้วย รับประทานคู่กับข้าวสวยแช่น้ำลอยดอกมะลิ ใส่น้ำแข็ง หอมเย็นชื่นใจ คลายร้อนได้ดีทีเดียว เคล็ดไม่ลับของการรับประทานข้าวแช่แบบถูกวิธี อยู่ที่การตักเครื่องเคียงเข้าปากก่อน แล้วค่อยตามด้วยข้าว และน้ำลอยดอกไม้ ไม่ควรตักเครื่องเคียงมาวางลงในชามข้าวสวย เพราะจะทำให้ข้าวแฉะไปด้วยน้ำมัน ซึ่งจะทำให้รับประทานไม่อร่อย เสียของไปอีก สำรับอาหารคลายร้อนอีกสำรับในช่วงฤดูร้อนเช่นนี้ ที่ขอแนะนำ “ขนมจีนซาวน้ำ” ซึ่งเป็นอีกสำรับที่เหมาะสำหรับรับประทานในช่วงหน้าร้อน

Read More

หลุมพรางของโซเชียลมีเดีย อิทธิพลด้านลบที่เกิดกับผู้ใช้งาน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า เราได้ก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างเต็มตัวแล้ว เมื่อรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนในปัจจุบันไม่อาจตัดขาดโลกโซเชียลมีเดียได้ เมื่อเหล่าวิศวกรผู้ออกแบบ นักพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือโปรแกรมเมอร์ ได้ย่อส่วนและรวบรวมความสะดวกสบายมาไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แม้โลกโซเชียลจะมีข้อดีนานัปการ ทั้งการย่นระยะทางการสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่คนละฟากฝั่งโลกให้เหมือนอยู่ใกล้กัน มีส่วนสำคัญในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ทว่า อีกด้านหนึ่งที่เหล่านักพัฒนาไม่ได้สร้างไว้คือ เครื่องมือป้องกันกับดักหรือหลุมพรางที่เกิดขึ้นในโลกคู่ขนานแห่งนี้ เพราะปัจจุบันโลกเสมือนที่ว่า ไม่เพียงแต่มีข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นไปในสังคม อีกแง่มุมหนึ่งคือ มีข่าวสารปลอมว่อนอยู่ทั่วทุกซอกมุมบนโลกอินเทอร์เน็ต มิติด้านบวกที่สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่ชาญฉลาดคือ ค้นคว้าหาข้อมูล สำหรับการวิเคราะห์ แยกแยะ และประมวลผลด้วยมันสมองของแต่ละบุคคล ภายใต้พื้นฐานการหาข้อเท็จจริง ขณะที่มิติด้านลบ คือ สร้างข้อมูลและปั่นกระแสเพื่อให้ผู้ใช้งานบางส่วนเชื่อข้อมูลเหล่านั้นโดยปราศจากการวิเคราะห์ใดๆ นี่อาจเป็นหลุมพรางที่เกิดในโลกโซเชียล แน่นอนว่า ส่วนหนึ่งมาจากกรอบความเชื่อเดิมที่เป็นเสมือนรากเหง้าในอุดมคติของแต่บุคคล อันนำมาสู่การ “เลือก” และ “คลิก” เพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลนั้นๆ กำเนิดผู้พิพากษาบนโลกโซเชียล อิทธิพลในแง่ลบที่ตามมาหลังจากหลุมพรางของโซเชียลเริ่มทำงานคือ เปลี่ยนผู้คนให้กลายเป็นประหนึ่งผู้พิพากษาทางสังคมภายในเวลาอันรวดเร็ว หลายต่อหลายครั้งที่ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย มักตัดสินชีวิตของบุคคลอื่นจากข้อมูลที่ปรากฎอยู่บนโลกออนไลน์ ความง่ายดายของการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้งานแชร์ข้อมูลเดิมๆ ซ้ำๆ พร้อมกับความคิดเห็นแบบเปิดเผยที่ขาดการตระหนักถึงผลที่จะตามมาต่อชีวิตผู้อื่น เพียงเพราะ “เห็นเขาแชร์กัน” และต้องการที่จะมีส่วนร่วมในกระแสสังคมในขณะนั้น ท้ายที่สุดความจริงปรากฏและพบว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการเข้าใจผิดของบุคคลเพียงไม่กี่คน เราจะพบวลีซ้ำซากที่บ่งบอกถึงความมักง่ายอันไร้สามัญสำนึกว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” อ่านน้อยลง พาดหัวยืนหนึ่ง หลุมพรางของโซเชียลมีเดียที่สร้างอิทธิพลแง่ลบ ไม่ได้มีเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ผู้ใช้งานจำนวนไม่น้อย กลายเป็นนักอ่านที่มีโควตาไม่เกิน 2 บรรทัด แม้ว่าหลายปีก่อน จะมีคำพูดว่า

Read More

ความล่มสลายของชุมชน ภายใต้นามของการพัฒนา

ความเคลื่อนไหวในเขตชุมชนเมืองพระนครในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมานอกจากจะมีการชุมนุมเรียกร้องสิทธิการอยู่ในพื้นที่ของชาวหมู่บ้านบางกลอยที่กำลังเป็นประเด็นว่าด้วยการไล่รื้อและทวงคืนพื้นที่ผืนป่าในนามของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อนที่จะเคลื่อนขบวนไปปักหลักชุมนุมใกล้ทำเนียบรัฐบาลพร้อมกับการจัดตั้งหมู่บ้านทะลุฟ้า ในอีกด้านหนึ่งชุมชนชาวสามเสน-บางลำพู-พระสุเมรุ กำลังพะวักพะวงกับข่าวแนวเขตเวนคืนเพื่อสร้างรถไฟฟ้าที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ความเป็นไปของการอนุรักษ์และการพัฒนาในสังคมไทยดูจะเป็นประเด็นเปราะบางที่สร้างผลกระทบต่อชุมชนแต่ละแห่งอย่างต่อเนื่องตลอดมา ขึ้นอยู่กับว่ากลไกรัฐจะเอ่ยอ้างเหตุผลในการกระทำต่อประชาชนในพื้นที่อย่างไร ซึ่งนั่นล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของชุมชนอย่างไม่อาจเลี่ยงได้ หากลองย้อนพิจารณาในกรณีของชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยและใจแผ่นดินเขตรอยต่อไทย-เมียนมา เขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานที่กลับมาเป็นประเด็นสาธารณะอีกครั้ง หลังจากที่อุทยานแห่งชาติ “แก่งกระจาน” และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิด “ยุทธการพิทักษ์ป่าต้นน้ำเพชร” ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ส่งผลให้เครือข่ายองค์กรสิทธิมนุษยชน เรียกร้องให้ยุติปฏิบัติการ และยุติการจับกุมชาวบ้านทุกคน พร้อมคืนสิทธิพื้นที่อาศัยทำกิน ตามวิถีชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ตามมติ ครม. 3 สิงหาคม 2553 ซึ่งต่อมาศาลปกครอง มีคำวินิจฉัยว่าบ้านบางกลอย เป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม และการกระทำของเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. 3 สิงหาคม 2553 และให้ยุติการจับกุม แม้ศาลปกครองจะมีคำวินิจฉัยดังกล่าว หากแต่ชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยก็ไม่สามารถกลับเข้าพื้นที่ของบรรพบุรุษได้ เนื่องจากไม่มีเอกสารสิทธิ์ในการครอบครองพื้นที่ สร้างความผิดหวังให้กับชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยไม่น้อย ความด่างพร้อยของประพฤติการจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในกรณีของชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย ถูกผลิตซ้ำให้เห็นในกรณีของยุทธการตะนาวศรี ซึ่งเจ้าหน้าที่รุกเข้าไปเผาทำลายบ้านเรือนชาวกะเหรี่ยง และยังเกี่ยวโยงกับโศกนาฏกรรมเฮลิคอปเตอร์ 3 ลำของทหารตกบริเวณ อ.แก่งกระจาน เมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากถึง 17 ศพ

Read More