Home > Cover Story (Page 152)

เมื่อสิงห์เน้นเครื่องดื่มสุขภาพ

 การเดินทางของ สิงห์ ในฐานะแบรนด์สินค้าและองค์กรธุรกิจที่มีอายุยืนยาวมากว่า 80 ปี หากเปรียบเป็นชีวิตของมนุษย์คนหนึ่ง ก็ต้องถือว่าอยู่ในช่วงวัยที่ต้องบำรุงรักษาสุขภาพอย่างยิ่ง "สิงห์" ในวันนี้ได้ก้าวสู่ยุคที่ 4 ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของธุรกิจตระกูล “ภิรมย์ภักดี” ซึ่งปรากฏภาพการ Diversify ไปสู่ธุรกิจอื่นๆ ผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดในกลุ่มทายาทรุ่นเหลนของ “พระยาภิรมย์ภักดี” ตกเป็นของสองหนุ่มพี่น้อง “ภูริต” (ชื่อเดิม สันต์) และ “ปิติ” บุตรชายของ “สันติ” ที่เข้ามารับช่วงต่องานสำคัญ และกำลังเข้าสู่ช่วงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจ ปิติ ภิรมย์ภักดี รับช่วงในการบริหารกลุ่มแอลกอฮอลล์ ภูริต ทายาทคนโตของตระกูล “ภิรมย์ภักดี” ถูกวางตัวให้ดูแลธุรกิจนอน-แอลกอฮอล์ พร้อมกับตั้งหน่วยงาน Business Innovation Center หรือ BIC ซึ่งเป็นหน่วยงานทำหน้าที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาด และเป็นจุดเริ่มของการเปิดตลาดเชิงรุกธุรกิจนอน-แอลกอฮอล์ของบุญรอด ซึ่งปัจจุบันสินค้าในกลุ่มนอน-แอลกอฮอล์ของสิงห์จะมีโซดา น้ำดื่มสิงห์ เครื่องดื่มสุขภาพ บีอิ้ง นำแร่เพอร์ร่า ชาเขียวโมชิ สาหร่ายมาชิตะ และล่าสุดน้องใหม่ เครื่องดื่ม เกลือแร่ ซันโว ภายใต้สถานการณ์ที่ตลาดแอลกอฮอล์ในไทยมีการชะลอตัว เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

Read More

NEDA: เพื่อนบ้านมั่นคง เมืองไทยมั่งคั่ง

 พุทธศักราช 2558 ปีที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือ AEC มุ่งให้เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจและการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ประเทศในภูมิภาคนี้มีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดี กินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน ซึ่งประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เหลืออีก 9 ประเทศได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา  สำหรับประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงต้องเตรียมความพร้อมเพื่อการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน โดยมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่นๆ มีความเข้มแข็ง เพราะการศึกษานับเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาในด้านอื่นๆ  สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization-NEDA) ขึ้นตรงต่อกระทรวงการคลัง มีภารกิจในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันระหว่างไทยและเพื่อนบ้าน  บทบาทของ NEDA ดูเหมือนจะสอดคล้องต่อความมุ่งหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยล่าสุดไทยให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน

Read More

ท่า(ที)ใหม่ของสีหนุวิลล์ ตลาดใหม่ของ AEC

 ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือน้ำลึกของประเทศไทยที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจแหลมฉบัง ซึ่งใช้เป็นท่าเทียบเรือในการขนส่งสินค้าทั้งนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ จนกลายเป็นต้นแบบให้กับท่าเรือสีหนุวิลล์ ท่าเรือน้ำลึกทางทะเลเพียงแห่งเดียวของประเทศกัมพูชา กัมปงโสม ชื่อเดิมของสีหนุวิลล์ ซึ่งมีความหมายว่า เมืองที่ติดน้ำ กระทั่งมีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น สีหนุวิลล์ หรือกรุงพระสีหนุ เมื่อมีการยกสถานะขึ้นเป็นจังหวัดในปี ค.ศ.2008 และเพื่อเทิดพระเกียรติแด่เจ้านโรดมสีหนุ ซึ่งพระองค์เคยใช้ชีวิตในช่วงทรงพระเยาว์ที่เมืองนี้ ด้วยความที่สีหนุวิลล์เป็นเมืองชายทะเลที่ขึ้นชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศกัมพูชา รัฐบาลจึงต้องการจะพัฒนาให้สีหนุวิลล์เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ นอกจากแหล่งท่องเที่ยวทางอารยธรรมอย่างเสียมราฐ กระทั่งความวุ่นวายภายในประเทศทำให้โครงการต้องชะงักไป กระทั่งสถานการณ์สงบ รัฐจึงเร่งจัดทำแผนแม่บทแบ่งเขตต่างๆ ในสีหนุวิลล์ เพื่อพัฒนาเมืองทั้งการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม การค้า และการขนส่ง  ท่าเรือสีหนุวิลล์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งของรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งมี Lou Kim Chhun ดำรงตำแหน่ง Chairman & CEO รับหน้าที่คุมพังงาของท่าเรือน้ำลึกแห่งนี้ ด้วยระดับน้ำชายฝั่งที่มีความลึกตั้งแต่ระดับ 8.5 เมตร ถึง 13 เมตร ซึ่งสามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าและเรือเดินสมุทรได้ถึง 4 ลำพร้อมกัน ท่าเรือสีหนุวิลล์แห่งนี้จึงกลายเป็นความหวังทางธุรกิจและเป้าหมายหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา ความต้องการที่จะให้ท่าเรือแห่งนี้เป็นมากกว่าฮับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมากกว่าการเป็นตัวสำรองในน่านน้ำทะเลอ่าวไทย รัฐบาลกัมพูชาพัฒนาท่าเรือเพื่อใช้ในการรองรับเรือบรรทุกสินค้าตั้งแต่ปี ค.ศ. 1956 สำหรับเฟสแรก

Read More

Southern Coastal Corridor เส้นทางติดปีกสีหนุวิลล์

 หลังจากทำพิธีด่านศุลกากรและประทับตรวจลงตรา ลงบนหนังสือเดินทางที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ก้าวแรกที่เหยียบผืนดินจังหวัดเกาะกงของกัมพูชา เมืองที่ใครๆ มองว่า เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยบ่อนกาสิโนสำหรับนักเสี่ยงโชค  วิถีชีวิตผู้คนของทั้งสองประเทศบริเวณจุดผ่านแดนถาวรที่เราสามารถเห็นได้จนชินตา ไม่ว่าจะการเดินทางไปมาหาสู่กันเสมือนญาติมิตร หรือสัมมาอาชีพที่เน้นหนักไปทางค้าขาย จึงทำให้เราเห็นแรงงานเขมรหรือแรงงานไทยเข็นรถบรรทุกสินค้าข้ามแดนกันไปมาตลอดเวลากระทั่งด่านปิด ซึ่งรถเข็นเหล่านั้นบรรจุสินค้าอุปโภคบริโภค ผัก ผลไม้จากฝั่งไทยซึ่งดูจะได้รับความนิยมในหมู่ชาวกัมพูชา  เสียงตะโกนสั่งงานลูกจ้างของเถ้าแก่มีทั้งภาษาพื้นถิ่นอย่างเขมร ขณะเดียวกันก็ได้ยินเสียงเอื้อนเอ่ยภาษาไทยในบางช่วงเวลา ประชาชนทั้งสองจังหวัดชายแดนบางส่วนสามารถสื่อสารได้ 2 ภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาเขมร หากชาวเกาะกงพูดภาษาไทยได้ดูจะไม่ใช่เรื่องแปลก นั่นเพราะ ไทยและเขมรมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4-5 กระทั่งสยามได้ลงนามในอนุสัญญาฝรั่งเศสสยาม เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1904 ซึ่งทำให้ไทยต้องเสียเกาะกง หรือ ปัจจันตคีรีเขตร์ ในสมัยนั้นให้แก่กัมพูชา ซึ่งถูกปกครองด้วยประเทศฝรั่งเศส ซึ่งชาวสยามที่อยู่บนเกาะกงบางส่วนไม่ได้ย้ายกลับมายังแผ่นดินเกิด จึงมีชื่อเรียกเฉพาะ ผู้ที่สืบเชื้อสายไทยที่อาศัยอยู่ในเกาะกงว่า “ไทย-เกาะกง”  สองข้างทางบริเวณทางเข้าเกาะกง บนถนนสาย 48 ส่วนหนึ่งของเส้นทาง R10 (Southern Coastal Corridor) วิถีชีวิตที่ค่อนข้างจะแปลกตาสำหรับชาวสยามอย่างเรา คือ บรรดาพ่อค้าแม่ขายที่กำลังลำเลียงผลไม้ที่ขนข้ามมาจากฝั่งไทย จัดวางบนรถตู้ซึ่งภายในรถถูกปรับแต่งโดยการนำเบาะโดยสารรถออกเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับบรรทุกสินค้าอย่างพืชผักผลไม้ หรืออะไรก็ตามที่สามารถขนใส่ภายในรถตู้ได้ ส่วนเหตุผลที่พ่อค้าแม่ค้าชาวเขมรนิยมใช้รถตู้มากกว่าจะเป็นรถกระบะอย่างบ้านเรา

Read More

โจทย์ใหญ่ ลอว์สัน เมื่อคนไทยติดสไตล์ “เซเว่นฯ”

 ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น สาขาแรกในประเทศไทยเปิดตัวเมื่อปี 2532 เริ่มต้นหมุดตัวแรกหัวมุมถนนพัฒนพงศ์ ก่อนขยายเข้าปั๊มน้ำมัน ปตท. ทั่วประเทศ จนถึงล่าสุดเจาะเข้าสู่ทุกชุมชนมากกว่า 7,800 สาขา และตั้งเป้าขยายครบ 10,000 สาขาในปี 2561 กลายเป็นคอนวีเนียนสโตร์ที่ฝังรากลึกกับลูกค้าคนไทยนานกว่า 25 ปี  ที่สำคัญ สร้างพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งนั่นคือโจทย์ข้อใหญ่ที่คู่แข่ง ทั้ง “แฟมิลี่มาร์ท” และ “ลอว์สัน 108” ของเครือสหพัฒนฯ ยอมรับว่า “ยากที่สุด” อย่างที่ เวทิต โชควัฒนา กรรมการรองผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ ผู้จัดการ 360 ํ ว่า คนไทยติดสไตล์ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น มากเกินไป  ก่อนหน้านี้ เครือสหพัฒนฯ พยายามปลุกปั้นร้านสะดวกซื้อ “108 ช็อป” โดยหวังให้เป็นมินิเอาท์เล็ตกระจายสินค้าในเครือและดึงชุมชน ผู้ประกอบการรายกลางรายย่อยหรือเอสเอ็มอี สร้างพลังต่อรองกับกลุ่มซูเปอร์สโตร์ต่างชาติที่สยายปีกทั่วทุกมุมเมือง แต่ไม่สามารถแข่งขันเจ้าตลาด ต้องปรับตัว

Read More

“แม็กซ์แวลู” เร่งสปีด เปิดศึกชิงส่วนแบ่ง “ท็อปส์”

 “อิออนกรุ๊ป” ซุ่มเงียบเดินหน้ารุกตลาดซูเปอร์มาร์เก็ต ทั้งปูพรมสาขามินิซูเปอร์มาร์เก็ต “แม็กซ์แวลู ทันใจ” ปรับโฉมซูเปอร์มาร์เก็ตจาก “จัสโก้” เป็น “แม็กซ์แวลู” และผุดสาขาใหม่ในทำเลที่มีศักยภาพ ภายใต้ยุทธศาสตร์การเจาะชุมชนใหม่ เขตเมืองใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการขยายสาขาในไลฟ์สไตล์มอลล์ระดับพรีเมียมย่านชานเมือง หัวเมืองในต่างจังหวัด รวมถึงการทุ่มทุนเปิดสาขาสแตนด์อะโลนที่มีแม็กเน็ตแปลกใหม่ ตามเป้าหมายการเป็นผู้นำตลาดซูเปอร์มาร์เก็ตภายในปี 2558  ต้องถือว่า อิออนกรุ๊ป มีความพยายามที่จะลงทุนในประเทศไทย แม้เจอวิกฤตหลายรอบโดยถือเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ของญี่ปุ่นและติดอันดับท็อปของโลก เข้ามาบุกเบิกธุรกิจศูนย์การค้า “สยามจัสโก้” ในไทยเมื่อปี 2527 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต้องเลิกกิจการศูนย์การค้า เหลือเพียงซูเปอร์มาร์เก็ต “จัสโก้” และเจอวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” อีกรอบ ต้องเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการหลายปีจนขอออกจากแผนได้เมื่อปี 2550 เปลี่ยนชื่อจากบริษัท สยามจัสโก้ จำกัด เป็นบริษัท อิออน ไทยแลนด์ จำกัด โดยมีบริษัท อิออน ญี่ปุ่น (บริษัทแม่) และบริษัท อิออน สหรัฐอเมริกา ถือหุ้น 49%  จากปี 2550-2557 เป็นช่วงที่

Read More

โลตัสเจาะ New Trend ขยายแนวรบไล่บี้คู่แข่ง

 การทุ่มเม็ดเงินกว่า 1,000 ล้านบาท ปรับโฉมสาขาบางใหญ่ เปิดตัวศูนย์การค้า “พลัส มอลล์ บางใหญ่” ถือเป็นจุดเปลี่ยนและการยกเครื่องกลยุทธ์ครั้งใหญ่ของค่ายเทสโก้ โลตัส โดยเฉพาะการพุ่งเป้าสร้างโมเดลสาขาที่มีจุดขายหลากหลายมากขึ้นอย่างชัดเจน ไม่เน้นแค่ “สินค้าราคาถูก” แต่เพิ่มไลฟ์สไตล์ตามเทรนด์ใหม่ๆ ของกลุ่มลูกค้าและเทรนด์การเติบโตของธุรกิจค้าปลีกที่ย้ายเซกเมนต์จาก “ไฮเปอร์มาร์เก็ต” สู่ “ไลฟ์สไตล์มอลล์” และ “คอนวีเนียนสโตร์” มากขึ้น  ที่สำคัญ ไฮเปอร์มาร์เก็ตกลายเป็นธุรกิจค้าปลีก “ดาวน์เทรนด์” ซึ่งเป็นผลจากพฤติกรรมการเดินทางของผู้คนและกระแสการชอปปิ้งออนไลน์ แม้มูลค่าตัวเลขยังไม่สูงมาก แต่ขยายตัวต่อเนื่อง ทำให้ความถี่ในการเดินทางไปจับจ่ายสินค้าลดต่ำลง ข้อมูลจากสมาคมผู้ค้าปลีกไทยระบุว่า ปี 2556 ธุรกิจค้าปลีกมีการขยายสาขามากกว่า 2,000 สาขาทั่วประเทศ โดยคอนวีเนียนสโตร์เป็นเซกเมนต์ที่เติบโตสูงสุด 12% และเป็นตัวผลักดันตลาดค้าปลีกในปี 2557 ขยายตัวได้ 6-7% จากมูลค่า 2.3-2.4 ล้านล้านบาท  เปรียบเทียบกับกลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ตหรือซูเปอร์เซ็นเตอร์เมื่อปีก่อนขยายตัวเพียง 7% ห้างสรรพสินค้าเติบโต 7.5% สเปเชียลตี้สโตร์เติบโต 11.5% ซูเปอร์มาร์เก็ตขยายตัว 8% ส่วนช่วงครึ่งแรกของปี 2557 กลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ต

Read More

ศรีลังกา บนจุดตัดของความมั่งคั่ง

 สำหรับผู้คนที่เคยผ่านตาภาพยนตร์เรื่อง Grand Hotel Budapest ซึ่งนำเสนอความเป็นไปของโรงแรมในท้องถิ่นห่างไกลในนครสมมุติบนเทือกเขา Alpine ที่เต็มด้วยเรื่องราวและผู้คนที่ดำเนินผ่านช่วงเวลาแห่งความสุข-ทุกข์ ท่ามกลางวัฏจักรของความรื่นรมย์และตกต่ำ ภาพของโรงแรม Grand Hotel ซึ่งหลบซ่อนอยู่ในเมือง Nuwara Eliya บนเขตทิวเขาและไร่ชาของศรีลังกาอาจให้ความรู้สึกที่ไม่ต่างกัน ความเป็นไปของ Grand Hotel Nuwara Eliya จากเดิมที่เป็นเรือนพักตากอากาศของข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำศรีลังกา ก่อนจะเปลี่ยนสถานะมาสู่การเป็นโรงแรมในปี 1891 หรือเมื่อ 123 ปีที่แล้ว เพื่อรองรับผู้สัญจรผ่านทางและนักธุรกิจชาจากต่างแดน สะท้อนความมั่งคั่งและอดีตที่รุ่งเรืองของสถานที่แห่งนี้ได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุที่เป็นพื้นที่ในเทือกเขาสูงทำให้พื้นที่แห่งนี้มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 16 องศาตลอดทั้งปี และเป็นแหล่งเพาะปลูกและผลิตชาที่กว้างใหญ่ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของศรีลังกา ทำให้ Nuwara Eliya เป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างพลวัตทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง รูปทรงของอาคารในแบบ Elizabethan ได้รับการบูรณะให้กลับฟื้นคืนมีชีวิตชีวา เป็นลมหายใจใหม่ที่พราวเสน่ห์และดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากมายหลั่งไหลเข้ามาเสพและเก็บรับห้วงยามแห่งความสุนทรีย์ ควบคู่กับการศึกษา เรียนรู้มิติในเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม และธรรมชาติ ขณะเดียวกันวิถีที่ดำเนินไปใน Grand Hotel Nuwara Eliya ก็มีความน่าสนใจไม่แตกต่างจากภาพลักษณ์ภายนอกที่ดูหรูหราอลังการ หากแต่ลึกลงไปในจิตใจของผู้คนในที่แห่งนี้ กลับเต็มไปด้วยความละเอียดประณีตในการหลอมรวมและการดูแลจิตวิญญาณของผู้คนได้อย่างลงตัว ผลของการเป็นไร่และแหล่งผลิตชาที่กว้างใหญ่ ทำให้ในอดีตที่ผ่านมามีการนำชาวทมิฬจากถิ่นอื่นเข้ามาเป็นแรงงานในไร่ชาในพื้นที่

Read More

String of Pearls ไข่มุกบนจานหยกมังกร

 ข่าวการเยือนประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ของ Xi Jinping ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นปรากฏการณ์ในแบบพิธีทางการทูตทั่วไปแล้ว การเดินทางเยือนดังกล่าว ยังเป็นกรณีที่บ่งชี้ถึงทิศทางและเข็มมุ่งแห่งวิสัยทัศน์ที่จีนกำหนดเป็นแนวนโยบายสำหรับอนาคตใหม่นี้ด้วย แม้ว่านักวิเคราะห์และผู้สันทัดกรณีจำนวนไม่น้อยจะให้ความสนใจและเฝ้ามองการพบกันของ Xi Jinping ผู้นำจีนและ Narendra Modi นายกรัฐมนตรีอินเดีย ในฐานะที่ต่างเป็นมหาอำนาจขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย แต่นัยความหมายของการเยือนมัลดีฟส์และศรีลังกา ก็มีความสำคัญไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากความมุ่งหมายของจีนในการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การเมืองในระดับนานาชาติ ผ่านกรอบโครงความคิดว่าด้วย 21st Century Maritime Silk Route ดูจะเอื้อประโยชน์และจุดประกายความคิดที่สอดรับกับสถานการณ์ความเป็นไปที่เกิดขึ้นในศรีลังกาอย่างเด่นชัด เพราะหลังจากที่ Mahinda Rajapaksa สามารถสร้างเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศด้วยการยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า 3 ทศวรรษได้สำเร็จในปี 2009 และกำลังเดินหน้าสู่การเลือกตั้งเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี 2010 ได้ประกาศแนวทางในการพัฒนาศรีลังกาให้ฟื้นคืนจากบาดแผลของประวัติศาสตร์สู่อนาคตใหม่ ภายใต้แนวนโยบายที่ได้รับการเรียกขานว่า Mahinda Chintana ด้วย “จินตภาพแห่งมหินทะ” ดังกล่าวนี้ ประกอบส่วนไปด้วยแนวความคิดที่จะพัฒนาและสร้างให้ศรีลังกาเป็น Regional 5 Hub หรือศูนย์กลางของกิจกรรม 5 ประการของภูมิภาค ไล่เรียงตั้งแต่การเป็นศูนย์กลางของการเดินสมุทร ศูนย์กลางของการเดินอากาศ ศูนย์กลางของความรู้ ศูนย์กลางด้านพลังงาน

Read More

ศรีลังกา เวทีประลองกำลังครั้งใหม่จีน-ญี่ปุ่น

 ขณะที่สังคมไทยกำลังให้น้ำหนักกับการคืนความสุขให้กับประชาชน และวาทกรรมบนแท่น Podium อีกฟากหนึ่งในมหาสมุทรอินเดีย ประเทศเล็กๆ ที่มีจำนวนประชากรประมาณ 22 ล้านคน กำลังให้การต้อนรับผู้นำระดับสูงของชาติมหาอำนาจสำคัญ 2 รายในเวลาไล่เรียงกัน การเดินทางเยือนศรีลังกาอย่างเป็นทางการของ Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน ติดตามมาด้วยการเยือนของ Xi Jinping ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 16-17 กันยายน ได้สะท้อนภาพที่น่าสนใจในกลเกมยุทธศาสตร์และการพัฒนาที่กำลังจะเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงถึงความมุ่งหมายของศรีลังกาที่จะสร้างแรงบันดาลใจและความรุ่งเรืองครั้งใหม่ผ่านโครงการ Colombo Port City ซึ่งจะเป็นประหนึ่งจุดเชื่อมต่อที่สำคัญสำหรับการเดินทางใน 21st Century Maritime Silk Route ที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจ อภิมหาโครงการลงทุนขนาด 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐนี้ ถือเอาโอกาสการเดินทางเยือนศรีลังกาของ Xi Jinping ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นปฐมฤกษ์ในการเริ่มต้นก่อสร้างโครงการเมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา และกลายเป็นหมุดหมายที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเริ่มต้นปลุกพลังทางเศรษฐกิจของศรีลังกาให้กลับมาคึกคักอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน Colombo Port City จึงเป็นประหนึ่งไฮไลต์ของการเยือนศรีลังกาโดยผู้นำจีนในครั้งนี้ และกำลังจะเป็นการพลิกเปลี่ยนภูมิทัศน์ของศรีลังกาไปตลอดกาล โครงการที่ประกอบส่วนไปด้วยอาคารสำนักงาน กลุ่มโรงแรม อพาร์ตเมนต์

Read More