Home > สีหนุวิลล์

ท่า(ที)ใหม่ของสีหนุวิลล์ ตลาดใหม่ของ AEC

 ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือน้ำลึกของประเทศไทยที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจแหลมฉบัง ซึ่งใช้เป็นท่าเทียบเรือในการขนส่งสินค้าทั้งนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ จนกลายเป็นต้นแบบให้กับท่าเรือสีหนุวิลล์ ท่าเรือน้ำลึกทางทะเลเพียงแห่งเดียวของประเทศกัมพูชา กัมปงโสม ชื่อเดิมของสีหนุวิลล์ ซึ่งมีความหมายว่า เมืองที่ติดน้ำ กระทั่งมีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น สีหนุวิลล์ หรือกรุงพระสีหนุ เมื่อมีการยกสถานะขึ้นเป็นจังหวัดในปี ค.ศ.2008 และเพื่อเทิดพระเกียรติแด่เจ้านโรดมสีหนุ ซึ่งพระองค์เคยใช้ชีวิตในช่วงทรงพระเยาว์ที่เมืองนี้ ด้วยความที่สีหนุวิลล์เป็นเมืองชายทะเลที่ขึ้นชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศกัมพูชา รัฐบาลจึงต้องการจะพัฒนาให้สีหนุวิลล์เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ นอกจากแหล่งท่องเที่ยวทางอารยธรรมอย่างเสียมราฐ กระทั่งความวุ่นวายภายในประเทศทำให้โครงการต้องชะงักไป กระทั่งสถานการณ์สงบ รัฐจึงเร่งจัดทำแผนแม่บทแบ่งเขตต่างๆ ในสีหนุวิลล์ เพื่อพัฒนาเมืองทั้งการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม การค้า และการขนส่ง  ท่าเรือสีหนุวิลล์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งของรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งมี Lou Kim Chhun ดำรงตำแหน่ง Chairman & CEO รับหน้าที่คุมพังงาของท่าเรือน้ำลึกแห่งนี้ ด้วยระดับน้ำชายฝั่งที่มีความลึกตั้งแต่ระดับ 8.5 เมตร ถึง 13 เมตร ซึ่งสามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าและเรือเดินสมุทรได้ถึง 4 ลำพร้อมกัน ท่าเรือสีหนุวิลล์แห่งนี้จึงกลายเป็นความหวังทางธุรกิจและเป้าหมายหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา ความต้องการที่จะให้ท่าเรือแห่งนี้เป็นมากกว่าฮับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมากกว่าการเป็นตัวสำรองในน่านน้ำทะเลอ่าวไทย รัฐบาลกัมพูชาพัฒนาท่าเรือเพื่อใช้ในการรองรับเรือบรรทุกสินค้าตั้งแต่ปี ค.ศ. 1956 สำหรับเฟสแรก

Read More

Southern Coastal Corridor เส้นทางติดปีกสีหนุวิลล์

 หลังจากทำพิธีด่านศุลกากรและประทับตรวจลงตรา ลงบนหนังสือเดินทางที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ก้าวแรกที่เหยียบผืนดินจังหวัดเกาะกงของกัมพูชา เมืองที่ใครๆ มองว่า เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยบ่อนกาสิโนสำหรับนักเสี่ยงโชค  วิถีชีวิตผู้คนของทั้งสองประเทศบริเวณจุดผ่านแดนถาวรที่เราสามารถเห็นได้จนชินตา ไม่ว่าจะการเดินทางไปมาหาสู่กันเสมือนญาติมิตร หรือสัมมาอาชีพที่เน้นหนักไปทางค้าขาย จึงทำให้เราเห็นแรงงานเขมรหรือแรงงานไทยเข็นรถบรรทุกสินค้าข้ามแดนกันไปมาตลอดเวลากระทั่งด่านปิด ซึ่งรถเข็นเหล่านั้นบรรจุสินค้าอุปโภคบริโภค ผัก ผลไม้จากฝั่งไทยซึ่งดูจะได้รับความนิยมในหมู่ชาวกัมพูชา  เสียงตะโกนสั่งงานลูกจ้างของเถ้าแก่มีทั้งภาษาพื้นถิ่นอย่างเขมร ขณะเดียวกันก็ได้ยินเสียงเอื้อนเอ่ยภาษาไทยในบางช่วงเวลา ประชาชนทั้งสองจังหวัดชายแดนบางส่วนสามารถสื่อสารได้ 2 ภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาเขมร หากชาวเกาะกงพูดภาษาไทยได้ดูจะไม่ใช่เรื่องแปลก นั่นเพราะ ไทยและเขมรมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4-5 กระทั่งสยามได้ลงนามในอนุสัญญาฝรั่งเศสสยาม เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1904 ซึ่งทำให้ไทยต้องเสียเกาะกง หรือ ปัจจันตคีรีเขตร์ ในสมัยนั้นให้แก่กัมพูชา ซึ่งถูกปกครองด้วยประเทศฝรั่งเศส ซึ่งชาวสยามที่อยู่บนเกาะกงบางส่วนไม่ได้ย้ายกลับมายังแผ่นดินเกิด จึงมีชื่อเรียกเฉพาะ ผู้ที่สืบเชื้อสายไทยที่อาศัยอยู่ในเกาะกงว่า “ไทย-เกาะกง”  สองข้างทางบริเวณทางเข้าเกาะกง บนถนนสาย 48 ส่วนหนึ่งของเส้นทาง R10 (Southern Coastal Corridor) วิถีชีวิตที่ค่อนข้างจะแปลกตาสำหรับชาวสยามอย่างเรา คือ บรรดาพ่อค้าแม่ขายที่กำลังลำเลียงผลไม้ที่ขนข้ามมาจากฝั่งไทย จัดวางบนรถตู้ซึ่งภายในรถถูกปรับแต่งโดยการนำเบาะโดยสารรถออกเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับบรรทุกสินค้าอย่างพืชผักผลไม้ หรืออะไรก็ตามที่สามารถขนใส่ภายในรถตู้ได้ ส่วนเหตุผลที่พ่อค้าแม่ค้าชาวเขมรนิยมใช้รถตู้มากกว่าจะเป็นรถกระบะอย่างบ้านเรา

Read More