Home > Singha

สิงห์-ช้าง รุกหนักขยายแนวรบ “ฟู้ดรีเทล”

2 ยักษ์ใหญ่ธุรกิจเครื่องดื่ม “สิงห์-ช้าง” กำลังเร่งขยายแนวรบธุรกิจร้านอาหารอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะเกมการไล่ล่าซื้อกิจการ เพิ่มแบรนด์ในพอร์ต สร้างเครือข่ายอาณาจักรให้แข็งแกร่งที่สุด เพื่อช่วงชิงเม็ดเงินในตลาดที่มีมากกว่า 4 แสนล้านบาท ที่สำคัญ ธุรกิจร้านอาหารกลายเป็นทั้งพระเอก ตัวชูโรงและจิ๊กซอว์เชื่อมโยงตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งเครื่องดื่ม อาหาร สแน็ก ซอส และยังหมายถึงแผนรุกเครือข่ายช่องทางสมัยใหม่ ตั้งแต่หน้าร้าน บริการเดลิเวอรี่ และแอปพลิเคชันสั่งอาหาร ถือเป็นบลูโอเชียนที่บรรดาคู่แข่งขันต้องรีบวางโครงสร้างธุรกิจครอบคลุม 360 องศา เพราะหากใครทำได้เหนือกว่าย่อมหมายถึงโอกาสการต่อยอดเติบโตไม่รู้จบ สำหรับค่ายสิงห์ หรือกลุ่มบุญรอดบริวเวอรี่ หลังจากปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ภายใต้ธุรกิจ 6 เสาหลัก 1. ธุรกิจเบียร์ โซดา และน้ำดื่ม 2. ธุรกิจบรรจุภัณฑ์บางกอกกล๊าส 3. ธุรกิจระดับภูมิภาค (รีจินัล) ภายใต้กลุ่มสิงห์ เอเชีย โฮลดิ้ง 4. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยสิงห์เอสเตท 5. ธุรกิจซัปพลายเชน ภายใต้บุญรอดซัพพลายเชน และ 6. ธุรกิจอาหาร โดยฟู้ด แฟคเตอร์

Read More

“มารุเซ็น” ความพยายามครั้งใหม่ของ “สิงห์”

 หากจะย้อนเวลาถอยหลังไปในช่วง 10 ปีให้หลัง ตลาดเครื่องดื่มนอน-แอลกอฮอล์ของไทยที่มีสีสันมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้นตลาดชาเขียวพร้อมดื่มที่เจ้าตลาดดังอย่างโออิชิ และอิชิตัน จะงัดกลยุทธ์ทางการตลาดมาสู้กันอย่างสนุก ในช่วงเวลาหนึ่งสิงห์เองก็เคยส่งชาพร้อมดื่มหวังแบ่งพื้นที่ทางตลาดของเครื่องดื่มชา แต่ดูการมาในครั้งนั้นที่มาพร้อมกับประสบการณ์อันน้อยนิดเกินไปเมื่อชาเขียวพร้อมดื่มของสิงห์ภายใต้แบรนด์ “โมชิ” ไม่อาจแย่งส่วนแบ่งการตลาดได้แม้แต่น้อย ทำให้สิงห์ต้องยกเลิกการผลิตชาเขียวไปในเวลาอันรวดเร็ว ดูเหมือนว่าในช่วงเวลานั้นสิงห์อาจจะยังไม่พร้อมสำหรับตลาดนอน-แอลกอฮอล์ แต่สิงห์คงยังไม่เข็ดเมื่อครั้งนี้ยักษ์ใหญ่ในตลาดเครื่องดื่มน้ำเมากลับมาอีกครั้งพร้อมด้วยพันธมิตรจากแดนปลาดิบที่เรียกตัวเองว่าเป็น Expert ในด้านชาเขียวจากจังหวัดชิสึโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาร่วมทุนพร้อมทั้งสร้างฐานการผลิตบนพื้นที่ของไร่สิงห์ ปาร์ค เชียงราย บริษัท มารุเซ็น ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด เกิดจากการร่วมทุนระหว่างสิงห์ คอร์เปอเรชั่น กับบริษัท Maruzen Tea Japan (มารุเซ็น ที เจแปน) เมื่อหกเดือนก่อน ด้วยทุนจดทะเบียน 60 ล้านบาท โดยสิงห์ถือหุ้น 51% และ Maruzen Tea Japan ถือหุ้น 49% เป็นครั้งแรกในรอบ 70 ปี นับตั้งแต่การก่อตั้งบริษัท ที่ Maruzen Tea

Read More

บทใหม่ของ “สิงห์”

 ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มสิงห์พยายามที่จะปรับโครงสร้างธุรกิจจากเดิมในนาม บุญรอด บริเวอรี่ ให้เป็น สิงห์ คอร์ปอเรชั่น เพื่อหวังตอกย้ำแบรนด์สิงห์ ให้เด่นชัดขึ้นโดยเฉพาะในห้วงยามที่ธุรกิจกลุ่มแอลกอฮอล์มีการแข่งขันดุเดือด แต่ดูเหมือนว่าความพยายามดังกล่าวจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นส่วนหนึ่ง ที่ยังต้องอาศัยกลไกและปัจจัยสำหรับค้ำยันและสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กรทางธุรกิจ ที่นับวันจะมีความซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้น การดึงบริษัท เบน แอนด์ คัมปะนี จำกัด (Bain & company) ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจที่ปรึกษาและการจัดการธุรกิจระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา เข้ามาเป็นที่ปรึกษาธุรกิจ เมื่อไม่นานมานี้ จึงเป็นอีกความพยายามหนึ่งของสิงห์ ที่จะปรับโครงสร้าง วางกลยุทธ์ และสร้างสายสัมพันธ์ (คอนเนกชั่น) กับพันธมิตรทางธุรกิจ ขับเคลื่อนกลุ่มสิงห์สู่เวทีโลก  ประเด็นที่ว่านี้ ถือเป็นการปรับโครงสร้างทางธุรกิจครั้งใหญ่รอบที่ 3 ภายในระยะเวลา 84 ปีของสิงห์ อีกทั้งยังมีการตั้งธรรมนูญครอบครัวเป็นครั้งแรก เพื่อให้ทายาทตระกูล “ภิรมย์ภักดี” เข้ามาดูแลธุรกิจร่วมกันและแบ่งผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน โครงสร้างธุรกิจใหม่ล่าสุดของสิงห์ ได้จัดแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย 1. กลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2. กลุ่มเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ หรือนอน-แอลกอฮอล์ 3. กลุ่มบรรจุภัณฑ์ 4. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์

Read More

ไฟน์ ฟู้ด แนวรบใหม่ของสิงห์

 ธุรกิจอาหารเป็นอีกหนึ่งในธุรกิจที่สันติ ภิรมย์ภักดี บอสใหญ่ของสิงห์กำหนดเป็นนโยบายไว้ ซึ่งที่ผ่านมา กลุ่มสิงห์เริ่มก้าวเข้าสู่ธุรกิจอาหาร โดยประเดิมเปิดร้าน EST 33 เมื่อหลายปีก่อน และประสบผลสำเร็จ จนมีถึง 3 สาขาในปัจจุบัน การรุกคืบของสิงห์ในสมรภูมิธุรกิจอาหารครั้งใหม่เริ่มขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ สิงห์เปิดตัวบริษัท ไฟน์ ฟู้ด แคปปิตอล จำกัด ในฐานะที่เป็นบริษัทในเครือบุญรอด บริวเวอร์รี่ เมื่อตุลาคม 2555 หรือเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นธุรกิจอาหารทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้การบริหารของธีระ วงศ์พัฒนาสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไฟน์ ฟู้ด แคปปิตอล จำกัด ภายใต้ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท โครงสร้างของกลุ่มธุรกิจอาหาร ได้เริ่มเดินเครื่องเสริมทัพเป็นจักรกลให้กับบริษัท ด้วยการประเดิมเปิดร้านอาหาร ชื่อ “ร้าน พาคาต้า” จำนวนสองสาขา โดยสาขาแรกในไทยที่ถนนข้าวสาร เมื่อเดือนธันวาคม 2555 ด้วยคอนเซ็ปต์ร้านที่นำเสนอเป็นแบบ Fast Fusion

Read More

เมื่อสิงห์เน้นเครื่องดื่มสุขภาพ

 การเดินทางของ สิงห์ ในฐานะแบรนด์สินค้าและองค์กรธุรกิจที่มีอายุยืนยาวมากว่า 80 ปี หากเปรียบเป็นชีวิตของมนุษย์คนหนึ่ง ก็ต้องถือว่าอยู่ในช่วงวัยที่ต้องบำรุงรักษาสุขภาพอย่างยิ่ง "สิงห์" ในวันนี้ได้ก้าวสู่ยุคที่ 4 ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของธุรกิจตระกูล “ภิรมย์ภักดี” ซึ่งปรากฏภาพการ Diversify ไปสู่ธุรกิจอื่นๆ ผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดในกลุ่มทายาทรุ่นเหลนของ “พระยาภิรมย์ภักดี” ตกเป็นของสองหนุ่มพี่น้อง “ภูริต” (ชื่อเดิม สันต์) และ “ปิติ” บุตรชายของ “สันติ” ที่เข้ามารับช่วงต่องานสำคัญ และกำลังเข้าสู่ช่วงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจ ปิติ ภิรมย์ภักดี รับช่วงในการบริหารกลุ่มแอลกอฮอลล์ ภูริต ทายาทคนโตของตระกูล “ภิรมย์ภักดี” ถูกวางตัวให้ดูแลธุรกิจนอน-แอลกอฮอล์ พร้อมกับตั้งหน่วยงาน Business Innovation Center หรือ BIC ซึ่งเป็นหน่วยงานทำหน้าที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาด และเป็นจุดเริ่มของการเปิดตลาดเชิงรุกธุรกิจนอน-แอลกอฮอล์ของบุญรอด ซึ่งปัจจุบันสินค้าในกลุ่มนอน-แอลกอฮอล์ของสิงห์จะมีโซดา น้ำดื่มสิงห์ เครื่องดื่มสุขภาพ บีอิ้ง นำแร่เพอร์ร่า ชาเขียวโมชิ สาหร่ายมาชิตะ และล่าสุดน้องใหม่ เครื่องดื่ม เกลือแร่ ซันโว ภายใต้สถานการณ์ที่ตลาดแอลกอฮอล์ในไทยมีการชะลอตัว เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

Read More