Home > Cover Story (Page 145)

ปิดฉาก “ลาดหญ้า” เซ็นทรัลซุ่มบิ๊กโปรเจกต์

 6 เมษายน 2558  ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาลาดหญ้า จะเปิดทำการเป็นวันสุดท้าย ก่อนปิดฉากอย่างเป็นทางการ แต่เซ็นทรัลกรุ๊ปในฐานะเจ้าของที่ดินผืนใหญ่บริเวณนั้นเตรียมโปรเจกต์ลงทุนธุรกิจใหม่รับโครงการสถานีรถไฟฟ้าอีก 2 เส้นทาง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตั้งอยู่บนถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-มหาชัย ตามแนวเส้นทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งคาดว่าจะพลิกโฉมทำเลครั้งใหญ่ การปิดสาขาลาดหญ้าจึงเป็นเพียงเกมคั่นเวลารอจังหวะและลดการขาดทุนจากธุรกิจค้าปลีกที่อยู่ในภาวะซบเซา เพราะสภาพทำเลที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงสงครามค้าปลีกย่านฝั่งธนบุรีได้ย้ายจุดยุทธศาสตร์สู่แนวรบด้านเจริญนครและริมฝั่งเจ้าพระยา  ที่สำคัญ ลาดหญ้าถือเป็นสมรภูมิค้าปลีกย่านวงเวียนใหญ่ที่กลุ่มเซ็นทรัลยึดหลักปักฐานมานานเกือบ 40 ปี ตั้งแต่ยุค 3 พี่น้อง ได้แก่ สัมฤทธิ์, วันชัย และ สุทธิพร จิราธิวัฒน์ บุกเบิกธุรกิจห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เริ่มจากสาขาวังบูรพา ราชประสงค์ สีลม ชิดลม จนกระทั่งมาเปิดห้างเซ็นทรัลสาขาลาดหญ้า ในปี 2524  ก่อนปรับโฉมและเปลี่ยนแบรนด์เป็นห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาลาดหญ้า เมื่อปี 2540  เวลานั้น ไม่ว่าจะเป็น “เซ็นทรัล” หรือ

Read More

“ทศ จิราธิวัฒน์” จัดทัพออนไลน์ อนาคตใหม่ “เซ็นทรัล”

 หลังจากกลุ่ม “เซ็นทรัล” รุกยุทธศาสตร์ใหม่ ควบรวมกิจการ “ออฟฟิศเมท” และปรับโครงสร้างองค์กร ยกเครื่องกลุ่มธุรกิจค้าปลีก ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติใหญ่ภายใต้แนวคิด “The Next Chapter of Central Group” และล่าสุด การแถลงข่าวประจำปี 2558  “CEO  Challenge” ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ประกาศเป้าหมายขั้นต่อไปกับการสร้างอาณาจักร “ธุรกิจออนไลน์” ซึ่งจะเป็นอนาคตใหม่ของธุรกิจค้าปลีกในเครือทั้งหมด  25 มีนาคม 2558  “เซ็นทรัลออนไลน์กรุ๊ป” จะเปิดตัวเว็บไซต์โฉมใหม่อย่างเป็นทางการ พร้อมๆ กับพันธมิตรรายใหญ่ที่จะเป็นผู้นำเสนอสินค้าผ่านออนไลน์ จำนวนมากกว่า 100,000 รายการ    ทศระบุว่าธุรกิจออนไลน์มีความสำคัญในยุคปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ช่องทางออนไลน์จึงกลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจของการค้าที่มีโอกาสเติบโตอย่างมาก ด้วยตัวสินค้าและแบรนด์ของเซ็นทรัลที่มีอยู่จำนวนมากมาย ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกในการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีความน่าเชื่อถือด้วยมาตรฐานของแบรนด์ในกลุ่มเซ็นทรัล “อนาคตของเราคือธุรกิจออนไลน์” ซีอีโอเซ็นทรัลกรุ๊ปกล่าว  ทั้งนี้ ตามแผนการควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ออฟฟิศเมท จำกัด

Read More

“โรบินสัน” เปิดเกมรุก หนุน “ซีอาร์ซี” ชิงชัยค้าปลีก

 เป้าหมายรายได้ของกลุ่มเซ็นทรัล 286,680 ล้านบาท ภายใต้งบลงทุนมากกว่า 37,000 ล้านบาท ให้น้ำหนักเกือบทั้งหมดไปที่การขยายอาณาจักรค้าปลีกทั้งในและต่างประเทศ โดยเปิดเกมรุกทุกแบรนด์ห้างในเครือ ทั้งเซ็นทรัล โรบินสัน ลา รินาเซนเต้ (la Rinascente) และอิลลุม (Illum) โดยเฉพาะ “โรบินสัน” ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองชิ้นสำคัญในการบุกตลาดอาเซียน ยึดหัวหาดต่างจังหวัดเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน และล่าสุดแตกไลน์ห้างสรรพสินค้า “โรบินส์”  (Robins) ลุยประเทศเวียดนาม จุดยุทธศาสตร์ใหญ่ที่สุด “โรบินสัน” ในฐานะแบรนด์ค้าปลีกเก่าแก่กว่า 35 ปี ผ่านวิกฤตหลายรอบ ต้องควบรวมกิจการกับ “เซ็นทรัลรีเทลคอร์ปอเรชั่น” หรือ “ซีอาร์ซี” ใช้เวลาหลายปีกว่าจะฟื้นตัวและขยายสาขาโตแบบก้าวกระโดด ช่วงรอยต่อปลายปี 2556 เข้าสู่ปี 2557 กลุ่มเซ็นทรัลปรับโครงสร้างการบริหารครั้งใหญ่ ไม่ใช่แค่การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด (Chairman of Executive Committee and CEO of Central

Read More

แนวรบ “เครื่องดื่มเกลือแร่” ระอุรับหน้าร้อน

 สภาพอากาศกลางเดือนมีนาคมในประเทศไทยที่อุณหภูมิความร้อนไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งแตะ 36 องศาเซลเซียส คงทำให้ใครหลายคนต้องมองหาตัวช่วยดับร้อน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนสถานที่ที่ชุ่มฉ่ำไปด้วยแอร์เย็นๆ หรือการอาบน้ำชำระล้างเหงื่อกาฬเพื่อเรียกความสดชื่นคืนมา แต่นั่นเป็นการคลายร้อนเพียงภายนอกเท่านั้น หากแต่ตัวช่วยที่สามารถสร้างความกระปรี้กระเปร่าจากภายในคงหนีไม่พ้นน้ำสะอาด หรือเครื่องดื่มเกลือแร่ที่ช่วยทดแทนการเสียเหงื่อ แน่นอนว่าเครื่องดื่มบรรจุขวดหรือกระป๋องที่เรียงแถวกันบนชั้นในตู้แช่เย็นที่ดาหน้ามาให้ผู้บริโภคเลือกซื้อกันนั้น แม้จะเป็นเครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่นต่อร่างกาย แต่ภาวะการตลาดของเครื่องดื่มเกลือแร่กลับร้อนระอุ เมื่อมีการแข่งขันที่สูงขึ้น  เครื่องดื่มเกลือแร่ที่มีมูลค่าทางการตลาดสูงถึง 6,000 ล้านบาท ตัวเลขการตลาดของเครื่องดื่มเกลือแร่ที่สูงในขณะที่คู่แข่งทางการตลาดยังมีจำนวนไม่มากมายนัก ดูจะไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะมียักษ์ใหญ่หลายค่ายมองเห็นช่องทางการเติบโต พร้อมความหวังให้ตัวเลขในบัญชีรายรับสูงขึ้น และเริ่มบุกตลาดเพื่อหวังแชร์ส่วนแบ่งของเค้กก้อนเขื่องที่มีกลิ่นหวานหอมชวนลิ้มลอง ตลาดเครื่องดื่มเกลือแร่ถูกเพิ่มดีกรีความร้อนจากค่าย “คาราบาวกรุ๊ป” ที่ส่ง “สตาร์ท พลัส ซิงค์” ลงมาประเดิมตลาด ที่พร้อมจะแข่งกับผู้นำตลาดอย่างแบรนด์สปอนเซอร์ ที่ยังครองส่วนแบ่งการตลาดไปมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ด้วยการชูส่วนประกอบสำคัญอย่าง “Zinc” ที่เป็นตัวช่วยควบคุมกระบวนการต่างๆ ในร่างกายให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยซ่อมบำรุงเอนไซม์ รวมถึงเซลล์ต่างๆ หากร่างกายมีเหงื่อออกมากเกินไป อาจจะทำให้ร่างกายต้องสูญเสียสังกะสีมากถึง 3 มิลลิกรัมต่อวัน ในยุคสมัยที่ผู้คนมักนิยมวิ่งตามกระแสสังคม ที่ผู้บริโภคหันมาให้ความใส่ใจกับสุขภาพร่างกายกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์การออกกำลังกายอย่าง T25 หรือการปั่นจักรยาน สิ่งที่ตามมาคือ เรื่องความต้องการอาหารและเครื่องดื่มที่ให้ประโยชน์ สามารถซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายได้  กระแสความนิยมดังกล่าวของผู้บริโภคยิ่งเป็นตัวผลักดันให้การแข่งขันเริ่มดุเดือดมากขึ้น เมื่อผู้แข่งขันทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ต่างพากันควักกระเป๋าทำการตลาดหลายร้อยล้านบาท ทั้ง Ad โฆษณาตัวใหม่

Read More

ยุทธการดอยช้าง เมื่อ สิงห์ รุกตลาดกาแฟ

 ยุทธการออกจากพื้นที่ปิด ไปสู่สังเวียนที่เปิดกว้างในกลุ่มนอนแอลกอฮอล์ ของสิงห์ยังคงเดินหน้าต่อเนื่อง หลังจากชิมลางบุกตลาด “ชาเขียว” เมื่อปลายปีที่แล้ว เริ่มศักราชใหม่ ค่ายสิงห์เปิดเกมรุกด้วยการเข้าร่วมมือกับกาแฟ “ดอยช้าง” ที่นับเป็นข้อต่อเชื่อมส่วนหนึ่งของแผนการรุกธุรกิจ “นอนแอลกอฮอลส์” ที่ค่ายสิงห์หวังจะเพิ่มสัดส่วนรายได้ให้เป็นครึ่งหนึ่งของรายได้รวม ประเด็นสำคัญของการรุกครั้งใหม่ในธุรกิจกาแฟ อยู่ที่กลยุทธ์ในการขยายที่นอกจากจะประกอบส่วนด้วยการซื้อหรือควบรวมกิจการ Mergers and acquisitions (M&A) เพื่อเป็นการขยายตัวแบบก้าวกระโดดแล้ว ก็เป็นการร่วมลงทุนในฐานะพันธมิตรธุรกิจที่อาศัยความชำนาญของแต่ละฝ่ายสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นมาใหม่ สอดคล้องกับกลยุทธ์และแนวคิดการบริหารงานของสันติ ภิรมย์ภักดี บอสใหญ่ของค่ายสิงห์ ที่ว่าการเริ่มต้นจากศูนย์ต้องใช้เวลาและลำบาก แต่หากสามารถนำเอาจุดแข็งของแต่ละฝ่ายมาร่วมกันจะสร้างการเติบโตให้ธุรกิจได้เร็ว “เราอยู่คนเดียวไม่ได้ ต้องมีเพื่อน ในโลกธุรกิจก็เช่นกัน เราต้องนำจุดเด่นและความเก่งที่มีกันคนละด้านมาผสานกัน” สันติย้ำ ในวันเปิดตัวบริษัท ดีวีเอส 2014 จำกัด เมื่อไม่นานมานี้ สันติได้มาเป็นประธานเปิด ซึ่งนับเป็นการกลับมาออกงานในโลกธุรกิจงานแรกๆ หลังจากห่างหายไปนานเกือบ 10 ปี ภายหลังจากที่มอบหมายภารกิจให้ลูกชายทั้งสองสานงานต่อในช่วงก่อนหน้านี้ ดีวีเอส 2014 เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท วราฟู้ดส์ แอนด์ดริ้งค์ จำกัด ในเครือของสิงห์ กับบริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล จำกัด ผู้ผลิตกาแฟ

Read More

ยุทธการสร้างแบรนด์ ฉบับ นวลพรรณ ล่ำซำ

 ในบรรดาแวดวงนักธุรกิจสตรีที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้หญิงแถวหน้าในสังคมไทย ชื่อของนวลพรรณ ล่ำซำ ถือเป็นชื่อที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดชื่อหนึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่เฉพาะในมิติของการดำเนินธุรกิจ หากแต่ยังขยายไปสู่บริบทแวดล้อมอื่นๆ ที่ เธอคนนี้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทในฐานะผู้จัดการทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ที่ประสบความสำเร็จได้ไปสำแดงฝีเท้าในสังเวียนฟุตบอลโลกหญิง ซึ่งถือเป็นการไปฟุตบอลโลกครั้งแรกของไทย โดยไม่ต้องรอถึงชาติหน้าชาติไหน อย่างที่ทีมฟุตบอลชายไทยกำลังพยายามลบคำปรามาสนี้ออกไป ความสำเร็จในการนำพาทีมฟุตบอลหญิงไทยไปแข่งขันรอบสุดท้ายในฟุตบอลโลกหญิง ทำให้มีหลายฝ่ายพยายามที่จะเรียกขาน นวลพรรณ ล่ำซำ ในฐานะที่เป็นนางฟ้าแห่งวงการฟุตบอลไทย ซึ่งอาจไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะผลงานในการแข่งขันฟุตบอลเท่านั้น แต่ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกและชาติตระกูลถิ่นกำเนิดก็อาจมีส่วนให้คำเรียกขานนี้ ไม่ได้ดูเกินจริง และแน่นอนว่าคงให้ความรู้สึกที่เป็นไปในทางที่ดีกว่าฉายา สวยประหาร ที่นวลพรรณ ล่ำซำ เคยได้รับมาก่อนหน้านี้ นวลพรรณ ล่ำซำ เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2509 เป็นบุตรีคนโตของโพธิพงษ์ ล่ำซำ กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กับ ยุพา ล่ำซำ เจ้าของธุรกิจเมืองไทยประกันชีวิต และเมืองไทยประกันภัย มีน้องสาวและน้องชายประกอบด้วย วรรณพร พรประภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี แลนด์สเคป จำกัด และ สาระ ล่ำซำ ผู้บริหารบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต ซึ่งทั้งหมดนับเป็นทายาทสายตระกูลล่ำซำ รุ่นที่

Read More

นวลพรรณ ล่ำซำ สร้างฐานใหม่ “เมืองไทยประกันภัย”

 หลังดีลประวัติศาสตร์ควบรวมกิจการ “เมืองไทยประกันภัย” กับ “ภัทรประกันภัย” เมื่อปี 2551 นวลพรรณ ล่ำซำ ใช้จุดแข็งจากฐานทางการเงิน ฐานการบริหาร ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และช่องทางการตลาด เปิดเกมรุกช่วงชิงส่วนแบ่ง เปลี่ยนสถานะจากบริษัทรั้งท้ายไม่ติดอันดับ กระโดดสู่กลุ่มท็อปไฟว์ กวาดเบี้ยประกันภัยทะลุหลักหมื่นล้านบาท และล่าสุดแซงหน้าบริษัทคู่แข่งยึดอันดับ 4 ในตลาด ดันกำไรพุ่งสูงสุดติดต่อกัน 3 ปี  แน่นอนว่าชื่อนวลพรรณ ล่ำซำ ฉายา “มาดามแป้ง” “สวยประหาร” และ “นางฟ้าท่าเรือ” ด้านหนึ่งสร้างสีสันให้องค์กรธุรกิจ แต่สำคัญมากกว่านั้น นวลพรรณมักย้ำกับสื่อทุกครั้งว่า เติบโตและเรียนรู้ธุรกิจประกันวินาศภัยมาตลอดชีวิต ตั้งแต่รุ่นพ่อ คือ โพธิพงษ์ ล่ำซำ จนเข้ามาบริหารงานนานเกือบ 10 ปี และเชื่อมั่นว่า ประกันภัย คือปัจจัยที่ 5 ของมนุษย์ ซึ่งหมายถึงโอกาสการเติบโตทางธุรกิจอีกมากมาย แต่ต้องสร้าง “จุดต่าง” จากคู่แข่ง  โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์การประกันภัยหลากหลายรูปแบบตามสถานการณ์และไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมาย เพราะในอดีตผลิตภัณฑ์ในตลาดประกันวินาศภัยเหมือนถูกจำกัดไว้ไม่กี่ประเภท เช่น

Read More

“ล่ำซำ” ยึดธุรกิจประกัน เส้นทาง 80 ปีจาก “กวางอันหลง”

 เส้นทางธุรกิจประกันภัยของกลุ่ม “ล่ำซำ” ใช้เวลากว่า 80 ปี ต่อสู้ในสงครามการแข่งขันจนยึดกุมส่วนแบ่งติดอันดับ “ท็อปไฟว์” ทั้งตลาดประกันชีวิตและประกันวินาศภัย กลายเป็นอาณาจักรธุรกิจที่ยิ่งใหญ่อีกสายหนึ่งของตระกูล เม็ดเงินในตลาดมากกว่า 7 แสนล้านบาท  ต้องถือว่ากิจการประกันภัยของกลุ่มล่ำซำเกิดขึ้นพร้อมๆ กับกิจการธนาคารพาณิชย์และเป็นธุรกิจที่ฝังรากลึกตั้งแต่ต้นตระกูล แม้ล่ำซำรุ่นที่ 1 อึ้งเมี่ยวเหงี่ยน ตัดสินใจเดินทางจากตำบลส่งเค้าโป๊ อำเภอบ้วยกุ้ย จังหวัดเกี่ยเอ้งจิวฮู้ มลฑลกวางตุ้ง เข้าสู่ประเทศไทย โดยเริ่มทำมาหากินในร้านขายเหล้าของ “จิวเพ็กโก”     แต่อึ้งเมี่ยวเหงี่ยน ศึกษาหาความรู้เปลี่ยนฐานะเป็นเถ้าแก่ เปิดร้านขายไม้ซุง ติดลำน้ำเจ้าพระยาแถวจักรวรรดิ สัมพันธวงศ์ ชื่อร้าน “ก้วงโกหลง” และทำสัมปทานป่าไม้แถวจังหวัดนครสวรรค์กับแพร่ ขยายการค้าทั้งในและต่างประเทศ เติบโตรุดหน้า ต่อมา อึ้งยุกหลง ล่ำซำ บุตรชาย เข้ามาดูแลรับผิดชอบธุรกิจของตระกูล ขยายกิจการโรงสีและรับซื้อข้าว รวมถึงสินค้าเกษตรตัวอื่นๆ ส่งขายต่างประเทศ  ปี 2475 อึ้งยุกหลงก่อตั้งบริษัทกวางอันหลงประกันภัย และธนาคารก้วงโกหลง โดยกิจการประกันภัยทำหน้าที่ดูแลและป้องกันวินาศภัยของการขนส่งสินค้า ส่วนธนาคารเป็นเพียงร้านแลกเปลี่ยนเงินตรา แต่ต่อมาธนาคารต้องปิดตัว ผลพวงจากนโยบายของคณะราษฎร ส่วนกิจการประกันภัยมีการขยายธุรกิจต่อเนื่องและเปลี่ยนชื่อเป็น “ล่ำซำประกันภัย” ขณะที่จุลินทร์

Read More

ครัวสร้างชาติ ครัวไทยสู่โลก แบบ คสช.

 นโยบายสาธารณะจำนวนมาก ที่เคยถูกปรามาสว่าเป็นเพียงนโยบายขายฝัน หรือประชานิยม และเป็นมรดกของรัฐบาลในชุดก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย ครัวไทยสู่ครัวโลก (Kitchen of the World) รวมถึงการวาดหวังจะเป็นศูนย์กลางแฟชั่น ศูนย์กลางการบิน ฯลฯ ซึ่งเคยกำหนดให้เเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพสร้างรายได้เข้าประเทศมหาศาล แม้เวลาจะล่วงเลยผ่านมากว่าหนึ่งทศวรรษ และเปลี่ยนพ้นผ่านความเป็นไปมาหลายรัฐบาลจนถึงรัฐบาลยุคสมัยแห่ง คสช. ซึ่งประกาศท่าทีที่พร้อมสนับสนุนให้มีนโยบายกระตุ้นอุตสาหกรรมอาหารไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกอาหารไทยที่ยังคงให้การส่งเสริมนโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” เพราะเป็นหนึ่งในเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย รัฐบาลชุด คสช. วางมาตรการที่จะเข้ามาสานต่อโครงการเพื่อให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักในในเวทีโลกมากขึ้น ภายใต้แผนยุทธศาสตร์สำคัญ 4 ประการ คือ 1. การสร้างนวัตกรรมและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน 2. การพัฒนาระบบข้อมูลสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารที่ล้ำสมัย เข้าถึงได้ง่ายและตอบสนองทันต่อเหตุการณ์ 3. การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการผลิตตลอดห่วงโซ่อาหารสู่สากล และ 4. การพัฒนาสมรรถนะสถาบันเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ โดยมีแผนดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง  ขณะที่เพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม คาดการณ์แนวโน้มการส่งออกอาหารไทยปีนี้ว่ามีมูลค่า 1.08 ล้านล้านบาท ขยายตัว 6.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยปีนี้สถาบันเร่งผลักดันโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก โครงการเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกรรมอาหารของไทย และโครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

Read More

2558 ปีทองธุรกิจอาหาร? ทุกแนวรบพร้อมแข่งเดือด

 ปี 2558 หรือปีแพะนี้ ถือได้ว่าเป็นปีที่ท้าทายสำหรับธุรกิจอาหารในประเทศไทย ท่ามกลางกระแสการแข่งขันอย่างรุนแรงของผู้ประกอบการน้อยใหญ่ ทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่พาเหรดเข้ามาในสมรภูมิอาหาร ในขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่ามูลค่าของร้านอาหารในปีนี้จะมีมูลค่าตลาดประมาณ 267,000-275,000 ล้านบาท เติบโตอยู่ในอัตราร้อยละ 2.9-5.9 จากในปี 2557 และหากครอบคลุมถึงเชนร้านอาหารและร้านอาหารทั่วไป น่าจะมีมูลค่าตลาดอยู่ในระดับ375,000-385,000 ล้านบาท เติบโตอยู่ในสัดส่วนร้อยละ 4.0-6.8 นับว่าส่งผลให้การแข่งขันในธุรกิจร้านอาหารเป็นไปอย่างรุนแรงขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ากลยุทธ์การขยายสาขาของเชนร้านอาหารในปี 2558 จะเปลี่ยนแปลงไปจากปี 2557 กล่าวคือจากการให้ความสำคัญกับการขยายสาขาจำนวนมากในทำเลที่ตั้งที่เป็นห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ และคอมมูนิตี้มอลล์ต่างๆ เพื่อให้แบรนด์ร้านอาหารมีความโดดเด่น และสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างครอบคลุมได้มากกว่าคู่แข่งขันมาสู่การให้ความสำคัญกับการคัดเลือกทำเลที่ตั้งที่จะขยายสาขามากขึ้น เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างเฉพาะเจาะจง      อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการนำเสนอรูปแบบอาหารที่แปลกใหม่และสอดคล้องกับรูปแบบการรับประทานอาหารนอกบ้านของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอีกด้วย ไม่ว่าจะด้านรสชาติอาหาร ความแตกต่างและความหลากหลายของอาหาร การตกแต่งร้าน การให้บริการนอกเหนือจากการจัดโปรโมชั่น การรับส่วนลดได้ ล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารไม่น้อยไปกว่าปัจจัยด้านราคาอย่างเดียว ในขณะที่ธุรกิจร้านอาหารถ้าจะแบ่งคร่าวๆ โดยทั่วๆ ไป อาจแบ่งได้ 4 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้คือ (1) ร้านอาหารต่างชาติ เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่น อาทิ เซนหรือฟูจิ ร้านอาหารอิตาเลียน (2)

Read More