Home > Cover Story (Page 146)

แผน “ฮาบิโตะ” ดัน Sansiri Hub

 การแตกไลน์ธุรกิจคอมมูนิตี้มอลล์ “ฮาบิโตะ” ของ “แสนสิริ” เป้าหมายอาจไม่ใช่แค่การสร้างมูลค่าเพิ่มหรือกระจายความเสี่ยงด้านการลงทุน  แต่งานนี้วางแผนชุดใหญ่ภายใต้ยุทธศาสตร์การสร้างเมือง หลังจากซุ่มเงียบขยายอาณาจักรย่านรามอินทรา พัฒนาโครงการบ้านยึดฐานลูกค้าได้อย่างเหนียวแน่นและแตกไลน์ธุรกิจการศึกษา เปิด “โรงเรียนสาธิตพัฒนา” เติมเต็มความเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีอาณาเขตครอบคลุมเนื้อที่มากกว่า 700 ไร่ ปัจจุบัน โรงเรียนสาธิตพัฒนาถือเป็นโรงเรียนสาธิตเอกชนที่ได้รับการยอมรับในตลาดการศึกษา โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องการสร้างโรงเรียนที่ดีที่สุดให้เด็กด้วยระบบการเรียนการสอนแบบเดียวกับโรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยรัฐ มีทีมอาจารย์จากโรงเรียนสาธิต รวมถึงคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ามาพัฒนาหลักสูตรตามหลักสากล และที่สำคัญมีแนวคิดต้องการขยายโรงเรียนแห่งใหม่ด้วย   กรณีโรงเรียนสาธิตพัฒนาจึงถือเป็น “จิ๊กซอว์” ตัวหนึ่งที่สามารถต่อยอดแผนการสร้าง “เมืองแสนสิริ” ให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งในความจริงเป็นแนวคิดที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์อีกหลายๆ แห่งต้องการแจ้งเกิด แต่ดูเหมือนยังไม่ประสบความสำเร็จ 100%  ขณะที่มององค์ประกอบต่างๆ ของ “แสนสิริ” หัวเรือใหญ่ ทั้งอภิชาติ จูตระกูล ในฐานะประธานอำนวยการ และเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ สามารถอ่านเกมและจับกระแสไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์ กอบโกยรายได้ยอดขาย รวมถึงฉีกแนวสร้างบริการหลังการขายจนกลายเป็นกลยุทธ์การตลาดที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ค่ายอื่นๆ ต้องเดินตาม จุดแข็งอย่างโปรแกรมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มีสีสัน ดูมีระดับและทันสมัย ภายใต้ชื่อ “Sansiri Family” ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเปิดตัว “Sansiri Lounges”

Read More

“แสนสิริ” ปักหมุด รุกสร้างเมืองใหม่

 ค่าย “แสนสิริ” ประกาศแผนรุกธุรกิจบ้านเดี่ยวครั้งใหญ่ แม้เหตุผลข้อหนึ่งเพื่อกระจายความเสี่ยงจากตลาดคอนโดมิเนียม ที่เจอทั้งพิษความล่าช้าของ EIA และภาวะโอเวอร์ซัปพลายจนต้องพับบางโครงการในต่างจังหวัด  แต่มากยิ่งกว่านั้น การฟื้นตัวของตลาดบ้านเดี่ยวอย่างมีนัยสำคัญ กำลังจุดประกายแผนสร้างอาณาจักรแห่งใหม่ย่านกรุงเทพกรีฑา หลังจากประสบความสำเร็จยึดครองตลาดที่อยู่อาศัยย่านรามอินทรา เนื้อที่กว่า 700 ไร่มาแล้ว  ที่สำคัญ ที่ดินผืนดังกล่าวอยู่ในมือของแสนสิริร่วม 320 ไร่ โดยซื้อจากกลุ่มบางกอกแลนด์ และเป็นแปลงที่ดินที่อยู่ชิดติดกับโครงการถนนตัดใหม่ “ศรีนครินทร์-ร่มเกล้า” 6 ช่องการจราจร ระยะทาง 16 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 3 ปีข้างหน้า เนื่องจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) กำหนดเป็นโครงการเร่งด่วน หลังถูกชะลอมานานเกือบ 10 ปี ไม่มีปัญหาการเวนคืน เพราะจ่ายชดเชยกรรมสิทธิ์ครบหมดแล้ว  ขณะเดียวกัน บริษัทสำรวจวิจัยข้อมูลอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งต่างฟันธงว่า ถนนเส้นนี้จะเพิ่มศักยภาพโซนตะวันออกของกรุงเทพฯ เปิดการเดินทางทั้งจากถนนรามอินทรา ถนนเกษตรฯ-นวมินทร์ ถนนรามคำแหง ถนนศรีนครินทร์ ถนนบางนา-ตราด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันราคาที่ดินถีบตัวสูงขึ้น จากที่ตาบอดราคาไม่ถึง 10,000 บาทต่อตารางวา ขยับขึ้นเป็นเกือบ 60,000-70,000 บาทต่อตารางวา  ประเมินกันว่าหากเปิดใช้เส้นทาง

Read More

คอนโดเศรษฐีแข่งเดือด เปิดสงครามชิงทำเลทอง

 ตลาดคอนโดมิเนียมในยุคหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงกดดันให้ค่ายอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ย้ายแนวรบขึ้นไปเจาะตลาดไฮเอนด์ จับกลุ่มเศรษฐีกำลังซื้อสูง ทั้งระดับลักชัวรี่และซูเปอร์ลักชัวรี่ ซึ่งเชื่อว่าปี 2558 จะมีอัตราเติบโตสูงสุดและมีรายการทุบสถิติราคาขายอย่างต่อเนื่อง ทะลุจากตารางเมตรละ 300,000 บาท แตะ 400,000 บาท และในอนาคตมีแนวโน้มพุ่งทะยานไปถึง 600,000 บาท เช่นเดียวกับคอนโดมิเนียมใจกลางมหานครชั้นนำในต่างประเทศ ทำเลทองชนิดที่เรียกว่า ทุกตารางนิ้วถูกกลุ่มทุนไล่ฮุบ โดยเฉพาะเส้นสุขุมวิท ซึ่งมีอัตราการขายสูงถึง 85% นำหน้าย่านสีลมและสาทร ที่มีอัตราการขาย 78% หรือแม้กระทั่งคอนโดมิเนียมริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่กำลังบูม ยังมีอัตราการขายเฉลี่ยเพียง 67%  กฤษณ์ ณรงค์เดช ประธานบริษัท เคพีเอ็น กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า ตลาดที่อยู่อาศัยระดับบนย่านใจกลางเมืองยังคงมีดีมานด์สูง แม้ช่วงที่ผ่านมาระบบเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมือง แต่ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวเป็นเรียลดีมานด์ มีความต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงและเพื่อการลงทุนระยะยาว โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมใกล้แนวรถไฟฟ้าระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ย่านสุขุมวิทเป็นตลาดที่มีช่องทางเติบโตสูงและมีซัปพลายไม่มาก จากปีก่อนมีโครงการอยู่ระหว่างก่อสร้างรวม 28,000 ยูนิต ปัจจุบันเหลือขายเพียง 6,000 ยูนิตเท่านั้น แน่นอนว่า นั่นคือเหตุผลสำคัญที่เคพีเอ็น กรุ๊ป ตัดสินใจลงทุนโครงการคอนโดมิเนียมระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ทันทีที่คว้าที่ดินผืนสุดท้ายในซอยสุขุมวิท 39 เพราะจุดที่ตั้งอยู่ห่างจากบีทีเอส สถานีพร้อมพงษ์

Read More

NEDA เชื่อมเศรษฐกิจเพื่อนบ้าน ผ่านระบบราชการไทย

 ความเป็นองค์การมหาชนของ สพพ. (สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน) หรือ NEDA หน่วยงานที่มีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและด้านวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อส่งเสริมให้ประเทศเพื่อนบ้านเกิดการพัฒนาจนสามารถก้าวเดินไปสู่หมุดหมายที่สำคัญพร้อมๆ กัน ที่ผ่านมา NEDA ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและด้านวิชาการต่อประเทศเพื่อนบ้านหลายต่อหลายโครงการ ถึงกระนั้นก็ยังไม่อาจสร้างภาพลักษณ์เทียบเท่าหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ไม่แตกต่างกันอย่าง ADB (Asian Development Bank) หรือ JICA (Japan International Cooperation Agency) ต่อสายตาคนภายนอกได้  กระทั่งปีนี้รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มอบหมายงานสำคัญให้ NEDA ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายหลักด้านการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วน สังเกตได้จากการลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ลงนามไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2557 หลัง คสช. เข้ามาควบคุมสถานการณ์ทางการเมืองได้ไม่นาน  และเมื่อวันที่ 19 มกราคม ที่ผ่านมา ได้กำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และล่าสุดยังแสดงวิสัยทัศน์ไกลออกไปตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ ด้วยความพยายามใหม่ที่จะปลุกปั้นเขตเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มอีก 36 ตำบล ใน 10 อำเภอ ของ 5 จังหวัดชายขอบ ทั้งนี้ศักราชใหม่ของ NEDA ที่มีโครงการเกิดใหม่และโครงการที่ยังต้องการการสานต่อหลายโครงการ

Read More

Make a Change Agenda กับการมาของ เนวิน สินสิริ

 การมาถึงของเนวิน สินสิริ ในช่วงการเปลี่ยนผ่านอำนาจการปกครองของรัฐบาล แม้ไม่อาจเรียกความมั่นใจให้หน่วยงานภาครัฐกึ่งเอกชนอย่างสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ สพพ. ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังได้ แต่ประสบการณ์การทำงานร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หรือ ADB (Asian Development Bank) ที่มีชั่วโมงบินมากกว่า 20 ปี อาจช่วยให้ผู้ปฏิบัติภายใต้ระบบงานแบบราชการมั่นใจขึ้นได้บ้าง  กระนั้นปัญหาแรกที่ผู้อำนวยการคนใหม่ของ NEDA ต้องเจอน่าจะเป็นเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับระบบการทำงานใหม่ จากที่เคยชินกับความเป็นสากลที่ได้รับมาจาก ADB แต่ต้องมาทำงานในระบบราชการกับองค์การมหาชนอย่าง NEDA  งานของ NEDA ดูจะเป็นงานที่ท้าทายความสามารถของเนวินไม่น้อย อีกทั้งยังเป็นงานที่ต้องใช้พลวัตทางใจพอสมควรเพราะหน่วยงานอย่าง NEDA ที่ดูจากเปลือกนอกแม้จะมีความเป็นเอกชนอยู่ แต่ก็ไม่ได้เป็นเอกเทศที่จะหลุดพ้นจากการแทรกแซงทางการเมืองภายในได้ ซึ่งไม่ว่าหน่วยงานราชการไหนก็คงต้องประสบปัญหาหรือได้รับผลกระทบทางการเมืองอยู่บ้าง และการถูกแทรกแซงในรูปแบบนี้เองที่จะเป็นตัวการสำคัญที่ฉุดความก้าวหน้าขององค์กร ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานเมื่อครั้งยังอยู่ที่ ADB ของเนวินนั้น หลายคนคงจะแปลกใจอยู่บ้างถึงสาเหตุของการตัดสินใจเข้ามาร่วมงานกับ NEDA “ถึงเวลาต้องกลับบ้าน” ประโยคที่ทำให้อดีตนายธนาคารตัดสินใจกลับมาใช้ความชำนาญในบ้านเกิดเมืองนอน งานใหม่ที่มาพร้อมกับความท้าทาย ช่วงเวลาสำคัญที่เนวิน สินสิริ เข้ามารับหน้าที่ในการบริหารองค์การมหาชน คือช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมืองจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สู่การยึดอำนาจของ คสช. ช่วงเวลาที่ใครหลายคนอาจคิดได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากจะทำงาน หากแต่นโยบายที่สำคัญของรัฐบาลนี้กลับเป็นเรื่องของการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวตะเข็บชายแดน  นับเป็นปีแรกของการทำงานที่ต้องเจอกับบททดสอบในทันทีเมื่อมีการบ้านเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่มีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจากรัฐบาลออกมา แน่นอนว่าผู้อำนวยการ NEDA ต้องกล้าพอที่จะ Make a

Read More

วิถีแห่งลุ่มน้ำโขง แสงแดด สายหมอก และยาเส้น

 ก่อนจะถึง AEC ระยะทางเกือบหนึ่งพันกิโลเมตรที่แม่น้ำโขงไหลผ่านพรมแดนไทย-ลาว จากสามเหลี่ยมทองคำ จ.เชียงราย สู่สามเหลี่ยมมรกต จ.อุบลราชธานี นอกจากจะทำหน้าที่ขีดกั้นเส้นแบ่งพรมแดนแล้ว ยังหล่อเลี้ยงและหล่อหลอมผสานความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมของผู้คนทั้งสองฝั่งมาช้านาน ในช่วงฤดูหนาว อากาศที่เย็นยะเยือกอาจจะทำให้ใครหลายคนไม่ยอมลุกขึ้นจากเตียงนอนอันอบอุ่น แต่เกษตรกรชาวไร่ยาสูบบ้านปากมาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ที่อาศัยตลิ่งริมน้ำโขงเป็นที่เพาะปลูกมานานนับร้อยปี อาจจะใช้ชีวิตแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง “ช่วงนี้จะได้นอนก็แค่วันละ2-3 ชั่วโมง บางวันก็ไม่ได้นอน เพราะยา (ใบยาสูบ) จะสุกเกินไป เดี๋ยวซอยไม่ทัน” ตุ้ม สาวชาวนาที่มาเป็นสะใภ้ชาวไร่ยาสูบได้ 16 ปี เล่าให้ฟังถึงวิถีประจำวันชาวไร่ยา ฤดูการเก็บเกี่ยวใบยาสูบจะเริ่มช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่แดดลงจัด ชาวไร่ยาจะเริ่มเก็บใบยาที่แก่และโดนแดดเต็มที่ ตอนประมาณบ่ายสามโมงถึงสี่โมงเย็น ขึ้นอยู่กับจำนวนใบยา จากนั้นจะนำมาบ่มด้วยผ้ายางไว้สักสองสามวันขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ วิถีชีวิตของชาวไร่ยาสูบขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศเป็นอย่างมาก หากแดดไม่ดี แม้ใบยาจะแก่ก็ยังไม่สามารถเก็บได้ ก่อนหน้านี้สอง-สามอาทิตย์ เกิดฝนหลงฤดู ทำให้กระบวนการเก็บใบยาของชาวไร่ที่นี่ต้องชะงักไป ไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ เพราะจะทำให้ใบยาเสียหาย กระบวนการเก็บเกี่ยวใบยาเริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อบ่มใบยาจนได้ที่แล้ว พวกเขาจะเริ่มงานเวลาประมาณ 02.00 น ต้องฝ่าความหนาวและไอหมอก มานั่งซอยใบยาที่บ่มได้ที่ ให้เป็นเส้นๆ ก่อนที่จะนำไปตากบน “แตะยา” ซึ่งเป็นไม้ไผ่สานขัดแตะ กว้างประมาณ 80

Read More

SCG: บนยุทธศาสตร์คู่ขนาน รุกสู่ภูมิภาคและพัฒนา HVA

 “ปีนี้จะเป็นปีทองของอาเซียน ขณะที่นโยบายภาครัฐและการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตถึง 4%” กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (SCG) กล่าวอย่างมั่นใจในงานแถลงผลประกอบการประจำปีของบริษัทฯ ความมั่นใจของกานต์ ตระกูลฮุน หัวเรือใหญ่ของ SCG ตั้งอยู่บนฐานของข้อเท็จจริงที่ว่า ในปีที่ผ่านมา SCG สามารถสร้างรายได้จากการรุกคืบเข้าสู่ ASEAN ตามแผน Go Regional ได้อย่างเป็นกอบเป็นกำในระดับที่ทะลุ 1 แสนล้านบาทได้เป็นปีแรก และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อไปในอนาคต โดยในปีที่ผ่านมา SCG มีรายได้จากแผนธุรกิจในอาเซียน 100,912 ล้านบาทโดยมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจฐานการผลิตในภูมิภาค 44,397 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 จากปี 2556 ในขณะที่รายได้ในการส่งออกไปอาเซียน 56,615 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อย 21 จากปี 2556  กรณีดังกล่าวในด้านหนึ่งสะท้อนให้เห็นความสำเร็จในกลยุทธ์การตลาด และความสามารถในการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้บริโภคอาเซียน ด้วยเหตุที่ SCG เป็นองค์กรขนาดใหญ่ ย่างก้าวของ SCG จึงไม่ได้เกิดขึ้นอย่างไร้ทิศทาง

Read More

KLICK2JOY แผนบุก PTT Online

 ปตท. กำลังเร่งเปิดแนวรบธุรกิจค้าปลีกทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการบุกเข้าสู่สมรภูมิใหม่ในยุคเทคโนโลยีขยายตัวอย่างรวดเร็วและตลาดอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตก้าวกระโดด ผลพวงจากนโยบาย “Digital Economy” ที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2558   การนำร่องเว็บไซต์ชอปปิ้งออนไลน์ CLICK2JOY ของยักษ์น้ำมันอย่าง ปตท. จึงตั้งเป้าหมายรุกเข้าสู่ธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ เจาะกลุ่มผู้บริโภคตามแผนโรดแมป 5 ปีแรก เริ่มตั้งแต่ปี 2558-2562 สอดประสานกับเครือข่ายค้าปลีกที่เดินหน้าสยายปีกครอบคลุมกลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ มินิซูเปอร์มาร์เก็ตจิฟฟี่ ร้านจอยคาเฟ่คอนวีเนียน ร้านอาหารในเครือจิฟฟี่ ร้านชานมไข่มุก “เพิร์ลลี่ ที” ร้านกาแฟ “คาเฟ่ อเมซอน” รวมทั้งยังมีฐานลูกค้าสมาชิก “บลูการ์ด” อีกส่วนหนึ่งจากธุรกิจน้ำมัน แม้ช่วงเวลากว่า 6 เดือน เว็บไซต์ CLICK2JOY ยังทำรายได้ยอดขายเฉลี่ยเพียงหลักแสนบาทต่อเดือน เนื่องจากหลังเผยโฉมอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนสิงหาคม 2557 ยังไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์สู่สื่อสาธารณะ แต่อาศัยการบอกต่อลูกค้าผ่านร้านจิฟฟี่และเครือข่ายสังคมออนไลน์เท่านั้น ทำให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการสั่งซื้อสินค้าจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มผู้เล่นอินเทอร์เน็ตและลูกค้าประจำของร้านจิฟฟี่  สรีนา แซ่ด่าน ผู้จัดการส่วนบริหารแบรนด์และกิจกรรมการตลาดลูกค้า บริษัท

Read More

“คาเฟ่คอนวีเนียน” ยุทธศาสตร์ใหม่ของ ปตท.

 ยักษ์น้ำมัน ปตท. ใช้เวลาจัดกระบวนทัพธุรกิจค้าปลีกอยู่นานหลายปี แตกไลน์พัฒนาโมเดลอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด  เปิดตัว “Joy Cafe Convenience” บุกสมรภูมิใหม่ชนเจ้าตลาดคอนวีเนียนสโตร์อย่าง “เซเว่น-อีเลฟเว่น” และคู่แข่งที่กำลังรุกหนัก ทั้ง “แฟมิลี่มาร์ท” และ “ลอว์สัน 108” เปลี่ยนจากแนวรบ G-Store สู่การเจาะทุกเซกเมนต์ในสงครามค้าปลีก เพื่อสร้างรายได้มูลค่ามหาศาลในกลุ่มธุรกิจ Non-oil ซึ่งมีส่วนต่างกำไรมากกว่าธุรกิจน้ำมันหลายเท่าตัว  ปัจจุบันเครือข่ายค้าปลีกในอาณาจักร ปตท. ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด หรือ PTTRM ซึ่งบริษัทแม่จัดตั้งขึ้นมาภายหลังทุ่มทุนซื้อกิจการสถานีบริการน้ำมัน “เจ็ท” และร้านค้าสะดวกซื้อ “จิฟฟี่” จากบริษัท ConocoPhillips สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2555 ต่อยอดจากแบรนด์ “จิฟฟี่” เพิ่มโมเดลมินิซูเปอร์มาร์เก็ตภายใต้ชื่อ “จิฟฟี่ ซูเปอร์เฟรชมาร์เก็ต” ก่อนพัฒนาเป็น “จิฟฟี่ พลัส ซูเปอร์มาร์เก็ต”  ขณะเดียวกันสร้างร้านค้าปลีกในกลุ่มร้านอาหารทั้งจิฟฟี่ คิทเช่น และจิฟฟี่ บิสโทร

Read More

สงคราม “นอนออยล์” ปตท. รุกตลาดฮุบเรียบ

 สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อ่อนวูบต่อเนื่องชนิดร่วงต่ำสุดในรอบหลายปี รวมถึงส่วนต่างกำไรที่น้อยมากส่งผลให้ค่ายน้ำมันเร่งปรับกลยุทธ์ขยายธุรกิจกลุ่มที่ไม่ใช่น้ำมัน หรือ Non-oil  โดยเฉพาะ ปตท. วางยุทธศาสตร์บุกอย่างจริงจัง แตกไลน์ธุรกิจอย่างกว้างขวาง และล่าสุดประกาศโรดแมประยะ 5 ปี ตั้งเป้าหมายรุกธุรกิจนอนออยล์ ไม่ใช่แค่ทุกโอกาส แต่ทำแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ต้นน้ำยันปลายน้ำ ระยะเวลากว่า 8 ปี หลังบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซื้อกิจการสถานีบริการน้ำมัน “เจ็ท” และร้านค้าสะดวกซื้อ “จิฟฟี่” จากบริษัท ConocoPhillips สหรัฐอเมริกา โดยจัดตั้งบริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด หรือ PTTRM เป็นผู้บริหารแยกออกจากปั๊ม ปตท. ของบริษัทแม่ รวมถึงบุกขยายธุรกิจกลุ่มนอนออยล์ต่อยอดจากแบรนด์ “จิฟฟี่”  ปัจจุบัน PTTRM บริหารธุรกิจสถานีบริการน้ำมันภายใต้แบรนด์ “ปตท. Jiffy” 150 แห่ง และธุรกิจนอนออยล์อีก  4 กลุ่มหลัก แยกเป็นกลุ่มแรก “ธุรกิจค้าปลีก”

Read More