Home > Cover Story (Page 144)

หอมกรุ่นชา TWG จากไลฟ์สไตล์สู่ธุรกิจ Slow Life

 ในฐานะซีอีโอหนุ่มต้องดูแลอาณาจักรธุรกิจหลายหมื่นล้านของครอบครัว ชีวิตอีกมุมหนึ่งของ ยุทธชัย จรณะจิตต์ หลงใหลเสน่ห์อันหอมกรุ่นและรสชาติละเมียดละไมของเครื่องดื่มชา ชนิดที่ดื่มแทนน้ำได้ตลอดทั้งวัน และด้วยความชอบส่วนตัวบวกกับวัฒนธรรมการดื่มชาที่ขยายวงกว้างมากขึ้น กลายเป็นจุดเริ่มต้นธุรกิจ ซึ่งสร้างรายได้เติบโตต่อเนื่องให้กับกลุ่มอิตัลไทยอย่างไม่คาดคิด ย้อนกลับไป 2 ปีก่อนหน้า ยุทธชัยตัดสินใจติดต่อขอทำสัญญาบริหารลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ชาหรูระดับโลก TWG Tea salon&Boutique ในประเทศไทย กับ เดอะ เวลเนส กรุ๊ป (The Wellness Group) ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีเครือข่ายการจัดจำหน่ายชาระดับสากล มีความเชี่ยวชาญและเป็นต้นแบบของร้านบูติคชาค้าปลีก ร้านชาสุดหรู มีประวัติศาสตร์อันยาวนานตั้งแต่ปี ค.ศ.1837 เพราะถือเป็นสถาบันที่ก่อตั้งเพื่อเฉลิมฉลองประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของเกาะสิงคโปร์ ตั้งแต่ยุคเริ่มมีการซื้อขายชากันอย่างเป็นทางการ  ปัจจุบัน TWG มีสาขาร้านทีซาลอนมากกว่า 50 แห่ง ใน 15 ประเทศทั่วโลก ในเมืองใหญ่ๆ เช่น โตเกียว ลอนดอน ดูไบ เซี่ยงไฮ้ โซล และกรุงเทพฯ  ล่าสุด กลุ่มบริษัทอิตัลไทยเปิดสาขารูปแบบทีซาลอน 3 แห่ง ที่

Read More

ยุทธชัย จรณะจิตต์ “ยุคของผม อิตัลไทยจะโตเร็วขึ้น”

 “อิตัลไทยอยู่มา 60 ปี ค่อยๆ โตอย่างมั่นคง 60 ปี แต่การค่อยๆ โตไม่ทันกับการแข่งขัน ไม่ทันกับการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เราต้อง Double Scale ในยุคของผม เราจะโตเร็วขึ้น มีเป้าหมายมากขึ้น” คำกล่าวของยุทธชัย จรณะจิตต์ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทอิตัลไทย ตอกย้ำถึงก้าวย่างที่ท้าทายจาก 6 ทศวรรษสู่การบริหารงานในยุคเจเนเรชั่นที่ 3 กับสงครามธุรกิจระลอกใหม่ ภายใต้สถานการณ์ที่เรียกว่า “AEC Effect” โดยมีเป้าหมายใหญ่ การเติบโตแบบก้าวกระโดด 2 เท่าในทุกกลุ่มธุรกิจเป็นเดิมพัน แน่นอนว่า ยุทธชัยเข้ามารับไม้ต่อบริหารธุรกิจหมื่นล้านอย่างไม่ทันตั้งตัวจากผู้เป็นพ่อ “อดิศร จรณะจิตต์” ซึ่งเสียชีวิตกะทันหันด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตก ต้องใช้เวลากว่า 10 ปี เรียนรู้กลยุทธ์ต่างๆ จากนิจพร จรณะจิตต์ ซึ่งเป็นทั้งแม่ และบุตรสาวคนเก่งของ นพ.ชัยยุทธ กรรณสูต ผู้บริหารกุมอำนาจหลักในบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

Read More

60 ปีสู่อาณาจักรธุรกิจยักษ์ใหญ่

 จุดเริ่มต้นของอาณาจักรธุรกิจกลุ่มอิตัลไทยเปิดฉากตั้งแต่ปี 2487 เมื่อหมอชัยยุทธ กรรณสูตได้รับการขอร้องจากน้องเขย “เผด็จ ศิวะทัต” ซึ่งทำธุรกิจด้านกู้เรือและกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับงานการกู้เรือของกรมเจ้าท่าที่ปากน้ำ เผด็จต้องการว่าจ้างบริษัทมาริโอ เอ็ม โคลัมโบ จากประเทศอิตาลี ซึ่งขณะนั้นมารับจ้างดำเนินงานกู้เรือให้บริษัทสัญชาติฝรั่งเศสในประเทศเวียดนาม เพื่อกู้เรือกรมเจ้าท่า แต่เผด็จไม่มีความรู้ด้านภาษาอิตาเลียน  หมอชัยยุทธจึงรับภาระการติดต่อจนสำเร็จและได้รู้จักกับจิออร์จิโอ แบร์ลิงเจียรี่ ผู้จัดการชาวอิตาลีของบริษัทมาริโอ เอ็ม โคลัมโบ ทั้งสองคนกลายเป็นเพื่อนรักและตัดสินใจร่วมทุนจัดตั้งบริษัท อิตัลไทยอุตสาหกรรม (ITI) ในปี 2498 ทำธุรกิจนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย รวมถึงบริการงานด้านวิศวกรรมด้วย  ปี 2501 ทั้งคู่แตกไลน์ทำธุรกิจก่อสร้าง เปิดบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเม้นท์ (ไอทีดี) ในช่วงรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งกำลังเปิดประเทศรับสหรัฐอเมริกาเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เกิดโครงการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคจำนวนมาก รวมถึงรัฐบาลเร่งนโยบายปราบปรามคอมมิวนิสต์ กระตุ้นการพัฒนาชนบทผ่านงบประมาณของรัฐและความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ซึ่งทุ่มไปในเรื่องการสร้างถนนหนทางสายยุทธศาสตร์ในชนบท อิตาเลียนไทยได้รับงานจากโครงการรัฐจำนวนมากและเติบโตอย่างรวดเร็วกลายเป็นธุรกิจที่ทำรายได้หลักให้กับกลุ่มอิตัลไทย จากรายได้ปีแรกอยู่ที่ 40 ล้านบาท พุ่งขึ้นเท่าตัวทุกปี  ปี 2509 อิตัลไทยขยายเข้าสู่ธุรกิจโรงแรม โดยซื้อกิจการโรงแรมนิภาลอร์ด พัทยา  ปี 2511 แบร์ลิงเจียรี่เข้าถือหุ้นใหญ่ในโรงแรมโอเรียนเต็ล จากบริษัทหลุยส์ ตี เลียวโนเวนส์

Read More

Discover THAINESS ปีของการค้นหาวิถีไทย?

 หลังจากการจุดพลุภายใต้ ธีม “ปีท่องเที่ยววิถีไทย 2558 หรือ 2015 Discover THAINESS ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (ททท.) คาดหวังว่าจะช่วยสร้างรายได้เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย ด้วยการตั้งเป้ารายได้สูงถึง 2.2 ล้านล้านบาท โดยคาดหวังจากตลาดท่องเที่ยวในประเทศ 8 แสนล้านบาท และตลาดต่างประเทศ 1.4 ล้านล้านบาท ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเยือนประเทศไทยเพิ่มขึ้น 13% เป็น 28 ล้านคน ถือเป็นการจุดพลุครั้งใหญ่เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ และสร้างการรับรู้ความเป็นไทยที่เปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์อันโดดเด่นด้านขนบธรรมเนียมประเพณีไทย, ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนความเป็นอยู่ในแบบวิถีไทย ที่พบเห็นได้ทั่วทุกถิ่นไทย ทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวไทยในปี 2558 ภายใต้ธีมดังกล่าว พร้อมเน้นย้ำแบรนด์ “Amazing Thailand: Happiness Within” นำส่งความสนุกสนานแบบไทยๆ พร้อมการขับแคลื่อนของภาครัฐและเอกชน จัดกิจกรรมพิเศษนานาชาติเป็นปฏิทินท่องเที่ยวตลอดทั้งปี ขณะที่ในปีนี้จะเน้นนักท่องเที่ยวคุณภาพมากขึ้นเพื่อสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างการส่งเสริมตลาด และการอนุรักษ์ทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยเชื่อมั่นว่าในปี 2558 นี้ การท่องเที่ยวจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ หากมีการวางแผนงานที่ดี โดยจะเน้นการเพิ่มรายจ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะกลุ่มเอฟไอที (นักท่องเที่ยวเดินทางเอง)  สำหรับทิศทางการดำเนินงานของ ททท.ในปีนี้

Read More

หวังท่องเที่ยวไทยคึก หลังเลิกกฎอัยการศึก

 เสถียรภาพของประเทศไทยในสายตาประชาคมโลกคงจะมีภาพลักษณ์ดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา หลังรัฐบาลประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกไปเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 1 เมษายน 2558 ซึ่งตรงกับวัน April Fool’s Day “วันโกหก” หรือที่ใครหลายคนอาจจะรู้จักกันในชื่อว่า “เมษาหน้าโง่” ทั้งนี้ยังมีแรงหนุนจากรัฐบาลที่ผุดนโยบายต่างๆ ในการที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้ดีขึ้นตามลำดับ ในขณะที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดเผยตัวเลข GDP ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2558 ที่คาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มเติบโตถึงร้อยละ 4.1 แม้หลายๆ ปีที่ผ่านมาการส่งออกของไทยจะสร้างรายได้อย่างมหาศาลให้แก่ประเทศ แต่คงไม่ใช่ปีนี้เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่กำลังชะลอตัวลงส่งผลให้ประเทศคู่ค้าลดปริมาณการใช้จ่ายและการบริโภคสินค้า อุตสาหกรรมที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศดูจะหนีไม่พ้นเรื่องการท่องเที่ยว ที่ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองกำลังพยายามผลักดันจนเกิดนโยบาย “ปีท่องเที่ยววิถีไทย 2558” (2015 Discover Thainess) ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างตอบสนองนโยบายนี้อย่างรวดเร็วเสมือนเครื่องจักรกลชั้นดี เมื่อกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินแนวทางนโยบายใหม่โดยส่ง “ขบวนปีท่องเที่ยววิถีไทย 2558” ให้มาโลดแล่นบนถนนสำคัญย่านธุรกิจเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยหวังให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้รู้จักประเพณี วัฒนธรรม และเข้าใจวิถีชีวิตความเป็นไทยที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานภายในระยะเวลา 5 วัน  นับตั้งแต่รัฐบาลมีนโยบาย “ปีท่องเที่ยววิถีไทย” ออกมา หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างพากันจัดกิจกรรม โดยนโยบายตั้งกล่าวเป็นโจทย์หลักและกลายเป็นหมุดหมายสำคัญในการจัดงาน กระทั่งล่าสุดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยเองได้ผุดโครงการ “เปิดกล้อง ส่องเลนส์ 12 เมืองต้องห้าม....พลาด”  กิจกรรมที่เปิดเส้นทางการท่องเที่ยววิถีไทย โดยนำเสนอผ่านภาพถ่ายจากฝีมือช่างภาพชั้นนำของประเทศไทย ซึ่งบันทึกภาพบอกเล่าเสน่ห์ของเมืองนั้นๆ ที่สร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือน โดย

Read More

การท่องเที่ยวไทย กลางมรสุมของการแข่งขัน

 การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย ที่สามารถทำรายได้ให้กับประเทศในลำดับต้นๆ ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจหลายประการ ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา ภาคการท่องเที่ยวถือเป็นภาคเดียวที่ยังมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขยายตัวตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีนและมาเลเซีย ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนธันวาคม 2557 มีจำนวน 2,841,333 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 ถือว่าเป็นการส่งสัญญาณการเริ่มต้นที่ดีของการท่องเที่ยวไทย  หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างเร่งทำการตลาดประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไทยอย่างเข้มข้น ทั้งจัดกิจกรรมภายในประเทศ และทำการตลาดในประเทศที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญของไทย ภายใต้แคมเปญ “ปีท่องเที่ยววิถีไทย 2558 หรือ 2015 Discover Thainess” เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมไทย  นอกเหนือจากทำการตลาดในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก ยังได้ขยายไปยังจังหวัดท่องเที่ยวรอง ซึ่งจากการจัดทำแผนกระตุ้นการท่องเที่ยวไทยเชิงรุกนั้นคาดว่าจะช่วยจูงใจให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นหนึ่งในปลายทางท่องเที่ยวอันดับต้นๆ  อิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) แจ้งผลดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวไตรมาส 1/2558 เท่ากับ 99 ซึ่งเป็นระดับปกติ ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 ปี 2557 สะท้อนให้เห็นสถานการณ์ท่องเที่ยวในประเทศได้เข้าสู่ภาวะปกติ ส่วนในไตรมาสที่ 2/2558 เท่ากับ 101 ซึ่งเป็นการคาดการณ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีผลจากสภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวก็ตาม ขณะเดียวกันท่ามกลางเทศกาลท่องเที่ยว และวันหยุดยาวหลายช่วง ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดในช่วงวันจักรี (4-6 เม.ย)

Read More

“กลับมาเถิดวันวาน” สงกรานต์แบบไทยเบฟ

 แสงสีทองของดวงอาทิตย์กำลังทอดยาวลงบนพื้นผิวของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตริมสองฝั่งของแม่น้ำมาหลายชั่วอายุคน แต่การนั่งเรือเลียบเลาะแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบันอาจจะเห็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมน้อยลงจนเรียกได้ว่าหายากมากขึ้นทุกที วิถีชีวิตของผู้คนที่ไม่เร่งรีบและดำเนินชีวิตไปตามครรลองด้วยความเรียบง่าย ค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยที่นำความเจริญก้าวหน้ามาเคาะถึงประตูบ้าน ชนิดที่เรียกว่าตั้งตัวกันแทบไม่ทัน  เครื่องไม้เครื่องมืออันทันสมัยซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญในการทำให้ชีวิตง่ายขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบันที่เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ส่งให้บรรดาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ กำลังถูกปรับเปลี่ยนและถูกกลืนหายไป จนเจนเนอเรชั่นรุ่นใหม่ๆ น้อยคนนักที่จะรู้จัก วิถีแบบดั้งเดิมที่เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ ดังเช่นประเพณีสงกรานต์ที่ดูจะเห็นได้ชัดเจนที่สุด จากเดิมที่เมื่อถึงวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี คนไทยมักจะเริ่มต้นปีใหม่ไทยด้วยการเข้าวัดทำบุญตักบาตรรับสิริมงคล รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ จากนั้นจึงสาดน้ำเล่นสงกรานต์ด้วยขันเล็กๆ ที่สนุกกันแต่พองาม  ความเปลี่ยนแปลงของประเพณีที่เต็มไปด้วยความดีงาม ทำให้องค์กรภาครัฐหลายหน่วยงานให้ความสนใจที่จะเข้ามาปรับภาพลักษณ์และดึงเอาภาพจำในวันวานกลับคืนมา เพื่อหวังให้เยาวชนรุ่นใหม่ รวมไปถึงนักท่องเที่ยวได้มีโอกาสที่จะเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ทวด ในขณะที่ภาคเอกชนเองมองเห็นโอกาสเหล่านี้ในแง่มุมเชิงธุรกิจ หยิบประเด็นนี้มาทำการตลาดอันอาจจะนำมาซึ่งผลกำไรรวมถึงสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกต่อองค์กรในสายตาของผู้บริโภค  ล่าสุดไทยเบฟเจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มอันดับต้นๆ ของไทย จับธีมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมาเป็นตัวชูโรงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึงในเดือนหน้า พร้อมแนวความคิดของกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) อย่างฐาปน สิริวัฒนภักดี ที่ว่า “ไทยเบฟ มีปณิธานอันแน่วแน่ที่ต้องการจะบอกเล่าความเป็นไทยไปทั่วโลก พร้อมย้ำแนวคิดเรื่องการท่องเที่ยววิถีไทย ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาล” โค้งน้ำเจ้าพระยาคือจุดยุทธศาสตร์ที่ไทยเบฟจับมาเป็นจุดขายของงาน Water Festival 2015 เทศกาลวิถีน้ำ วิถีไทย ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน

Read More

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ “เด็กดี?” ในยุคดิจิตอล อีโคโนมี

 หากอัตราการรู้หนังสือรวมถึงปริมาณหนังสือที่ผู้คนในสังคมอ่านเฉลี่ยในแต่ละปี จะเป็นส่วนหนึ่งของดัชนีและมาตรวัดความจำเริญเติบโตทางสติปัญญาของสังคมนั้นๆ ได้บ้าง ความพยายามที่จะสร้างเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการอ่านผ่านกิจกรรมสัปดาห์หนังสือแห่งชาติซึ่งดำเนินมาเป็นปีที่ 43 ในครั้งนี้ ก็คงเป็นภาพสะท้อนวิวัฒนาการของสังคมไทยได้อย่างชัดเจนไม่น้อย ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการรณรงค์ส่งเสริมให้คนไทยตั้งแต่เด็ก เยาวชน ตลอดจนผู้ใหญ่ทุกอาชีพเห็นถึงความสำคัญของการอ่าน และอ่านหนังสืออย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู และบรรณารักษ์รู้เทคนิควิธีการส่งเสริมการอ่านแก่เด็กและเยาวชนอย่างเหมาะสมและได้ผล รวมถึงเพื่อเปิดโอกาสให้คนไทยได้เห็นหนังสือจากนานาชาติ เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เห็นถึงการพัฒนาและเติบโตของโลกหนังสือของต่างประเทศ และในทางกลับกันเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติได้เห็นหนังสือไทย และสร้างโอกาสให้นักเขียนและสำนักพิมพ์ของไทยได้ขายลิขสิทธิ์สู่ต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้สำนักพิมพ์ในประเทศไทยเกิดความตื่นตัวปรับปรุงพัฒนาการผลิตหนังสือให้มีคุณภาพ มีความหลากหลายที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน และการพัฒนาประเทศในทุกด้าน ตลอดจนเรียนรู้และปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องนี้ ดูเหมือนกิจกรรมสัปดาห์หนังสือแห่งชาติจะเป็นประหนึ่งประตูบานใหญ่ที่เปิดออกไปสู่โลกกว้าง หากแต่ในความเป็นจริงและความเป็นไปแห่งยุคสมัย ที่หลายฝ่ายกำลังพูดถึง ดิจิตอล อีโคโนมี วันละหลายเวลา และช่องห่างความแตกต่างระหว่างการอ่านและการดู ตีบแคบจนหลายฝ่ายเข้าใจคลาดเคลื่อน บางทีคุณค่าความหมายของสัปดาห์หนังสือแห่งชาติในปีนี้ อาจเป็นความท้าทายครั้งใหม่ที่มีความแหลมคมอย่างยิ่ง โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การจัดงานที่นอกจากจะมีข้อความรายละเอียดชื่องานและกำหนดเวลา สถานที่จัดงานแล้ว ยังปรากฏข้อความ “เด็กดี?” ให้ต้องไขปริศนา ที่ต้องเกิดจากการอ่านที่ไม่ใช่การดู ได้อย่างแยบคายและลงตัว ขณะที่ในพื้นที่การจัดงานนอกจากจะประกอบด้วยนิทรรศการและเวทีเสวนาในหัวข้อที่หลากหลายแล้ว นิทรรศการภายใต้หัวข้อ “เพราะเป็นเด็กจึงเจ็บปวด” เป็นประหนึ่งการยั่วแย้งและย้อนแยงให้ผู้เข้าชมงานต้องตระหนักถึงคุณค่าของการอ่านเพิ่มขึ้นอีก “เพราะเป็นเด็กจึงเจ็บปวด” เป็นนิทรรศการที่ได้รับการสนับสนุนการจัดจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยเป็นนิทรรศการที่นำเสนอตัวอย่างบางส่วนของหนังสือและถ้อยคำที่สะท้อนความจริงของวัยเด็ก ช่วยเปิดโลก กระตุ้นจินตนาการ ทลายกรงขัง และเป็นแรงขับให้เด็กจำนวนมากได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ด้วยหนทางแห่งปัญญามาแล้วหลายยุคสมัย โดยหวังว่าจะเป็นการเปิดหน้าต่างสู่โลกกว้างให้กับเด็กๆ ที่ได้เข้าชม และในขณะเดียวกันก็เป็นกระจกสะท้อนผู้ใหญ่บางท่านที่อาจยังไม่รู้ตัวว่าตนเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความเจ็บปวดให้กับเด็ก “การเรียนรู้ที่สำคัญในวัยเด็ก ถ้อยคำที่นำพาเด็กไปสู่การมีสติปัญญาอย่างเข้มแข็ง

Read More

ประเมินมอเตอร์โชว์ 2015 เศรษฐกิจไทย ฟื้นหรือฟุบ?

 มหกรรมยานยนต์ช่วงต้นปี “บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2015 ครั้งที่ 36” ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วไปในสังคมไทยไม่น้อย ไม่เฉพาะในมิติที่เกี่ยวเนื่องกับการอวดโฉมยนตรกรรมภายใต้แนวคิด “Art of Auto” และการแข่งขันในการช่วงชิงกำลังซื้อของบรรดาค่ายรถยนต์แต่ละค่ายเท่านั้น หากแต่กิจกรรมระดับชาติที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีครั้งนี้ กำลังเป็นอีกส่วนหนึ่งของดัชนี และมาตรวัดที่จะช่วยสะท้อนสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยว่ากำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว ตามคำประกาศของภาครัฐหรือกำลังถอยหลังทยอยฟุบอย่างที่ประชาชนทั่วไปรู้สึกกัน การคาดหมายยอดจองรถยนต์ภายในงาน ที่ทางฝ่ายผู้จัดงานประเมินไว้เบื้องต้นที่ 40,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย ถือเป็นการประเมินที่พยายามยืนอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ที่อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยดูจะซบเซา แม้ว่าค่ายรถยนต์พยายามจะแข่งขันและกระตุ้นกำลังซื้อในตลาดก็ตาม ข้อสังเกตที่พบเห็นได้ในช่วงก่อนการแสดงงานมอเตอร์โชว์ปีนี้ อยู่ที่การระดมประชาสัมพันธ์และโหมโฆษณาจากค่ายรถยนต์หลากหลาย ในลักษณะที่ระบุว่า ซื้อรถเงื่อนไขเดียวกับมอเตอร์โชว์ แต่ดูเหมือนการกระตุ้นให้ตัดสินใจซื้อก่อนงานแสดงมอเตอร์โชว์จะไม่ค่อยได้ผลนัก แม้จะมีส่วนลดสูงถึงระดับ 5 หมื่นถึง 1 แสนบาทก็ตาม ซึ่งสะท้อนความไม่มั่นใจของผู้บริโภคได้ในระดับหนึ่ง แต่หากประเมินในแง่ดี ในมิติที่เป็นเพียงการประวิงเวลาและพิจารณาเงื่อนไขภายในงานก่อนการตัดสินใจ กำลังซื้อที่รอคอยจังหวะอยู่นี้ ก็อาจช่วยให้ตัวเลขการจองรถยนต์ภายในงานสามารถบรรลุเป้าหมายที่คาดการณ์ได้ไม่ยาก “ทุกค่ายรถยนต์ ก็ต้องพยายามต่อสู้ดิ้นรนไม่มีใครยอมแพ้ แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะดีไม่ดีอย่างไร ก็คงไม่มีใครถอนตัวหรือหยุดความเคลื่อนไหวจากการแข่งขันนี้ได้” ปราจิน เอี่ยมลำเนา ประธานกรรมการ บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในฐานะประธานจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่

Read More

ปิดฉาก “ลาดหญ้า” เซ็นทรัลซุ่มบิ๊กโปรเจกต์

 6 เมษายน 2558  ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาลาดหญ้า จะเปิดทำการเป็นวันสุดท้าย ก่อนปิดฉากอย่างเป็นทางการ แต่เซ็นทรัลกรุ๊ปในฐานะเจ้าของที่ดินผืนใหญ่บริเวณนั้นเตรียมโปรเจกต์ลงทุนธุรกิจใหม่รับโครงการสถานีรถไฟฟ้าอีก 2 เส้นทาง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตั้งอยู่บนถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-มหาชัย ตามแนวเส้นทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งคาดว่าจะพลิกโฉมทำเลครั้งใหญ่ การปิดสาขาลาดหญ้าจึงเป็นเพียงเกมคั่นเวลารอจังหวะและลดการขาดทุนจากธุรกิจค้าปลีกที่อยู่ในภาวะซบเซา เพราะสภาพทำเลที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงสงครามค้าปลีกย่านฝั่งธนบุรีได้ย้ายจุดยุทธศาสตร์สู่แนวรบด้านเจริญนครและริมฝั่งเจ้าพระยา  ที่สำคัญ ลาดหญ้าถือเป็นสมรภูมิค้าปลีกย่านวงเวียนใหญ่ที่กลุ่มเซ็นทรัลยึดหลักปักฐานมานานเกือบ 40 ปี ตั้งแต่ยุค 3 พี่น้อง ได้แก่ สัมฤทธิ์, วันชัย และ สุทธิพร จิราธิวัฒน์ บุกเบิกธุรกิจห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เริ่มจากสาขาวังบูรพา ราชประสงค์ สีลม ชิดลม จนกระทั่งมาเปิดห้างเซ็นทรัลสาขาลาดหญ้า ในปี 2524  ก่อนปรับโฉมและเปลี่ยนแบรนด์เป็นห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาลาดหญ้า เมื่อปี 2540  เวลานั้น ไม่ว่าจะเป็น “เซ็นทรัล” หรือ

Read More