Home > Laos (Page 2)

น้ำตกตาดเยือง ปราสาทวัดพู มนต์เสน่ห์แห่งลาวใต้

ความพยายามที่จะเป็น Battery of Asean ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ด้วยปัจจัยหลักของความสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และความต้องการที่จะผลักดันประเทศให้หลุดพ้นจากการเป็นประเทศยากจนและด้อยพัฒนา ภายในปี 2563 จึงไม่น่าแปลกใจที่ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราจะได้เห็นและรับรู้ข่าวสารจากฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน เกี่ยวกับนโยบายการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เพราะนั่นเป็นเป้าหมายสำคัญที่ สปป.ลาว วางเอาไว้ว่าจะผลิตพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นให้ได้ถึง 12,500 เมกะวัตต์ นอกจากความพรั่งพร้อมด้านทรัพยากรทางธรรมชาติที่เป็นตัวแปรสำคัญของการผลิตพลังงานไฟฟ้าแล้ว ความงดงามที่ธรรมชาติรังสรรค์ขึ้น รวมไปถึงสถานที่สำคัญที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์น่าจะเป็นแม่เหล็กชั้นดีที่จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้เข้ามาสัมผัสมนต์เสน่ห์ของ สปป.ลาวได้ไม่ยาก อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของ สปป.ลาว ดูเหมือนจะกลายเป็นฟันเฟืองตัวสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าได้ แม้ว่าการเคลื่อนไปข้างหน้าของระบบเศรษฐกิจจะดำเนินไปอย่างล่าช้าไปสักหน่อยเมื่อเทียบกับประเทศไทย แต่ผลสรุปดูจะเป็นที่น่าพอใจอยู่ไม่น้อย และหากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของ สปป.ลาว ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการที่จะปลุกเร้าศักยภาพที่มีอยู่ให้มีความพร้อมทั้งด้านการบริการและระบบการจัดการที่ดี เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะหนุนนำและส่งเสริมให้ฟันเฟืองชิ้นนี้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น น้ำตกตาดเยือง จุดท่องเที่ยวธรรมชาติที่สำคัญของเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก อีกหนึ่งสถานที่ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาสัมผัสความงาม จำนวนนักท่องเที่ยวที่เริ่มหนาตาประหนึ่งว่าเสียงขับขานแห่งสายธารกำลังเรียกร้องเชิญชวน สายน้ำทิ้งตัวตามความสูงชันของหน้าผา ไหลลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก มวลน้ำรวมตัวกับความเร็วของกระแสแห่งธารก่อให้เกิดฟองน้ำสีขาวสะอาดตา สายลมที่พัดผ่านมาตามช่องเขานำพาเอาละอองน้ำปลิวมากระทบสรรพสิ่งที่อยู่ใกล้เคียง ไม่เว้นแม้แต่นักท่องเที่ยวที่เดินทางฝ่าด่านทดสอบของธรรมชาติลงไปสัมผัสกับความเย็นฉ่ำที่งดงามของน้ำตกสายนี้ ยามเมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนตัวสูงขึ้น และทอแสงส่องลงมาทำมุมกับละอองน้ำที่กระจายตัวอยู่ในอากาศ องศาของแสงที่ตกกระทบลงบนความพอดีที่ลงตัวปรากฏสายรุ้งขนาดเล็กชวนให้ผู้พบเห็นตื่นตาตื่นใจเสพความสวยงามตรงหน้าจนอิ่มเข้าไปถึงใจ เบื้องหลังกระแสธารแม้จะเป็นผาหินที่แข็งแกร่ง หากแต่พืชพรรณสีเขียวที่อาศัยความชื้นขึ้นปกคลุมโขดหินที่ตั้งตระหง่านอย่างมั่นคง เหมือนมีใครสักคนนำผ้าแพรสีเขียวมาห่อหุ้ม ช่วยให้บรรยากาศโดยรอบชวนมองมากขึ้น จึงไม่แปลกใจที่นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศต่างเดินทางมาเพื่อที่จะสัมผัสพร้อมทั้งเก็บเกี่ยวบรรยากาศที่มากไปด้วยอรรถรส และเสพสุนทรีที่รังสรรค์ขึ้นจากธรรมชาติ แม้การเดินทางมายังน้ำตกตาดเยืองจะไม่ยากลำบาก หากแต่การเดินไต่ระดับลงไปเพื่อสัมผัสกับน้ำตกเบื้องล่าง นักท่องเที่ยวต้องเดินด้วยความระมัดระวังเมื่อบันไดที่ทอดตัวลงไปด้านล่างนั้นมีทั้งบันไดที่เป็นไม้ และโขดหินที่มีตะไคร่ขึ้นประปราย ขณะที่แหล่งท่องเที่ยวของเมืองไทยเองก็มีน้ำตกที่งดงามหลายแห่ง และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันเลื่องชื่อ แต่ที่น่าสังเกตคือ พื้นที่บริเวณโดยรอบของน้ำตกตาดเยือง แม้จะมีร้านรวงที่ตั้งขึ้นเพื่อขายสินค้าที่ระลึก

Read More

บี.กริม สยายปีกธุรกิจไฟฟ้า กับเป้าหมาย Battery of Asean ของลาว

  หลังจากเปิดดำเนินการโรงไฟฟ้าอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 4 และ 5 ที่จังหวัดระยองไปเมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พร้อมๆ กับการเตรียมความพร้อมในการเข้าตลาดหลักทรัพย์ในเดือนพฤษภาคม ที่จะถึงนี้ นับได้ว่าจังหวะการก้าวย่างของ บี.กริม เพาเวอร์ ที่กำลังดำเนินไปอยู่ในขณะนี้จะผ่านการวางแผนอย่างเป็นระบบมาแล้ว รวมไปถึงกลยุทธ์ที่เปิดเผยว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า บริษัทมีการตั้งเป้าหมายที่ค่อนข้างยิ่งใหญ่ว่าต้องการจะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าให้ได้ 5,000 เมกะวัตต์ และดูจะเป็นไปได้มาก แม้ว่า บี.กริม จะมองว่าตัวเองเป็นเพียงนักลงทุนธุรกิจพลังงานขนาดเล็กเท่านั้น เพราะเมื่อพิจารณาจากโครงการที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในมือที่มีอยู่ 43 โครงการ ที่มีกำลังการผลิต 2,357 เมกะวัตต์ และโครงการที่ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แล้ว 28 โครงการ โดยมีกำลังการผลิต 1,626 เมกะวัตต์ ทำให้เห็นว่าเป้าหมายของ บี.กริม ดูจะไม่ไกลเกินเอื้อมเลย นอกจากโครงการโรงไฟฟ้าที่ บี.กริม ดำเนินการอยู่ในประเทศไทยแล้ว สปป.ลาว ถือเป็นอีกหนึ่งจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ บี.กริม เลือกในการวางหมากรุกตลาดพลังงานไฟฟ้า เนื่องจากความสมบูรณ์ด้านทรัพยากร และนโยบายของรัฐบาล สปป.ลาวที่ต้องการจะเป็น Bettery of Asean

Read More

เนด้า-สปป.ลาว สร้างระบบประปา พัฒนาคุณภาพชีวิต

ในยุคที่เทคโนโลยีกำลังพัฒนาก้าวล้ำไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็นมุมใดของโลก สังคมโซเชียลเองก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตของผู้คนจำนวนมาก อุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนหมู่มากไปแล้ว หากแต่อีกซีกหนึ่งของโลกกว้างใหญ่ใบนี้ยังมีอีกหลายเมืองที่ผู้คนยังขาดปัจจัยสี่ซึ่งเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ซึ่งส่งผลให้คุณภาพชีวิตด้อยกว่าหลายประเทศที่อยู่แวดล้อม แม้ว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจะอุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติอันเป็นเสน่ห์ที่สำคัญในการดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาสัมผัสวิถีแห่งความเป็นธรรมชาติและกลิ่นอายของเมืองที่เต็มไปด้วยประวัติและอารยธรรมที่น่าค้นหา กระนั้นอีกหลายเมืองใน สปป.ลาว ยังขาดความพร้อมในเรื่องของระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต “น้ำ” หลายหมู่บ้านใน สปป. ลาว ประชาชนยังคงต้องใช้น้ำจากลำธาร หรือขุดเจาะนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในการอุปโภคบริโภค ซึ่งจะประสบปัญหาเมื่อเข้าสู่หน้าแล้งที่ส่งผลให้แหล่งน้ำตามธรรมชาติแห้งเหือดลง เมื่อสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ยังไม่พร้อมสมบูรณ์นัก ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่น ที่ทำให้ยากต่อการพัฒนาและต่อยอด ทั้งในมิติของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่น่าจะทำให้เกิดการลงทุนและการจ้างงานในอนาคต แม้ว่าหลายเมืองใน สปป.ลาว เช่น เมืองหลา เมืองแบ่ง เมืองคอบ เมืองห้วยทราย เมืองไชบุลี เมืองยมมะลาด เมืองพะลานไช เมืองสาละวัน เมืองสุขุมา เมืองปากซอง เมืองโขง เมืองมูนละปาโมก และเมืองคีนาด จะยังต้องการการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน หากแต่สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ NEDA ที่มีพันธกิจสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อมองว่าการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานนั้นนับเป็นเรื่องสำคัญซึ่งง่ายต่อการต่อยอดไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ อย่างยั่งยืน และเพื่อให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนได้พัฒนาก้าวหน้าไปพร้อมๆ กัน ทำให้ NEDA ตัดสินใจเลือกเมืองที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย 5 เมือง

Read More

มองยุทธศาสตร์พลังงาน สปป.ลาว ผ่านโรงไฟฟ้าหงสา

  ข่าวโครงการก่อสร้างเขื่อนฮูสะโฮงในเขตพื้นที่สี่พันดอน สปป.ลาว ซึ่งเป็นโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 260 เมกะวัตต์ ในลำน้ำโขงถูกเผยแพร่และเป็นที่จับตามองอย่างมาก เมื่อมีทั้งกระแสการต่อต้านจากบางองค์กรที่แสดงความไม่เห็นด้วย เนื่องจากผลกระทบต่อการอพยพประจำฤดูกาลของปลาในแม่น้ำ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนริมสองฝั่งแม่น้ำ กระนั้นก็ยังมีกระแสสนับสนุนจากชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงบางส่วนที่ยืนยันว่าได้รับความช่วยเหลือในหลายๆ ด้านจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแม้จะต้องถูกโยกย้ายถิ่นที่อยู่ อีกทั้งยังสามารถจับปลาเพื่อส่งขายตลาดในเมืองได้มากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจจะหมายถึงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศให้กลายเป็น “แหล่งพลังงานที่มั่นคงให้ภูมิภาคอาเซียน” หรือ “Battery of ASEAN”  เมื่อโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสา ซึ่งตั้งอยู่เมืองหงสา แขวงไซยะบูลี เป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญที่ช่วยฉายภาพความต้องการเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของอาเซียนให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งนโยบายของรัฐบาลลาวนั้นมีมาตรการที่ดำเนินไปอย่างสอดรับกับความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่  แม้ว่าในช่วงแรกของการเริ่มต้นโครงการโรงไฟฟ้าหงสาจะมีปัญหาประเดประดังเข้ามารอบด้าน ทั้งในเรื่องการทิ้งงานจากผู้ลงทุนรายแรกจากไทยเนื่องจากขาดเงินทุน และการฟ้องร้องกรณีการหลอกลวงโดยการเข้าร่วมทำสัญญาร่วมทุน หรือกรณีปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การต้องอพยพโยกย้ายถิ่นที่อยู่ของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งหลังจากได้มีการสำรวจแหล่งถ่านหินในพื้นที่เมืองหงสาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ได้มีความพยายามในการพัฒนาโครงการมาโดยตลอด จนกระทั่งปี 2552 รัฐบาลลาวได้อนุมัติสัมปทานให้กับบริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด และได้เริ่มการก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบันหน่วยผลิตกระแสไฟฟ้าทั้ง 3 หน่วยของโรงไฟฟ้าหงสาได้เดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ครบทุกหน่วยแล้ว  การที่โรงไฟฟ้าหงสา เป็นโรงไฟฟ้าลิกไนต์แห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในลาว และมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 1,878 เมกะวัตต์ ทำให้หลายฝ่ายมีความกังวลในเรื่องของมาตรการต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในการป้องกันผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตประชาชน

Read More

ท่องเที่ยวหลวงพระบาง กับทิศทางแห่งการพัฒนา

  ข่าวการมาเยือนไทยครั้งแรกของ ดร.ทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังเข้ารับตำแหน่ง ได้รับความสนใจอย่างมาก ซึ่งนอกจากจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและ สปป.ลาว แล้ว ยังมีการหารือทวิภาคีของผู้นำทั้งสองประเทศ ในโอกาสที่จะสานต่อความร่วมมือระหว่างกันที่มีอยู่เดิม และความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงนาม MOU ในเรื่องแรงงาน ซึ่งทางการไทยเน้นย้ำชัดเจนในเรื่องการดูแลแรงงานจากทุกประเทศเพราะแรงงานเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย  นอกจากนี้ ดร.ทองลุนยังได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “สปป.ลาว สู่อนาคตการพัฒนา” ซึ่งจัดโดยวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น และการปาฐกถาครั้งนี้มีนัยสำคัญที่น่าสนใจมากมาย เสมือนเป็นการประกาศแนวทางนโยบายในการบริหารประเทศให้สาธารณชนได้รับรู้และเข้าใจ  “ลาวและไทยมีความสัมพันธ์อันดีอย่างยาวนาน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผ่านขบวนการต่อสู้โดยสันติวิธี กระทั่งปัจจุบันมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ 7 เพื่อขยายการผลิตและส่งออกประคับประคองเศรษฐกิจให้ฟื้นขึ้นมา แต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับดังกล่าวกลับได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจมหภาคที่ถูกคุกคามจึงไม่ประสบผลสำเร็จ ปัจจุบันกำลังสร้างแผนเศรษฐกิจที่ 8 โดยมีเป้าหมายให้ลาวก้าวออกจากประเทศด้อยพัฒนาเป็นประเทศกำลังพัฒนา ให้แล้วเสร็จในปีคริสต์ศักราช 2020 ภายใต้วิสัยทัศน์ในการทำให้ชีวิตประชาชนลาวดีขึ้น โดยรายได้มวลรวมประชาชน หรือ GDP (Gross National Income) และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จะต้องสอดคล้องหรือไม่ส่งผลกระทบแง่ลบต่อดัชนีความสงบสุขของคนในประเทศ (Global Peace Index, GPI) นั่นหมายความว่า ลาวจะพยายามพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเหมาะสมภายใต้ความสุขของประชาชน” เมื่อพิจารณาจากนโยบายที่ ดร.ทองลุน

Read More

การท่องเที่ยวริมโขง แกร่งและพร้อมเข้าสู่ AEC

  งวดเข้ามาทุกขณะกับการนับถอยหลังเข้าสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ห้วงเวลาที่ผ่านมาหลายฝ่ายต่างเร่งเตรียมความพร้อมเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงและโอกาสที่กำลังจะมาถึง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน ทั้งในบริบทของสังคม เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นอีกฟันเฟืองหลักในวงล้อแห่ง AEC การสร้างความพร้อมและความแข็งแกร่งทางการท่องเที่ยว จึงเป็นสิ่งสำคัญในการนำพาประเทศเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างมีศักยภาพ การศึกษาวิจัยศักยภาพการท่องเที่ยวตามลำน้ำโขงไทย-ลาว เป็นอีกหนึ่งโครงการที่เกิดขึ้นภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. เพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมให้กับการท่องเที่ยวระหว่างไทย-ลาว-เวียดนาม โดยมีลำน้ำโขงเป็นศูนย์กลาง แม่น้ำโขงที่มีความยาวราว 4,900 กิโลเมตร ติดอันดับ 10 ของแม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลกไหลผ่านและเป็นเส้นกั้นพรมแดนประเทศน้อยใหญ่มากถึง 6 ประเทศ ตั้งแต่ จีน พม่า ลาว ไทย เวียดนาม และกัมพูชา อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ร่วมกันระหว่างประเทศสองฟากแม่น้ำโขง หลากหลายด้วยวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประจำถิ่น ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวได้อย่างดี “เส้นทางท่องเที่ยวริมฝั่งโขงนครพนม-คำม่วน” คือผลผลิตอย่างเป็นรูปธรรมของความพยายามในการสร้าง จัดการ และพัฒนาให้เกิดแหล่งท่องเที่ยว อันเกิดจากการศึกษาวิจัยศักยภาพการท่องเที่ยวตามลำน้ำโขงไทย-ลาว ที่ผ่านการทำงานร่วมกันระหว่าง สกว. และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว รวมถึงผู้ประกอบการท่องเที่ยวภายในท้องถิ่น ผลักดันให้เกิดโปรแกรมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวเอเชียและยุโรป จากจังหวัดเล็กๆ ทางภาคอีสานของประเทศไทย อย่างจังหวัดนครพนม กับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ตอนกลางของ สปป.ลาว

Read More

เที่ยวเมืองคำม่วน ให้ม่วนซื่นรับ AEC

  อากาศร้อนแทบจะทะลุปรอทขนาดนี้ หลายคนอาจจะหงุดหงิดจนทำให้ความรื่นรมย์ในชีวิตขาดหายไปชั่วขณะ “ผู้จัดการ 360 ํ” ขอถือโอกาสนี้ พาผู้อ่านไป “ม่วนซื่น” กันที่ “คำม่วน” แขวงที่อยู่กึ่งกลางประเทศ สปป.ลาว เพื่อดับความร้อนและเพิ่มความเย็นให้กับหัวใจกันดีกว่า แต่ก่อนจะข้ามไปยัง “แขวงคำม่วน” เราตั้งต้นที่จังหวัดที่อยู่ติดกับแขวงคำม่วน มีเพียงลำน้ำโขงกั้นกลาง และเป็นจังหวัดที่ดัชนีชี้วัดความสุขของผู้คนในเมืองติดอันดับหนึ่งของประเทศไทย อย่างจังหวัดนครพนมกันก่อน รับรองว่าม่วนซื่นไม่แพ้กัน เพราะเขาว่ากันว่า “มาอีสานต้องสนุก” นครพนมตั้งอยู่ทางภาคอีสานของเมืองไทย อยู่ตรงข้ามกับแขวงคำม่วนของ สปป.ลาว เป็นเมืองที่เงียบสงบ ไม่เร่งรีบ และความที่เป็นเมืองชายแดนติดกับ สปป.ลาว เพราะฉะนั้นจึงมีการผสมผสานทางวัฒนธรรม ประเพณี วิถีความเป็นอยู่ ระหว่างไทย ลาว รวมถึงเวียดนาม และฉายภาพออกมาให้เราสัมผัสได้ ทั้งวัดวาอาราม อาหารการกิน และประเพณี โปรแกรมที่เรียกว่าขาดไม่ได้เลยสำหรับการมาเยือนนครพนมคือ “นมัสการพระธาตุพนม” พระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองและเป็นพระธาตุประจำตัวผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พระธาตุพนมเป็นพุทธเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตามตำนานกล่าวว่า องค์พระธาตุสร้างในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร ซึ่งอาณาจักรศรีโคตรบูรนี้ครอบคลุมไปถึงแขวงคำม่วนของ สปป.ลาว ด้วยเช่นกัน พระธาตุพนมไม่เพียงแต่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวนครพนมเท่านั้น ยังเป็นที่เคารพของชาวไทยภาคอื่นๆ และชาวลาวอีกด้วย ว่ากันว่า ถ้าใครได้มานมัสการพระธาตุครบ 7 ครั้ง

Read More

บ้านผาแก้ว สปป. ลาว ท่ามกลางคลื่นลม AEC

 พื้นผิวขรุขระของถนนสีฝุ่นกลางแดดร้อนแรง ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างจากจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ มุ่งหน้าเข้าสู่บ้านผาแก้ว เมืองปากลาย แขวงไชยะบุรี กำลังทำหน้าที่เป็นเส้นทางเชื่อมภายใต้กรอบแนวความคิดว่าด้วย connectivity ซึ่งได้รับการยกระดับเป็นวาระแห่งประชาคมอาเซียน ที่กำลังมุ่งหน้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC: ASEAN Economic Community) ในอีกไม่กี่ขวบปีข้างหน้าชุมชนบ้านผาแก้ว ก็คงไม่ต่างจากชุมชนตามเขตต่อแดนของ สปป. ลาว อีกมากมายหลายชุมชนที่กำลังถูกทดสอบและท้าทายจากกระแสธารของคลื่นลมแห่ง AEC เข้าโหมกระหน่ำ แม้ว่าเส้นทางสัญจรเข้าสู่ชุมชนแห่งนี้จะยังไม่อยู่ในสภาพที่ไม่สะดวกหรือสมบูรณ์นักเมื่อเทียบกับมาตรฐานทางหลวงทั่วไป“AEC ยังมาบ่เถิงดอกหรอก นั่นสิแม่นเป็นเรื่องระดับชาติ เฮาสิอยู่ห่างไกลหลาย” คุณครูสัญญา แห่งโรงเรียนประถมศึกษาสมบูรณ์บ้านผาแก้ว เมืองปากลาย แขวงไชยะบุรี สปป.ลาว บอกกล่าวอย่างตรงไปตรงมา ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในเชิงกายภาพที่บ้านผาแก้วกำลังเผชิญในมิติของความเป็นไป บ้านผาแก้วกำลังจะได้รับผลกระทบและกลายเป็นชุมชนบนทางผ่าน หลังจากการเปิดจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ (Phu Doo International Point of Entry ) ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านภูดู่ ตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคกจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ได้รับการยกระดับจาก “ช่องภูดู่” ให้เป็นจุดผ่อนปรนถาวรช่องภูดู่ และได้รับการประกาศยกระดับขึ้นเป็นจุดผ่านแดนถาวรภูดู่อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา เพื่อให้เป็นอีกหนึ่งในเส้นผ่านทางอีกแห่งของกลุ่มจังหวัดอินโดจีนก็ตามพัฒนาการล่าสุดในพื้นที่

Read More

เมืองงอย Simply Beautiful สวรรค์บนดินริมแม่น้ำอู

ลาว...ดินแดนแห่งสายน้ำและทิวเขา แม่น้ำหลายสายของลาวเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงคนในชาติโดยธรรมชาติของมันเองและยังคงเป็นเส้นเลือดทางเศรษฐกิจที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวนำรายได้เข้าประเทศอีกทางหนึ่ง การล่องเรือชมความงามของสองฝั่งแม่น้ำถือเป็นกิจกรรมที่อยู่ในลำดับต้นๆ ที่นักท่องเที่ยวเกือบทุกคนไม่ยอมพลาดเมื่อมาเยือนเมืองลาว และถือเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นจุดขายของ สปป.ลาว เลยก็ว่าได้ จุดหมายปลายทางของเราในครั้งนี้คือ “เมืองงอย” เมืองเล็กๆ ที่ซ่อนตัวอยู่อย่างเงียบสงบท่ามกลางธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของลาวเหนือ ถ้าการล่องเรือแม่น้ำโขงคือเสน่ห์ของเมืองหลวงพระบาง และการนั่งปล่อยอารมณ์ชมทัศนียภาพริมแม่น้ำซองเป็นความงามของเมืองวังเวียง การได้เสพความงามของธรรมชาติริมฝั่ง “แม่น้ำอู” เส้นเลือดใหญ่ของเมืองงอยก็ถือเป็นสวรรค์สำหรับนักท่องเที่ยวเช่นกัน เราตั้งต้นที่เมืองซำเหนือ แขวงหัวพัน ก่อนเดินทางโดยรถบัสจากซำเหนือมายังเมืองหนองเขียวและแวะพักที่หนองเขียวก่อนเดินทางต่อไปยังเมืองงอย รถออกจากซำเหนือราวๆ 08.30 น. มาถึงหนองเขียวเกือบสามทุ่ม รวมเวลาเดินทาง 12 ชั่วโมง โดยรถคันดังกล่าวต้องเดินทางต่อไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ซึ่งเป็นปลายทาง ใช้เวลาอีกราวๆ 12 ชั่วโมงเช่นกัน เรียกว่าวิ่งกันเป็นวันเลยทีเดียว การเดินทางโดยทางรถในลาวใช้เวลานาน เพราะถนนหนทางตัดเลียบเลาะไปตามเทือกเขา ทำความเร็วได้ไม่มากนัก รถทุกรอบทุกคันแน่นขนัดด้วยจำนวนผู้โดยสารและสัมภาระ การเดินทางมายังเมืองหนองเขียวก็เช่นกัน ผู้โดยสารและข้าวของเต็มรถ ที่นั่งไม่สบายนักแต่กลับไม่มีเสียงบ่นของคนบนรถ ทั้งคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวนั่งเบียดๆ กันไป ที่ไหนพอจะนั่งได้ก็ถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นความเอื้ออาทรที่เห็นได้น้อยเต็มทีในสังคมเมือง หนองเขียว ชุมทาง Backpacker เมืองหนองเขียว หรือเมืองงอยใหม่ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมน้ำอู แม่น้ำใหญ่ทางตอนเหนือของประเทศลาว จุดเด่นของเมืองหนองเขียวคือเป็นทั้งชุมทางรถ ชุมทางเรือ และชุมทางของเหล่า Backpackerหนองเขียวอยู่ห่างจากหลวงพระบางเมืองมรดกโลกและแหล่งท่องเที่ยวทอปฮิตเพียง 150 กิโลเมตร

Read More

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ถ้ำผู้นำ เมืองเวียงไซย

นอกจากความงดงามของธรรมชาติที่เป็นเสน่ห์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนแขวงหัวพัน แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวยอมเดินทางเป็นระยะทางไกลเพื่อมายังแขวงหัวพัน คือ อนุสรณ์สถาน “ถ้ำท่านผู้นำ” เมืองเวียงไซย สถานที่ที่มีร่องรอยของเรื่องราวในประวัติศาสตร์สมัยสงครามอินโดจีน ที่ยังหลงเหลือให้ชนรุ่นหลังได้สัมผัส หลังจากชาร์จแบตเตอรี่ให้กับตัวเองด้วยธรรมชาติที่งดงามของเมืองซำเหนือ แขวงหัวพันแล้ว เป้าหมายต่อไปของเราคือ “เมืองเวียงไซย (Vieng Xia)” เมืองเล็กๆ ที่อยู่ในแขวงหัวพัน อดีตศูนย์บัญชาการใหญ่ของกองทัพปลดปล่อยประเทศลาว เมืองเวียงไซย อยู่ห่างจากซำเหนือซึ่งเป็นเมืองเอกของแขวงหัวพันเพียง 30 กิโลเมตร มีรถสองแถวขนาดเล็กวิ่งรับส่งจากซำเหนือไปเวียงไซยวันละหนึ่งรอบในตอนเช้า ถึงแม้จะเป็นรถประจำเส้นทางแต่ก็ไม่ได้วิ่งทุกวันขึ้นอยู่กับจำนวนผู้โดยสาร เพราะความที่เมืองเวียงไซยอยู่ไม่ไกลจากซำเหนือ ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงใช้พาหนะส่วนตัวและรถอีแต๋นเอาเสียมากกว่า อีกทางหนึ่งคือเช่ารถสองแถวที่วิ่งบริการในเมืองซำเหนือ คล้ายกับรถแท็กซี่จะแชร์ค่าโดยสารกับคนอื่นหรือจะเหมาทั้งคันก็ได้ รถสองแถวลักษณะนี้มีอยู่เยอะ ตกลงนัดแนะเวลาและเจรจาค่าโดยสารได้กับคนขับโดยตรง มีทั้งแบบเหมาทั้งคันเพื่อไปส่งที่เวียงไซยอย่างเดียว แบบนำเที่ยวด้วย หรือจะพาไปส่งและรอรับกลับ สนนราคาแตกต่างกันออกไป แต่ไม่ได้แพงจนเกินไปนัก นักท่องเที่ยวที่ต้องการไปเที่ยวเมืองเวียงไซยแบบเช้าไปเย็นกลับ การเลือกใช้บริการเหมารถสองแถวถือว่าสะดวกทีเดียว แต่มีอีกหนึ่งทางเลือกที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวผมทองคือการเช่ารถมอเตอร์ไซค์ขับไปเอง ขับรถขึ้นเขาได้สัมผัสธรรมชาติแบบไม่มีอะไรปิดกั้น แต่ด้วยความที่เส้นทางจากซำเหนือไปยังเมืองเวียงไซยยังคงเป็นถนนที่ตัดเลียบเลาะเทือกเขา ดังนั้นความชำนาญในการขับขี่และคำนึงถึงความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อการเดินทางจะได้ไม่หยุดชะงัก จากซำเหนือเราใช้เวลาเดินทางไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงก็มาถึงเมืองเวียงไซย ซึ่งตลอดเส้นทางยังคงเป็นป่าเขาและธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์งดงามอันเป็นเสน่ห์ของแขวงหัวพัน เมืองเวียงไซย เมืองเล็กๆ ที่อยู่ห่างไกล แต่ถือเป็นเมืองที่เป็นหัวใจของการท่องเที่ยวของแขวงหัวพัน เพราะเป็นเมืองที่มีลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงาม ป่าไม้เขียวขจี ทุ่งนายาวเหยียดที่ทอดไปตามแนวภูผา ภูเขาหินปูนที่ตั้งเรียงรายเสมือนหนึ่งเป็นกำแพงทางธรรมชาติที่โอบล้อมเมืองทั้งเมืองไว้ มีบึงขนาดใหญ่อยู่กลางเมือง และเป็นเมืองที่มีอากาศเย็นสบายตลอดปีแม้จะเป็นช่วงฤดูร้อนก็ตาม ถ้ำผู้นำ แม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวแห่งเมืองเวียงไซย สิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนเมืองเวียงไซยไม่ได้มีเฉพาะธรรมชาติที่งดงามเท่านั้น

Read More