Home > HUAWEI (Page 2)

หัวเว่ยชวนแต่งแต้มสีสันให้กับมื้ออาหารสุดพิเศษบนสุดยอดแท็บแล็ต HUAWEI MatePad Pro 11-inch

หลังจากหัวเว่ย คอนซูเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป (ประเทศไทย) สร้างปรากฏการณ์เปิดตัวกลุ่มสมาร์ทดีไวซ์ระดับเรือธงทั้งแล็ปท็อป แท็บเล็ตและหูฟัง ไปเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยหนึ่งในนั้นได้รวมไฮไลท์ของงานอย่างแท็บเล็ตใหม่ล่าสุด HUAWEI MatePad Pro 11-inch วันนี้ หัวเว่ยได้จัดกิจกรรมสุดเอ็กซ์คลูซีฟให้สื่อมวลชนได้สัมผัสมื้ออาหารที่น่าจดจำไปกับสีสันที่สดสวยและคมชัดแม้อยู่ในที่แสงน้อย บนหน้าจอ HUAWEI Real Color FullView Display แบบ OLED 11 นิ้ว อัตราการรีเฟรชหน้าจอสูงสุด 120Hz พร้อมปลดปล่อยจินตนาการให้ได้แสดงความประทับใจกับจานโปรดผ่านการวาดภาพและเขียนโน้ตด้วย HUAWEI M-Pencil 2nd generation เสริมศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงานแบบไร้ขีดจำกัดในบรรยากาศของดินเนอร์ ณ ร้านอาหาร Fine Dining วังหิ่งห้อย เรียกน้ำย่อย: เผยโฉมอาหารจานปริศนาในที่มืด อาหารจริงหรือเพียงภาพเสมือน มื้ออาหารสุดพิเศษ เริ่มต้นด้วยการต้อนรับอันน่าตื่นเต้นจากเชฟนิค ณัฏฐพล ภวไพบูลย์ เชฟกระทะเหล็กประเทศไทย ที่มาบอกเล่าความพิเศษและเรื่องราวของอาหารไทยอินสปาย (Thai

Read More

ททท. จับมือ หัวเว่ย เตรียมส่งเสริมนวัตกรรมการท่องเที่ยวใหม่บนเครือข่าย 5G

ททท. จับมือ หัวเว่ย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “DIGITAL TRANSFORMATION AND INNOVATION DEVELOPMENT FOR SMART TOURISM” เตรียมส่งเสริมนวัตกรรมการท่องเที่ยวใหม่บนเครือข่าย 5G นายนภินทร ศรีสรรพางค์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วย “DIGITAL TRANSFORMATION AND INNOVATION DEVELOPMENT FOR SMART TOURISM” ระหว่าง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. และ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โดยนายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร และนายจุน จาง รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงจากหัวเว่ย ได้แก่ 5G

Read More

จาก Go Global สู่ Go Fully Digital เปิดทางฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างยากที่จะปฏิเสธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตและเป็นตัวเร่งบทบาทของดิจิทัลให้ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งการทำงาน การเรียน การสื่อสาร การซื้ออาหารและสินค้า การชำระเงิน ตลอดจนมาตรการเยียวยาต่างๆ จากภาครัฐ ที่ล้วนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลแทบทั้งสิ้น ไม่เพียงมีบทบาทในชีวิตประจำวัน แต่เทคโนโลยีดิจิทัลยังมีความสำคัญต่อระบบอุตสาหกรรมและเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคง ซึ่งหลายๆ ฝ่ายมองว่านี่คือการเปลี่ยนผ่านสู่โลกยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง และเมื่อประเทศกำลังเข้าสู่การฟื้นฟูหลังเผชิญกับวิกฤตโควิดที่หนักหน่วงครั้งนี้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลจึงน่าจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่เข้ามาช่วยพลิกฟื้นประเทศให้กลับมาดีขึ้นได้อีกครั้ง ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงแนวทางในการฟื้นฟูประเทศหลังโควิดไว้ว่า “ภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย โลกจะปรับตัวเข้าสู่ New Normal และจะมีความท้าทายใหม่ๆ เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจและภาคการผลิตของไทย โดยระบบการผลิตแบบเดิมที่เน้นการผลิตปริมาณมากๆ จะลดบทบาทลง ในขณะที่การผลิตแบบ Small Lot ที่มีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่นจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ ทั้ง 5G และ AI จะถูกเร่งให้มีการนำมาใช้เร็วขึ้น และจะเป็นตัวช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรมและการผลิต เพื่อช่วยให้ประเทศไทยพร้อมรับกับอุตสาหกรรม 4.0” ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมมีแผนที่จะยกระดับศักยภาพของภาคอุตสาหกรรม ทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นควบคู่กับการปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศในระยะยาว โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อนในชื่อ “แผน 6S”

Read More

หัวเว่ยคลาวด์เผยกลยุทธ์เบื้องหลังความสำเร็จระดับโลกใน APAC Partner Summit 2021

หัวเว่ยคลาวด์ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีไอซีทีชั้นนำของโลก เผยสูตรความสำเร็จระดับโลกให้แก่ผู้เกี่ยวข้องในแวดวงอุตสาหกรรมภายในงาน APAC Partner Summit 2021 ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ โดยในงานดังกล่าวยังมีการประกาศรางวัลพาร์ทเนอร์ของหัวเว่ยคลาวด์ที่มีผลงานโดดเด่นอีกด้วย คุณเจิง ซิงอวิ๋น (Zeng Xingyun) ประธานฝ่ายอีโคซิสเต็มเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ยคลาวด์ ระบุว่าสองเทคโนโลยีหลักของหัวเว่ยและกลยุทธ์การให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก ทำให้แบรนด์หัวเว่ยติด 1 ใน 5 อันดับสูงสุดของโลก ด้านการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน (IaaS) ของบริการคลาวด์ และ 1 ใน 4 อันดับแรกของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คุณเจิงกล่าวว่า “เราลงทุนไปมากกว่า 720,000 ล้านหยวนสำหรับการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน การวิจัยและพัฒนา ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา เพื่อมอบบริการที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ใช้ ทั้งนี้ ด้วยสำนักงานของเราและบริษัทตัวแทนทั้ง 20 แห่งในเอเชียแปซิฟิก พนักงานกว่า 9,000 ชีวิต วิศวกรและผู้เชี่ยวชาญด้านบริการคลาวด์ที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องกว่า 10,000 ราย เป็นสิ่งที่ยืนยันในความสำเร็จของลูกค้า รวมถึงความสำเร็จของเราในฐานะผู้ให้บริการคลาวด์ชั้นนำของโลก” การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมในเอเชียแปซิฟิกด้วยการเป็นพาร์ทเนอร์กับหัวเว่ยคลาวด์ หัวเว่ยคลาวด์ได้ส่งเสริมและผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมด้วยแพลตฟอร์มและอีโคซิสเต็มของหัวเว่ย โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับองค์กรภาครัฐ ภาคบริการทางการเงิน (FSI) ธุรกิจโลจิสติกส์และพลังงาน รวมถึงองค์กรสื่อมวลชน “เราใช้เทคโนโลยีของเราเพิ่มศักยภาพให้กับพาร์ทเนอร์ และช่วยให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายต่างๆ

Read More

หัวเว่ย เผยสิบเทรนด์อุตสาหกรรมเครือข่ายไร้สาย ชี้แนวโน้มอุตสาหกรรมใน “เส้นทางของมือถือแห่งปี 2030”

นายเดวิด หวัง กรรมการบริหารและประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชันทางด้าน ไอซีทีของหัวเว่ย ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “เส้นทางของมือถือแห่งปี 2030: 10 เทรนด์ของอุตสาหกรรมเครือข่ายไร้สาย” (Roads to Mobile 2030: 10 Wireless Industry Trends) ภายในงานประชุม Global Mobile Broadband Forum (MBBF) ครั้งที่ 12 โดยชี้ว่า “หัวเว่ยได้ระบุเทรนด์สิบข้อสำหรับอุตสาหกรรมเครือข่ายไร้สาย ซึ่งจะช่วยกำหนดทิศทางของเครือข่ายสัญญาณไร้สายแห่งอนาคต และเตรียมความพร้อมให้กับอุตสาหกรรมสู่ Intelligent World 2030 หรือโลกแห่งความอัจฉริยะปี พ.ศ. 2573” นายเดวิด หวัง อธิบายว่า ภายในปี พ.ศ. 2573 โลกแห่งความจริงและโลกเสมือนจะผสานกันอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดประสบการณ์ที่เสมือนจริงยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา ในขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลจะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของระบบเศรษฐกิจ และภาคอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนมาให้ความสำคัญต่อประสิทธิภาพในการตัดสินใจแทนที่ประสิทธิภาพของตัวอุปกรณ์ แต่ความก้าวหน้าเหล่านี้จำเป็นจะต้องอาศัยความปลอดภัยภายในเครือข่ายอย่างยิ่งยวด รวมถึงยังต้องพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซึ่งจะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนอีกด้วย นายเดวิด หวัง ได้กล่าวสรุปถึงเทรนด์ทั้ง 10

Read More

หัวเว่ยชี้โครงข่ายใยแก้วนำแสงเต็มรูปแบบเป็นปัจจัยหลักช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

ภายในงานประชุม 2021 Asia-Pacific Target Network Conference เมื่อเร็วๆ นี้ นายริชาร์ด จิน ประธานสายผลิตภัณฑ์ใยแก้วนำแสงของหัวเว่ย กล่าวว่า การส่งสัญญาณผ่านใยแก้วนำแสงเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงานมากขึ้น โดยหัวเว่ยมีความมุ่งมั่นสร้างโครงข่ายใยแก้วนำแสงเต็มรูปแบบที่มีความอัจฉริยะ เปี่ยมประสิทธิภาพ และมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ความต้องการใช้งานเครือข่ายที่มากขึ้น ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้งานแบนด์วิดท์โครงข่ายที่สูงขึ้น การติดตั้งโครงข่าย 5G ในวงกว้างส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายสัญญาณแบบไร้สายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2568 อัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อเดือนโดยเฉลี่ยต่อผู้ใช้หนึ่งรายจะอยู่ที่ 28 GB ความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากนี้ทำให้ต้องมีโครงข่ายใยแก้วนำแสงอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อส่งมอบแบนด์วิดท์ที่สูงยิ่งขึ้นด้วย ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดนี้ ผู้คนเลือกที่จะเรียนออนไลน์หรือทำงานทางไกลมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น ทั่วโลกจึงมีการเร่งขยายการเดินสายใยแก้วนำแสงตรงไปยังที่พักอาศัย หรือ FTTH (Fiber to the Home) เพื่อมอบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระดับกิกะบิต และตอบสนองความต้องการแบนด์วิดท์ที่สูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทั้งนี้ สำหรับธุรกิจองค์กร 85% ของบริการในภาคธุรกิจดังกล่าวจะปรับย้ายไปอยู่บนเทคโนโลยีคลาวด์แทน ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการเชื่อมต่อคุณภาพสูงเพื่อเชื่อมระหว่างบริการนั้น ๆ กับเทคโนโลยีคลาวด์ ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยีในการรวมระบบเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้ตามบ้านหรือสำนักงานเป็นหนึ่งเดียว (Fixed–mobile convergence

Read More

หัวเว่ย ทุ่มงบกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เสริมแกร่งอีโคซิสเต็มสตาร์ทอัพในเอเชีย-แปซิฟิก

หัวเว่ยประกาศแผนการลงทุนมูลค่ากว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพในงาน Spark Founders Summit ซึ่งจัดขึ้นพร้อม ๆ กันทั้งในสิงคโปร์และฮ่องกง โดยระบุว่าเม็ดเงินลงทุนดังกล่าวจะถูกนำไปใช้กับโครงการ Spark ของบริษัทฯ ที่มุ่งสร้างอีโคซิสเต็มสตาร์ทอัพในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกให้มีความยั่งยืน โดยเป็นงบการลงทุนสำหรับระยะเวลาสามปี หัวเว่ยได้มีส่วนช่วยสนับสนุนสิงคโปร์ในการสร้างศูนย์กลางด้านสตาร์ทอัพแห่งแรกของเอเชีย-แปซิฟิกมาตั้งแต่ปี 2563 และได้ขยายโครงการไปยังฮ่องกง ไทย มาเลเซีย ตลอดปีที่ผ่านมา โดยภายในงาน Spark Founders Summit หัวเว่ยยังประกาศอีกว่าโครงการดังกล่าวจะเน้นความสำคัญไปที่การพัฒนาศูนย์กลางด้านสตาร์ทอัพเพิ่มเติมอีกสี่แห่งในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และเวียดนาม มีเป้าหมายในการรวบรวมสตาร์ทอัพกว่า 1,000 ราย โดยสตาร์ทอัพ 100 รายจากในจำนวนนี้จะได้รับการต่อยอดสู่โครงการ Spark Accelerator หัวเว่ย ประเทศไทย โดยความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และพันธมิตรที่มีชื่อเสียงอีกหลายราย ได้เปิดตัวการแข่งขัน “Spark Ignite 2021 – Thailand Startup Competition”

Read More

ก้าวใหม่การศึกษาไทย มหาวิทยาลัยปรับใช้โซลูชันอัจฉริยะ รับ New Normal

ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบัน ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยต่างจำเป็นต้องรีบปรับกระบวนการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตอบรับกับเทรนด์ยุค “นิวนอร์มัล” ที่เน้นให้บุคลากรสามารถประสานงานกันได้ผ่านเทคโนโลยีติดต่อสื่อสารทางไกล ลดความจำเป็นของการพบปะโดยตรง ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการศึกษาไทยก็เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่เปลี่ยนมาใช้การเรียนการสอนแบบออนไลน์ในปัจจุบันเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนหนังสือผ่านกล้องอาจมีประสิทธิภาพไม่เต็มที่สำหรับการสอนในวิชาชีพเชิงปฏิบัติ เมื่อเทียบเท่าการเรียนการสอนแบบปกติ จึงเป็นสาเหตุให้สถานศึกษาบางแห่งเริ่มหันมาประยุกต์ใช้โซลูชันอัจฉริยะประกอบกับหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อเสริมประสิทธิภาพการเรียนทางไกลให้สมบูรณ์แบบ ดังเช่นที่ทางมหาวิทยาลัยเกริกได้ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด นำโซลูชันกระดานอัจฉริยะ Huawei IdeaHub มาเสริมศักยภาพให้แก่หลักสูตรการเรียนทางไกล เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงมายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ มหาวิทยาลัยเกริก ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2495 โดย ดร. เกริก มังคละพฤกษ์ และถือว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของประเทศไทย ด้วยเป้าหมายที่จะสนับสนุนการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อเตรียมให้นักศึกษามีความพร้อมเมื่อเข้าสู่โลกของการทำงาน คณะและหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเกริกจึงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นคณะบริหารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง รวมไปถึงวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมสากลจีน ด้วยเป้าหมายที่จะเสริมทักษะเพื่อให้รับมือกับความต้องการของตลาดแรงงานสมัยใหม่ได้ มหาวิทยาลัยเกริกได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ในการสร้างเครือข่ายแบ่งปันองค์ความรู้ที่แข็งแกร่ง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งนักศึกษาและภาคสังคม ทางมหาวิทยาลัยมีพันธกิจระยะยาวในการที่จะนำหน้าความต้องการของตลาดอยู่เสมอ ด้วยการนำเสนอหลักสูตรที่ออกแบบมาอย่างดีและสามารถนำไปใช้ในโลกที่กำลังก้าวไปข้างหน้าได้จริง ลดช่องว่างทางการศึกษาด้วยประสบการณ์การเรียนรู้ทางไกลแบบอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยเกริกตั้งเป้าที่จะออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ที่ยังคงรักษามาตรฐานคุณภาพเอาไว้ ผ่านโครงการ Smart Campus โดยมีการนำเสนอหลักสูตรออนไลน์ที่หลากหลายทั้งสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท ผ่านแพลตฟอร์ม

Read More

“สามารถเทลคอม” จับมือ “หัวเว่ย” ขยายความแข็งแกร่งทางธุรกิจ

“สามารถเทลคอม” ผู้ให้บริการเทคโนโลยีโทรคมนาคมรายใหญ่ของไทยจับมือหัวเว่ย ขยายความแข็งแกร่งทางธุรกิจ พร้อมฉลอง 35 ปีแห่งความมุ่งมั่นเพื่อความเป็นเลิศด้านดิจิทัล บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2529 เป็นบริษัทในเครือสามารถคอร์ปอเรชั่น ผู้นำด้านโซลูชัน ICT และผู้ให้บริการรวมทั้งผู้จัดหาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยี มุ่งเน้นการให้บริการระบบโครงข่ายที่ทันสมัยอย่างครอบคลุมและรอบด้านให้กับลูกค้า โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนบริษัทและองค์กรต่าง ๆ ในการประยุกต์ใช้โซลูชันดิจิทัลที่เหมาะสมเพื่อเสริมศักยภาพการเติบโตทางธุรกิจและขยายบริการในยุคดิจิทัล ในฐานะหนึ่งในผู้บุกเบิกด้าน ICT ของประเทศไทย สามารถเทลคอมได้ช่วยเสริมศักยภาพการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานของรัฐหลากหลายแห่ง ผ่านผลิตภัณฑ์ด้านโทรคมนาคมที่มีนวัตกรรมและเชื่อถือได้จากผู้ผลิตอุปกรณ์ด้านโทรคมนาคมชั้นนำระดับโลก เพื่อมุ่งหวังตอบโจทย์ความคาดหวังที่สูงของลูกค้าและสร้างความร่วมมือแบบต่างได้ประโยชน์ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประชาชนไทยทั้งประเทศ โดยมองว่าความสำเร็จในการประมูลโครงการใหญ่ นั้น ไม่เคยเป็นเพราะโชคช่วย แต่มาจากความทุ่มเท การทำงานหนัก และวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ด้วยการดำเนินธุรกิจอย่างยาวนานเกือบสี่ทศวรรษ สามารถเทลคอมยังคงมุ่งพัฒนาและแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ อยู่เสมอ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์และข้อมูลที่มีอยู่อย่างกว้างขวางและครอบคลุมตลาดที่มีการแข่งขันสูงอย่างประเทศไทย นอกจากนี้ สามารถเทลคอมยังมุ่งสานต่อการเติบโตของบริษัทในอุตสาหกรรมดิจิทัลที่ยังคงขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว จึงเล็งเห็นความสำคัญของการมีพันธมิตรที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งมีเป้าหมายและความมุ่งมั่นในด้านการพัฒนาและให้ความสำคัญกับความเป็นเลิศไปในทิศทางเดียวกัน ความร่วมมือที่ใช่ก่อให้เกิดโอกาสธุรกิจใหม่ ๆ ความร่วมมือระหว่างสามารถเทลคอม และหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2561 โดยขณะนั้น สามารถเทลคอมกำลังมองหาหุ้นส่วนกลยุทธ์ระยะยาวที่ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมตำแหน่งความเป็นผู้นำของบริษัท แต่ยังช่วยให้เกิดการขยายธุรกิจได้อีกด้วย โดยสามารถเทลคอมมองว่าหัวเว่ยเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด

Read More

กระทรวงดิจิทัลฯ จับมือหัวเว่ย เสริมแกร่งโรงพยาบาลสนาม ด้วยนวัตกรรมการติดต่อสื่อสาร ช่วยบุคลากรทางการแพทย์รับมือโควิด-19

กระทรวงดิจิทัลฯ จับมือหัวเว่ย เสริมแกร่งโรงพยาบาลสนาม ด้วยนวัตกรรมการติดต่อสื่อสาร ช่วยบุคลากรทางการแพทย์รับมือโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เสริมกำลังภาคสาธารณสุขประเทศไทย โดยเฉพาะโรงพยาบาลสนามที่ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น พร้อมเพิ่มความปลอดภัยในแก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานด่านหน้า ด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ให้แก่โรงพยาบาลสนามบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ประกอบด้วย นวัตกรรมการสื่อสารทางไกล 5G เพื่อการแพทย์ (5G Telemedicine) ระบบบริหารจัดการผู้ป่วยอัจฉริยะ (Inpatient area Intelligent Management) และระบบโครงข่ายวิทยุสื่อสารไร้สายบรอดแบนด์ eLTE (eLTE broadband trunking) โดยใช้ Idea Hub เป็นศูนย์กลางการดำเนินการโซลูชันทั้งหมด คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 6 ล้านบาท โดยนวัตกรรมเหล่านี้จะเพิ่มศักยภาพในการจัดการโครงข่ายการสื่อสารของบุคลากรในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ยกระดับประสิทธิภาพในการรับมือกับโรคระบาดอย่างเต็มที่ ตอกย้ำหนึ่งในพันธกิจของหัวเว่ยในการมีส่วนร่วมสร้างคุณค่าให้แก่สังคมไทยอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ที่ยังคงมีจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องทำงานกันอย่างเต็มที่ รวมไปถึงระบบสาธารณสุขขั้นพื้นฐานซึ่งรวมถึงสถานพยาบาลในประเทศไทยที่ต้องถูกนำมาใช้งานเพื่อรักษาผู้ป่วยในขณะนี้จนใกล้ถึงขีดจำกัด ทางภาครัฐและภาคสาธารณสุขจึงร่วมมือกันจัดตั้งโรงพยาบาลสนามอย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19 ทั่วประเทศไทย รวมถึงโรงพยาบาลสนามบางขุนเทียน

Read More