วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
Home > New&Trend > ยูโอบีประกาศผลกำไรหลักสุทธิ ปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 สูงเป็นประวัติการณ์ที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

ยูโอบีประกาศผลกำไรหลักสุทธิ ปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 สูงเป็นประวัติการณ์ที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

ยูโอบีประกาศผลกำไรหลักสุทธิ ปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 สูงเป็นประวัติการณ์ที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ จากการเพิ่มขึ้นของส่วนต่างระหว่างรายรับและรายจ่ายอย่างเห็นได้ชัด และคุณภาพของสินทรัพย์ที่ยืดหยุ่น การซื้อกิจการซิตี้กรุ๊ปแสดงผลลัพธ์เชิงบวก เงินปันผลประจำปีที่เสนอเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 อยู่ที่ 75 เซ็นต์ต่อหุ้น

กลุ่มธนาคารยูโอบีประกาศผลกำไรจากธุรกิจหลักสุทธิสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 และหากรวมค่าใช้จ่ายครั้งเดียวที่เกิดจากการซื้อกิจการธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ปในมาเลเซียและไทย กำไรสุทธิจะสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 4.6 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

กำไรที่สูงและสถานะดำรงเงินทุนส่งผลให้คณะกรรมการเสนอจ่ายเงินปันผลประจำปีที่ 75 เซ็นต์ต่อหุ้นสามัญ เมื่อรวมกับเงินปันผลระหว่างกาลที่ 60 เซ็นต์ต่อหุ้นสามัญ จะทำให้เงินปันผลทั้งหมดสำหรับปี 2565 อยู่ที่ 1.35 เซ็นต์ต่อหุ้นสามัญหรือคิดเป็นอัตราการจ่ายเงินตอบแทนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 49

การซื้อกิจการธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ปในมาเลเซียและไทยเสร็จสิ้นลงแล้วในเดือนพฤศจิกายน 2565 ส่วนอินโดนีเซียและเวียดนามคาดว่าจะเสร็จสิ้นลงในปี 2566 การซื้อกิจการครั้งสำคัญนี้ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ยุทธศาสตร์อาเซียนของกลุ่มธนาคารและช่วยขยายแฟรนไชส์ลูกค้ารายย่อยอย่างมีนัยสำคัญ พร้อมข้อเสนอผลิตภัณฑ์และโอกาสในการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หลักที่เพิ่มขึ้น ฐานลูกค้ารายย่อยของกลุ่มธนาคารขยายตัวเพิ่มขึ้นจนเกือบแตะ 7 ล้านรายในภูมิภาค ในขณะที่รายได้ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการซื้อกิจการน่าจะเห็นผลในทางเชิงบวก

ในปี 2565 กำไรจากการดำเนินงานหลักของกลุ่มธนาคารปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 อยู่ที่ 6.6 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่ายที่เห็นได้ชัดในทุกกลุ่มลูกค้าและทุกภูมิภาคในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น รายได้จากดอกเบี้ยรับสุทธิปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 31 อยู่ที่ 8.3 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ โดยสินเชื่อขยายตัวขึ้นร้อยละ 3 และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิปรับตัวดีขึ้น 30 จุด รายได้จากค่าธรรมเนียมสุทธิยังคงไม่ปรับตัวขึ้น เนื่องจากตลาดที่ยังคงอ่อนไหวที่มีผลต่อการบริหารจัดการความมั่งคั่งและกิจกรรมที่เกี่ยวกับสินเชื่อ แต่ค่าธรรมเนียมจากบัตรเครดิตที่เติบโตในอัตราเลขสองหลักก็ช่วยชดเชยการลดลงนี้ได้บางส่วน คุณภาพของสินทรัพย์ยังคงอยู่ในเชิงบวก ส่วนอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ที่ร้อยละ 1.6

รายได้จากกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ (Wholesale Banking) เติบโตขึ้นร้อยละ 23 อยู่ที่ 6.2 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ในขณะที่รายได้ข้ามพรมแดนปรับตัวขึ้นร้อยละ 12 การให้บริการธุรกรรมธนาคาร (Transaction Banking) ขยายตัวคิดเป็นร้อยละ 35 ของรายได้จากกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ การปรับตัวดีขึ้นของเงินฝาก ตลอดจนอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเป็นแรงส่งให้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่ายเติบโตขึ้น ซึ่งช่วยชดเชยธุรกิจสินเชื่อที่เติบโตในอัตราที่ลดลงได้อย่างมาก

รายได้ของกลุ่มลูกค้ารายย่อย (Retail) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 อยู่ที่ 4.1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ รายได้จากดอกเบี้ยรับสุทธิได้รับแรงหนุนจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้นและการบริหารจัดการงบดุลที่คล่องตัวของกลุ่มธนาคารในการใช้ประโยชน์จากต้นทุนทางการเงิน ค่าธรรมเนียมจากบัตรเครดิตปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากการฟื้นตัวของการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการเดินทางในภูมิภาค บวกกับแรงหนุนจากการเข้าซื้อกิจการธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ปในมาเลเซียและไทย แม้ภาวะตลาดจะยังคงผันผวน แต่เงินทุนไหลเข้าใหม่สุทธิจากกลุ่มลูกค้ามั่งคั่งทำให้สินทรัพย์ภายใต้จากการบริหารจัดการของธนาคารเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 154 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ นอกจากนี้ กลุ่มธนาคารยูโอบีมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 800,000 ราย ซึ่งเกินกว่าครึ่งเป็นลูกค้าที่เปิดบัญชีออนไลน์

ในปี 2565 กลุ่มธนาคารยูโอบียังคงเดินหน้าพัฒนาธุรกิจตามยุทธศาสตร์ความยั่งยืน ในเดือนพฤศจิกายน ธนาคารประกาศคำมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 และสนับสนุนลูกค้าอย่างใกล้ชิดในการเปลี่ยนผ่านสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและเป็นธรรม โดยมุ่งเน้นการสร้างสมดุลของการเติบโตทางธุรกิจอย่างมั่นคง พอร์ตโฟลิโอการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืนของกลุ่มธนาคารแตะระดับ 25 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในปี 2565 ซึ่งเป็นไปตามแผนเพื่อบรรลุเป้าหมาย 30 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ภายในปี 2568 นอกจากนี้ สินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการรวมในการลงทุนที่มุ่งเน้นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลของกลุ่มธนาคารเติบโตขึ้นแตะระดับ 10 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ในปี 2565

นาย วี อี เชียง รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารยูโอบี กล่าวว่า “กลุ่มธนาคารยูโอบีประกาศกำไรสุทธิสูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2565 จากส่วนต่างระหว่างรายรับและรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากธุรกิจหลักที่เข้มแข็ง งบดุลที่แข็งแกร่ง และคุณภาพของสินเชื่อที่ยืดหยุ่น และที่สำคัญคือ ปี 2565 นับเป็นปีที่ยูโอบีก้าวผ่านหลักชัยสำคัญด้วยการซื้อกิจการธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ปใน 4 ประเทศ กระบวนการการเข้าซื้อในมาเลเซียและไทยดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ส่วนกิจการในอินโดนีเซียและเวียดนามคาดว่าจะเสร็จสิ้นในปีนี้ ข้อตกลงที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินการแล้วเสร็จในช่วงภาวะโรคระบาดใหญ่ และส่งผลให้ยูโอบีอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการบรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของธนาคารในภาคการธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยในระดับภูมิภาค เราพร้อมให้บริการฐานลูกค้าที่ขยายใหญ่ขึ้นจำนวน 7 ล้านรายด้วยเครือข่ายที่ขยายกว้างขึ้นและขีดความสามารถที่ยกระดับขึ้นอีก”

“ภูมิภาคอาเซียนเต็มไปด้วยศักยภาพมหาศาลในระยะยาว เรายังคงมองภูมิภาคนี้ในเชิงบวกแม้ต้องเผชิญกับความตึงเครียดทางเศรษฐกิจทั่วโลกก็ตาม และเมื่อมองไปในอนาคต เรายังคงเชื่อมั่นว่ายุทธศาสตร์ในการพัฒนาธุรกิจจะยังสร้างคุณค่าให้ลูกค้าและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไปอย่างมั่งคงและมีเสถียรภาพ”

ปี 2565 เปรียบเทียบกับปี 2564

กำไรหลักสุทธิปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 จากปีก่อนหน้า แตะระดับสูงสุดใหม่ที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ โดยได้รับแรงหนุนจากรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิที่แข็งแกร่งและคุณภาพของสินทรัพย์ที่มีเสถียรภาพ หากรวมค่าใช้จ่ายครั้งเดียวที่เกิดขึ้น กำไรสุทธิปี 2565 จะอยู่ที่ 4.6 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

รายได้จากดอกเบี้ยรับสุทธิปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 31 อยู่ที่ 8.3 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ จากการขยายตัวของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิที่แข็งแกร่งที่30 จุด อยู่ที่ร้อยละ 1.86 จากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นและสินเชื่อที่ขยายตัวขึ้นร้อยละ 3

แม้ค่าธรรมเนียมจากบัตรเครดิตจะเติบโตขึ้นในอัตราเลขสองหลักจากการใช้จ่ายของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นและการรวมธุรกิจบัตรเครดิตของซิตี้กรุ๊ป แต่รายได้จากค่าธรรมเนียมสุทธิกลับปรับตัวลดลงร้อยละ 9 อยู่ที่ 2.1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เนื่องจากทัศนคติของนักลงทุนที่ยังคงอ่อนไหวส่งผลต่อค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการความมั่งคั่งและกองทุน

รายได้จากการบริหารตลาดเงินที่เกี่ยวกับลูกค้าปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 นำโดยความต้องการป้องกันความเสี่ยง (hedging demand) ในภาวะตลาดผันผวน ซึ่งบางส่วนได้รับการชดเชยโดยผลกระทบของหลักทรัพย์เพื่อป้องก้นความเสี่ยงและการลดลงของมูลค่าเงินลงทุน ดังนั้น รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยอื่นจึงปรับตัวขึ้นร้อยละ 4 อยู่ที่ 1.1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

รายได้ที่เติบโตขึ้นมากกว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานหลักรวมที่เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 16 อยู่ที่ 5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ส่งผลให้อัตราค่าใช้จ่ายต่อรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 อยู่ที่ร้อยละ 43.3

คุณภาพของสินทรัพย์ยังคงมีเสถียรภาพ เงินกันสำรองรวมลดลงร้อยละ 8 อยู่ที่ 603 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เนื่องจากการตั้งเงินกันสำรองเชิงรุกเพื่อชดเชยกับเงินกันสำรองเฉพาะที่เพิ่มสูงขึ้น เงินกันสำรองรวมสำหรับสินเชื่อยังคงอยู่ที่ 20 จุด

ไตรมาส 4 ปี 2565 เปรียบเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2565

กำไรหลักสุทธิสำหรับไตรมาส 4 ยังคงที่อยู่ที่ 1.4 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หากรวมค่าใช้จ่ายครั้งเดียวในการซื้อกิจการ กำไรสุทธิจะอยู่ที่ 1.2 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 แตะระดับสูงสุดใหม่ที่ 2.6 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิที่เพิ่มขึ้น 27 จุด อยู่ที่ร้อยละ 2.22 รายได้จากค่าธรรมเนียมสุทธิปรับลดลงร้อยละ 7 อยู่ที่ 485 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เนื่องจากการชะลอตัวตามฤดูกาลของการบริหารจัดการความมั่งคั่งและกิจกรรมที่เกี่ยวกับสินเชื่อ แม้ว่าค่าธรรมเนียมจากบัตรเครดิตจะทำสถิติสูงสุดใหม่จากการใช้จ่ายของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น พร้อมแรงหนุนเสริมจากการรวมธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ปก็ตาม รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยอื่นปรับตัวสู่ระดับปกติที่ 285 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หลังได้รับอานิงส์เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในไตรมาส 3 ปี 2565 จากความผันผวนของตลาด

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานหลักรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 อยู่ที่ 1.4 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ในขณะที่อัตราค่าใช้จ่ายต่อรายได้ไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ร้อยละ 42.6 เงินกันสำรองรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 184