Home > บริษัท หัวเว่ย ประเทศไทย จำกัด

หัวเว่ย ประเทศไทย ได้รับรางวัลดีเด่นด้านปลอดภัยทางไซเบอร์ ‘Thailand Cybersecurity Excellence Award 2022’

นายกรัฐมนตรีฯ มอบรางวัลดีเด่นด้านปลอดภัยทางไซเบอร์ 'Thailand Cybersecurity Excellence Award 2022' ให้แก่หัวเว่ย ประเทศไทย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มอบรางวัล “บริษัทที่ให้การสนับสนุนการดำเนินการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศดีเด่น” (Prime Minister Awards – Thailand Cybersecurity Excellence Awards 2022) จากสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ให้แก่นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ณ ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล โดยมีเจ้าหน้าที่ และผู้แทนองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมเป็นสักขีพยาน ในงานพิธีมอบรางวัลครั้งนี้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีฯ ได้กล่าวแสดงความยินดีแก่องค์กรต่างๆรวมถึงหัวเว่ยที่ได้รับรางวัลดังกล่าวในครั้งนี้ โดยนายกฯยังได้แสดงความชื่นชมการทำงานของหัวเว่ยในด้านการบ่มเพาะบุคลากรด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ การแบ่งปันองค์ความรู้และทักษะความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึงการส่งเสริมความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและการเสริมศักยภาพด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไทย รางวัลอันทรงเกียรตินี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นด้านความเป็นเลิศ นวัตกรรม และความเป็นผู้นำในการสนับสนุนด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูลของหัวเว่ย ประเทศไทย ด้านการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลทั่วประเทศ

Read More

ถอดรหัสผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมไอทีในระดับประเทศ จากเมกะเทรนด์ “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น” และ “สมาร์ทซิตี้”

“ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น” และ “สมาร์ทซิตี้” คือกระแสระดับเมกะเทรนด์ที่ทั่วโลกต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเราก็กำลังก้าวเข้าสู่โลกอันชาญฉลาดที่ทุกสิ่งเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ด้วยเทคโนโลยีไอซีที ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงต้องปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการทำงานในองค์กร พัฒนาเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง แต่อะไรคือความหมายที่แท้จริงของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นและสมาร์ทซิตี้ เมกะเทรนด์เหล่านี้จะส่งผลต่อสังคมอย่างไร และที่สำคัญที่สุดคือประเทศไทยมีความพร้อมแค่ไหนกับเมกะเทรนด์ดังกล่าว นายเอ็ดวิน เดียนเดอร์ หัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น และรองประธานธุรกิจภาครัฐกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ได้ให้ข้อมูลไว้ในโอกาสที่มาร่วมเวทีงาน Digital Thailand Big Bang 2019 ในหัวข้อ “องค์ความรู้อันก้าวหน้า – รากฐานของโลกดิจิทัล” เพื่อถอดรหัสว่าภาพรวมของอุตสาหกรรมไอซีทีของไทยและของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในอนาคตอันใกล้นี้ อะไรคือ “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น” ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นไม่ใช่แพลตฟอร์มไอที แต่คือเมกะเทรนด์ที่เป็นแนวคิด เป็นไอเดียที่จะช่วยให้องค์กร รัฐบาล หรือแม้แต่ประเทศยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับตัวเองได้ หากมองภาพรวมของอุตสาหกรรมต่างๆ ในปัจจุบันนี้ เราจะเห็นว่ามีองค์กรจำนวนไม่น้อยที่แรกเริ่มไม่ได้มาจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับด้านดิจิทัล แต่ผันตัวเองมาเป็นบริษัทด้านดิจิทัลในภายหลัง ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ บริษัทหัวเว่ยที่หลังจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล บริษัทมีบุคลากรเพิ่มขึ้นมากกว่า 16,000 คนภายในเวลาไม่ถึง 5 ปี ซึ่งเรื่องนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากบริษัทไม่ตอบรับกับเทรนด์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ข้อมูลจากไอดีซีระบุว่า การลงทุนด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นทั่วโลกจะมีมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2563

Read More

หัวเว่ยฉลองยืนหยัดในไทยครบ 20 ปี เปิดแผนผลักดันอีโคซิสเต็มเชื่อมประเทศไทยสู่ยุค 4.0

หัวเว่ย ประเทศไทยเผยภารกิจสร้างอีโคซิสเต็มเทคโนโลยีในประเทศไทยรับการฉลองครบรอบ 20 ปีของการดำเนินธุรกิจ ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีไอซีทีที่ล้ำสมัยที่สุดเข้าสู่ประเทศไทย ภายใต้สโลแกน “สานพลังนวัตกรรม เชื่อมไทยสู่อนาคต” นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ปีนี้ถือเป็นอีกปีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับหัวเว่ย เนื่องในการฉลองการดำเนินงานในไทยครบรอบ 20 ปี หลังจากที่ได้สั่งสมการพัฒนาทางด้านต่างๆ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เราจึงมีความเข้าใจในตลาดอย่างลึกซึ้ง และตระหนักดีกว่านวัตกรรมที่สร้างอนาคตของประเทศไทยมีความสำคัญอย่างไร โดยกุญแจสำคัญที่จะนำศักยภาพด้านนวัตกรรมมาสู่ประเทศนี้คือบุคลากรที่มีความสามารถ และกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลก็คือ อีโคซิสเต็มของอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของหัวเว่ยในการส่งเสริมและสนับสนุนประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การสานพลังนวัตกรรม เชื่อมไทยสู่อนาคตร่วมกัน” เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีในประเทศไทย นับตั้งแต่การก่อตั้งสำนักงานในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2542 หัวเว่ยมีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีให้แก่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นผู้พัฒนาโครงข่าย 2G, 3G และ 4G ในประเทศไทยได้สำเร็จ และยังเป็นผู้นำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆ อีกด้วย “เรามีความภูมิใจที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีให้แก่ประเทศไทยตลอด 20 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยจะยังคงต่อยอดความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งตรงตามวิสัยทัศน์ของหัวเว่ย ในการส่งมอบเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่คนไทยทุกคน ทุกครัวเรือนและทุกองค์กร เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างไร้รอยต่อในโลกแห่งนวัตกรรมนี้” มร. อาเบล

Read More