Home > รศ. ดร.พรรณี สวนเพลง

เปิดโลกเรียนรู้เมตาเวิร์สเมืองสุพรรณ ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

ทีมวิจัยม.สวนดุสิตยกทีมจัดเวิร์คช็อปเทคนิคการสร้างชุมชนเสมือนจริงด้วยเมตาเวิร์ส หวังยกระดับนวัตกรรมระบบการท่องเที่ยวอัจฉริยะเมืองขุนแผน สร้างรายได้จากเทคโนโลยีดิจิทัล และพัฒนาทุนมนุษย์ด้านการท่องเที่ยวให้มีสมรรถนะสูงขึ้น รศ. ดร.พรรณี สวนเพลง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นำทีมวิทยากร ผศ.ชวาลิน เนียมสอน และ ผศ.ศุภรัตน์ คุ้มบำรุง จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เทคนิคการสร้างชุมชนเสมือนจริง ด้วย Spatial.io” ณ โรงแรมสองพันบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นเป้าประสงค์สำคัญข้อหนึ่งของชุดโครงการวิจัย “นวัตกรรมระบบการท่องเที่ยวอัจฉริยะ (Smart Tourism) ส่งเสริมจังหวัดสุพรรณบุรี” ภายใต้ทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างทุนมนุษย์ด้านการท่องเที่ยวให้มีสมรรถนะสูงขึ้น สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการประกอบธุรกิจเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้และยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการของไทย “ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตคนเรามากขึ้นจากเดิม และยังเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของมนุษย์ การนำเทคโนโลยีเข้ามาถือว่าตอบโจทย์ของชีวิตวิถีใหม่ (New normal) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้เกิดความพึงพอใจ ส่งผลต่อการสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการและชุมชนท้องถิ่น โดย Spatial.io เป็นเว็บไวต์ที่อนุญาตให้ทุกคนสร้างพื้นที่ในโลกเสมือนจริงเกิด เป็นชุมชนเสมือนจริง เพื่อนำผู้คนมารวมกัน สามารถแบ่งปันข้อมูล สร้างพื้นที่สาธารณะเพื่อจัดนิทรรศการศิลปะ พบปะสังสรรค์

Read More

ชุมชนบ้านแหลม ท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่พร้อมยกระดับสู่ Smart Tourism

การท่องเที่ยวชุมชนเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวที่เป็นที่ชื่นชอบของหลายๆ คน และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่การเดินทางถูกจำกัด ทำให้นักท่องเที่ยวเริ่มหันมาเที่ยวภายในประเทศอย่างการท่องเที่ยวชุมชนกันมากขึ้น เพื่อสัมผัสเสน่ห์ที่อยู่ใกล้ตัว ปัจจุบันการท่องเที่ยวชุมชนมีอยู่อย่างมากมายทั่วประเทศ ซึ่งมีเอกลักษณ์และจุดขายที่แตกต่างกันออกไป และหนึ่งในท่องเที่ยวชุมชนที่น่าสนใจ คือ “วิสาหกิจท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลบ้านแหลม” จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ดึงจุดแข็งในเรื่องวิถีชีวิตของชุมชนเก่าแก่ริมสายน้ำมาเป็นจุดขาย และที่สำคัญยังเป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เข้มแข็ง ที่พร้อมจะยกระดับสู่ Smart Tourism หรือการท่องเที่ยวอัจฉริยะ โดยการผสานวิถีชีวิตเข้ากับนวัตกรรม เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนของจังหวัดสุพรรณบุรี เสียงเพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงอีแซว ตามมาด้วยเพลงเรือ ที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของชุมชน แนะนำสมาชิก ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ตบท้ายด้วยประโยคที่ว่า “เลี้ยวเลาะ เที่ยวท่อง ล่องวิถี คนเมืองเหน่อ บ้านแหลมสุพรรณจ้า” ที่มีความเหน่อเป็นเอกลักษณ์ คือการต้อนรับอันอบอุ่นที่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสเป็นด่านแรกจากชาวชุมชนตำบลบ้านแหลม ที่ไม่ทิ้งลายของเมืองแห่งศิลปิน ชุมชนตำบลบ้านแหลม ตั้งอยู่ที่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีเรือนไทยหลังคาแหลมใต้ถุนสูงอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี (ส่วนหนึ่งของแม่น้ำท่าจีนตอนที่ไหลผ่าน จ. สุพรรณบุรี) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “ชุมชนบ้านแหลม” โดยสองฝั่งแม่น้ำมีทั้งเรือนไทยเดี่ยว เรือนไทยหมู่ เรือนไทยคหบดี วัดเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และวิถีชีวิตของชาวชุมชนที่ผูกพันกับสายน้ำ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นเสน่ห์และจุดขายของท่องเที่ยวชุมชนตำบลบ้านแหลม สำหรับ “วิสาหกิจท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลบ้านแหลม”

Read More

ม.สวนดุสิตพัฒนานวัตกรรมท่องเที่ยวอัจฉริยะ ดันสุพรรณบุรีสู่สมาร์ทซิตี้ท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ

กองทุน ววน.หนุนนักวิจัยม.สวนดุสิตดันสุพรรณบุรีสู่สมาร์ทซิตี้ด้วยนวัตกรรมระบบการท่องเที่ยวอัจฉริยะ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาชุมชนที่มีศักยภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเชื่อมต่อกับกทม.และอยุธยา เพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด-19 มุ่งเป้านักท่องเที่ยวกลุ่มอนุรักษ์ที่มีกำลังซื้อสูง รศ. ดร.พรรณี สวนเพลง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต หัวหน้าโครงการนวัตกรรมระบบการท่องเที่ยวอัจฉริยะส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี ภายใต้ทุนวิจัยพื้นฐานจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เปิดเผยว่า คณะวิจัยได้มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนสู่เมืองอัจฉริยะและรองรับสถานการณ์หลังโควิด-19 โดยประความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) และจังหวัดสุพรรณบุรี คัดเลือกชุมชนพร้อมเสนอขายเพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาชุมชนสู่การยกระดับการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวชุมชนคาร์บอนต่ำที่มีความพร้อมทั้งด้านคน รูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยว ประมาณ 30 ชุมชน เพื่อให้บริษัทนำเที่ยวไปเสนอขายนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มอนุรักษ์ที่มีกำลังซื้อสูง โดยจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับกรุงเทพฯ และพระนครศรีอยุธยา เพื่อส่งต่อการท่องเที่ยวรอบเมืองหลวงของประเทศไทย โครงการวิจัยได้ดึงศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอาหารและวิถีชีวิตมาเป็นจุดขายให้ชุมชนสามารถฟื้นตัวและปรับตัวในภาวะโควิด-19 ให้มีระบบจัดการที่ดี และเชื่อมต่อกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรซึ่งเป็นเศรษฐกิจหลักของจังหวัดสุพรรณบุรี โดยนำเสนอการท่องเที่ยวใหม่ ๆ เช่น นาแห้ว โรงเรือนอัจฉริยะของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอัจฉริยะ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการ ประกอบด้วย การท่องเที่ยวอัจฉริยะ มีแอปพลิเคชันแนะนำโปรแกรมท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวรายบุคคล และใช้ปัญญาประดิษฐ์มาช่วยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความสนใจของนักท่องเที่ยว เช่น รูปแบบการท่องเที่ยวที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวชุมชน เกษตร วัฒนธรรม วิถีธรรมชาติ งบประมาณ ระยะเวลา

Read More

“กูปรีอัลกอริทึม” นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ รองรับการท่องเที่ยวหลังโควิด‘จาก Local สู่ Global’

คณะวิจัยจาก 3 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย รศ. ดร.พรรณี สวนเพลง และ ผศ. ดร.ฐิติยา เนตรวงศ์ จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศ. ดร.กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ อ.พัฒนพงษ์ โพธิปัสสา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ร่วมกันพัฒนา “กูปรีอัลกอริทึม” นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะส่งเสริมการปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ พร้อมทั้งได้รับการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารนานาชาติ Energies และ Scholar Community Encyclopedia ซึ่งมีนักวิจัยทั่วโลกมากกว่า 1.5 ล้านคนเข้าใช้งาน วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อพัฒนานวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะส่งเสริมการปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษรองรับการท่องเที่ยวหลังโควิด-19 ภายใต้แนวคิด “Local สู่ Global” โดยใช้อัลกอริทึมเพิ่มประสิทธิภาพที่พัฒนาขึ้นใหม่ที่เรียกว่า Kouprey-inspired Optimization (KIO) เพื่อช่วยจัดการพลังงานในการเกษตรอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงชุมชน ซึ่งริเริ่มด้วยโหนดพลังงานอัจฉริยะสำหรับลดต้นทุนด้านพลังงานและแรงงานในการปลูกทุเรียนภูเขาไฟ รวมถึงและที่พักในสถานที่ท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเปิดรับนักท่องเที่ยวหลังโควิด-19 รศ. ดร.พรรณี เปิดเผยว่า โครงการวิจัยนี้อยู่ภายใต้ทุนสนับสนุนงานพื้นฐานจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์

Read More

“อยุธยาเมืองท่าแห่งอุษาคเนย์” ฟื้นท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร

รศ. ดร.พรรณี สวนเพลง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่า คณะผู้วิจัยร่วมกับสถาบันอาศรมศิลป์ จัดกิจกรรม “The Legendary Food Culture of Ayutthaya” วัฒนธรรมอาหารในตำนานศรีอโยธยาเมืองท่าแห่งอุษาคเนย์ แผ่นดินทองแห่งความรุ่งเรืองบนรากฐานพหุวัฒนธรรมต้นตำรับสยาม “วิเทศศาสตร์ โภชนศิลป์” ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินโครงการวิจัย “การยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมอาหารอยุธยาเมืองท่าแห่งตะวันออก” ที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โครงการวิจัยมีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเที่ยวด้านวัฒนธรรมอาหารของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้เป็นที่รู้จัก และรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจเรื่องอาหารการกิน โดยนำอาหารไทยโบราณหาทานยากมาเป็นจุดขาย ผสมผสานกับการเรียนรู้เรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์ ผ่านการดำเนินโครงการ 2 ส่วนหลัก ได้แก่ โครงการการค้นหาต้นแบบวัฒนธรรมอาหารและพัฒนาสำรับอาหารอยุธยาเมืองท่าแห่งตะวันออกที่มีตนเป็นหัวหน้าโครงการ โดยลงพื้นที่ศึกษาภูมิวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอาหารอยุธยา ถอดรหัสภูมิปัญญาสำรับอาหารอยุธยา และพัฒนาสำรับอาหารกรรมวิธีโบราณดั้งเดิม 5 ชนิด คือ ต้มยำน้ำข้น ทอดมันกุ้ง มัสมั่น ข้าวบุหรี่ (ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ) และมีไฮไลท์สำคัญที่จะต่อยอดส่งออกขายและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของฝากชนิดใหม่ของพระนครศรีอยุธยา คือ “ขนมหินฝนทอง” ซึ่งเป็นขนมหวานหาทานยาก หน้าตาคล้ายกับหินฝนทองที่คนโบราณใช้ทดสอบทองคำว่าเป็นทองแท้หรือไม่ มีรสหวาน หอม

Read More