Home > ส่งออกข้าวไทย

ส่งออกข้าวพุ่งทะยาน สวนทางชีวิตชาวนาจนที่สุด

ขณะที่เถ้าแก่โรงสีและผู้ส่งออกกำลังตื่นเต้นกับราคาข้าวพุ่งทะยานต่อเนื่องรับตลาดส่งออกขยายตัว ผลพวงสถานการณ์ภัยแล้ง พิษปรากฏการณ์เอลนีโญและการประกาศมาตรการห้ามการส่งออกข้าวขาวของอินเดีย แต่ดูเหมือนว่า ปัญหาชีวิตชาวนายังเรื้อรัง หนี้เพิ่ม และยากจนที่สุดเมื่อเปรียบเทียบประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งอินเดีย เวียดนาม และเมียนมา ทั้งนี้ ในช่วง 1-2 สัปดาห์ ราคารับซื้อข้าวในประเทศไทย ทั้งข้าวเปลือกและข้าวขาวปรับสูงขึ้นทุกชนิด โดยราคารับซื้อข้าวเปลือกเจ้า กข.89 และข้าวหอมปทุม ความชื้น 15% เดิมอยู่ที่ 8,000-8,500 บาทต่อตัน ปรับขึ้นเป็น 12,000 บาทต่อตัน ข้าวปทุมธานี 1 จากเดิม 6,000-6,500 บาท/ตัน ปรับขึ้นไปอยู่ที่ 9,800 บาทต่อตัน ด้านกระทรวงพาณิชย์รายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 พบว่า การส่งออกข้าวไทยยังขยายตัวทั้งปริมาณและมูลค่า โดยส่งออกข้าวได้ทั้งสิ้น 4.04 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 75,526.2 ล้านบาท (2,223.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) หรือปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น 14.9% และมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น

Read More

ส่งออกข้าวไทย 2565 ไปไกลแค่ไหนเมื่อปัญหารุมเร้า

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า อุตสาหกรรมส่งออกของไทยในปัจจุบันเป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ ต้องยอมรับว่าตัวเลขการส่งออกของไทยค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ นับจากการทยอยเปิดประเทศของประเทศคู่ค้าสำคัญ กระนั้นสินค้าส่งออก 10 อันดับในช่วงครึ่งปีแรก กลับไม่ใช่ “ข้าว” แต่เป็นสินค้าในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตรกรรม (กสิกรรม, ปศุสัตว์, ประมง) สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าแร่และเชื้อเพลิง ตัวเลขการส่งออกข้าวในช่วง 6 เดือนแรกของปี (มกราคม-มิถุนายน 2564) ที่ถูกเปิดเผยจากกรมศุลกากร พบว่า มีการส่งออกข้าวปริมาณ 2,167,591 ตัน มูลค่า 41,507 ล้านบาท หรือ 1,369.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยปริมาณส่งออกลดลง 25.8% และมูลค่าลดลง 33.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีการส่งออกปริมาณ 2,922,749 ตัน มูลค่า 62,041 ล้านบาท หรือ 1,980.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เรียกได้ว่า เป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากของผู้ค้าข้าวเพื่อการส่งออก เมื่อต้องพบเจอกับปัญหาและอุปสรรครอบด้าน ทั้งคู่แข่งที่มากขึ้น อัตราค่าเงินบาทที่ส่งผลต่อราคาข้าว

Read More