Home > โควิด-19 (Page 4)

สัมมนาฟรี “การฟื้นฟูกิจการหลัง COVID-19” ร่วมฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น

ร่วมฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ โควิด-19 กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ส.ส.ท. จัดสัมมนาฟรี “การฟื้นฟูกิจการหลัง COVID-19” วิกฤติ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบไปถึงธุรกิจต่างๆ ทั้งในประเทศและทั่วโลกเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการทุกระดับล้วนได้รับผลกระทบ และกำลังเผชิญกับปัญหาดังกล่าวอยู่กันถ้วนหน้า ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ด้านการสนับสนุนแนวความคิด ความรู้ และตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับการเผชิญภาวะวิกฤติโควิด-19 อย่างเร่งด่วน เพื่อการนำไปปรับใช้ให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ส.ส.ท. จึงได้จัดสัมมนา “การฟื้นฟูกิจการหลัง COVID-19: กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น” บนช่องทาง ZOOM Meeting ฟรี! เพื่อเป็นการนำเสนอวงจรชีวิตธุรกิจและตัวอย่างการฟื้นฟูกิจการหลัง COVID-19 ของญี่ปุ่น เพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับผู้ประกอบการทุกคนที่กำลังมองหาแนวทางออกสำหรับธุรกิจของตนเอง โดยมีตัวอย่างหัวข้อการสัมมนาที่น่าสนใจ อาทิ การปรับตัวเชิงธุรกิจหลัง COVID และกลยุทธ์การเตรียมการในอนาคต ปัญหาและอุปสรรคด้านบริหารจัดการบุคลากร การสื่อสารและติดตามความก้าวหน้าจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ฯลฯ บรรยายความรู้โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤตินี พงษ์ธนเลิศ (อ.เกด--เกตุวดี Marumura) อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด

Read More

“ปิดแคมป์-ล็อกดาวน์” ผลกระทบที่เกินจินตนาการ

การประกาศมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในกลุ่มแรงงานก่อสร้าง โดยให้ปิดสถานที่ก่อสร้างและปิดสถานที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับคนงานทั้งที่อยู่ภายนอกและภายในสถานที่ก่อสร้าง รวมทั้งให้หยุดงานก่อสร้าง ห้ามการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน เมื่อช่วงปลายเดือนมิถุนายน ดูจะกลายเป็นมาตรการที่ส่งผลเป็นแรงสั่นสะเทือนสู่สังคมวงกว้าง มากกว่ามาตรการของรัฐที่เคยมีออกมาก่อนหน้าไม่น้อยเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผนวกกับการสั่งล็อกดาวน์ พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณทลที่ออกมาควบคู่กัน การสั่งล็อกดาวน์แบบไม่ล็อกดาวน์ตามมาตรฐานของกลไกรัฐไทยในการบริการจัดการกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ล่าสุดอยู่ที่การกำหนดมาตรการควบคุมโรคเฉพาะสำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ด้วยการสั่งห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้านให้ซื้อกลับบ้านได้เท่านั้น รวมถึงการให้ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าให้ปิดบริการในเวลา 21.00 น. ขณะที่โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม เปิดดำเนินการได้ตามปกติ แต่ห้ามจัดประชุม สัมมนาหรือจัดเลี้ยง และห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกันเกินกว่า 20 คน เว้นแต่ได้รับอนุญาตหรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ กำลังส่งผลกระทบด้านลบต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้คนในสังคมไทยให้ทรุดต่ำหนักลงไปอีก เนื่องเพราะการสั่ง “ปิดแคมป์และล็อกดาวน์” รอบใหม่ นอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มแรงงานก่อสร้างที่ต้องหยุดงานและห้ามเดินทางเคลื่อนย้ายแล้ว มาตรการดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อแรงงานไทยกลุ่มอื่นๆ ไม่น้อยเลย และกำลังส่งผลต่อชีวิตและประชาชนในวงกว้าง โดยมีการประเมินว่า การสั่ง “ปิดแคมป์และล็อกดาวน์” ครั้งนี้ คาดว่าจะมีผลกระทบต่อแรงงานไทยรวมไม่ต่ำกว่า 4.7 ล้านคน โดยในจำนวนนี้มีแรงงานรวมมากถึง 1.2 ล้านคนที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบในฐานะที่เป็นผู้เสมือนว่างงานหรือมีชั่วโมงการทำงานรวมน้อยกว่า 24 ชั่วโมงต่อสัปดาห์อีกด้วย ข้อมูลตลาดแรงงานไทย

Read More

เมเจอร์ เปิดพื้นที่ให้ขายสินค้าฟรี!! ช่วยเหลือประชาชนจากวิกฤตโควิด-19

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป เปิดพื้นที่ให้ขายสินค้าฟรี!! ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ร่วมช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอก 3 ที่หนักและยาวนานครั้งนี้ หวังเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ผ่านพ้นสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้ไปให้ได้ โดยเปิดพื้นที่ให้จำหน่ายสินค้าฟรี!! บริเวณด้านหน้าศูนย์การค้าในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป 4 สาขา คือ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน, รังสิต, ปิ่นเกล้า และ สุขุมวิท ตั้งแต่วันที่ 5 - 15 กรกฎาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 15.00 - 21.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสนใจจองพื้นที่ ได้ที่ คุณนุช 09-5925-1555  

Read More

ซีพีเอฟ ส่งอาหารจากใจ มอบไข่ไก่ 2 แสนฟอง หนุน ก.แรงงาน ช่วยแคมป์คนงาน ทั่ว กทม.

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รับมอบไข่ไก่สด จำนวน 200,000 ฟอง จาก นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ภายใต้โครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแรงงานในแคมป์ก่อสร้าง ผ่านสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมี นางสาวอำพันธ์ ธุววิทย์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน และนางสาวพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล ประธานผู้บริหาร ทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ ร่วมด้วย ณ กระทรวงแรงงาน นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลมีมติให้ปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง ทั่ว กทม. กว่า 500 แห่ง ซึ่งมีแรงงานอยู่ประมาณ 80,000 คน สิ่งหนึ่งที่ท่าน พล.อ.ประยุทธ์

Read More

GBS หวั่นยอดติดเชื้อโควิดพุ่งทำนิวไฮกระทบเศรษฐกิจ แนะลุยช็อป 8 หุ้นเด่นรับส่งออกโต

บล. โกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทยมีโอกาสพักฐาน จากความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในหลายพื้นที่จนต้องปิดแคมป์คนงานก่อสร้างนาน 30 วัน บวกกับแผนการฉีดวัคซีนที่ล่าช้า แนะจับตาเศรษฐกิจไทย หลัง ธปท.คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวและอาจจะยาวไปถึงไตรมาส 1/2566 จึงให้กรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีที่ระดับ 1,550-1,600 จุด พร้อมแนะกลยุทธ์ลงทุนใน 8 หุ้นเด่นได้อานิสงส์ตัวเลขส่งออกพุ่งต่อ ชู AH- SAT- NER –STA- KCE- HANA –SMT- ASIAN น่าสนใจ นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ GBS ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้มีโอกาสพักฐาน จากความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มสูงขึ้นจากระดับ 3 พันรายไปแตะระดับ 5 พันราย ขณะที่การฉีดวัคซีนยังล่าช้ากว่าแผนที่วางไว้ ประกอบกับการปิดแคมป์คนงานก่อสร้างนาน 30 วันคาดอาจจะส่งผลให้มีงานก่อสร้างล่าช้า กระทบการรับรู้รายได้ของหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง และในอนาคตคาดจะมีผลกระทบกับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์จากการก่อสร้างล่าช้าและโอนล่าช้า ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่าทิศทางของเศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวและอาจจะต้องรอถึงไตรมาส 1/2566

Read More

COVID-19: คนไทยเผชิญวิกฤต ภาวะเครียดแทรกซ้อนซ้ำเติม

สถานการณ์ COVID-19 ที่แพร่ระบาดอีกครั้ง และดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากกว่าครั้งก่อนนอกจากจะมีประเด็นว่าด้วยการควบคุมโรคและการทำงานหนักของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งที่คนไทยต้องเผชิญกับวิกฤตโรคระบาดยังอยู่ที่ความเครียด และการรับมือกับสภาพจิตใจของตัวเอง ซึ่งเป็นปัญหาที่มองข้ามไม่ได้โดยเด็ดขาด วิกฤต COVID-19 นำไปสู่ความเครียดของคนเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากความกังวลใจสงสัยว่าตัวเองติดเชื้อหรือยัง หรือความเครียดจากการที่ค้าขายไม่ได้ นายจ้างลดการจ้างงาน เครียดเพราะเดินทางไม่ได้ รวมถึงการที่ครอบครัวมีลูกอยู่บ้าน หรือทำงานที่บ้าน จนเป็นเหตุให้เกิดการกระทบกระทั่งและทะเลาะกันมากยิ่งขึ้น ปัญหาเหล่านี้ทำให้ผู้คนมีความเครียดเพิ่มขึ้น และถูกทับถมให้หนักขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับการระบาดของ COVID-19 ในแต่ละระลอกให้หนักขึ้นไปอีก จากสถิตินับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมาพบว่าแนวโน้มที่คนไทยมีความเครียดจนนำไปสู่การฆ่าตัวตายมีอัตราที่สูงมาก คำแนะนำสำคัญสำหรับคนที่เครียดจาก COVID-19 จึงอยู่ที่การรับฟังเพื่อพยายามหาว่าปัญหาคืออะไร และพิจารณาปัญหาที่สำคัญสุดที่เผชิญอยู่คืออะไรกันแน่ สิ่งต่อมาคือการประเมินว่าปัญหาที่แต่ละคนเผชิญอยู่เป็นปัญหาที่แก้ได้หรือไม่ได้ เช่น เรื่องหนี้สิน ก็ต้องประสานหาข้อมูลเพื่อบรรเทาผลกระทบ หากเป็นเรื่องทะเลาะกับคนในบ้านหลังจากต้องล็อกดาวน์ตัวเองกับคนในครอบครัว ทำให้มีปากเสียงกันบ่อย ก็ต้องระงับจิตใจให้ผ่อนคลายลง ส่วนปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ เช่น ภาวะซึมเศร้าจากผลของการที่บางคนได้รับรู้หรือประสบเจอเจอเหตุจากคนรู้จักเสียชีวิตจาก COVID-19 อาจต้องพิจารณาว่ามีแนวโน้มขอบเขตความเครียดอยู่ระดับไหน ถึงขั้นต้องไปพบแพทย์หรือไม่ ซึ่งทุกครั้งที่สังคมเจอวิกฤต เช่น วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ซึ่งมีคนก่อเหตุฆ่าตัวตายสูงถึงร้อยละ 25% จากปีก่อนหน้า และอัตรานี้จะคงอยู่ไป 3-4 ปี กว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ ข้อสังเกตประการหนึ่งจากวิกฤตที่เกิดขึ้นในสังคมทุกครั้งนั้น จะเห็นได้ว่าแต่ละวิกฤตส่งผลเป็นความเปลี่ยนแปลงต่อผู้คนจำนวนมาก

Read More

ตลาดสดยังอ่วมโควิด แม่ค้าออนไลน์จับมือสู้แอปดีลิเวอรี่

แม้ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ยอมผ่อนคลายให้ร้านอาหารเปิดให้นั่งรับประทานได้ถึงเวลา 23.00 น. แต่ตัวเลขการแพร่ระบาดที่พุ่งสูงต่อเนื่อง ทั้งยอดผู้ติดเชื้อและยอดผู้เสียชีวิตทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เลือกใช้บริการดีลิเวอรี่ เหล่าแม่ค้าออนไลน์จึงต้องพลิกกลยุทธ์อีกครั้ง โดยเฉพาะการแก้เกมแอปขนส่งที่เรียกเก็บค่าคอมหรือ “GP” สูงกว่า 30% ขณะเดียวกันตลาดสดหลายแห่งยังถือเป็นคลัสเตอร์เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด อย่างในกรุงเทพฯ มีการสั่งปิดตลาดขนาดใหญ่หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นตลาดยิ่งเจริญ เขตบางเขน ตลาดกลางดินแดง ตลาดบางกะปิ ตลาดคลองเตย ตลาดสามย่าน ตลาดสดหนองจอก ตลาดสายเนตร ตลาดศาลาน้ำร้อน ตลาดลำนกแขวก นอกจากนั้น จากการเฝ้าระวังตรวจเชิงรุกตลาดค้าส่งหลายแห่งช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จำนวน 379 แห่ง มีตลาด 289 แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 76 และไม่ผ่านเกณฑ์ 90 แห่ง หรือร้อยละ 24 แต่มีตลาดสดขนาดเล็กอีกจำนวนมากในชุมชนต่างๆ ซึ่งจัดพื้นที่ค้าขายเฉพาะช่วงเวลา เช่น เช้า หรือเย็น และเกือบทั้งหมดมีมาตรการควบคุมน้อยมาก อย่างน้อย 2-3 แห่งต่อเขต รวมแล้วมากกว่า

Read More

กลยุทธ์ “บาร์บีกอน” ล้มให้ไว ลุกให้เร็ว แก้เกมโควิด

“ล้มให้ไว ลุกให้เร็ว คือประโยคล่าสุดที่สร้าง Passion ในการเดินหน้าต่อช่วงโควิด-19…” บุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายสร้างโอกาสทางการตลาด กลุ่มธุรกิจอาหาร บริษัท ฟู้ดแพชชั่น ยักษ์ใหญ่เครือข่ายร้านอาหารสไตล์ปิ้งย่าง “บาร์บีคิวพลาซ่า” กล่าวกับสื่อถึง Passion ที่ช่วยผลักดันธุรกิจร้านอาหารเดินหน้าต่อไป ล้มได้แต่ต้องลุกขึ้นเร็ว และเปลี่ยนแปลงเพื่อแข็งแกร่งกว่าเดิม แม้เจอผลกระทบหนักหน่วงจากสถานการณ์โควิด-19 ยาวนานเกือบ 2 ปีแล้ว โดยเฉพาะแผนกลยุทธ์หลากหลายรูปแบบ ใส่สีสันสร้างความฮือฮาและกระตุ้นกลุ่มลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่า ไม่มีใครลืมกิมมิกเด็ดๆ ของบาร์บีคิวพลาซ่า ที่งัดไอเดียให้เจ้าบาร์บีกอนมานั่งเป็นเพื่อนในวันแรกของการเปิดให้บริการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิดและต้องเว้นระยะห่าง 1 โต๊ะ 1 คน ปลุกกระแส Talk of The Town ในสังคมโซเชียล พร้อม #บาร์บีกอนจะเยียวยาทุกสิ่ง เล่นเอาผู้คนแห่เข้าร้านและจองซื้อเจ้าบาร์บีกอนล็อตใหญ่ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ยังคงส่งผลกระทบต่อธุรกิจร้านอาหารรุนแรง ซึ่งฟู้ดแพชชั่นประเมินยอดลูกค้าเข้าใช้บริการร้านในเครือช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ทั้งร้านบาร์บีคิวพลาซ่า จุ่มแซบฮัท ฌานา โภชา เรดซัน

Read More

เซ็นทรัล วิลเลจ ยืนหยัดผู้นำ Luxury Outlet แห่งแรกของไทย ปรับตัว-รุกเร็ว ฝ่าวิกฤตโควิด

เซ็นทรัล วิลเลจ ยืนหยัดผู้นำ Luxury Outlet แห่งแรกของไทย เดินหน้าความสำเร็จต่อเนื่อง ปรับตัว-รุกเร็ว ฝ่าวิกฤตโควิดด้วย กลยุทธ์ Intensive Omnichannel ตอกย้ำตัวจริงเดสติเนชั่นของการ ช้อปปิ้งแบรนด์เนมของไทย บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหาร เซ็นทรัล วิลเลจ ลักชูรี่เอาท์เล็ตแห่งแรกของไทย ประกาศความสำเร็จ เดินหน้าฝ่าวิกฤตโควิด-19 ด้วยกลยุทธ์ Intensive Omnichannel ปรับตัวเร็ว รุกเร็ว พร้อมชูจุดแข็งด้วยสาขาของศูนย์การค้าเซ็นทรัลที่มีอยู่ทั่วประเทศ ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าทั้งใน-นอก Catchment ผ่านแคมเปญการตลาดต่อเนื่อง และกลับมาอีกครั้งกับแคมเปญลดครั้งใหญ่แห่งปี ‘Super Brand Grand Sale 2021’ ลดสูงสุด 90% กับแบรนด์ลักชูรี่ชั้นนำระดับโลกกว่า 220 แบรนด์ ช่วยกระตุ้นยอดขายและเพิ่มทราฟฟิกภายในศูนย์ฯ พร้อมเดินหน้าเศรษฐกิจประเทศ สะท้อนความเป็นผู้นำลักชูรี่ เอาท์เล็ตตัวจริงแห่งแรกในไทย ดร. ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่

Read More

เศรษฐกิจไทยยังไปไม่รอด รอปี 2566 ค่อยฟื้นตัวอีกครั้ง

ขณะที่การจัดหาและกระจายวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังดำเนินไปท่ามกลางความสับสนอลหม่านที่ติดตามมาด้วยการเลื่อนนัดหมายการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในวงกว้าง ภารกิจอีกด้านหนึ่งว่าด้วยการกระตุ้นและสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเพื่อให้กลไกทางเศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อไปได้ก็ดูจะยังไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กลไกรัฐมุ่งประสงค์ได้ และมีแนวโน้มจะทรุดต่ำลงไปเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง การปรับลดประมาณการและการคาดการณ์ถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยของหลายสำนักในช่วงที่ผ่านมา ได้สะท้อนข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่อย่างไม่อาจเลี่ยง แม้ว่ากลไกรัฐจะพยายามโหมประโคมประชาสัมพันธ์ถึงมาตรการและผลงานความสำเร็จในช่วงที่ผ่านมา หากแต่ดูเหมือนว่ามาตรการที่รัฐมีออกมาจะเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือมาตรการบรรเทาเหตุเบื้องต้น ที่ขาดจินตภาพและวิสัยทัศน์ในการกำหนดนโยบายที่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่รัฐบาลได้พยายามนำเสนอแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติภายใต้กรอบระยะเวลา 20 ปีระหว่างปี 2561-2580 หากแต่แผนดังกล่าวดูจะไม่ช่วยผลักดันการพัฒนาให้ประเทศหรือสังคมไทยดำเนินก้าวไปสู่ความจำเริญข้างหน้ามากนัก และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นปัจจัยฉุดรั้งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคมของไทยให้ต้องชะงักงันหรือแม้แต่ถอยหลังด้วยความเฉื่อยช้าลงไปอีก ความด้อยประสิทธิภาพและความล้มเหลวบกพร่องของแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ดังกล่าวในด้านหนึ่งเห็นได้ชัดจากกรณีของการบริหารจัดการในสภาวะวิกฤตที่เผชิญอยู่เบื้องหน้าว่าด้วยการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ไม่ได้จำกัดวงอยู่เฉพาะประเด็นว่าด้วยความปลอดภัยและสวัสดิการของประชาชนในมิติด้านการสาธารณสุขเท่านั้น หากยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตในเชิงเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคมที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนผลิตภาพทางเศรษฐกิจ ดูจะเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความล้าหลังไม่ทันต่อสถานการณ์ของแผนยุทธศาสตร์ฉบับดังกล่าว ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีสถานะคู่ควรต่อการเรียกว่าเป็นแผนยุทธศาสตร์ของชาติเสียด้วยซ้ำ เพราะขาดการประเมินผลและปัจจัยแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วอยู่ตลอดเวลาในยุคสมัยปัจจุบัน ข้อมูลที่น่าสนใจประการหนึ่งในช่วงที่ผ่านมาพบว่าทิศทางเศรษฐกิจไทยในเดือนพฤษภาคม 2564 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้รับผลจากการระบาดของ COVID-19 ในประเทศ ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันยังคงเพิ่มขึ้นสูง ในขณะที่ภาครัฐยังใช้มาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของCOVID-19 ในประเทศอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ระลอก 3 ที่มีความรุนแรง รวมถึงการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่ดำเนินไปอย่างไร้ความแน่นอนชัดเจน ทำให้ความคาดหวังที่จะเห็นเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้นจากการจ่อมจมอยู่ในปลักแห่งความซบเซามาอย่างยาวนาน มีแนวโน้มที่จะทอดยาวต่อเนื่องออกไปอีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1.5-2 ปีนับจากนี้ หรือหากกล่าวอีกนัยหนึ่งคือต้องรอไปจนถึงไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 เลยทีเดียว การประเมินดังกล่าวดูจะไม่เกินเลยไปนัก เมื่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

Read More