Home > โควิด-19 (Page 3)

จับตาขยาย “เคอร์ฟิว” จี้แผนรับมือเศรษฐกิจ Worst Case

2 สิงหาคม 2564 ครบกำหนดมาตรการเคอร์ฟิว 14 วัน หลังศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. สั่งบังคับใช้มาตรการล่าสุดในพื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด พร้อมๆ กับมาตรการคุมเข้มอีกหลายข้อเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา แต่ดูเหมือนตัวเลขต่างๆ ทั้งยอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตยังพุ่งสูงทำนิวไฮทุกวัน โดยเฉพาะยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแตะระดับ 20,000 คน ล่าสุด กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข คาดการณ์สถานการณ์การระบาด COVID-19 ของประเทศไทย ระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2564 พบว่า หากล็อกดาวน์ 1 เดือน จะสามารถชะลอจุดสูงสุดของการใช้ทรัพยากรถึงต้นเดือนตุลาคม แต่หากล็อกดาวน์ 2 เดือน ร่วมกับมาตรการกระจายวัคซีนในผู้สูงอายุได้ผลดีและดำเนินการได้รวดเร็ว คาดว่าในเวลาไม่เกิน 2 เดือน จะช่วยรักษาระดับการใช้เครื่องช่วยหายใจไม่เกิน 1,500 รายต่อวัน และชะลออุบัติการณ์การเสียชีวิตไม่เกิน 200 รายต่อวันไปจนถึงเดือนธันวาคม ดังนั้น

Read More

ไทยประกันชีวิต คุ้มครองกรณีรักษาโควิด-19 แบบ Home Isolation

ไทยประกันชีวิต ให้ความคุ้มครองผู้ป่วยโควิด-19 กรณีรักษาแบบ Home Isolation และ Community Isolation ตามเงื่อนไขสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ พร้อมมอบบริการดูแลผู้เอาประกันภัยแบบครบรอบด้าน นายสวัสดิ์ นฤวรวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Chief Life Operation Officer บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ไทยประกันชีวิตดำเนินนโยบายมุ่งสู่การเป็นทุกคำตอบของชีวิต หรือ Life Solutions และในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ จึงมอบความคุ้มครองโรคโควิด-19 ตามเงื่อนไขสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ ทั้งในส่วนของค่ารักษาพยาบาลหรือค่าชดเชยรายได้ ในกรณีต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ทั้งนี้ การให้ความคุ้มครองจะครอบคลุมการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) ซึ่งในกรณีดังกล่าวสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย สำหรับโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญา รวมถึงการดูแลรักษาแบบ Home Isolation และ Community Isolation ซึ่งความคุ้มครองเป็นไปตามคำสั่งนายทะเบียน สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยการรักษาแบบ Home Isolation

Read More

จากสงครามการค้า สู่สงครามไวรัส-ข้อมูล คนไทยควรรู้เท่าทัน

ไทยต้องเผชิญกับผลกระทบจากสงครามการค้าที่ห้ำหั่นกันระหว่างสองมหาอำนาจจากสองซีกโลกอย่างจีนกับสหรัฐอเมริกาที่อุบัติขึ้นนับตั้งแต่ที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดีในช่วงต้นปี 2560 ผลพวงจากความพยายามที่จะดำเนินตามนโยบายที่นายทรัมป์หาเสียงไว้ นั่นคือ อเมริกันเฟิร์ส ส่งผลให้การค้ากับต่างประเทศต้องชะงัก แน่นอนว่าประเทศที่กลายเป็นเป้าหมายสำคัญในครั้งนั้นคือ จีน เมื่อจีนกอบโกยเงินจำนวนมหาศาลกลับประเทศจากการส่งสินค้าจำนวนมากมาขายยังสหรัฐฯ สหรัฐฯ เก็บภาษีเพิ่มจากสินค้านำเข้าจากจีน 25% ในระยะแรกเริ่มที่เครื่องจักร อุปกรณ์และชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมพลังงาน ต่อมาพิจารณาเก็บภาษีเพิ่มจากสินค้าประเภทเหล็ก เครื่องจักรไฟฟ้า ชิ้นส่วนรถไฟ และ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน สินค้าเกษตร สิ่งทอ อุปกรณ์ก่อสร้าง ชิ้นส่วนรถยนต์ เรียกว่าหมัดแลกหมัด เมื่อจีนตอบโต้ด้วยการเก็บภาษี 25% จากสินค้าที่มาจากสหรัฐฯ จำนวน 545 ราย เช่น ผลิตภัณฑ์เกษตร รถยนต์ ผลิตภัณฑ์จากทะเล รวมมูลค่ากว่า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สงครามการค้าระหว่างสองประเทศนี้ไม่มีใครยอมใคร และยังคงยืดเยื้อยาวนาน แม้จะมีความพยายามที่จะพูดคุยตกลงกันเพื่อพักการทำสงครามการค้าลงชั่วคราว แต่แน่นอนว่าผลกระทบได้เกิดขึ้นไปแล้วต่อประเทศคู่ค้าที่ต้องพึ่งพาการส่งออกไปยังสองประเทศนี้ ในเวลานั้นรัฐบาลไทย โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการค้าระหว่างประเทศ พยายามมองหาโอกาสที่เกิดขึ้นระหว่างสงคราม ทั้งการเล็งที่จะจูงใจนักลงทุนในกรณีที่นักลงทุนเตรียมย้ายฐานการผลิตออกจากสหรัฐฯ เพื่อหลีกหนีฐานภาษีสินค้านำเข้าที่ค่อยๆ เพิ่มเพดานสูงขึ้น และมองหาฐานการผลิตใหม่โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียน ในขณะที่ไทยกำลังเริ่มต้นการเจรจาโดยเฉพาะกับนักลงทุนชาวจีนที่เตรียมจะยึดหัวหาดและลงเม็ดเงินสร้างฐานการผลิตในไทย ทว่า การเปลี่ยนผ่านขั้วการเมืองทำให้หลายเรื่องที่กำลังถูกต่อยอดและน่าจะสร้างแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงัก กระทั่งสงครามไวรัสเริ่มอุบัติขึ้นเป็นครั้งแรกบนแผ่นดินจีนในช่วงปลายปี 2562 และเริ่มแพร่ระบาดไปในอีกหลายประเทศทั่วโลก

Read More

เคทีซีไปต่อ เขย่าแผนธุรกิจสู้โควิด-19 ดันกำไรครึ่งปี 3,352 ล้านบาท

เคทีซีไปต่อ เขย่าแผนธุรกิจสู้โควิด-19 ดันกำไรครึ่งปี 3,352 ล้านบาท เดินหน้าขยายขอบเขตธุรกิจสินเชื่อ รักษาฐานสมาชิกและช่วยเหลือผู้เดือดร้อน เคทีซีแจ้งกำไรสุทธิครึ่งปีแรกโต 20.1% เท่ากับ 3,352 ล้านบาท ส่วนของกำไรสุทธิไตรมาส 2 เท่ากับ 1,703 ล้านบาท แม้จะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ต่อเนื่องมาถึงระลอก 3 โดยใช้ประสบการณ์ปรับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้การดำเนินงานโดยรวมยังผ่านไปได้ดี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวมเพิ่มขึ้น ในขณะที่ NPL อยู่ในระดับใกล้เคียงเดิม พร้อมเดินหน้าครึ่งปีหลังขยายธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกันให้ครบวงจร รักษาฐานสมาชิกและบริหารคุณภาพพอร์ตลูกหนี้ ช่วยเหลือผู้เดือดร้อนจากโควิด-19 ร่วมกับองค์กรการกุศลต่างๆ และขยายเวลาช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ภาพรวมของอุตสาหกรรมสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในช่วง 6 เดือนของปีนี้ยังคงเติบโต ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนจากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 สำหรับภาพรวมการดำเนินงานธุรกิจของเคทีซียังผ่านไปได้ดี โดยเรียนรู้จากประสบการณ์มาเป็นเข็มทิศในการปรับแผนกลยุทธ์เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยสิ้นเดือนพฤษภาคม

Read More

หนี้ครัวเรือนไทยพุ่งสูง เศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ประชาชนขาดสภาพคล่อง

บ่อยครั้งที่ “ผู้จัดการ 360 องศา” นำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่ไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตโควิด ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจภาพรวมเกินคำว่าถดถอยไปมาก ปี พ.ศ. 2564 ล่วงเลยมาเป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้ว ทว่าสถานการณ์ของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่ทุเลา ขณะที่รัฐบาลไทยต้องประกาศล็อกดาวน์อีกครั้ง และกลับไปใช้มาตรการที่เคยนำมาใช้เมื่อช่วงเดือนเมษายนของปีก่อน หลายฝ่ายคาดหวังว่า “เจ็บแต่จบ” ครั้งนี้จะเป็นของจริงเสียที ภาคเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงพิจารณาได้จากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือจีดีพี ที่ติดลบมาอย่างต่อเนื่องนับแต่ปีก่อนหน้า รวมไปถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคประชาชน ที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับ “หนี้ครัวเรือนไทย” ดูจะทำสถิติสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปีที่แล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยรายงานตัวเลขหนี้ครัวเรือนของปี 2563 โดยไตรมาส 1 หนี้ครัวเรือนไทยสูงถึง 80.1% ต่อจีดีพี ในเวลานั้น สำนักข่าวส่วนใหญ่พาดหัวไปในลักษณะเดียวกันว่า หนี้ครัวเรือนไทยสูงเป็นประวัติการณ์ แต่ใครจะรู้ว่าสถิติในครั้งนั้นจะถูกทำลายลงในไตรมาสต่อมา ด้วยตัวเลขหนี้ครัวเรือนไทยที่ยังคงพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยไตรมาส 2/2563 พุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ 83.8% ต่อจีดีพี ไตรมาส 3/2563 อยู่ที่ 86.8% ต่อจีดีพี และไตรมาส 4/2563 แตะ 89.3%

Read More

“เด็กแรกเกิดต้องรอด” โครงการจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับทารกแรกเกิดที่แม่ติดเชื้อโควิด-19

“เด็กแรกเกิดต้องรอด” โครงการจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับทารกแรกเกิดที่แม่ติดเชื้อโควิด-19 จาก “โรงพยาบาลเด็ก” “เด็กแรกเกิด” เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตโควิด-19 เพราะปัจจุบันมีกลุ่มแม่อุ้มท้องที่ติดเชื้อและเจ็บท้องคลอด แต่เพื่อไม่ให้เด็กทารกแรกเกิดที่คลอดออกมานั้น ได้รับเชื้อโควิด-19 จำเป็นต้องมีการดูแลมารดาและทารกอย่างถูกต้อง จากข้อมูลในปัจจุบันพบว่า ในคุณแม่ติดเชื้อแม้มีโอกาสถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ไม่มากนัก แต่หากกระบวนการดูแลทั้งการคลอด หลังคลอด และที่บ้าน ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจะทำให้เด็กแรกเกิดมีโอกาสติดเชื้อไปด้วย ฉะนั้น โรงพยาบาลเด็ก หนึ่งในด่านหน้าที่รับดูแลเด็กแรกเกิดที่ป่วยจึงได้ริเริ่มโครงการ “เด็กแรกเกิดต้องรอด” เพื่อเตรียมสถานที่และอุปกรณ์สำหรับรองรับการดูแลทารกแรกเกิดที่มีอาการป่วยด้วยโรคโควิด-19 หรือคลอดจากมารดาที่ติดเชื้อ นายแพทย์เสรี ตู้จินดา ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก กล่าวว่า “สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือในชื่อเดิมคือ รพ.เด็ก เป็น รพ.รัฐบาลแห่งเดียวในประเทศไทยที่รับดูแลแต่ผู้ป่วยเด็กเท่านั้น มีแผนกต่างๆสำหรับเด็กครบถ้วนเช่นเดียวกับโรงพยาบาลผู้ใหญ่ ให้การดูแลตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึง 15-18 ปี โดยหน่วยทารกแรกเกิด สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านทารกแรกเกิดของกรมการแพทย์ ให้การดูแลทารกที่คลอดที่ รพ.ราชวิถีทุกราย ทั้งทารกปกติที่อยู่กับมารดา และทารกที่มีอาการป่วยซึ่งจะได้รับการส่งต่อมารับการรักษาที่สถาบันฯ นอกจากนี้ ยังให้การดูแลรักษาทารกวิกฤต หรือมีปัญหาซับซ้อนที่ส่งต่อมาจาก รพ.ทั่วประเทศ โดย รพ.ราชวิถี ซึ่งเป็นรพ.ศูนย์ขั้นสูงระดับตติยภูมิ และให้การดูแลและรับส่งต่อมารดาที่มีความเจ็บป่วยซับซ้อนเช่นเดียวกัน ปัจจุบันสถิติมารดาคลอดประมาณ 400–500

Read More

แกรมมี่ใส่ใจดูแล ศิลปินและบุคลากรในองค์กร ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมที่ปลอดภัย

จากสถานการณ์ปัจจุบันที่จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ ในฐานะผู้นำด้านธุรกิจเพลง ธุรกิจภาพยนตร์ ธุรกิจมีเดียคอมเมิร์ซ ธุรกิจคอนเทนต์สื่อและทีวีดิจิทัล มีความห่วงใย ในสุขภาพของศิลปิน นักร้อง นักแสดง ดีเจ โปรดิวเซอร์ พนักงาน และฟรีแลนซ์ รวมถึงสังคมในทุกมิติ โดยที่ผ่านมามีนโยบายในการเดินหน้าฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19 ให้กับศิลปิน นักร้อง นักแสดง ดีเจ โปรดิวเซอร์ พนักงานทุกคน และฟรีแลนซ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงาน เพื่อเร่งสร้างสังคมแห่งความปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้กลุ่มธุรกิจ ช่วยลดภาระให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่แก่ประชาชนในประเทศ ที่ผ่านมาศิลปิน นักร้อง นักแสดง ดีเจ โปรดิวเซอร์ รวมถึงพนักงานในองค์กร ได้ทยอยเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19 ทั้งจากการลงทะเบียนออนไลน์ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และจองสิทธิประกันตน ม.33 ผ่านระบบออนไลน์ E- Service ของสำนักงานประกันสังคม และเมื่อเร็วๆ นี้ ได้รับการจัดสรรวัคซีนทางเลือกซิโนฟาร์ม จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

Read More

บู๊ทส์เปิดตัวแอปสุขภาพครบวงจร “Boots app” ฝ่าวิกฤต COVID-19

บู๊ทส์ส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดีฝ่าวิกฤต COVID-19 ส่ง Boots app แอปสุขภาพครบวงจร ยกระดับการดูแลสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น บู๊ทส์ ประเทศไทย ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามชั้นนำระดับโลกตอกย้ำพันธกิจ ส่งเสริมสุขภาพที่ดีของคนไทยฝ่าวิกฤต COVID-19 ด้วยการเปิดตัว Boots app แอปสุขภาพครบวงจร กับฟีเจอร์ใหม่ใช้ฟรี “Talk to Pharmacist” หรือชื่อไทย “ปรึกษาเภสัชกรบู๊ทส์” เพื่อยกระดับคุณภาพการดูแลสุขภาพของคนไทยให้ดียิ่งขึ้น จากผลสำรวจพบว่า 82% ของผู้บริโภคชาวไทยกังวลว่าจะติดเชื้อ COVID-19* นอกจากนี้ยังพบว่ามีความต้องการข้อมูลที่น่าเชื่อถือจากผู้เชี่ยวชาญหรือองค์กรที่เชื่อถือได้ และคนไทยยังต้องการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญโดยตรงนั้น** บู๊ทส์ ประเทศไทย หนึ่งในธุรกิจรีเทล ฟาร์มาซี อินเตอร์เนชั่นแนล ของวอลกรีนส์ บู๊ทส์ อลิอันซ์ (หรือ ดับเบิ้ลยูบีเอ) กิจการระดับโลกแห่งแรกที่ดำเนินธุรกิจด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีชั้นนำ จึงได้มีการนำความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพระดับโลก มาเสริมความแข็งแกร่งทางด้านคุณภาพและการบริการระดับมืออาชีพ เพื่อช่วยให้คนไทยทั้งประเทศเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ง่าย พร้อมมีสุขภาพกายและใจที่ดียิ่งขึ้น วอลกรีนส์ บู๊ทส์ อลิอันซ์ มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และได้นำเสนอบริการอันโดดเด่น ได้แก่ - เป็นผู้ให้บริการด้านร้านขายยาแบบปลีกนับพันแห่งทั่วโลก - มีพนักงานให้บริการด้านเฮลท์แคร์มากกว่า 120,000 คน

Read More

อยู่อย่างไรให้รอดจากโควิดระลอก 4

ณ เวลานี้ เราคงต้องยอมรับว่าสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่มีการระบาดในบ้านเรา ยอดติดเชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนตัวเลขเกินครึ่งหมื่นต่อเนื่องมาหลายวัน ความคาดคิดและคาดหวังของคนส่วนใหญ่คงเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า อีกไม่ช้าไม่นานคงจะจบลงเสียที แบบระลอกแรกและระลอกสอง ที่จบลงภายในเวลาไม่กี่เดือน แต่ทิศทางการแพร่ระบาดจากระลอกสามกลับไม่จบลงง่ายๆ เช่นเดิม กระทั่งเราเดินทางมาสู่ระลอกสี่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นายแพทย์อุดม คชินทร ที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กล่าวว่า “ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ทั้งโลกมีการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์เดลตาอย่างมาก ติดเชื้อสายพันธุ์นี้แล้ว 96 ประเทศ ส่วนประเทศไทย 2 เดือนที่แล้ว 85-90 เปอร์เซ็นต์ของเชื้อที่ตรวจพบคือ สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) พอมิถุนายนถึง กรกฎาคม ทั้งประเทศเป็นเชื้อเดลตา 30 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเร็วมาก เฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นเดลตา 50 เปอร์เซ็นต์ ความสามารถในการแพร่เชื้อเร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟา 40 เปอร์เซ็นต์ คาดว่า 1-2 เดือน ทั้งไทยและโลกจะเป็นเดลตาส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด “เชื้อตัวนี้ภาพรวมไม่ได้มีความรุนแรงมากกว่าอัลฟา แต่มีลักษณะพิเศษทำให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะออกซิเจนต่ำกว่าปกติเร็วขึ้น ปอดอักเสบเร็วขึ้น อย่างอัลฟาใช้เวลา 7-10 วัน

Read More

CLMV ได้รับอานิสงส์ที่แตกต่าง หลังเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) อย่างหนักในปี 2020 ไม่แตกต่างจากที่ไทยได้รับ แต่ในปี 2021 ขณะที่ไทยยังคงเผชิญหน้ากับการขยายวงการแพร่ระบาดและจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทว่า กลุ่มประเทศ CLMV กลับมีผู้ติดเชื้อลดจำนวนลง โดยล่าสุดข้อมูลวันที่ 29 มิถุนายน 2564 จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในเมียนมา 1,225 ราย กัมพูชา 883 ราย เวียดนาม 398 ราย และ สปป. ลาว 0 ราย นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ว่าประเทศในกลุ่มนี้จะมีแนวโน้มการเติบโตหรือการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูงขึ้น ศูนย์วิจัยกรุงศรีระบุว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจของประเทศกัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ (CLMVIP) ได้รับผลกระทบอย่างหนักในปี 2020 อย่างไรก็ดี ในปี 2021 หลายประเทศในกลุ่มนี้มีแนวโน้มเติบโตในอัตราสูงราวร้อยละ

Read More